เหมือนจะเป็นเมืองเล็กๆ เงียบสงบ แต่เมื่อถึงฤดูฝุ่น ฤดูไฟ วิกฤตมลพิษอากาศ ฝุ่นควัน PM2.5 ในจังหวัดลำพูนนั้นอยู่ในระดับวิกฤตไม่ต่างจากจังหวัดใหญ่ ๆ อย่างเชียงใหม่ และลำปาง แม้จุดความร้อนในพื้นที่จะไม่ได้มากเท่า
“ข้อมูลจาก Gistda ดาวเทียม VIIRS ช่วงเดือนมกราคม – พฤษภาคม ปี 64 มีอยู่ 39 วัน ค่าเกินมาตราฐานสูงสุดอยู่ที่ 102 ไมโครกรัม ปี 36 วัน ค่าเกินมาตราฐานสูงสุดอยู่ที่ 101 ไมโครกรัม เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.33 โดยคุณภาพอาการที่เริ่มมีผลกระทบต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัม ทั้งหมดเกิดในกลางเดือนกุมภาพันธ์ – กลางมีนาคม”
ตำบลบ้านก้อ อำเภอลี้คือพื้นที่ความเสี่ยงสูงที่สุดของจังหวัดลำพูนที่จะเกิดไฟป่าที่เป็นต้นเหตุของปัญหาฝุ่นควันหนักมาก จากการติดตามข้อมูลสถานการณ์ที่ผ่านมาที่พบจุดไฟป่าเกิดขึ้นโดยรอบชุมชน นี่คืออีกหนึ่งเหตุผล ที่เจ้าหน้าที่ดับไฟป่าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ต่อเนื่อง พร้อมใจกันเข้าเช็คสุขภาพ เมื่อวันที่ (11 ธ.ค.2564) ไทยพีบีเอส ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืด และโรคระบบหายใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และภาคีเครือข่าย จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่ตรวจสุขภาพเชิงลึก ให้กับชุดปฏิบัติการดับไฟป่า ผู้สูงอายุ เด็ก และประชาชนกลุ่มเสี่ยงในจังหวัดลำพูน
“ภารกิจรักษาป่า มีปอดเป็นเดิมพัน”
“ช่วงเดือนมกราคม เจ้าหน้าที่จะเข้าทำแนวกันไฟ ช่วงนั้นจะมีการกวาดการใช้เครื่องเป่า การใช้เครื่องยนต์ในการตัดหญ้า ซึ่งเราไม่ทันได้รู้สึกตัว ซึ่งในบางครั้งมีการใช้อุปกรณ์ปองกัน มีการใช้แมสบ้าง ใช้ผ้าคลุม ซึ่งก็จะกันได้บ้างส่วน แต่พอถึงช่วงมีนาคม -เมษายนอัน นี้เป็นช่วงที่เขาจะต้องเข้าไปดับไฟ ช่วงนั้นจะมีเรื่องของควัน เรื่องฝุ่น ซึ่งแต่ละคนจะไม่รู้ตัวว่ามีผลอะไร แต่อย่างเก่งก็ น้ำตาไหล ตาแดง ไอ จาม แต่ในส่วนของการสะสมเรามารู้เลยถ้าไม่มีการตรวจ ไม่ได้มีการเอ็กซ์เรย์มาก่อน ….
การได้รับการตรวจของกลุ่มเจ้าหน้าที่ เป็นการดีที่เราจะได้รู้ผล ถ้าผลตรวจเป็นอย่างไร เราสามารถเอาข้อมูลไปบอกกล่าวกับชาวบ้านในพื้นที่ได้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ ว่ามันอันตรายต่อสุขภาพของเขา และช่วยกันลดต้นเหตุของปัญหาได้ ปีหนึ่ง เจ้าหน้าที่จะต้องเผชิญดับไฟในดงฝุ่น ถ้าเข้มข้นจริง ๆ ก็จะอยู่ราว 90 -120 วัน หลายคนก็ทำงานต่อเนื่องมาหลายปี บางคน 5 ปี บางคน เป็น 10 ปี”นายพิชิต ปิยะโชติ หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าแม่ปิง เล่าว่า สถานีควบคุมไฟป่าแม่ปิง บอกกันเรา
นายพิชิต เล่าต่ออีกว่า ตอนนี้กำลังพลของหน่วยดับไฟ มีอยู่ 3 หน่วยดับไฟ กำลังคน 27 คน มีการจัดกำลังคนตามจุดที่เสี่ยงต่าง ๆ เป็นหมู่ดับดับไฟ ปีนี้เราได้ทำแผนร่วมกับชุมชนตำบลก้อ มีอยู่ 4 หมู่บ้าน และเทศบาลตำบลก้อ เหมือนเรามีกำลังเพิ่มเป็นหน่วยย่อย ๆ เหมือนหมู่ดับไฟ อีกหน่วยหนึ่ง แต่ประจำในหมู่บ้านและอยู่ใกลกับพื้นที่ที่เกิดไฟไหม้เยอะที่สุด เราคาดหวังว่าปีนี้จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีการกำหนดจุดเสี่ยง ของชุมชนเอง โดยเรานำข้อมูลฮอตสปอต แต่ละปีมาวางให้ชุมชนได้รู้ว่า มันใกล้เราแค่ไหน จุดไหนที่ใกล้กับชุมชนเขาคือจุดเสี่ยง ชุมชนก็จะได้รับทราบ และมีกระบวนการร่วมกันตั้งแต่การป้องกัน กำหนดจุดเสี่ยง กำหนดกฎกติกาการใช้ไฟในชุมชน ร่วมกันทำแนวกันไฟ ช่วยกันรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ช่วยกันทำรายชื่อคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น เข้าป่า หาของป่าล่าสัตว์ นำเข้ามาเพื่อที่จะวางแผนแก้ไขปัญหาในแต่ละหมู่บ้าน จะกำหนดหน่วยดับไฟป่า เหมือนหน่วยดับไฟป่า แต่อยู่ในหมู่บ้าน มีการลงทะเบียนคนที่จะเข้าป่าหาของป่า ต้องแจ้งให้ชุมชนนั้นรู้ก่อน เพราะว่าเราพยายามจะป้องกันก่อน ถ้าเกิดเหตุไฟไหม้ ชุดหมู่บ้านเข้าก่อน ถ้าชาวบ้านไม่ไหว หน่วยดับไฟป่า จะเข้ามาช่วย ปีนี้เป็นปีแรกที่ให้ชาวบ้านทำแผนไฟที่เกิดในพื้นที่อุทยานแห่ชาติแม่ปิง และพื้นที่ตำบลก้อ”
ไฟที่ลุกลามจากอำเภอข้างเคียง คือ อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง และพื้นที่สามเงา จังหวัดตาก ปีนี้มีแผนการทำแนวกันไฟด้วยการไถทำแนว และการทำแนวดำ หรือการชิงเผา และมีการตั้งชุดดับไฟพิเศษเข้าไปประจำการ โดยชุดเสือไฟจากพื้นที่อื่น ๆ เข้ามาประการ อย่างน้อย จุดละ 10 คน เนื่องจากพื้นที่บริเวณนั้นเป็นที่ที่มีเชื้อเพลิงสะสมจำนวนมาก และมีสัตว์ป่าจำนวนมากชุกชุม และเป็นที่ที่นิยมหาของป่าเยอะ ทำให้มีการใช้ไฟในการหาของป่า และมีการใช้ไฟ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการลุกลามที่ควบคุมไม่ได้
เป็นปีแรกที่เทศบาลตำบลก้อ เข้ามาหนุนเสริม เช่น เครื่องเป่าลมในการทำแนวกันไฟ และอุปกรณ์สื่อสาร เครื่องเป่าลมปกติถ้าใช้งานเต็มที่ “อายุการใช้งานจะอยู่ราว 1 ปีและเริ่มชำรุด”
ตอนนี้ยังต้องการอุปกรณ์ อยู่ เพราะลักษณะของป่าเต็งรัง ใบไม้เยอะ เครื่องเป่าลมจะช่วยได้มากและเร็วขึ้น ส่วนเครื่องมือสื่อสารก็สำคัญ เพราะพื้นที่ของตำบลก้อ ล้อมรอบด้วยภูเขา บนภูเขาไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ อุปกรณ์ที่ดีที่สุดคือวิทยุสื่อสาร ที่ยังคงต้องการ
สิ่งที่ชาวบ้านก้อและเจ้าหน้าที่ด่านหน้าต้องการนั้น เรา หรือคนในสังคมร่วมกันช่วยเหลือได้ สามารถเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจรักษาป่านี้ได้ โดยเว็บ เทใจ.คอม ทำหน้าทีเ่ป็นพื้นที่กลางร่วมกับชมรมผู้รับพระราชทานทุน มูลนิธิอานันทมหิดลระดมเงินทุนเพื่อจัดหาอุปกรณ์ที่มีความจำเป็น ให้เพียงพอในฤดูกาลไฟป่าที่จะมาถึงนี้ สำหรับป้องกันและควบคุมไฟป่าให้กับอุทยานแห่งชาติแม่ปิงและเทศบาลตำบลก้อ
ระยะเวลาโครงการ 25 ต.ค. 2564 ถึง 31 ธ.ค. 2564 โดยมีเป้าหมายเงินระดมทั้งสิ้น 275,000 บาท คลิกดูรายละเอียดได้ เว็บเทใจ https://taejai.com/th/d/maeping_wildfire_prevention/
จัดหาอุปกรณ์เพื่อป้องกันและควบคุมไฟป่า อุทยานแห่งชาติแม่ปิง
ชวนอ่านเพิ่มเติม “ก้อSandbox” https://thecitizen.plus/node/51070