ปี 2551 ประชาชนในพื้นที่ ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ยื่นคำร้องฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้กรมเจ้าท่าเจ้าของโครงการรื้อถอนเขื่อนปากร่องน้ำสะกอมออกไป และชดเชยค่าเสียหาย ซึ่งศาลปกครองจังหวัดสงขลาได้รับคำร้องไว้พิจารณาหมายเลขที่ 16/2551 เนื่องจากผู้ถูกฟ้องเป็นผู้ทำให้ชายหาดบริเวณตำบลสะกอมพังเสียหายผลกระทบเกิดขึ้นต่อเนื่องนานกว่า 20 ปี และการก่อสร้างเกิดขึ้นโดยไม่มีการทำประชาพิจารณ์
วันนี้ผ่านมากว่า 14 ปี (26 ม.ค.65)ศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษา ยกฟ้อง“คดีชาวบ้านฟ้องหน่วยงานรัฐกรณีเขื่อนกันคลื่นหาดสะกอม จ.สงขลา” การก่อสร้างโครงการเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำสะกอม 4 ตัว ในปี2541 ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเวลานั้นโครงการลักษณะนี้ไม่ต้องทำการประเมินผลกระทบสิ่งเเวดล้อม
นางสาวเฉลิมศรี ประเสริฐศรี ทนายความจากมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน ทนายความกล่าวว่าคดีนี้มีคำพิพากษาตั้งแต่ปี 2554 ระหว่างปี 2554-2565 ได้มีการอุธรณ์มายังศาลปกครองสูงสุดซึ่ง ในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นคดีนี้ ศาลกำหนดให้มีการจัดทำ การประเมินผลกระทบสิ่งเเวดล้อม ภายใน 60 วัน และวันนี้ศาลกลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นยกฟ้อง โดยมีการให้ประเด็น
- มองว่าโครงการไม่ใช่การถมที่ในทะเลไม่เข้าเงื่อนไข
- โครงการนี้ต้องขออนุญาตสิ่งก่อสร้างลุกล้ำลำน้ำตามมาตรา 17 แห่งพ.ร.บ.การเดินเรือลุ่มน้ำไทยปี 2456 หรือไม่ ขั้นตอนการขออนุญาต กฎกระทรวงปีพ.ศ. 2537 มีการกำหนดว่า โครงการที่มีการลุกล้ำในทะเล ต้องมีการจัดทำอีไอเอ ศาลมองว่าไม่ต้องจัดทำEIA แม้ว่าจะมีกฎหมายอยู่
- การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ศาลมองว่าเขื่อนที่เกิดขึ้น ไม่เกิดมาเขื่อนอย่างเดียวแต่มีปัจจัยภายนอก ที่ทำให้เกิดการกัดเซาะ และประเด็นสุดท้ายหน่วยงานได้มีการเนินการ คือผู้ถูกฟ้องได้มีการว่าจ้างบริษัทต่าง ๆ ได้มีการแก้ปัญหาอยู่ตลอด ศาลเลยยกฟ้องโดยมองว่าโครงการนี้ชอบด้วยกฎหมาย
นายอภิศักดิ์ ทัศนี กลุ่ม Beach for life ซึ่งติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาดมาอย่างต่อเนื่อง กล่าวภายหลังศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษาว่าโครงการลักษณะนี้ชัดเจนว่ามีผลกระทบต่อชายหาด มันพิสูจน์ได้ง่าย ถ้าดูจากแผนที่ดาวเทียม จะเห็นภาพชัดเจนว่าข้างหนึ่งถม อีกข้างหนึ่งถูกกัดเซาะ เมื่อศาลไม่เชื่อ บทบาทของอย่างหนึ่งที่จะทำให้ศาลและสังคมเชื่อว่าการกัดเซาะชายฝั่งจากโครงสร้างรัฐ ย่อมเป็นบทบาทของสังคม
คำตัดสินที่สิ้นสุดของชายหาดในทุกหาด แต่เป็นเฉพาะกรณีนี้ และในกรณีนี้เองก็ไม่ได้จบลงที่คำตัดสินศาล แต่ความเสียหาดมันยังคงดำเนินต่อไป เราจะต้องช่วยกัน ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขฟื้นฟูสภาพชายหาดให้กลับมา
ผศ. ดร. สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง ผู้เชี่ยวชาญวิศวกรรมชายฝั่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ และเป็นผู้ที่เข้าไปร่วมฟังคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุด เล่าว่า ในเชิงวิชาการทางวิศวะกรรมมี 2 ประเด็น ศาลไม่เชื่อว่าการสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำสะกอม จ.สงขลา หรือ เจ็ตตี้ (Jetty) และเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง จำนวน 4 ตัว ทำให้ชายหาดบริเวณ บ้านบ่อโชน ต.สะกอม อ.จะนะ จ.สงขลากัดเซาะจริง ศาลบอกว่ามีปัจจัยจากธรรมชาติเป็นหลัก เเต่ปัจจัยนี้ไม่อาจเชื่อได้ร้อยเปอร์เซ็น เพราะชายหาดบ้านบ่อโชน,ต.นาทับและต.ตลิ่งชัน กว่า 10 กิโลเมตร ซึ่งเป็นชายหาดระบบเดียวกัน ถ้าเป็นเเบบนั้นจริง เราจะเห็นการกัดเซาะในลักษณะเดียวกันทั้งหมด เเต่ความจริงเเล้วเราไม่เห็นการกัดเซาะเเบบนั้น เเต่เราเห็นการกัดเซาะตลอดเเนวชายฝั่งกว่า2 กิโลเมตร เเปลว่าเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำสะกอม จ.สงขลา หรือ เจ็ตตี้ (Jetty) และเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง 4 ตัวนั้น ที่เป็นสาเหตุการกัดเซาะบริเวณนี้
อ.สมปรารถนา กล่าวทิงท้ายว่า ไม่ว่าผลทางคดีจะเป็นอย่างไรก็ตาม14 ปีที่ผ่านมา มันเกิดแรงกระเพื่อมเเล้ว เเละชาวส่วนใหญ่ที่อยู่ตามเเนวชายฝั่งรับรู้แล้วว่า ชาวบ้าน นักวิชาการ เครือข่ายภาคประชาสังคม รวมถึงสื่อมวลชน สามารถทำอะไรได้บ้าง
เราได้เรียนรู้ร่วมกันว่า คดีนี้ดึงทุกคนเข้ามาเรียนรู้ร่วมกันในทุกมิติ เเม้คดีจะหยุด เเต่จะเกิดเเรงกระเพื่อม ชาวบ้านจะลุกขึ้นมาใช้สิทธิในการดูแลปกป้องชายหาด นักวิชาการเองต้องวิเคราะห์ อย่างเราต้องไปนิยามการถมดินในทะเลเสียใหม่? เเล้วอะไรกันเเน่ที่จะทำให้ชาวบ้านเชื่อว่าโครงการลักษณะนี้มีผลกระทบกับชาวบ้าน หรือต่อชายหาด
ถือว่าคดีนี้เป็นคดีประวัติศาสตร์เเละมีบทเรียนอยากให้ทุกคนเฝ้าติดตามคดีอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น