โอกาสและโจทย์เกษตรกรไทย บนขบวนรถไฟจีน-ลาว

โอกาสและโจทย์เกษตรกรไทย บนขบวนรถไฟจีน-ลาว

ขบวนรถไฟจีนจากคุณหมิงถึงลาวที่นครหลวงเวียงจันทน์ ที่เปิดบริการเมื่อเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา เรื่องนี้ ส่งผลถึงไทย ที่หลายคนมองว่านี่เป็นทั้งโอกาสและข้อท้าทาย โดยเฉพาะเกษตรกรไทยในการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉพราะอย่างยิ่งผลไม้ไทย 

จีนถือเป็นตลาดใหญ่ที่เป็นโอกาสสำหรับเกษตรกรไทย ที่จะส่งออกผลผลิตโดยเฉพาะผลไม้ ไปขาย จากข้อมูลศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ของปี 2564 ระบุว่าไทยส่งออกผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ไปจีนมูลค่ากว่า 5 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นสัดส่วน 83.41% ของมูลค่าการส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ไปจีนทั้งหมด

หากดูข้อมูลย้อนหลัง ก็พบว่าความนิยมในผลไม้ไทยในตลาดและผู้บริโภคชาวจีนเริ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี โดยข้อมูลสถิติการค้าระหว่างประเทศของกระทรวงพาณิชย์ ตั้งแต่ปี 2013 จีนถือเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญ ที่ยังครองเเชมป์อันดับหนึ่งมาต่อเนื่อง ซึ่งก่อนหน้านี้คือประเทศญี่ปุ่น 

ผลไม้ที่ได้รับความนิยม ซึ่งส่งออกสูงสุดต่อเนื่องคือ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลำไย ลิ้นจี่ และมะม่วง ซึ่งภาพร่วมการส่งออกผลไม้ไทย มีแนวโน้มดีทั้งในเชิงมูลค่าและปริมาณ มีการขยายตัวสร้างรายได้ให้เกษตรกรไทย และนำเงินเข้าประเทศในแต่ละปี ไม่ต่ำกว่าแสนล้าน 

จากข้อมูลตัวเลขการส่งออกปี 2564 โดยตั้งแต่มกราคม-พฤศจิกายน ไทยส่งออกผลไม้ 7 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลำไย ลิ้นจี่ และมะม่วง 1,992,751 ตัน มูลค่า 165,624 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.75% เทียบกับปี 2563 ที่ส่งออก 1,718,228 ตัน มูลค่า 117,673 ล้านบาท ซึ่งผลไม้ไทยในตลาดจีน ที่ได้รับความนิยมสูงสุดหนีไม่พ้น ทุเรียน

การส่งออกผลไม้ไปต่างประเทศนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด 

การส่งออกไปจีนนั้น จะต้องให้ความสำคัญต่อการควบคุมคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยของผู้บริโภค มีใบรับรองสุขอนามัยพืช ไม่มียาฆ่าแมลงและสารเคมีตกค้าง ซึ่งการรับรองที่ว่านี้คือ มาตรฐาน  GAP หรือ Good Agricultural Practices  ซึ่งเป็นใบเบิกทางให้สินค้าส่งไทยออกไปขายยังต่างประเทศ 

GAP เป็นระบบที่ป้องกันหรือลดความเสี่ยงของอันตรายที่เกิดขึ้นในสินค้าเกษตรและอาหาร เป็นมาตรฐานสากลที่สร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค และเป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมการผลิตสินค้าเกษตรอย่างครบวงจร ตั้งแต่ การผลิต การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ และการขนส่ง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค 

ในปัจจุบัน GAP เป็นเพียงแนวปฏิบัติที่ทำด้วยความสมัครใจ ไม่ได้กำหนดเป็นมาตรฐานภาคบังคับ แต่ GAP เป็น “เกษตรปลอดภัย” ที่สามารถนำไทยสู่การเป็นครัวโลกได้ “ข้อท้ายทายเหล่านี้ที่เกษตรกรต้องเจอ วันนี้พวกเขาก้าวข้ามผ่านแรก คือ การรวมกลุ่มขอ GAP ที่ต้องมีโรงคัดแยกเอง ทำผลผลิตใหได้มาตรฐาน เงื่อนไข ต่อไปที่พวกเขาหวังคือ มาตรฐาน GMP เพื่อหาทางไปโอกาศส่งออกไปยังต่างประเทศ”

คุณชลธิชา ช่างประดิษฐ์ ประธานกลุ่มมะม่วงคุณภาพบ้านวังน้ำบ่อ “GAP เอาจริงๆเขาก็ไม่ได้อยากทำนะ แต่พี่อยากให้เขาทำเพราะเห็นโอกาส สำหรับเกษตรกรการส่งออกเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก และเขาไม่รู้จะทำไปทำไม เพื่อไม่ให้เวลาโอกาสมาแล้ว GAP เราไม่มี ก็จะเสียเวลาไปคอปนึ่ง ถ้าไปอยู่ในมือเอกชนก็จะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นซึ่งเชื่อว่าเกษตรกรอีกหลายคนไม่อยากทำ เพราะมีค่าใช้จ่าย”

การรับรองมาตรฐาน GAP  ปัจจุบันอยู่ในการดูแลของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งค่าใช้จ่ายรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุน ซึ่งขณะนี้ภารกิจนี้กำลังมีการถ่ายโอนมอบภารกิจให้เอกชนรับรอง GAP ตาม มติคณะรัฐมนตรี เมื่อปี 2554  โดยเริ่มตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2564 

 เป็นต้นมา ปีแรกนำร่องในแปลงที่มีพื้นที่มากกว่า 50 ไร่ ขึ้นไป แต่แปลงขนาดเล็กกว่านั้น ยังอยู่ในความรับผิดชอบของกรมวิชาการเกษตรค่ะโดยค่าใช้จ่ายในการตรวจรับรอง เอกชนจะเป็นผู้กำหนดราคาเอง ซึ่งใบรับรอง GAP มีอายุ 3 ปี ล่าสุดเมื่อต้นเดือนมีนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งการให้เลื่อนการถ่ายโอนภารกิจฯ ออกไป 1 ปี เพื่อลดผลกระทบกับเกษตรกรในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 

ทำไมเกษตรกรถึงกังวล หากโอนภารกิจการรับรองแปลง GAP ให้กับเอกชน 

เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น และเอกชนแต่ละรายจะกลายเป็นผู้กำหนด นั้นหมายถึงต้นทุนการผลิตของเกษตรกร็ ที่จะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งราคาเริ่มต้น ขนาดพื้นที่20-30 ไร่ ที่เอกชนกำหนด อยู่ 12,500 บาท  ซึ่งนี่คือต้นทุนนี้ ทำให้โอกาสการแข่งขันของเกษตรกรไทย นั้นสู้ประเทศเพื่อนบ้านได้ยาก เพราะอย่างเวียดนาม ทางรัฐบาลได้สนับสนุนค่าใช้จ่ายนี้อยู่ 

โอกาสและความท้าทายจากมุมมองของเกษตรกรไทย คิดเห็น เตรียมการ และคิดอ่านอย่างไร ชวนชมรายการ คุณเล่าเราขยาย ในตอน โอกาสเกษตรกรไทยกับรถไฟจีน-ลาว วันศุกร์ที่ 11 มี.ค. 2565 เวลา 13:30 – 14:00 น.

@thaipbs โอกาสเกษตรกรไทยกับรถไฟจีน-ลาว ติดตามใน #คุณเล่าเราขยาย วันศุกร์ที่ 11 มี.ค. 65 เวลา 13.30 น. ทาง #ThaiPBS #ช่องหมายเลข3 ♬ เสียงต้นฉบับ – Thai PBS

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ