ปธ.สภาประชาสังคมชายแดนใต้ชี้ พูดคุยสันติสุขยังไม่ล่ม แนะทุกฝ่ายออกมาสื่อสารหนุนเสริมสันติภาพ

ปธ.สภาประชาสังคมชายแดนใต้ชี้ พูดคุยสันติสุขยังไม่ล่ม แนะทุกฝ่ายออกมาสื่อสารหนุนเสริมสันติภาพ

ที่มา สถานีวิทยุ มอ.ปัตตานี http://psu10725.com/2558/?p=2244

ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้แนะรัฐจำเป็นต้องมีการสื่อสารสาธารณะในประเด็นการพูดคุยสันติสุขกับมาราปาตานีให้สังคมได้รับรู้ ชี้การขัดข้องทางเทคนิคใน TOR เป็นเรื่องปกติของการเจรจาที่ทั้งสองฝ่ายต้องปรับแก้ พร้อมย้ำรัฐบาลมีคำสั่งสำนักนายกที่ 230 เป็นกลไกสอดรับให้การพูดคุยต้องเดินหน้าต่อ

นายมูฮำมัดอายุบ ปาทาน ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ กล่าวกับสถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี ถึงการพูดคุยสันติสุขระหว่างรัฐบาลไทยกับมาร่า ปาตานีที่อาจจะหยุดชะงักว่า การพูดคุยสันติสุขจะเดินหน้าต่อ แม้จะมีปัญหาเรื่องกรอบข้อตกลงร่วมของทั้งสองฝ่าย (TOR) ที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ก็ตาม ประเด็นดังกล่าวเป็นปัญหาทางเทคนิคที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องหาทางตกลงกันว่า TOR ที่ทั้งสองฝ่ายพอจะตกลงกันได้นั้นอยู่ในระดับไหน เพราะเป็นเรื่องที่ประชาชนมีความคาดหวังและต้องการทราบข้อเท็จจริง ไม่เช่นนั้นก็อาจทำให้ถูกตีความไปแบบอื่นกว่า การพูดคุยจะล่มหรือไม่มีการพูดคุยสันติสุขแล้ว

“ผมคิดว่าอันนี้เป็นเรื่องทางเทคนิค การพูดคุยโดยธรรมชาติจะมีการต่อรองแบบนี้อยู่แล้ว ข้อกังวลของประชาชนที่ติดตามข่าวสารคือจะคุยต่อมั้ย หรือว่าจะเลิกกัน เท่าที่ฟังดูผมคิดว่า กระบวนการพูดคุยยังเดินต่ออยู่เพราะว่ากระบวนการพูดคุยจะเดินต่อหรือไม่เดินต่อก็ต้องดูที่มาเลเซียด้วย ยังไม่เห็นฝ่ายกลางอย่างมาเลเซียออกมาพูดอะไรเพราะว่าเป็นคนที่อำนวยความสะดวก ผมคิดว่าเท่าที่ฟังดู เท่าที่ประเมินการขัดข้องทางเทคนิค เรื่อง TOR เวลาจะตกลงทำข้อตกลงกันจะต้องนำกลับไปให้หัวหน้าฝ่ายทั้งสองฝ่ายได้ดูรายละเอียดแล้วมาว่ากัน ผมยังมองในแง่ดีกระบวนการพูดคุยยังไม่ถึงขั้นว่าจะล่ม เป็นการขัดข้องทางเทคนิค” ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ กล่าวและว่า

ประเด็นที่สอง ตนรู้สึกว่าไม่มีช่องทางการสื่อสาร คือฝ่ายไทยเองตอนที่ไปคุยกับมาร่า ปาตานีไม่ได้กลับมาสื่อสารเป็นเรื่องเป็นราว ประเด็นการสื่อสารสำคัญต้องเอามาชี้แจงกัน หัวหน้าฝ่ายไทยต้องชี้แจงว่าวันนี้เป็นอย่างไร ถึงไหน ท่านพลเอกอักษรา ออกมาชี้แจงว่าการพูดคุยยังเดินต่อ เป็นการขัดข้องในเรื่องการทำ TOR ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการพูดคุย ตนได้เห็นพลตรีชินวัฒน์ แม้นเดช รองแม่ทัพภาคที่ 4/ ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า และท่านเองเป็นหนึ่งในคณะพูดคุยฝ่ายไทยก็ออกมาพูดด้วยเช่นกัน การพูดคุยยังคงเดินต่อเพียงแต่ว่าข้อตกลงบางเรื่องที่จะต้องรอการพูดคุยของทั้งสองฝ่าย หัวหน้าทั้งสองฝ่ายตกลงกัน กลับไปคุยต่อในเดือนพฤษภาคม

นายมูฮำมัดอายุบ กล่าวอีกว่า ธรรมชาติของการพูดคุยมีบางข้อที่รับได้และรับไม่ได้ ต้องตกลงกัน เป็นธรรมชาติของกระบวนการพูดคุยทั่วโลกก็เป็นเช่นนี้ จะเป็นลักษณะคุยไปคุยมา แต่ว่าเวลาสื่อสารกับสาธารณะเป็นสิ่งสำคัญ เพราะประเด็นการสื่อสารต้องสื่อสารให้ชัดว่าที่ตกลงไม่ได้คือประเด็นอะไร แต่การพูดคุยยังคงเดินต่อ TOR ประเด็นไหนที่ฝ่ายมาร่า ปาตานี รับไม่ได้ หรือฝ่ายไทยตกลงกันไม่ได้ จำเป็นต้องคุยเพื่อให้ทุกคนรู้ว่ากระบวนการพูดคุยเดินต่อ

อันหนึ่งที่ยังมีปัญหา คือ TOR ข้อตกลงร่วมทั้งสองฝ่าย รายละเอียดของ TOR ที่เปิดเผยได้ควรจะเปิดเผยให้สาธารณะทราบเพื่อกันความเข้าใจผิด ไม่ใช่ว่า TOR ไม่ได้ลงนามแล้วจะหยุดคุยต่อ ทั้งสองฝ่ายต้องกลับไปคุยเรื่อง TOR ต้องสื่อสารกันให้ชัด คนทั้งประเทศคาดหวังต่อการพูดคุย ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาคประชาสังคมก็คาดหวัง

“ผมคิดว่าการพูดคุยเที่ยวนี้เป็นคำสั่งนายกรัฐมนตรีเองนะครับ คำสั่ง 230 ว่าด้วยตั้งกลไกกระบวนการพูดคุย ซึ่งอันนี้มันสอดรับอยู่แล้ว ถามว่าภาคประชาสังคมเองที่กำลังทำงานอยู่สร้างบรรยากาศสภาวะแวดล้อมคือเป็นไปตามคำสั่ง 230 ทุกคนก็ทำ เปิดเวที รับฟังความคิดเห็น แล้วที่ผ่านมาภาคประชาสังคมเองไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายผู้หญิง เครือข่ายเด็ก เครือข่ายเยาวชน เครือข่ายทุกเครือข่ายจะมีข้อเสนออยู่ตลอด ในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมาภาคประชาสังคมขยับเรื่องนี้มากเพื่อหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพ พยายามสร้าง safety net เครือข่ายใยแมงมุมหนุนเสริมกระบวนการพูดคุยในแทรก 1 ผมคิดว่าภาคประชาสังคมทำงานเรื่องนี้อย่างดี พยายามจะหนุนเสริมทุกวิธีที่สามารถจะทำได้เพื่อให้มีทางเลือกทางออกต่อการพูดคุย” ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ กล่าวและว่า

ส่วนข้อเสนอของภาคประชาสังคมในความคิดเห็นของประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้นั้น นายมูฮำมัดอายุบ กล่าวว่า ส่วนกลางต้องสื่อสารให้คนทั้งประเทศเข้าใจว่ากระบวนการพูดคุยตอนนี้กับปีที่แล้วมันเป็นอย่างไร ไปถึงไหน จะเดินต่อไปอย่างไร ต้องสื่อสารข้างใน กองทัพภาคที่ 4 เอง กองทัพภาคที่ 4 ส่วนหน้า มีทีมที่จะสื่อสารว่าการพูดคุยนี้เดินไปถึงไหน เพื่อว่าภาคประชาสังคมที่คนไทยพุทธคนที่อยู่ในพื้นที่เองได้รู้ว่ากระบวนการพูดคุยอยู่ระดับไหน เป็นไปอย่างไร สะดุดเรื่องอะไรบ้าง แต่ไม่ถึงกับล้ม จะเดินต่อไปอย่างไร เที่ยวหน้าจะมีการพูดคุยที่ไหนบ้าง อันนี้มันสอดรับกับสภาพแวดล้อมด้วยคนจะได้เข้าใจ คนจะได้มีการพูดคุย ทำให้ไม่เกิดความเข้าใจผิดและเพื่อไม่ให้เกิดการตีความมากเกินไป

ตอนนี้กระบวนการพูดคุย มีพลวัตรจากข้างในสอดรับกันหมด จากการสำรวจความคิดเห็นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สิ่งที่ออกมา คือ ทุกคนหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพและสันติสุข คนบอกว่าตั้งแต่เป็นรัฐบาลทหารไม่น่าจะมีการพูดคุย แต่เห็นชัดว่าตั้งแต่เป็นรัฐบาลทหารก็ยังมีการพูดคุย โดยมีคำสั่ง 230 เป็นทิศทาง ตนคิดว่ามันค่อยๆ ขยับไป กระบวนการเดินไปแล้ว แต่ไม่มีการสื่อสาร ยืนยันว่าต้องมีการสื่อสาร ประชาชนยังหวังต่อกระบวนการพูดคุยแบบนี้ เป็นทางออกที่ดีที่สุด

นายมูฮำมัดอายุบ กล่าวด้วยว่า บทบาทภาคประชาสังคมทุกคนจะต้องลงไปคุยกับประชาชนว่ากระบวนการสันติภาพควรอยู่ต่อ ถ้ามันจะอยู่ต่อประชาชนควรต้องทำอะไรต่อไป เราต้องคุยทุกเวทีสันติภาพต้องอยู่ต่อ เราต้องทำอะไรเพิ่ม เพื่อให้สันติภาพต่อไปข้างหน้าได้และทำสิ่งเหล่านี้ให้เป็นข้อเสนอ

ตอนนี้ข้อเสนอออกมาจำนวนมาก จะเสนอผ่านกองทัพภาคที่ 4 ส่วนหน้าก็ได้ เสนอตรงไปที่หัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุขฝ่ายไทยก็ได้ หรือ จะแปลเป็นภาษามลายูเป็นภาษาอังกฤษ เสนอไปทางฝ่ายผู้เห็นต่าง มาร่าปาตานีก็ได้ จะต้องทำ ที่ต้องทำที่สุด คือ การคุยไม่ใช่เฉพาะการคุยที่เป็นมาร่ากับฝ่ายไทยอย่างเดียว จะต้องทำให้เสียงคนเล็กคนน้อยที่อยู่ในพื้นที่ให้ส่งเสียงออกมากว่าการพูดคุยจำเป็นอย่างไร ทำไมต้องเดิน แล้วก็ไม่ใช่คนที่อยู่ในตรงกลาง ต้องทำเสียงคนข้างล่างที่อยู่ตามตลาดอยู่ในชุมชน ให้คนเหล่านี้ส่งเสียงออกมา ภาคประชาชนอยากเห็นการพูดคุย ความก้าวหน้า และเดินไปข้างหน้าแล้วต้องสื่อสารให้เขารับทราบว่าตอนนี้ไปถึงขั้นไหนแล้ว เป็นอย่างไร เพราะเขาติดตามอยู่ เป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องทำ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 230/2557 เรื่อง การจัดตั้งกลไกขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

Prev

January 2025

Next

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

30
31
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
1
2

2 January 2025

Nothing to show.

เข้าสู่ระบบ