ประชาชนทนไม่ไหว! หมอกควันท่วมเมืองต่อเนื่อง

ประชาชนทนไม่ไหว! หมอกควันท่วมเมืองต่อเนื่อง

ประชาชนทนไม่ไหว! หมอกควันท่วมเมืองต่อเนื่อง 

คนแม่สายใช้สื่อออนไลน์แสดงความรู้สึก โพสต์ภาพตนเองใส่หน้ากากกันฝุ่น ติดแฮชแท็ก #prayformaesai เรียกร้องให้รัฐแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ขณะที่เชียงใหม่ นัดรวมพล 24 เมษายน รวมพลคนไม่เอาหมอกควัน วันนี้ (19 เมษายน 2559)

ในสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ค ชาว อ.แม่สาย จ.เชียงรายจำนวนหนึ่ง ออกมารณรงค์ให้แก้ไขปัญหาหมอกควันอย่างจริงจัง ด้วยการโพสต์ภาพตนเองขณะสวมหน้ากากอนามัย และแสดงข้อความ”PRAY FOR MAESAI” ภาวนาเพื่อแม่สาย พร้อมติดแฮชแท็ค #prayformaesai เนื่องจากสภาพหมอกควันปกคลุมเมืองวันนี้หนาทึบอย่างเห็นได้ชัด และเป็นเช่นนี้ต่อเนื่องหลายเดือน และรุนแรงมากขึ้นหลังช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยดัชนีคุณภาพอากาศ PM-10 ที่แม่สายในรอบ 7 วันย้อนหลังมีค่า 244-310 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ซึ่งเกินกว่าค่ามาตรฐาน 2-3 เท่า อยู่ในระดับอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่ง

20161904222405.jpg20161904222439.jpg

ขณะที่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ก็มีสภาพหมอกควันท่วมเมืองเช่นกัน มีการโพสต์นัดหมาย กิจกรรม รวมพลคนไม่เอาหมอกควัน ที่จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 เมษายนนี้ ณ อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ จังหวัดเชียงใหม่ เวลา 17.00น. เชิญชวนประชาชนออมาร่วมกันใส่หน้ากากและชูป้ายว่าเราจะไม่เอาหมอกควัน โดยเมื่อวานนี้ (18 เมษายน) พื้นที่ ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ พบปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) มีค่า 159 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ รวมถึงพื้นที่อื่นๆด้วยเช่นกัน

หากมองย้อนกลับไปถึงสถานการณ์หมอกควันในภาคเหนือ จะพบว่า เริ่มรุนแรงมาเกือบ 10 ปีแล้ว 

ปลายปี พ.ศ. 2549 ถึงต้นปี พ.ศ. 2550 สถานการณ์หมอกควันเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน สถานีตรวจวัดอากาศโรงเรียนยุพราชและศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่รายงานค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM10) สูงเกินมาตรฐาน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ จนกรมควบคุมมลพิษประกาศให้หลีกเลี่ยงการอยู่ภายนอกอาคารเป็นเวลานานและงดออกกำลังกานในที่โล่งแจ้ง

มีนาคม พ.ศ. 2555 กรมควบคุมมลพิษรายงานผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในภาคเหนือ พบว่า 9 จังหวัด มีเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน ตาก และพะเยา พบค่าฝุ่นละออกขนาดเล็กเกินมาตรฐาน และสามารถวัดได้สูงสุด 399 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

25 มีนาคม พ.ศ. 2559 พบค่าเฉลี่ยเกินค่ามาตรฐาน 120 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร จนอยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งที่สถานีโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ที่วัดค่าได้ 157 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นค่าที่สูงสุดในรอบปีนี้ และสถานีศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ที่วัดค่าได้ 144 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร

20161904192954.jpg

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ