จับสัญญาณ : การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐต่อการวิสามัญ

จับสัญญาณ : การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐต่อการวิสามัญ

เหตุการณ์ความรุนแรงในชายแดนใต้ ทั้งในจ.ยะลา จ.นราธิวาส และล่าสุด ในอ.จะนะ จ.สงขลา  เป็นที่น่าสังเกตด้วยว่าเหตุการณ์ในปี 2563-2565 การปฏิบัติการ “บังคับใช้กฎหมาย” ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐในการปิดล้อมตรวจค้น มีการวิสามัญฆาตกรรมหลายกรณีสูงขึ้น

ทางทีมข่าวพลเมืองจึงชวน อาจารย์ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี นักวิจัยอาวุโสสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ วิเคาระห์สถานการณ์และชวนมองปรากฏการณ์จากสถานกาณณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น หลังจากพึ่งผ่านการพูดคุยสันติภาพไปไม่นาน เมื่อช่วงวันที่ 11-12 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา

อ. ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ให้สัมภาษณ์ว่า จากสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้ โดยทั่วไปลดลงจริง ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา เหตุการณ์ลดลงตามลำดับต่อเนื่องมาถึงปี 2563 จำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บโดยทั่วไปก็ลดลงเช่นกัน แต่เป็นที่น่าสังเกตด้วยว่าเหตุการณ์ในปี 2564 กลับสูงขึ้นมากกว่าปี 2563 จาก 335 เหตุการณ์มาเป็น 481 เหตุการณ์ ปีที่แล้วมีเหตุการณ์สูงขึ้นคิดเป็น 40% ผิดสังเกตอย่างมีนัยสำคัญ ชี้ให้เห็นการแปรเปลี่ยนของสถานการณ์

อีกรูปแบบหนึ่ง มันอาจจะเพิ่มขึ้นหรือแปรปรวนมากขึ้น scenario หรือฉากทัศน์ ที่เป็นไปได้ คือ แกว่งมาโดยตลอด ปี 2564 ขึ้นมาไม่น้อย แสดงให้เห็นจุดเปลี่ยนอะไรบางอย่าง ซึ่งข้างหลังมันมีประเด็นที่ลึกซึ่งที่เรามองไม่เห็น ถ้าดู ปี 2563 ที่ลดลงเพราะสถานการณ์โควิด-ล็อกดาวน์ สังคมหยุดนิ่ง ทางฝ่ายขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ หรือ บีอาร์เอ็น (Barisan Revolusi Nasional: BRN) ออกแถลงการณ์ยุติปฏิบัติการลงชั่วคราว เพื่อไม่อยากให้ประชาชนเดือดร้อนก็สอดคล้องกับข้อเรียกร้ององค์กรสหประชาชาติด้วยในช่วงโควิด องค์กรที่เคลื่อนไหวต่อสู่เพื่ออิสรภาพ กลุ่มใต้ดินต่าง ๆ หยุดปฏิบัติการความรุนแรง บีอาร์เอ็น ก็ใช้ข้อเรียกร้องนี้ยุติ แต่ฝ่ายปฏิบัติการ “บังคับใช้กฎหมาย” ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐก็ยังคงดำเนินต่อไป มีการปิดล้อมตรวจค้น วิสามัญฆาตกรรมในหลายกรณี ซึ่งทางเจ้าหน้าที่รัฐก็มองว่าเป็นเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ตามปกติที่ต้องทำ ซึ่งเป็นคำอธิบายก็ต่างกัน  

อ. ศรีสมภพ กล่าวต่อว่า  ปี 2564 เหตุการณ์เริ่มสูงขึ้นเพราะเริ่มมีการปฏิบัติการตอบโต้ มีการยิงระเบิด เป็นจุดๆ สูงขึ้นทุกเดือน จากปี 2563 กับปี 2564 เป็นเท่าตัว  อีกนัยยะหนึ่ง ปี 2563 มีการพูดคุยสันติสุข ฝ่ายไทยและฝ่ายขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ หรือ บีอาร์เอ็น (Barisan Revolusi Nasional: BRN) ที่หวนกลับมาคุยกันอีกรอบ พบกัน 2 ครั้ง ในเดือนมกราคมกับเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี แต่พอเจอกับโควิดก็หยุดทันที อันนี้มีความหมายในแง่ ของความต่อเนื่องของการพูดคุย ที่มันหยุดชะงักไป อาจจะไปพูดคุยกันบ้างแต่ไม่เป็นทางการ ก็เป็นอีกตัวแปรที่ทำให้เหตุการณ์สูงขึ้น  ทุก ๆ ฝ่ายก็ประเมินต่างกัน แต่ในทางวิชาการที่เฝ้าดูสถานการณ์ในพื้นที่ มองว่าสถานการณ์กระดกขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและเป็นตัวชี้วัดที่เรามองไม่เห็นอีกหลายอย่างที่เปลี่ยนไป รวมถึงกระบวนการสันติภาพที่ยังมีปัญหาทำให้เหตุการณ์ ลุกลามบานปลาย ก็ต้องติดตามกันต่อในปีนี้

แต่ล่าสุดดูเหมือนยังไม่ดีขึ้น อย่างที่ยะลา นราธิวาส และล่าสุดที่จะนะ จ.สงขลา บ่งชี้ได้ว่า PATTERN ของเหตุการณ์ยังเหมือนเดิม ถึงแม้จะมีการกลับมาพูดคุยสันติสุข ของทั้งสองฝ่าย ก็ต้องดูอีกที ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นในพื้นที่ แต่เราดูแล้วยังไม่ดีขึ้น

การปิดล้มตรวจค้นเป็นมาตรการทางทหาร เป็นการบังคับใช้กฎหมาย เท่ากับการ วิสามัญฆาตกรรม?

อ. ศรีสมภพ กล่าวว่า การปิดล้มตรวจค้นเป็นมาตรการทางทหาร เป็นการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งทำมานานแล้ว เป็นผลตามจากพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องมีหมายศาล ผู้ต้องสงสัย มีหมาย  ก็ดำเนินการเลย เมื่อก่อนถึงขั้นปิดหมู่บ้าน สนธิกำลังเชิญตัวผู้ต้องสงสัย ตอนหลังมาขอบเขตยุทธวิธีก็จะลดลง พุ่งเป้าเฉพาะบ้านที่มีผู้ต้องสงสัย ซึ่งเจ้าหน้าก็จะบอกว่าไม่ใช่เป็นการปิดล้อมตรวจค้นแล้ว แต่เป็นมาตรการการบังคับใช้กฎหมาย แต่จริง ๆ แล้วมีมาตรการทางยุทธวิธี มีทหาร มีกองกำลัง ประกาศให้ยอมมอบตัว บางครั้งก็กินเวลา 1-2 วัน ปิดล้อมถ้าไม่มีการมอบตัว ปกติแล้วผู้ที่ถูกปิดล้อมจะไม่มอบตัวจะยิงต่อสู้ สุดท้ายแล้วเจ้าหน้าที่ก็จะเข้าวิสามัญฆาตกรรม เป็นอำนาจทางกฎหมาย เป็นแบบแผนที่ทำกันมา แต่ตอนปีหลัง ๆ ปี63-64 จำนวนครั้งของการดำเนินมาตรการ ทางกฎหมายแบบนี้มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ศรีสมภพ กล่าวอีกว่า ปัญหากระบวนการแบบนี้คือหลักนิติธรรม ถึงแม้เราจะบอกว่าเขา เป็นผู้ต้องสงสัย แต่ต้องมีกระบวนการทางกฎหมายที่จะพิสูจน์สอบสวนได้ว่าเขากระทำผิดจริง ๆหรือเปล่า ตรงนี้ไม่มีมาตรการตรงนี้เลย ไม่มีทางพิสูจน์ได้เลย หรือไม่ทันได้พิสูจน์ ว่าเขาทำผิดจริงหรือเปล่า คนที่ถูกกระทำในกระบวนการนี้ เขาก็ย่อยที่จะไม่ยอม ถือว่าถูกกล่าวโทษอยู่แล้วและไม่มีกระบวนการยุติธรรมใด ๆ มารองรับเขา แน่อนเขาก็ย่อมสู้ตายอยู่แล้ว ไม่มีทางเลือกอื่น  ถึงแม้จะมีกระบวนการที่ เอา อีหม่าม พ่อ แม่ ญาติ หรือผู้นำท้องถิ่น ไปคุยผ่านโทรโข่ง เขาก็ไม่ฟัง  

หลักการเจรจาแบบนี้ ไม่มีทางที่จะทำให้คนยอม  มองว่ายุทธวิธีแบบนี้ต้องมีการทบทวน หากดูจากประสบการณ์ที่ผ่านมาไม่มีใครยอม สุดท้ายแล้วก็ต้องวิสามัญฆาตกรรม

ท้ายสุดท้ายแล้ว ญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิต ชุมชน ก็พาร่างกลับไป แห่ศพซะฮีด (“ชะฮีด” คือการพลีชีพในสงครามศาสนาของพี่น้องมุสลิมตามหลักการของศาสนาอิสลาม) ก็ยิ่งทำให้เห็นการปลุกเร้า เพราะด้วยบริบทพื้นที่ วัฒนธรรม ส่งผลให้เกิดการต่อต้านรัฐมากขึ้นเรื่อย ๆ และเราเองก็ไม่รู้ว่ากระแสใต้ดินที่เรามองไม่เห็น ก็แรงขึ้นเรื่อย ๆ อันนี้ก็ต้องระวัง

นักวิจัยอาวุโสสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ ทิ้งท้ายว่า วิธีการแบบนี้ไม่ใช่ทางออกและไม่ใช่การสร้างสันติภาพ วิธีการจัดการปัญหาที่ไม่ถูกต้อง แม้จะบอกว่าเราทำตามขั้นตอนแล้วจากเบาไปสู่หนัก แต่ความยุติธรรมมันไม่ไปปรากฏชัด มันไม่ถูกไม่เห็น ไม่ถูกยอมรับ ความชอบธรรมไม่มี ถ้าเขามีความผิดจริงเขาต้องถูกลงโทษทางกฎหมายในกระบวนการยุติธรรมจริง ๆ 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ