“เพื่อนปฏิบัติต่อเพื่อน” ชวนมองตั้งหลักกับการจัดการที่ไม่ก้าวข้ามความมั่นคงของรัฐไทย

“เพื่อนปฏิบัติต่อเพื่อน” ชวนมองตั้งหลักกับการจัดการที่ไม่ก้าวข้ามความมั่นคงของรัฐไทย

จาก “เพื่อนข้างบ้าน” ถึง ผู้ลี้ภัยพม่าท่ามกลางสงคราม

จากกรณีกองทัพเมียนมาส่งเครื่องบินรบ MiG-29 จำนวน 1 ลำ บินรุกล้ำเข้ามายังน่านฟ้าไทย บริเวณชายแดน อ.พบพระ จ.ตาก เพื่ออ้อมไปยิงจรวดใส่ฝ่ายต่อต้านในฝั่งเมียนมา ทำให้ชาวบ้านที่อยู่บริเวณนั้นเกิดความแตกตื่นต้องเข้าไปหลบในหลุมหลบภัย ซึ่งเหตุการณ์การครั้งนี้ถูกบันทึกภาพและเรื่องราวไว้โดยนักข่าวพลเมืองคุณชวลิต วิกุลชัยกิจ ปักหมุดเล่าผ่านแอปพลิเคชัน C-Site ไว้เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565

นี่ไม่ใช่ครั้งแรก ของการเกิดความรุนแรงกับเพื่อนบ้าน สถานการณ์การสู้รบระหว่างกองกำลังชนกลุ่มน้อยเชื้อสายกะเหรี่ยงกับทหารเมียนมาระลอกล่าสุดเกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 หลังเปิดฉากปะทะกันตั้งแต่ 26 มิ.ย. บริเวณบ้านอูเกรทะ อ.วาเล่ย์ใหม่ จ.เมียวดี ด้านตรงข้ามกับบ้านวาเลย์ใต้ ต.วาเล่ย์ อ.พบพระ จ.ตาก

                    ส่งผลให้มีกระสุนไม่ทราบชนิด ไม่ทราบฝ่าย ข้ามตกมายังฝั่งไทยเป็นครั้งคราว สร้างความเสียหายให้แก่ทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดน ขณะที่ยอดผู้ลี้ภัยการสู้รบข้ามมายังจุดปลอดภัยชั่วคราวในฝั่งไทยไทยมีอย่างน้อย 470 คน และมีการเผยแพร่คลิปวิดีโอนาทีหนีตายของผู้ลี้ภัยชาวเมียนมาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ พบว่า หลายคนต้องหมอบและคลานไปตามพื้นดินเพื่อหนีเอาตัวรอดจากกระสุน ก่อนมุ่งหน้ามายังชายแดนไทย

                    สถานการณ์การสู้รบระหว่างทหารสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงกองพลน้อยที่ 6 , กองกำลังเคเอ็นดีโอ. และกองกำลังพีดีเอฟ.ของรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (National Unity Government: NUG) อ.สุวาลี จ.เมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ของเมียนมายังคงมีการสู้รบอย่างหนักบริเวณตรงข้ามบ้านวาเล่ย์ใต้ โดยฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารที่เป็นเป้าหมาย ประกอบด้วยทหารกองพลน้อยที่ 6 สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) และกองกำลังพิทักษ์ประชาชน (PDF) ซึ่งเป็นกลุ่มจับอาวุธภายใต้รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG) ซึ่งเป็นรัฐบาลคู่ขนานที่ตั้งขึ้นเพื่อต่อกรกับรัฐบาลทหาร ซึ่งแต่งตั้งขึ้นมาโดยพล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้นำการรัฐประหารเมียนมาเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ปีที่แล้ว ขณะที่มีผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงได้เข้ามาในหมู่บ้าน ภายหลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งไปอาศัยอยู่ในวัดในหมู่บ้านที่ทางเจ้าหน้าที่จัดไว้ และบางส่วนไปอาศัยอยู่ตามตะเข็บชายแดน

ประเด็นคำถามมากมายจากสังคมถึงเหตุการณ์ที่มีอย่างต่อเนื่องระหว่างชายแดนการสู้รบของกองกำลังชนกลุ่มน้อยกะเหรี่ยงกับทหารเมียนมาถึงการจัดการของรัฐไทย การตั้งคำถามของประชาชนในเรื่องการดูแลคนในพื้นที่ และการเพิกเฉยต่อการให้ให้บินผ่านน่านฟ้าไทยได้อย่างไร และการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยกะเหรี่ยง

https://www.facebook.com/thaithenorth/videos/356727229923658

                    คำถามเหล่านี้ไม่ใช่คำถามใหม่ ก่อนหน้านี้จากวงเสวนาเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2565 เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2565 ถึงสถานการณ์ความรุนแรงที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ในปีที่ผ่านมา ที่จัดขึ้นโดยมูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน, เสมสิกขาลัย, มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (HRDF), Karen Peace Support Network และ The Border Consortium จัดงานเสวนาโต๊ะกลม “เพื่อนข้างบ้าน” เพื่อแลกเปลี่ยนในประเด็นการจัดการและการให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัยชาวพม่าและผู้พลัดถิ่นในประเทศ จากตัวแทนภาคประชาสังคมชายแดนและนักวิชาการ เนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลก ที่สถาบันการศึกษาการพัฒนาที่ยังยืนนานาชาติ (ISDSI) จังหวัดเชียงใหม่ ถกกันในประเด็นปัญหาผู้ลี้ภัยพม่า พบอุปสรรคจากอำนาจรัฐส่วนกลางที่ลงมากำกับนโยบายผู้อพยพข้ามแดนโดยคำนึงถึงเรื่องความมั่นคงเป็นหลักเพียงอย่างเดียว สร้างยากลำบากให้กับการจัดการและการให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัย

พรสุข เกิดสว่าง ผู้แทนกลุ่มเพื่อนไร้พรมแดนกล่าวก่อนเปิดงานว่า หลังเกิดรัฐประหารในพม่าได้เกิดการลุกฮือของประชาชนหลายชาติพันธุ์เพราะรู้สึกว่าตัวเองสูญเสียเสรีภาพ และการลุกฮือของกลุ่มกองกำลังชาติพันธุ์จนเกิดการปราบปรามอย่างรุนแรงของกองทัพพม่าทำให้มีการอพยพของประชาชน ซึ่งคนเหล่านี้ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปอยู่ในแคมป์ตามชายแดน 9 แห่ง และการจัดการค่อนข้างโกลาหล และแผนฉุกเฉินไม่ได้ถูกนำมาใช้ คนเหล่านี้ไม่ได้รับการรับรองสถานะตามกฎหมายไทยและกลายเป็นเหยื่อของการถูกรีดไถ ในอดีตผู้ที่อพยพเข้ามาจากพม่าเป็นคนหนุ่มสาว แต่ครั้งนี้มีทุกวัยตั้งแต่เด็กจนถึงคนชรา และบทบาทของสำนักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ซึ่งในอดีตให้ความช่วยเหลือด้านการเงินบ้าง แต่วันนี้ไม่มีเงินและไม่มีการอำนวยความสะดวกให้คนเหล่านี้เดินทางไปในประเทศที่ 3

ถึงรัฐไทย โจทย์คือเราอยากให้ประเทศเราเป็นประเทศแบบไหนที่คนมอง ?

ต้องเปลี่ยนความคิดรัฐไทยแบบเดิมที่ไม่ใช่อยากให้ภาพพจน์เป็นแบบไหนในสายตาโลก ?

 “อ.มารค ตามไท”แนะคิดภาพใหญ่ “เราต้องการให้ประเทศเป็นแบบไหน”

มารค ตามไท นักวิชาการด้านสันติภาพ

มารค ตามไท นักวิชาการด้านสันติภาพ จากสถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติดภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ ปาฐกถาเปิดงานกล่าวว่า ในการพูดถึงปัญหาเรื่องผู้ลี้ภัยมักมีคำว่า สิทธิมนุษยชน, อธิปไตย, มนุษยธรรม, ความยุติธรรม และผลประโยชน์ของชาติ หลุดออกมาจากฝ่ายรัฐและฝ่ายคนทำงานช่วยเหลือ มารค ตามไท มองว่าคำเหล่านี้เป็นกับดักที่ทำให้เกิด Moral Dilemma หรือ ภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกทางศีลธรรม เนื่องจากทุกฝ่ายต่างเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในปัญหานี้และให้คุณค่าของปัญหาผู้ลี้ภัยคนละแง่มุม ทำให้แก้ปัญหาได้ยาก เพราะ Moral Dilemma เป็นปัญหาเชิงศีลธรรมที่ไม่ว่าจะเลือกทางไหนก็สามารถมีจุดอ่อนได้

“อยากจะทดลองความคิดดูกับพวกเรา ให้เปลี่ยนจุดเริ่มต้นของการมอง โดยอย่าเอาตัวไปอยู่ใน Moral Dilemma เพราะผมเชื่อว่าทั้ง 2 ฝ่าย หรืออาจจะ 3 – 4 ฝ่ายในเรื่องนี้สามารถมาสู่ข้อสรุปร่วมกันได้อย่างเป็นรูปธรรม แม้เหตุผลต่างกัน ฝ่ายหนึ่งอาจจะยึดเหตุผลเมตตาธรรม อีกฝ่ายยึดผลประโยชน์ของชาติ เราต้องตั้งโจทย์ให้ถูก โจทย์ไม่ใช่เพื่อนข้างบ้านน่าสงสารหรือไม่ เพื่อนข้างบ้านที่กำลังลี้ภัยลำบากหรือไม่ นั่นไม่ใช่โจทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับฝ่ายรัฐ โจทย์คือเราอยากให้ประเทศไทยเป็นแบบไหน” มารค ตามไท กล่าว

โจทย์ใหญ่ของประเทศ คือ การที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันคิดว่า อยากให้ประเทศไทยเป็นประเทศแบบไหน จึงจะไม่ติดกับดักของ Moral Dilemma ซึ่งมีความหมายมากกว่าแค่การอยากให้ภาพพจน์ประเทศไทยเป็นแบบใดในประชาคมโลก แต่หมายถึงการประเทศไทยมองตัวเองอย่างไร อยากเป็นประเทศแบบไหน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเปลี่ยนประเทศไทยที่ไม่มีการคิดหรือวางภาพพจน์ของตัวเองมาก่อน และโดยภาพใหญ่รัฐไทยก็ยังติดอยู่ในกรอบของผลประโยชน์ของชาติอย่างแคบในเรื่องความมั่นคง ซึ่งหากคิดในแง่ผลประโยชน์ของประเทศอย่างกว้างโจทย์จะเปลี่ยนไปเป็นเราอยากเห็นประเทศไทยเป็นแบบไหน มารค ตามไท เสนอต่อวงเสวนา ซึ่งอยากให้การแก้ปัญหาผู้ลี้ภัยอยู่บนฐานใหญ่ของการคิดว่าอยากเห็นประเทศไทยเป็นประเทศแบบไหน มากกว่าการคิดแก้ปัญหาระยะสั้น วันต่อวันหรือปีต่อปี

ก่อนเสวนาได้มีการฉายวีดีโอ “Friends Next Door” ซึ่งระบุว่า ขณะนี้ผู้พลัดถิ่นพม่าในไทยร่วม 7 แสนคน รวมกับของเก่าอีกก็นับล้านคน หลาย ๆ ครั้ง จำนวนนับได้จริงกับจำนวนที่เปิดเผยต่อสาธารณะแตกต่างกัน ส่วนหนึ่งผู้อพยพหนีเข้ามาพร้อมกับคนทำงาน ผู้ลี้ภัยการเมืองกับผู้ลี้ภัยสงครามอาจเป็นคนๆเดียวกัน เราไม่รู้ว่าหลังรัฐประหารมีผู้ลี้ภัยการเมืองกับผู้พลัดถิ่นในพม่าอยู่เท่าไหร่ พวกเขาพยายามเลื่อนไหลสถานะของตนเสมอเพราะอยากอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ผู้ดำเนินวง ฐปณีย์ เอียดศรีไชย

“ความไม่เข้าใจในประเด็นผู้ลี้ภัย หรือผู้พลัดถิ่น อาจเป็นปัญหาหนึ่งที่ใช่เพียงแค่รัฐ เป็นเรื่องทัศนคติขิงคนไทย ที่อาจจะไม่เข้าใจเรื่องนี้ ดังนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ประเทศไทยเผชิญมายาวนาน ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาได้เห็นคลื่นอพยพของเพื่อนบ้านของเรา ทั้งชายแดนสาละวิน หรือชายแดนแม่สอด เห็นถึงความแตกต่าง และวิกฤติด้านมนุษย์ธรรมในเรื่องการช่วยเหลือ”

กล่าวเชื่อมวาระการคุยโดยผู้ดำเนินวง ฐปณีย์ เอียดศรีไชย

ปัญญา ชาญชาติวีระ  ส.จ. เขตอุ้มผาง จ.ตาก ได้เล่าถึง ช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ที่ผ่านมาชาวบ้านกว่า 30 หมู่บ้านได้รับผลกระทบจากการสู้รบชายแดน การจัดการสถานการณ์ผู้ลี้ภัยในพื้นที่อุ้มผาง ระบุว่า ช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ที่ผ่านมาชาวบ้านกว่า 30 หมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบชายแดน เนื่องจากความรุนแรงเกิดขึ้นใกล้กับพื้นที่หมู่บ้าน อาทิ การโจมตีด้วยเครื่องบิน ทำให้ประชาชนไม่สามารถอยู่ได้ และด้วยลักษณะพื้นที่ชายแดนอุ้มผางเป็นพื้นที่แตกต่างจากแม่สอดหรือพบพระ เขตอุ้มผางไม่มีเส้นแบ่งหรือแม่น้ำกั้น ทำให้ไม่ทราบการเคลื่อนไหวใด ๆ และเกิดความเสี่ยงมาก บางครั้งอาจมีการรุกล้ำเข้ามา มีชาวบ้านกว่า 5,000 คนหลบหนีเข้ามา แต่ไม่สามารถอยู่ได้ เนื่องจากเกิดความกลัว ตนได้ลงพื้นที่และเห็นความยากลำบากของผู้ประสบภัยที่หนีเข้ามา  ปัญญาตั้งคำถามว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่ทางการไทยจะยอมรับความยากลำบากของผู้ประสบภัยที่หนีเข้ามากลุ่มนี้ บางจุดผู้ประสบภัยอยู่อาศัยได้เพียง 2 – 3 วัน ก็ต้องกลับไป จุดที่อยู่ได้นานสุดที่อุ้มผางอยู่ได้ 1 เดือนและก็ต้องข้ามกลับไป หน่วยงานรัฐจะมีทางออกหรือไม่ที่จะเข้าไปดูแลคนกลุ่มนี้ให้อยู่อาศัยในพื้นที่ปลอดภัยได้นานขึ้น

ซอ เฮโซ เครือข่ายให้ความช่วยเหลือชาวกะเหรี่ยง

                 ซอ เฮโซ เครือข่ายให้ความช่วยเหลือชาวกะเหรี่ยง (Karen Peace Support Network) กล่าวว่า

“อย่างแรกใครคือเพื่อนข้างบ้าน และในประเด็นเรื่องผู้ลี้ภัยบางครั้งตัวเราเองก็ต้องตั้งคำถามว่าเราเป็นเพื่อนบ้านแบบไหน ?

จากสถานการณ์เชิงพื้นที่ในรัฐกะเหรี่ยงซึ่งตรงข้ามกับอุ้มผาง พบพระ แม่สอด ที่อยู่ใกล้กับเมืองเมียวดี ซึ่งการสู้รบในรัฐกะเหรี่ยงไม่ใช่เรื่องใหม่ที่พึ่งเกิดขึ้น

ประเด็นที่เราตระหนักดีคือ

1 องค์กรภาคประชาชนไม่ได้มีศักยภาพในการรับมือกับสถานการณ์ที่มีผู้หนีภัยจำนวนมาก

2 การเป็นองค์กรภาคประชาชนสถานการณ์ให้ความช่วยเหลือก็ไม่ชัดเจนว่ามากน้อยเพียงใดที่สามารถทำได้โดยไม่กระทบกรอบกฎหมาย

3 ในหลายพื้นองค์กรภาคเอกชนไม่สามารถเข้าถึงเพื่อให้การช่วยเหลือเฉพาะหน้าได้

                    ก่อนการรัฐประหารพม่าในเดือนกุมภาพันธุ์ ปี 2021 ก็เคยมีการสู้รบเกิดขึ้น และทิ้งระเบิดทางอากาศก็ทำให้เกิดผลกระทบกับชาวบ้านในฝั่งไทยด้วย เนื่องจากไม่มีความแม่นยำและไม่มีเส้นแบ่งพรมแดนที่ชัดเจน ผลกระทบจึงกระจายเป็นวงกว้าง  หลังการรัฐประหารพม่าในเดือนกุมภาพันธุ์ ปี 2021 มีผู้ลี้ภัยและผู้อพยพจำนวนมากเข้ามาในเขตอุ้มผาง แม่สอด พบพระ ทั้งผู้อพยพริมน้ำและผู้ลี้ภัยในเมือง ปัญหาคือแม้จะมีพื้นที่รองรับผู้ประสบภัยอยู่บ้าง แต่ไม่มีการประสานงานที่ชัดเจน นอกจากนี้ยังมีองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่พร้อมให้ความช่วยเหลือแต่เข้าถึงพื้นที่ไม่ได้ เนื่องจากติดที่ทางการไทย คนที่ต้องการความช่วยเหลือจึงเข้าไม่ถึงความช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉินเช่นนี้ 

ซอ เฮโซ เสนอให้มีการทำงานร่วมเพื่อให้เกิดการประสานงาน และเป็นกลไกให้ผู้ลี้ภัยหรือผู้อพยพเข้าถึงพื้นที่ปลอดภัยและความคุ้มครองในขณะที่การสู้รบในพม่าเองคงดำเนินอยู่และเป็นเรื่องยากที่จะสิ้นสุดลงในเร็วนี้ คนที่ข้ามแดนเข้ามาด้วยสถานการณ์ความไม่สงบไม่อาจเดินทางกลับประเทศต้นทางได้ บางคนที่เข้ามาและข้ามกลับไปมีความเสี่ยงถึงชีวิต เราจึงยังต้องคิดถึงเรื่องการช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ที่ข้ามมาเพื่อแสวงหาพื้นที่ปลอดภัย

อดิศร เกิดมงคล ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG)

“ทำไมการจัดการของไทยดูไม่คงที่ การจัดการผู้ลี้ภัยในแคมป์อยู่ภายใต้การจัดการของหน่วงงานภายใต้มหาดไทย แต่พอเป็นผู้ลี้ภัยในลักษณะนี้เป็นการดูแลของทหาร ผมเข้าใจว่าในแง่ของการเฝ้าระวังการตอบโต้กลับไปเป็นหน้าที่ของทหาร แต่กระบวนการในการจัดการผู้คนไม่ควรจะเป็นแบบนั้น เพราะพอเป็นทหารก็จะมีวิธีคิดบางอย่างที่อาจทำให้การจัดการมีปัญหาเพิ่มมากขึ้น”

อดิศร กล่าว

                 อดิศร เกิดมงคล ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG) ระบุว่า ปัญหาหลักเกี่ยวกับประเด็นผู้ลี้ภัยตอนนี้เป็นปัญหาเรื่องการจัดการนระดับพื้นที่ ที่ยังมีปัญหาอุปสรรค การจัดการโดยรัฐมองในเรื่องความมั่นเป็นหลัก เมื่อเจอสถานการณ์ประชันหน้าไม่ทันตั้งตัว เช่นที่สาละวินเห้นความยุ่งยากของการทำงานอย่างมาก คงทำให้ยากต่อการจัดการ ขณะที่แม่สอด อุ้มผาง พบพระ มีการจัดการโดยคนพื้นที่ร่วมด้วยจะมีความเข้าใจในปัญหามากกว่า ถ้าหากสามารถดึงศักยภาพของตัวรัฐในพื้นที่และชุมชนเข้ามาร่วมจัดการร่วมจะทำให้การรับมือกับสถานการณ์ได้ผลเพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญชุมชนในพื้นที่ชายแดนไทย – พม่า แม่ฮ่องสอนถึงตาก เป็นชุมชนที่พึ่งพาอาศัยกันมานาน 

ก่อนหน้านี้มีข้อเสนอว่า ในช่วงระหว่างรอให้สถานการณ์สงบลงสามารถเปิดโอกาสให้มีการพึ่งพาอาศัยกันด้านแรงงานได้ เช่น เปิดให้มีการจ้างงานระยะสั้นในช่วงเก็บเกี่ยว เพาะปลูก เนื่องจากในพื้นที่อุ้มผาง พบพระ แม่สอด มีการจ้างงานในลักษณะนี้เช่นกัน หากใช้โอกาสเปิดให้มีการจ้างงานก็จะทำให้ตัวคนที่ลี้ภัยเข้ามาสามารถดูแลตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยไม่ต้องพึ่งพาความดูแลจากองค์กรช่วยเหลือเพียงอย่างเดียว และตัวชุมชนชายแดนไทยก็จะได้ประโยชน์จากการจ้างงานในลักษณะนี้ จะทำให้ชุมชนชายแดนเป็นแบบนี้ที่ผ่านมาตลอดเวลา ทำให้กลไกการจัดการพื้นที่มีระบบชัดเจน มีให้ข้อเสนอจากชุมชนตั้งการจัดการ อีกทั้งอดิศรตั้งข้อสังเกตว่า การจัดการผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงของไทยอยู่ในความดูแลของหน่วยงานปกครอง ภายใต้กระทรวงมหาดไทย แต่การจัดการกับผู้ลี้ภัยชายแดนกลับถูกดูแลควบคุมโดยทหาร

                    หากสามารถปรับวิธีคิดให้รัฐไม่เอาตัวเองมาเป็นศูนย์กลางและใช้วิธีการแบบเพื่อนหรือญาติที่ช่วยเหลือกันบริเวณชายแดนอาจทำให้เกิดความช่วยเหลือกันที่ดีกว่าขณะนี้


รวีพร ดอกไม้ ตัวแทนจาก มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (HRDF) แม่สอด

รวีพร ดอกไม้ ตัวแทนจาก มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (HRDF) แม่สอด ได้บอกเล่าถึงสถานการณ์ผู้ลี้ภัยในแม่สอด กล่าวว่า แม่สอดเป็นพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษซึ่งพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษของจังหวัดตากจะครอบคลุมอยู่สามอำเภอ คือ แม่สอด พบพระ และแม่ระมาด ส่วนบริบทของชายแดนมีความซับซ้อนในพื้นที่ตั้งแต่แรกทั้งในเรื่องของการค้าชายแดน การนำเข้าแรงงานในระบบเอ็มโออยู่ การจ้างงานชายแดนและพื้นที่การลงทุนในด้านอุตสาหกรรมกิจการที่ต้องลงทุนในการใช้แรงงานในระดับฝีมือในด้านอุตสาหกรรมซึ่งการอพยพย้ายถิ่นเป็นสถานการณ์ที่ไม่ปกติอยากเป็นเหตุการณ์ความไม่สงบในเมียนมาและตั้งแต่มีการปิดด่านชายแดนจากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ส่งผลให้ชายแดนในพื้นที่ตรงนี้มีความซับซ้อนมากขึ้นโดยในที่นี้จะจำแนกไว้ 5 กลุ่ม คือ แรงงานข้ามชาติ ผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัย ผู้ประสบภัยทางการเมือง ผู้ประสบภัยที่อยู่ตามแนวชายแดนหรือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง IDP และกลุ่มผู้ลักลอบเข้าเมือง อาจจะรวมถึงนัยยะของผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการค้ามนุษย์ 

                    ในกลุ่มแรกคือกลุ่มแรงงานข้ามชาติถ้าจะพูดถึงคือกฎหมายที่ใช้ในการบริหารจัดการของกลุ่มแรงงานข้ามชาติจะมีอยู่สองฉบับ คือ พ.ร.บ คนเข้าเมืองปี 2522 และ พ.ร.ก การจัดการของคนต่างดาวปี 2560 แก้ไขเพิ่มเติม 2561 ถ้าอ้างอิงจากตัว พ.ร.ก. จะมีกลุ่มที่สามารถจ้างงานได้ทั้งหมดห้ากลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่สามารถขึ้นทะเบียนได้ตามมติคณะรัฐมนตรี ที่อนุญาตให้แรงงานข้ามชาติขึ้นทะเบียน อีกกลุ่มคือกลุ่มที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนหรือกลุ่มบัตร 10 ปี จะสามารถอยู่ทำงานได้ในประเทศไทยทำงานได้ทุกอย่างเหมือนคนไทยยกเว้นเป็นนายจ้างตัวเอง อีกกลุ่มคือแรงงานนำเข้าเอ็มโอยู กลุ่มสี่คือกลุ่มการจ้างงานชายแดน ตามมาตรา 64 และอีกกลุ่มคือกลุ่มการเข้าเมืองผิดกฎหมายแต่ได้รับการอนุญาตให้อยู่ต่อเนื่องในระหว่างรอการส่งกลับ รายงานทั้งห้ากลุ่มจะอยู่ต่ออนุญาตภายใต้กรมการจัดหางานให้การพิสูจน์สัญชาติจากประเทศต้นทางจะมีเอกสารรับรองจากประเทศต้นทางยกเว้นกลุ่มที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน และกลุ่มที่รอการส่งกลับ แรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานคือแรงงานสัญชาติเมียนมาร ลาว กัมพูชา และเวียดนาม อีกกลุ่มคือกลุ่มผู้ลี้ภัยที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยจะเป็นกลุ่มที่รัฐไทยนิยามว่าเป็นมาจากสัญชาติเมียนมา เข้ามาในช่วงความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่ปี 1980 ทั้งเก้าแคมป์ มีการบริหารจัดการภายใต้รัฐบาลไทยกระทรวงมหาดไทยและ USCR และองค์การด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มผู้ประสบภัยทางการเมืองกลุ่มผู้ประสบภัยทางการเมือง เป็นกลุ่มผู้ลี้ภัยในเมืองที่ไม่ได้อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยโดยก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธุ์ 2564 ก่อนสถานการณ์เมียนมาร์เดือด ผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่เข้า นับจากวันที่มีการยึดอำนาจที่เมียนมา ข้อเท็จจริงที่พบคือมีชาวเมียนมาที่เข้ามาอพยพในประเทศไทยด้วยเหตุผลทางการเมืองเกิดจากสถานการณ์การต่อต้านการไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารมีประชาชนหลายกลุ่มหลายอาชีพทั้งข้าราชการนักวิชาการนักศึกษาภาคเอกชนรัฐวิสาหกิจคือประชาชนที่ไม่เห็นด้วยออกมาแสดงออกเชิงสัญลักษณ์และกระบวนการทางสังคมเรียกว่าอารยะขัดขืน โดยทางมินอ๋องหลาย มีการแสดงออกในเชิงตอบโต้ในช่วงแรกมีหมาย 505 ออกมาเพื่อปิดปากกับผู้ที่แสดงออกเชิงไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารทำให้ประชาชนมีหมายจับบางคนไม่มีหมายจับแต่ถูกจับตา ทำให้คนกลุ่มนี้ต้องหนีภัยโดยมีวัตถุประสงค์คือเข้ามาเพื่อขอประสานกับทางสถานทูตและทาง UNSCR เพื่อหาพื้นที่ปลอดภัย แต่กลุ่มนี้ก็ไม่ได้อยู่ในพื้นที่พักพิงทั้งเก้าแคมป์ที่รัฐบาลไทยมีการจัดการแล้ว ที่ให้เข้ามาในค่ายผู้ลี้ภัยจะมีการคัดกรอง ส่วนอีกอันนึงคือผู้ลี้ภัยในเมืองโดยมากที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยเพื่อเข้ามาขอติดต่อ UNSCR เพื่อขอสถานะในการคุ้มครองเมื่อผ่านกระบวนการคัดกรองจาก UNSCR และได้รับการรับรองจากสถานะแล้วแต่ผู้ประสบภัยจากเมียนมา ไม่ได้มีระบบที่แน่ชัดและชัดเจนในการขอสถานะ ทำให้กลุ่มนี้เมื่อถูกจับกลุ่มจะถูกจับกุมข้อหาตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมืองและพ.ร.บ. การควบคุมโรค เสี่ยงต่อการถูกพักดันกับเผชิญกับภัยอันประหัตประหาร กลุ่มนี้วิธีการเดินทางโดยมากเข้ามารวมกับกลุ่มที่ปะปนระหว่างการเดินทางเข้ามาในประเทศบางเคสจะถูกเหมารวมถูกดำเนินคดีเดียวในแบบเดียวกับ กลุ่มลักลอบเข้าเมืองถึงแม้ว่าเราจะมีวิธีการคัดแยกผู้เสียหายจากการถูกค้ามนุษย์ ดังนั้นสิ่งนี้มีความเสี่ยงผลักดันผู้ถูกอพยพจากประเทศเพื่อนบ้านกลับไปโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการการขึ้นศาล

                    อีกกลุ่มหนึ่งที่เจอในพื้นที่คือกลุ่มผู้ประสบภัยตามแนวชายแดนอยู่แถบแม่สอดโดยสถานการณ์นี้เกิดประมาณปลายปีที่ผ่านมาโดยจุดเริ่มต้นตรงนี้. ของการเปลี่ยนในหมู่บ้านเลก๋วยเกาะ อยู่ในพื้นที่ของเขตรัฐกะเหรี่ยง KNU ที่รัฐบาลทหารเมียนมาเข้าไปเพื่อค้นหานักกิจกรรม ทำให้ชาวบ้านและนักศึกษานักเคลื่อนไหวต้องหนีเข้ามายังพื้นที่ปลอดภัยแนวตะเข็บชายแดน ซึ่งในช่วงแรกรัฐบาลไทยจัดพื้นที่ให้แต่พอไม่มีการต่อสู้รบทางอากาศก็เข้าใจว่าจุดนี้สงบลงแล้ว แต่ชาวบ้านไม่สามารถกลับเข้าไปยังพื้นที่ได้จึงจัดตั้งพื้นที่ชั่วคราวอยู่ตามฝั่งเนินทราย  อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มผู้ลักลอบเข้าเมืองมามีวัตถุประสงค์คือหางานทำหรือใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านไปยังมาเลเซียกรณีนี้พบว่าเป็นกลุ่มโรฮิงญาที่มีการเปลี่ยนเส้นทางจากทางน้ำมาเป็นทางบกโดยจะมาจากรัฐยะไข่และเมียววดีข้ามมาทางแม่สอด ทำให้สถานการณ์ทาง พบพระ ท่าสองยางขึ้นอยู่กับการประเมินของตัวนายหน้าเพื่อประสานเข้ามาและกลุ่มนี้บางครั้งก็จะรวมถึงผู้หนีภัยอันประหัตประหารหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากทางการเมืองด้วย 

                    จากการทำงานที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางการเมืองมาทั้งแรงงานข้ามชาติและผู้ประสบภัยทางการเมืองเมื่อถูกจับคือการจัดการและให้การคุ้มครองไม่ได้มีแนวทางและขั้นตอนในการให้ความช่วยเหลือที่ชัดเจนบางกรณีพบว่าถูกส่งกลับประเทศต้นทางบางกรณีถูกส่งกลับไปที่ส่วนกลางรวมทั้งการให้ความช่วยเหลือไม่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันเวลาเนื่องจากแนวทางการพิจารณาคดีเป็นแนวทางการพิจารณาคดีแบบสามสัญชาติโดยเป็นการนิยามของกลุ่มแรงงานที่เข้าเมืองมาแบบผิดกฎหมาย แต่ในสถานการณ์ความเป็นจริงภายหลังจากสถานการณ์ความไม่สงบนี้ในเมียนมา ทำให้เกิดความหลากหลายในการนิยามของกลุ่มผู้เคลื่อนย้ายถิ่นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการจัดการและให้การคุ้มครองแต่ละกลุ่ม

สำหรับข้อเสนอไปยังรัฐบาล การแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยไปยังรัฐบาล 8 ข้อ คือ

1. ให้ทางรัฐบาลไทบเปิดพื้นที่ในการคัดกรองผู้ประสบภัยทางการเมืองจากประเทศพม่า โดยให้ UNHCR และ สถานทูต รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศเข้ามาคัดกรอง และให้ความคุ้มครอง ช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม

2.ให้มีการคัดกรองผู้ลักลอบเข้าเมือง (Smuggling) ให้พิจารณาตามความหลากหลาย และซับซ้อน เพื่อที่จะระบุสถานะ และ เข้าถึงการคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชน 

3.เสนอให้ UNHCR และ สถานทูต มีแนวทางที่ชัดเจนในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางการเมืองจากประเทศพม่า เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของกระบวนการลักลอบขนคนข้ามแดน และกระบวนการการค้ามนุษย์ 4.ให้ทางรัฐบาลไทย มีแนวทางในการคุ้มครองผู้ประสบภัยทางการเมือง

5.เสนอให้รัฐบาลไทยพิจารณาระเบียบคัดกรองคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรและไม่สามารถเดินทางกลับประเทศต้นทางได้

6.จัดให้มีพื้นที่ปลอดภัยสำหรับผู้หนีภัยการสู้รบ และมีการจัดการพื้นที่อย่างเป็นระบบ โดยพิจารณาในเรื่องการมีส่วนร่วมในการจัดการของชุมชนพื้นที่

7.ให้รัฐบาลไทยมีการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางวิชาการ ร่วมกับมหาวิทยาลัย และหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

8.ควรมีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการผู้อพยพ

สืบสกุล กิจนุกร นักวิจัยและผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่

สืบสกุล กิจนุกร นักวิจัยและผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ (Area-based-Social Innovation Research Center (Ab-SIRC)) กล่าวว่า ตนออกมาพูดเรื่องนโยบายผู้ลี้ภัยและรายงานข้ามชาติ ตั้งแต่เรามีพรรคการเมืองฝ่ายก้าวหน้าขึ้นมาเรายังไม่เคยได้ยินนโยบายจากปากพวกเขาเลย สิ่งนี้มีความสำคัญมากน่าสนใจตรงที่ทำไมพรรคการเมืองเหล่านี้ไม่พูดถึงนโยบายเรื่องผู้ลี้ภัยและแรงงานข้ามชาติ ซึ่งตรงนี้เชื่อมโยงไปกับตอนแรกที่อาจารย์มาร์คพูดถึงเรามีจินตนาการภาพในการเรามีจินตนาการในเรื่องของการสร้างชาติของเราอย่างไรเป็นประเด็นที่สำคัญ ตนมาจากเชียงราย จะพูดในมุมมองของคนที่มาจากพื้นที่เชียงรายแชร์ข้อมูลเชิงสถานการณ์และทำงานมาบ้างเกี่ยวกับการข้ามแดน เราอยู่ในโลกของการเคลื่อนย้ายข้ามแดนและเราคือคนที่ข้ามแดนอยู่ตลอดเวลาเช่นอย่างน้อยเป็นนักท่องเที่ยวเรียนต่อต่างชาติมีความสำคัญยิ่งในโลกของยุคโลกาภิวัตน์และโลกหลังโควิดการข้ามแดนจะเกิดขึ้นอย่างมหาศาลอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน 

https://www.facebook.com/watch/?v=1802228543438184

หากหลับตาจินตนาการ…หากประสบการณ์ร่วมของทุกคน คือ เคยไปสามเหลี่ยมทองคำ สถานที่เจอกันของประเทศไทยลาวเมียนมา หากอยู่ที่เชียงแสนสามเหลี่ยมทองคำหันหน้าไปทางการไหลของแม่น้ำโขงจะเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยและลาวจากเชียงแสนไปถึงภูชี้ฟ้า ทางกลับกันหันซ้ายเจอศพลวกเส้นแบ่งพรมแดนระหว่างไทยกับเมียนมา ขึ้นไปทางแม่น้ำสาย ไหลผ่านภูเขาไปเรื่อย ๆ ดอยแม่สลอง ดอยตุง ดอยหัวแม่คำ ไปจนถึงฝาง ถึงชายแดนไทยเมียนมา อีก 150 กว่ากิโลเมตรซึ่งทั้งหมดเป็นแม่น้ำภูเขาชุมชนทั้งชุมชนชนบทชุมชนเมืองมีทหารคอยป้องกันการรุกล้ำอธิปไตยตลอดแนวชายแดนแต่การข้ามแดนก็เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทั้งก่อนโควิด 19 และหลังโควิด 19 คิดว่าโดยเฉพาะหลัง 1 กุมภาพันธ์เป็นต้นมาสิ่งที่น่าสนใจคือกลางเดือนมีนาคมทหารไทยที่ทางการไทยที่อำเภอแม่ฟ้าหลวงและแม่สายออกมาซ้อมแผนการรองรับผู้ลี้ภัยมีคำถามคือทำไมรัฐไทยมีสติปัญญาที่เร็วมาก คือหนึ่งกุมภาพันธุ์ที่รัฐประหารเมียนมา เราไม่เคยเห็นการซ้อมแผนผู้ลี้ภัย หลังจากนั้นมีการเดินประท้วงที่ท่าขี้เหล็กหลายครั้งแม้ว่าสื่อจะพยายามนำเสนอไม่มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ท่าขี้เหล็กเพราะคนสนใจเรื่องค้าขายมากกว่า แต่คนดูข่าวในเชียงรายท้องถิ่นจะเห็นว่ามีการเดินขบวนอย่างยาวนานพร้อมกับมีการเช่นปีนี้มีการวางลอบวางระเบิดหลายครั้งจนเป็นเหตุหนึ่งจนตอนนี้ทางพรมแดนฝั่งท่าขี้เหล็กยังไม่เปิดด่าน

                     ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์มีคนที่ข้ามแดนมาด้วยเหตุผลลี้ภัยทางการเมืองเยอะมากขึ้นแบบเงียบ ๆ อาจจะไม่ได้เยอะแบบที่ตากแม่ฮ่องสอนเพราะมีการสู้รบอย่างชัดเจน ปลายปีที่ผ่านมาเราพบว่ามีคนที่ข้ามแดนด้วยเหตุผลลี้ภัยทางการเมืองเป็นเด็กวัยหนุ่มสาวเยอะมากขึ้น บางคนถูกจับกลุ่มส่งตัวไปที่ศาลถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาสามข้อหาที่เชียงรายหากถูกจับคือ พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ร.บ. ควบคุมโรคติดต่อ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ถูกดำเนินการเข้าคุก ค้าง ต.ม. และถูกส่งกลับไปยังประเทศต้นทาง ยังมีอีกหลายคนที่เพื่อนสูญหายระหว่างทางไม่รู้หายไปไหนบางคนเป็นเด็กเจอว่าติดต่อญาติไม่ได้เพราะโทรศัพท์สูญหายระหว่างทาง เป็นประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นและคิดว่าส่วนของเชียงรายในแง่ของการกักตัวตามมาตรการโควิด มีงานที่จะขยายสิ่งที่ออกไปตอนแรกนับได้ 50 คนต่อครั้งมีการจับคนได้ทุกวันถูกส่งฟ้องศาลไปเรื่อย ๆ สิ่งนี้คือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเชียงราย

                    อีกส่วนหนึ่งที่อยากจะพูดคือในส่วนของเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีถ้าเป็นเด็กเล็ก ๆ ชัดเจนว่าไม่ถึง 18 ปีแต่ถ้าเป็นเด็กหนุ่มโตอยู่ในช่วงวัยรุ่น 15 16 17 เจ้าหน้าที่ก็จะปัดไปเลยเป็น 20 เพราะถือว่าคุณเป็นผู้ใหญ่แล้วแต่เด็กก็ไม่รู้ว่าตัวเองมีสิทธิ์ถ้าต่ำกว่า 18 มีสิทธิ์ที่จะออกมาอยู่กับญาติพี่น้องได้ หากอยู่ที่นั่นครบ 14 วัน สิ่งนี้เป็นประเด็นที่เราค่อนข้างคอนเสิร์ตมากและมีเยอะมากขึ้นเรื่อย ๆ นี่คือภาพสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดเชียงราย 

                 ข้อเสนอแนะ คือ โจทย์ที่อาจารย์มารกตั้งมีข้อสำคัญแล้วเรามองโลกที่เป็นอยู่นี้อย่างไรถ้าให้เป็นรูปธรรมแล้วเรากำลังสร้างภาพเราอย่างไรที่ไปสัมพันธ์กับคนย้ายถิ่นข้ามสิ่งนี้เป็นโจทย์ใหญ่พรรคการเมืองยังไม่เคยพูดถึง

หลวง สันติวง มูลทอง

หลวง สันติวง มูลทอง ต้องออกตัวเป็นคนนอกว่าไม่ได้ทำประเด็นผู้ลื้อภัย แต่ออกตัวว่าเป็นคนในที่อยู่ สบเมย และใกล้ชิดกับเหตุการณ์ ในช่วงสถานการณ์ใหม่ตั้งแต่ปีที่แล้วถึงปีนี้ มันเป็นช่วงสถานการณ์ชุลมุลฝุ่นตลบ เหมือนงานวัดไม่ได้จัดขบวน ต่างคนต่างทำ สุดท้ายไปเจอกลางงานวัด พร้อมกับสถานการณ์ไม่นิ่งไม่รู้ใครเป็นใครทั้งสองฝั่ง 1 วันทหาร 4 เหล่าพูดไม่ตรงกัน ข้อเสนอคือจัดขบวนพวกเราก่อน

เดย์ เดย์ ธงชัย พัชรัตน์ประสิทธิ์ อาสาสมัครในพื้นที่แม่สอดที่ช่วยเหลือสถานการณ์ฉุกเฉินเกี่ยวกับการลี้ภัย

เดย์ เดย์ ธงชัย พัชรัตน์ประสิทธิ์ อาสาสมัครในพื้นที่แม่สอดที่ช่วยเหลือสถานการณ์ฉุกเฉินเกี่ยวกับการลี้ภัย กล่าวถึงข้อเสนอ ที่ควรมีกลไกที่ชัดเจนในการแบ่งอำนาจให้กับพื้นที่กรณีตัวอย่างที่เราเห็นได้ชัดเจนคือ มอเกอ ตำบล วาเล่ย์ อำเภอ พบพระ ตาก ช่วงเกิดเหตุเกิดการโจมตีทางอากาศในวันที่ 18 พฤษภาคมจะเห็นกลไกธรรมชาติของพื้นที่คือ เมื่อเกิดเหตุช่วงประมาณ 10 โมงถึงเที่ยงชาวบ้านเริ่มทะลักเข้ามากลไกธรรมชาติมันเกิดขึ้นโดยที่ปกครองท้องถิ่นเข้าไปควบคุมการจัดการบริหารให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นจัดสถานที่ปลอดภัยให้และทหารในพื้นที่เริ่มมีกลไกธรรมชาติทหารจะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกลไกในการจัดการผู้ลี้ภัยแต่จะดูพื้นที่โดยรอบรักษาความปลอดภัยโดยรอบ พอสถานการณ์ยังคงตึงเครียดตัวอบต. ในพื้นที่เกิดเหตุ อบต. วเรน อำเภอพบพระจังหวัดตาก เข้าไปจัดการเรื่องอาหารให้ความช่วยเหลือทันที และทำการประเมินสถานการณ์ว่าอาจจะมีการที่ชาวบ้านต้องอยู่ต่อเริ่มประสานความร่วมมือกับเครือข่ายที่รู้จักและตัวเครือข่ายเจ้าหน้าที่และเครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่ใครจะมาเป็นเจ้าภาพในการดูแลต่อ สิ่งที่เราพบคือชาวบ้านเริ่มประเมินสถานการณ์และมั่นใจในสถานการณ์ความปลอดภัยในพื้นที่ชาวบ้านก็กลับเองโดยที่ทางการไม่ต้องผลักกลับ สิ่งนี้คือกลไกธรรมชาติที่เราเห็นถ้าหน่วยงานมีนโยบายมีความชัดเจนให้กับพื้นที่มีการแบ่งอำนาจและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนให้กับพื้นที่ ตนคิดว่าพื้นที่สามารถจัดการได้ โดยไม่ต้องรออำนาจจากส่วนกลางทั้งหมด สิ่งที่สองที่เราเห็นคือก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์นี้ก่อนหน้านีที่เหตุการณ์คอกวัว ความซับซ้อนเกิดขึ้นจากสถานการณ์ที่ชาวบ้านหนีเข้ามาหลายจุดแทนที่จะใช้กลไกของแต่ละพื้นที่ของแต่ละชุมชนเช่น ช.ร.บ พื้นที่หรือ อ.ส. ของพื้นที่เข้าไปควบคุมพื้นที่ก่อน แทนที่จะให้เจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยเพราะสถานการณ์สงบซึ่งมันอาจจะใช้เวลาประมาณสามถึงหนึ่งอาทิตย์เราจะสามารถส่งกับชาวบ้านเข้าไปยังพื้นที่ได้เลยแต่สิ่งที่รัฐไทยทำตอนนั้นคือเอาชาวบ้านที่ประสบเหตุทั้งหมดไปรวมอยู่ในพื้นที่เดียวพอมันถึงสถานการณ์ที่เหตุการณ์เริ่มสงบชาวบ้านสามารถกลับได้ชาวบ้านที่จะกลับไม่สามารถกลับไปในพื้นที่ของตนเองได้ทันทีเพราะจุดที่ถูกย้ายไปรวมกันจุดที่เค้าข้ามมาและพื้นที่เดิมของเค้ามันห่างกันมาก มันจึงทำให้เกิดความซับซ้อนในการจัดการและมีความยืดเยื้อของสถานการณ์ในพื้นที่มากขึ้นแต่ก็รณีของ มอเกอ ที่ยกตัวอย่างขึ้นมา 18 พฤษภาคมเห็นตัวอย่างได้ชัดว่าถ้ารัฐแบ่งอำนาจให้กับท้องถิ่นอย่างชัดเจนมีการกำหนดแนวทางปฏิบัติให้กับท้องถิ่นอย่างชัดเจนท้องถิ่นสามารถจัดการได้และฝ่ายความมั่นคงเองอาหารเองเค้าให้อำนาจกับทางฝ่ายปกครองท้องถิ่นแล้วเค้าทำหน้าที่ของเขาเรื่องการดูแลพื้นที่แค่นั้นสถานการณ์จะกลับไปในภาวะปกติได้ไว

นอ เกอะญอพอ เครือข่ายผู้หญิงกะเหรี่ยง (Karen Women’s Organization)

นอ เกอะญอพอ เครือข่ายผู้หญิงกะเหรี่ยง (Karen Women’s Organization) กล่าวว่าถ้ารัฐบาลไทยมีนโยบายให้ความช่วยเหลืออย่างเสรีจะทำให้พวกเราทำงานง่ายขึ้น ผู้พลัดถิ่นขาดความมั่นคงและความปลอดภัยในประเทศ ทำให้จำเป็นต้องข้ามแม่น้ำและข้ามแดนมาหาพื้นที่ปลอดภัย เขาต้องการยารักษาโรค น้ำ อาหาร โดยเฉพาะผู้หญิงตั้งครรภ์และผู้หญิงที่มีลูกเล็ก รวมถึงคนสูงอายุ

                 Nei Neh Plo เครือข่ายคาเรนนี (Coordinating Team for Emergency Relief) กล่าวว่าผลกระทบจากรัฐประหาร ชาวคาเรนนี้กว่า 3 แสนได้รับผลกระทบและจำนวน 2 ใน 3 หรือ 2 แสนคนกลายเป็นผู้พลัดถิ่น พวกเขาต้องเจอกับปัญหาการขาดแคลนอาหารและที่อยู่ปลอดภัยเพราะต้องย้ายอยู่ตลอดเวลา ขณะที่การเดินทางก็มีปัญหาเพราะรัฐคะเรนนีเป็นพื้นที่ไม่ใหญ่ หากมีทหารตั้งด่านก็จะทำให้ผู้หนีภัยเข้าไม่ถึงความช่วยเหลือ หากต้องการความช่วยเหลือก็ต้องข้ามแดนแต่มีการโจมตีทางอากาศตลอดเวลา

ปรีชาศิลปกุล นักวิชาการด้านกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

                    ก่อนจบงานเสวนาสมชาย ปรีชาศิลปกุล นักวิชาการด้านกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวสรุปงาน โดยระบุว่า สิ่งที่ต้องขบคิดจากการเห็นสภาพการทำงานในพื้นที่ที่ผ่านมา คือเราเห็นส่วนที่ทำงานได้ทั้งหน่วยงานทางปกครองในพื้นที่ องค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่ ระบบเครือญาติ แต่ปฎิเสธไม่ได้ว่าการทำงานได้ของกลุ่มคนเหล่านี้อยู่ภายใต้นโยบายเรื่องผู้อพยพข้ามแดนที่มาจากอำนาจรัฐส่วนกลาง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดอุปสรรคในการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยหรือผู้อพยพบริเวณริมน้ำเมยอย่างไม่อาจมองข้ามได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สังคมไทยในขณะนี้อยู่ภายใต้อำนาจนำของทหาร  สมชายเสนอว่า ต้องทำให้พรรคการเมืองหรือนักการเมืองพูดถึงประเด็นเรื่องผู้ลี้ภัยให้มากขึ้น ทำให้เรื่องผู้ลี้ภัยเป็นประเด็นสาธารณะ และสังคมตระหนักว่าเรื่องผู้ลี้ภัยไม่ใช่การสังเคราะห์ แต่เป็นประเด็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนที่เท่าเทียมกันและสังคมควรให้ความช่วยเหลือคนกลุ่มต่าง ๆ

“ผมคิดว่าถ้าเราสามารถผลักให้เรื่องผู้ลี้ภัยเป็นประเด็นสาธารณะมากขึ้น และมีนักการเมืองและพรรคการเมืองออกมารับลูกมากขึ้น ก็จะเหมือนกับกฎหมายหลายเรื่องที่แม้บางพรรคการเมืองไม่เห็นด้วย แต่เขาต้องยกมือสนับสนุน เพราะสังคมกำลังเดินหน้าไปทางนั้น” สมชาย กล่าว   นอกจากนี้สมชายเสริมว่า ปัจจุบันสังคมไทยมีคนที่เป็นผู้ลี้ภัยแบบไม่อาจหวงกลับได้อยู่ในค่ายพักพิงชั่วคราวแต่มีชีวิตถาวรในค่ายมาตั้งแต่เกิดจนโตมาเป็นระยะเวลา 20 – 30 ปี จะกลับพม่าก็ไม่ได้และจะเข้ามาอยู่ในเมืองก็ไม่ได้เช่นกัน”

ปัจจุบันสังคมไทยมีคนที่เป็นผู้ลี้ภัยแบบไม่อาจหวงกลับได้อยู่ในค่ายพักพิงชั่วคราวแต่มีชีวิตถาวรในค่ายมาตั้งแต่เกิดจนโตมาเป็นระยะเวลา 20 – 30 ปี จะกลับพม่าก็ไม่ได้และจะเข้ามาอยู่ในเมืองก็ไม่ได้เช่นกัน

 “การผนวกคนกลุ่มนี้เข้ามาจะทำเช่นไรได้ เช่นในยุโรปมีการพัฒนาสถานะกึ่งพลเมือง จากคนต่างด้าวสู่การเป็นพลเมืองตามเงื่อนไขของแต่ละประเทศ นโยบายต้องเปิดรับคนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมให้ได้ กติการะหว่างประเทศจะเป็นเงื่อนไขหรือปัจจัยที่ทำให้คนที่เป็นผู้อาศัยดีขึ้นหรือไม่ หากทำให้ดีขึ้นก็จำเป็นต้องผลักดัน”

สมชาย กล่าวพร้อมปิดวงเสวนา

“ผู้ลี้ภัย ไม่ใช่คนที่ควรจะต้องอับอาย คนที่ต้องอับอาย คือ คนที่ทำให้เกิดการลี้ภัย”

“คำว่า ผู้ลี้ภัยไม่ใช่คำที่ดูถูก เพราะว่าการอพยพลี้ภัยไม่ใส่สิ่งที่น่าอับอายหรือน่ารังเกียจ คนที่ควรจะอับอายคือคนที่ทำให้เกิดผู้ลี้ภัย ไม่ใช่ตัวผู้ลี้ภัยเอง และคำว่าผู้ลี้ภัยเป็นคำที่แสดงถึงสภาวะหนึ่งของคน ไม่ใช่ตัวตนของเขา เพราะว่าผู้ลี้ภัยแต่ละคนก็จะมีตัวตนเอง

ชวนไปชมนิทรรศการ “เพื่อนข้างบ้าน (Friends Next Door)” หนึ่งในกิจกรรมเนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลก ที่ชวนไปสัมผัสเรื่องราวของเพื่อนข้างบ้านที่กำลังประสบภัยประหัตประหาร หลังกองทัพทหารพม่ายึดอำนาจเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ทำให้พวกเขาต้องหลบลี้หนีภัยมาจากบ้านของตน พร้อมชวนหาทางออกให้เพื่อนเราได้มีบ้าน/กลับบ้านอย่างปลอดภัย

นิทรรศการจะเปิดให้เข้าชม ณ หอกลางเวียง (หลังอนุสาวรีย์สามกษัตริย์) จ.เชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน – 15 กรกฎาคม 2565 เวลา 8.30-16.30 น. ทุกวัน ( เว้นวันจันทร์และอังคาร)

http://exhibition.contestwar.com/node/2879

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ