พริกนับว่าเป็นเครื่องเทศพื้นฐานในการทำอาหาร นอกจากจะช่วยให้รสชาติเร้าร้อนแล้ว ยังทำให้คนที่นิยมรสอาหารแบบแซบ ๆ ขาดไม่ได้เลยทีเดียว ไม่ใช่เพียงมีความต้องการมากแถมยังปลูกยาก ดูแลยากอีกต่างหาก จึงเลี่ยงไม่ได้ที่เกษตรกรส่วนใหญ่จะต้องใช้สารเคมีฉีดพ่นมาก ๆ แต่หลายคนก็เริ่มจะสงสัยแล้วสิใช่ไหมครับว่า แล้วพริกที่มันปลอดภัยไร้ยานั้นพอจะมีไหม วันนี้ทีมงานอยู่ดีมีแฮงจึงขอพาเพื่อน ๆ นักอ่านออนไลน์ไปรู้จักกับคนปลูกพริกแบบที่ปลอดภัยกับผู้บริโภค เขาทำกันอย่างไร เอาความรู้เหล่านี้มากไหน ใครมาช่วยเติมเต็มความรู้บ้าง พร้อมแล้วไปลุยกันครับ
บ้านสวนคนปลูกพริก
วันนี้พาเพื่อนนักอ่านเดินทางมาดูกลุ่มปลูกพริกปลอดภัยที่พื้นที่อำเภออุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ครับ และเรามาที่สวนของพี่ตา สุวิมล จันทร์เพ็ง เกษตรกรรุ่นใหม่ที่หันหลังให้โรงงานทำเกษตรผสมผสานและมีพริกปลอดภัยเป็นพืชหลัก
“หลังจากออกจากทำงานโรงงานมาด้วยเรื่องของสุขภาพ เราก็คิดว่าเราจะทำอะไรกันดี พอมามองย้อนว่าว่าที่บ้านเรามีอะไรบ้าง ก็พบว่าทั้งบ้านแฟนและบ้านเราต่างก็มีความรู้เรื่องการปลูกพริกนี่นา ที่ดินเราก็พอมี ถ้าเราไม่ดิ้นรนจนเกินตัวก็น่าจะเลี้ยงครอบครัวได้อยู่นะ นั้นจึงเป็นจุดที่ทำให้เราสองคนออกจากงานมาทำเกษตรผสมผสาน โดยมีพริกเป็นพืชหลัก”
จบพืชไร่ มาลุยต่อพืชสวน
“ด้วยที่ตอนเราเรียนจบพืชไร่มา การมาเริ่มต้นใหม่กับพืชจึงไม่ได้เป็นสิ่งที่ยากนัก แต่สายตาชาวบ้านก็ยังมองเราอยู่นะว่า เรียนจบมาก็ตั้งสูงแต่ทำไม่ยังต้องมาทำเกษตร แต่พวกเราเองก็ไม่ได้เอามาบันทอนใจนะ แต่ในปีแรก ๆ ก็ต้องยอมรับว่าเราใช้สารเคมีอยู่เยอะเหมือนกันเพื่อจัดการกับโรคแมลง จนมาเจอทีมอาจารย์.. ท่านเองลงมาพื้นที่ ท่านก็พยายามหาโน้น หานี่มาให้เพื่อเอาจัดการโรคแมลง เช่นพวกสารชีวภัณฑ์ต่าง ๆ”
ปลูก 1 ไร่ ขายได้ 1 แสน
“ปีนั้น เป็นที่พริกราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 100 บาท ตอนนั้นเราเองก็ปลูกพริกไป 1 ไร่ เราจดข้อมูลไว้ว่าเราเก็บพริกได้ 1 ตัน ปีนั้นจึงทำให้เราขายพริกปลอดภัยได้สูงถึง 100,000 บาทต่อไร่เลยทีเดียว”
ซึ่งพริกที่เก็บได้เหล่านี้พี่ตาและแฟนก็พากันเอาไปขายในตลาดของอำเภออุบลรัตน์ ซึ่งทุก ๆ ปีที่มีผลผลิตออกมา ขาดได้หมดเกลี้ยงภายในไม่กี่ชั่วโมง
“ตอนนี้นะพริกที่ปลูกมา เวลามันออกผลผลิตแล้ว ไม่ว่าจะปลูกมากถึง 3,000 ต้น หรือมากกว่านี้อีกถึง 5,000 ต้นก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า”
แม้ว่าที่นี่จะมีความต้องการที่จะบริโภคที่สูง แต่กำลังการผลิตของชาวบ้านที่นี่กลับไม่สอดคล้องกับความต้องการบริโภค ทำให้ต้องนำเข้าพริกจากต่างมาขาย ดังนั้นมาปีนี้ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงเข้ามาทำงานร่วมกับชาวบ้านเพื่อเพิ่มกำลังการปลูกพริก จาก 3-5 พันต้น เป็น 5 หมื่นต้น ในปีนี้ และเพิ่มนักปลูกพริกหน้าใหม่ให้เข้ามาวงในการด้วย
จากงานวิจัยในมหาวิทยาลัย สู่ความช่วยเหลือชุมชน
นอกจากที่อาจารย์จะเข้ามาช่วยเหลือเมื่อหลายปีก่อน แต่มาปีนี้ 2565 ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็ยกเอาทั้งอาจารย์และงานวิจัยเกี่ยวกับทุกศาสตร์เกี่ยวกับการปลูกพริกมาช่วยเหลือชาวบ้านที่อำเภออุบลรัตน์ที่กำลัง
“เราอยากพาชาวบ้านที่ปลูกพริกไปถึงขั้นให้ได้รับเครื่องหมาย GAP ที่ยืนยันว่าพริกเราปลอดภัย โดยเราองได้รวบรวมองค์ความรู้ที่มีจากในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่อาจารย์หลาย ๆ ท่านคิดไว้แล้ว วิจัยไว้แล้ว เอามาปฏิบัติให้เห็นจริง และเราก็ไม่สามารถเอาความรู้ด้านใดด้านหนึ่งมาช่วยแก้ไขปัญหาได้ เช่นการวางผัง ต้องใช้อาจารย์จากทางสถาปัตย์มาช่วยเรื่องดิน ส่วนเรื่องการเพาะก็จะมีอาจารย์จากอีกทีมมาช่วยเรื่องการสร้างและการใช้สารชีวภัณฑ์ ส่วนเรื่องดครื่องมือในการเก็บเกี่ยวก็ต้องใช้ทางวิศวกรรมเข้ามาช่วย เป็นต้น ”
“อาจารย์ช่วยมาเติมเต็มได้ได้เยอะมาก เพราะเมื่อก่อนเราก็ทำกันเองแบบงู ๆ ปลา ๆ เราเคยทำแบบไหนเราก็ทำแบบนั้น อาจารย์ก็มาช่วยแนะนำเพื่อให้เราปรับเปลี่ยน เอาตัวนั้นมาแทนตัวนั้น จะช่วยลดแบบนั้น ซึ่งอาจารย์ก็เอามาสอนให้ทุกอย่างเลยนะ”
รวมกัน เพื่อแบ่งปัน แบ่งปันเพื่อยั่งยืน
ปีนี้ชาวบ้าน 20 กว่าคนในอำเภออุบลรัตน์ต่างให้ความสนใจ ที่ยากจะผลิตพริกแบบปลอดภัยส่งขาย โดยมีพี่ตาเป็นหัวหอกหลักที่จะช่วยดูแลพี่น้องดูให้ก้าวเดินไปด้วยกัน และที่สำคัญยังหนุนองค์ความรู้งานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งปีนี้กลุ่มเองตั้งเป้าว่าจะผลิตพริกปลอดภัยกว่า 5 หมื่นต้น ไม่เพียงเพื่อแค่เลี้ยงคนในอำเภออุบลรัตน์เท่านั้น แต่เป้าหมายอยู่กลุ่มเพื่อที่จะสร้างพริกปลอดภัยไปเลี้ยงผู้คนทั่วเมืองขอนแก่นอีกด้วย