ค่ามาตรฐานฝุ่น แค่ไหนที่ปลอดภัยกับสุขภาพคน

ค่ามาตรฐานฝุ่น แค่ไหนที่ปลอดภัยกับสุขภาพคน

ลมหนาวที่เริ่มพัดมา เป็นที่รู้กันดีว่าช่วงรอยต่อของหน้าหนาว หน้าร้อน สิ่งที่ตามมาคือ ปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ที่มักจะแวะมาทักทายคนไทยโดยเฉพาะคนภาคเหนือตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา 

ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาภาครัฐและภาคประชาชนเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นมาโดยตลอด บางพื้นที่มีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำก่อนเผชิญเหตุและช่วงเผชิญเหตุ โดยมีเป้าหมายทำให้สถานการณ์ในปีนี้เบาบางลงและหลายฝ่ายต่างคาดการณ์ว่าในปี 2565 สถานการณ์ฝุ่นควันอาจจะไม่รุนแรงเท่ากับปีก่อน ๆ หน้า 

แต่อย่างไรก็ตามในส่วนของต้นกำเนิดของการเกิดฝุ่น นั่นก็คือการกระจุดความร้อนที่เกิดขึ้นจากการเผา ซึ่งแน่นอนว่าก็เป็นเรื่องในเชิงนโยบายและวิธีการที่ไหนระดับพื้นที่อยู่ระหว่างเตรียมการเตรียมพร้อมที่จะประเชิญเหตุตั้งในระดับนโยบายที่ไม่อาจมองข้ามอย่างเช่นการปรับค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศของไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลยังคงเป็นที่ถูกเถียงและถูกตั้งคำถามหนักขึ้นเรื่อยเรื่อยหลังจากที่องค์การอนามัยโลกปรับเกณฑ์แนะนำคุณภาพอากาศ ให้สะอาดบริสุทธิ์ขึ้นกว่าเดิม 

ปลายเดือน ก.ย. 2564 WHO ได้ประกาศ “เกณฑ์แนะนำคุณภาพอากาศ” (Air Quality Guidelines: AQGs) ฉบับใหม่ ซึ่งเป็นการปรับเกณฑ์ครั้งแรกในรอบ 16 ปี นับตั้งแต่ปรับครั้งล่าสุดเมื่อปี 2548  

ที่มา : https://www.sdgmove.com/2021/09/23/who-revision-new-air-quality-guidelines-to-curb-deaths 

ประเด็นสำคัญของเกณฑ์แนะนำคุณภาพอากาศฉบับนี้อยู่ที่การปรับค่ามาตรฐานความปลอดภัยของฝุ่น PM 2.5 ให้สูงขึ้น กล่าวคือ ค่าเฉลี่ยรายปีของ PM2.5 ที่ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยจะไม่เกิน 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) จากเดิมที่ 10 มคก./ลบ.ม. และค่าเฉลี่ยราย 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 15 มคก./ลบ.ม. จากเดิม 25 มคก./ลบ.ม. 

การปรับครั้งนี้ทำให้ค่ามาตรฐานฝุ่น PM2.5 ของไทยตามหลังเกณฑ์แนะนำของ WHO หลายเท่าตัว โดยปัจจุบันค่ามาตรฐานฝุ่น PM2.5 ของไทยเฉลี่ยรายปีคือไม่เกิน 25 มคก./ลบ.ม. และเฉลี่ย 24 ชั่วโมงต้องไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม. 

ไม่เพียงแต่เรื่องของการปรับค่ามาตรฐานที่ยังเป็นข้อท้าทายของหน่วยงานราชการไทย อีกส่วนที่ดูเป็นข้อท้าทายไม่แพ้กัน คือ การเข้าถึงข้อมูลคุณภาพอากาศแบบทันท่วงทีและกระจายครอบคลุมทั่วถึงตามพื้นที่ที่ประชาชนอาศัยอยู่ แม้นเครื่องตรวจวัด และรายงานคุณภาพอากาศโดยกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) จะกระจายตัวครอบคลุมเกือบทุกจังหวัด แต่ความเป็นจริงแล้วสภาพอากาศที่แปรปรวน ความสำคัญที่ประชาชนจะต้องรู้คุณภาพอากาศในจุดที่ตัวเองอยู่ก็สำคัญไม่แพ้กัน 

ไอเดียและปฏิบัติการของภาคประชาชนและภาควิชาการ บุคลากรทางการแพทย์ที่พยายามคิดค้นนวัตกรรมเครื่องวัดฝุ่น และรายงานค่าฝุ่นแบบเรียลไทม์ขนาดเล็ก ก่อตัวพร้อมกับขยายตัว เพื่อกระจายให้ครอบคลุมตามจุดสำคัญที่ประชาชนอาศัยอยู่ เช่น การติดตั้งเครื่องวัดฝุ่นแบบเรียวไทม์ขนาดเล็กจากสภาลมหายใจภาคเหนือและสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพ ที่ร่วมพัฒนาเครื่องวัดฝุ่นโดย คณะแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไอเดียแรกเริ่มกระจายตัวกันอยู่ในทุกตำบลครอบคลุมทั้ง 25 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในแต่ละตำบลเข้าถึงคุณภาพอากาศในพื้นที่ของตนเองได้ พร้อมกับยกระดับมาตรการในการป้องกันตนเองให้มากขึ้น 

นอกจากนั้นยังมีเครื่องวัดฝุ่นขนาดเล็กของสถาบันการศึกษาร่วมกันพัฒนาเกิดขึ้นอีกหลายค่าย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เดียวกันคือการรายงานค่าคุณภาพอากาศหรือฝุ่น PM 2.5 ให้ประชาชนสามารถรู้ได้แบบเรียลไทม์โดยสามารถกดเข้าดูที่ https://www.ntaqhi.info/ 

Northern Thailand Air Quality Health Index (NTAQHI) หรือเว็บ https://www.ntaqhi.info/ 

NTAQHI ย่อมาจาก Northern Thailand Air Quality Health Index หรือ ดัชนีคุณภาพอากาศเพื่อสุขภาพชาวเหนือ พัฒนาต่อมาจาก CMAQHI ซึ่งย่อมาจาก ChiangMai Air Quality Health Index หรือ ดัชนีคุณภาพอากาศเพื่อสุขภาพชาวเชียงใหม่ 

เว็บไซต์ www.ntaqhi.info ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ชาวเหนือได้รับรู้คุณภาพอากาศในพื้นที่ทั้งแบบเวลาจริงทุกชั่วโมง และแบบค่าเฉลี่ยใน 24 ชม.ที่ผ่านมา พร้อมคำอธิบายระดับดัชนีคุณภาพอากาศ และคำเตือนเพื่อลดความเสี่ยงจากผลกระทบของมลพิษอากาศต่อสุขภาพ 

ศ.นพ.ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ ผู้อำนวยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  กล่าวว่า “ในปีนี้เราก็ตั้งใจว่า เราอยากจะขยายเพิ่มไปที่จังหวัดอื่นให้ทั่วทั้งภาคเหนือโดยความอนุเคราะห์จากทางสภาลมหายใจ เข้ามาช่วยสนับสนุนเรื่องของเครื่องวัดเพื่อที่จะกระจายไปให้ครบทุกพื้นที่ในภาคเหนือ คาดว่าในปีนี้เราน่าจะขยายไปให้ครบทุกจังหวัดในภาคเหนือตอนบน” 

คนภาคเหนือต้องเผชิญกับปัญหาหมอกควันและ PM2.5 ในระดับที่เกินค่ามาตรฐานต่อเนื่อง ส่งผลต่อสุขภาพของคนในพื้นที่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพผลักดันประเด็นนี้ต่อเนื่องมา 2-3 ปี แล้วโดยนำร่องที่จังหวัดเชียงใหม่ และเห็นว่าปีนี้ควรมีการขยายโครงการออกไปสู่จังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะพื้นที่ที่เผชิญกับปัญหาฝุ่น PM2.5 หนาแน่น ให้ครอบคลุมโดยฉพาะ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน เช่น เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ตาก  จึงมีการพัฒนาระบบการรายงานค่าฝุ่น ในชื่อ เวบไซต์ NTAQHI ดัชนีคุณภาพอากาศเพื่อสุขภาพของคนภาคเหนือ ติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดขนาดเล็กในพื้นที่จังหวัดนำร่อง โดยล่าสุดได้มีการ MOU ร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชนผ่านสภาลมหายใจจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อที่จะร่วมกันสนับสนุนระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือที่จะกระจาย เครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศให้ครอบคลุมพร้อมกับจะร่วมกันเร่ง ผลักดันเรื่องค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศตามที่ WHO ประกาศ 

ทำไมถึงต้องเร่งผลักดัน ? 

บ้านเรามีข้อมูลว่า ในปี พ.ศ. 2547 กรมควบคุมมลพิษมอบหมายให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดำเนินการศึกษาและยกร่างมาตรฐาน PM 2.5 โดยใช้ข้อมูลความเข้มข้น PM 2.5 ระหว่าง พ.ศ. 2544-2551 จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ 3 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (กรุงเทพฯ พื้นที่ทั่วไป), การเคหะชุมชนดินแดง (กรุงเทพฯ พื้นที่ริมถนน) และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย (จ.เชียงใหม่) 

ในระดับสากล มักอ้างอิงกับแนวทางปฏิบัติด้านคุณภาพอากาศขององค์การอนามัยโลก (WHO Air quality guidelines: WHO AQG) เพื่อลดผลกระทบทางสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ และมักปรับปรุงให้เท่าทันสภาวะมลพิษใหม่ ๆ 

จากนั้นจึงวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพอากาศทางสถิติ ประเมินทางเศรษฐศาสตร์ทั้งประโยชน์ด้านสุขภาพและค่าใช้จ่ายในการควบคุมปริมาณฝุ่น โดยคำนึงถึงสภาพเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และ พ.ศ. 2553 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติจึงคลอดประกาศฉบับที่ 36 กำหนดมาตรฐานค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงและค่าเฉลี่ยรายปีของ PM 2.5 ไม่เกิน 50 และ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และปี 2561 มีราชกิจจานุเบกษาประกาศเพิ่มเติมเรื่องดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศของประเทศไทยออกมา พร้อมกับลงรายละเอียดเกณฑ์ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยพร้อมกับคำอธิบายในการปฏิบัติตัวของประชาชน 

อ้างอิง http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/E/037/61.PDF  

อ้างอิง http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/283/T_0023.PDF 

อย่างไรก็ตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” มาตรการที่สามการเพิ่มประสิทธิภาพและการบริหารจัดการมลพิษ มีการตั้งเป้าระบุการกำหนดค่ามาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศเฉลี่ยรายปีให้เป็นไปตามเป้าระยะที่ 3 ขององค์การอนามัยโลก 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ