เมื่อก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นปากร่องน้ำนั้น ผลของการเปลี่ยนแปลงชายหาดที่ตามมาคือ การที่เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำดักตะกอนทรายที่วิ่งขนานตามแนวชายฝั่ง ทำให้เกิดการทับถมข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งที่ตะกอนทรายไม่สามารถเคลื่อนที่ไปได้ก็เกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง เป็นผลทำให้ชายหาดถูกกัดเซาะชายฝั่ง
Beach for life x แลต๊ะแลใต้ ชวนสำรวจ 3 ปากร่องน้ำสำคัญที่มีโครงสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ และเกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง จนต้องมีโครงสร้างป้องกันชายฝั่งต่อไปเรื่อยๆ
เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำนั้น เป็นโครงสร้างป้องกันการตื้นเขินของปากร่องน้ำ มีหน้าที่ดักตะกอนและล็อคปากร่องน้ำไม่ให้เคลื่อนที่ เพื่อความสะดวกในการเดินเรือเข้าออกปากร่องน้ำ โครงสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำที่ในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 64 ตัว ตลอดแนวชายฝั่งอ่าวไทย และเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำที่โด่งดัง และกลายเป็นกรณีพิพาททำให้เกิดการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง คือ เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำสะกอม จังหวัดสงขลา ซึ่งก่อสร้างโดยกรมเจ้าท่า ในปี 2541 และมีการฟ้องคดีเมื่อ 2551 โดยประชาชนชาวสะกอม จังหวัดสงขลาที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำสะกอม หลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาออกมาในปี 2554 เป็นเวลา 11 ปี ที่คดีพิพาทนี้อยู่ในการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด และกำลังสิ้นสุดการรอคอยคำพิพากษาที่ยาวนานเมื่อศาลนัดฟังคำพิพากษาคดี ในวันที่ 26 มกราคม 2565 นี้
เมื่อก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นปากร่องน้ำนั้น ผลของการเปลี่ยนแปลงชายหาดที่ตามมาคือ การที่เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำดักตะกอนทรายที่วิ่งขนานตามแนวชายฝั่ง ทำให้เกิดการทับถมข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งที่ตะกอนทรายไม่สามารถเคลื่อนที่ไปได้ก็เกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง เป็นผลทำให้ชายหาดถูกกัดเซาะชายฝั่ง
ในการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำหลายแห่งที่มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมนั้น จึงมีการระบุมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่ง และการทับถมของตะกอนทรายที่ติดอยู่บริเวณปากร่องน้ำ โดยการให้มีการถ่ายเททรายข้ามปากร่องน้ำ เพื่อลดการกัดเซาะชายฝั่ง และรักษาสมดุลตะกอนทรายชายฝั่ง ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเราไม่เคยเห็นมาตรการถ่ายเททรายเกิดขึ้นเลย !!
เมื่อรู้จักแล้วว่า เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำเกิดดขึ้นมาได้อย่างไร มีหน้าที่อย่างไร และส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง เราก็อยากชวนไปสำรวจ 3 ปากร่องน้ำสำคัญในจังหวัดสงขลา ที่มีการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำและเกิดการกัดเซาะชายฝั่ง ในกรณีที่เลือกปากร่องน้ำในจังหวัดสงขลาเพื่อให้เกิดความง่ายในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง เนื่องจากตะกอนทรายเรียบชายฝั่งนั้น เคลื่อนที่สุทธิจากทิศใต้ไปยังทิศเหนือ หมายความว่าหากมีก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำในจังหวัดสงขลา การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งที่เกิดขึ้น คือ การทับถมของตะกอนในทางทิศใต้(ขวามือ) และเกิดการกัดเซาะชายฝั่งทางทิศเหนือ(ซ้ายมือ)
- เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำทะเลสาบสงขลา
จากภาพถ่ายทางอากาศในปี 2510 จะพบว่าก่อนมีการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำสงขลานั้น ชายหาดบริเวณที่เรียกว่าแหลมสนอ่อนในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา นั้น มีสภาพเป็นแหลมไม่มีพื้นที่ดินกว้างมากหนัก แต่เมื่อมีการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำทะเลสาบสงขลา ทำให้เกิดการสะสมตัวของตะกอนทรายบริเวณแหลมสนอ่อน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ทำให้พื้นที่แหลมสนอ่อนเพิ่มขึ้นกว่า 500 ไร่(ข้อมูลเทียบเทียบปี 2556) ในส่วนอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงในปัจจุบัน และมีการก่อสร้างโครงสร้างป้องกันรูปแบบต่างๆ บริเวณชายหาดเนื่องจากไม่มีตะกอนมาหล่อเลี้ยงชายหาด และการเลี้ยวเบนของคลื่นที่ปะทะเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำทะเลสาบสงขลาทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง
- เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
จากภาพถ่ายทางอากาศในปี 2510 พบว่า ชายหาดบริเวณปากร่องน้ำนาทับนั้นมีลักษณะเป็นชายหาดเส้นตรง แต่เมื่อหลังจากก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำนาทับ ทำให้ฝั่งทิศใต้(ขวามือ) เกิดการทับถมของตะกอนทราย ทำให้แผ่นดินงอกออกไปหลายร้อยไร่ และเกิดการกัดเซาะชายฝั่งด้านทิศเหนือ(ซ้ายมือ) ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง และมีการป้องกันด้วยการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง 18 ตัว และกำแพงกันคลื่น ยาว 3 กิโลเมตร โดยกรมเจ้าท่า เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง อันเป็นผลจากเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำนาทับ
- เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ถือเป็นมหากาฬการต่อสู้ของประชาชน ที่ฟ้องร้องคดีต่อศาลปกครองว่าโครงสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำสะกอมทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำสะกอมก่อสร้างโดยกรมเจ้าท่า แล้วเสร็จในปี 2541 หลังจากนั้นเกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงด้านเหนือของเขื่อนกันคลื่น โดยชายหาดบริเวณนั้นกัดเซาะตัดชันเป็นหน้าผาลึกกว่า 10 เมตร ตลอดแนวชายฝั่งกว่า 2 กิโลเมตร ทำให้ประชาชนมีการฟ้องร้องคดีต่อศาลปกครองสงขลา และศาลชั้นต้นพิพากษาให้กรมเจ้าท่ามีความผิดเนื่องจากไม่มีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อดำเนินโครงการ และให้กรมเจ้าท่าดำเนินการทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมย้อนหลังภายใน 60 วัน
ทั้ง 3 เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำนั้น สร้างผลกระทบต่อชายหาดมหาศาล และปัจจุบันผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำกยังคงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และดูเหมือนจะลุกลามบานปลาย
หลายพื้นที่มีการสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งต่อเนื่องจากเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำที่สร้างผลกระทบไว้ยาวกลายสิบกิโลเมตร และในปัจจุบันกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมถึงนักวิชาการ ต่างออกมายอมรับว่า
และดูเหมือนว่า การอ้างว่า การก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นปากร่องน้ำ เพื่อป้องกันการที่ทรายตกปากร่องน้ำจนไม่สามารถเดินเรือเข้าออกได้ จึงต้องสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำดักตะกอนไว้ เป็นทางเลือกที่ยั่งยืนนั้น จะไม่เป็นไปตามที่คิด เนื่องจากปัจจุบันหลายปากร่องน้ำนั้นมีทรายสะกอมด้านหนึ่งของเขื่อนจนล้นปิดปากร่องน้ำทำให้ไม่สามารถเดินเรือได้
ทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำในพื้นที่ต่างๆ ที่ Beach for life และ แลต๊ะแลใต้ ชวนมาสำรวจ เพื่อให้เห็นว่าแท้จริงแล้วสาเหตุสำคัญๆที่ให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง ส่วนหนึ่งมาจากเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำที่สร้างขัดขวางการเคลื่อนตัวของตะกอนทรายชายฝั่ง