ครอบครัวช้างบริการท่องเที่ยว
จากสถานการณ์โควิด 19 ในรอบแรกส่งผลกระทบโดยตรงต่อคนในวงการท่องเที่ยวครับ เราเป็นทีมผลิตสารคดีจากภูมิภาครายการ “localist ชีวิตนอกกรุง” ได้มีโอกาสรู้จักกับครอบครัวที่มีรายได้หลักจากการท่องเที่ยวและได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์นี้ ครอบครัวแซมมีรายได้หลักจากการท่องเที่ยวด้วยช้างซึ่งแซมมองว่าช้างเป็นหนึ่งในสมาชิกของครอบครัวเขาเมื่อปิดประเทศ การท่องเที่ยวด้วยช้างที่เคยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวทั้งโซนยุโรปและนักท่องเที่ยวจากจีนหายไป การท่องเที่ยวกลุ่มนี้ไม่มีรายได้เข้ามาเลยครับ ปางช้างค่อย ๆ ทยอยปิดตัวลงทำให้ช้างหลายร้อยตัวที่บริการในปางช้างต่าง ๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ตกงาน ช้างของตระกูลแซม 4 เชือกก็ตกงานเช่นกันครับ
ช้างสร้างรายได้
เมื่อได้พูดคุยเรื่องรายได้ แซมเล่าว่าครอบครัวได้นำช้างลงไปบริการท่องเที่ยวร่วมกับปางช้างต่าง ๆ ใกล้ตัวเมืองเชียงใหม่กว่าสิบปีแล้ว ก่อนหน้านี้ช้าง 1 เชือกสร้างรายได้ให้เจ้าของและควาญช้างประมาณ 30,000 บาทต่อเดือน โดยปกติช้าง 1 เชือกไม่ได้มีเจ้าของเดียว แต่จะมีญาติพี่น้องช่วยกันดูแลขึ้นอยู่กับจำนวนพี่น้องในครอบครัวนั้น เพราะช้างถือเป็นมรดกของตระกูล ตระกูลแซมมีช้างอยู่ 4 เชือก สามารถสร้างรายได้ไม่น้อยเลยครับ หลังร่วมบริการกับปางช้างอยู่หลายปีแซมก็เริ่มเปิดแค้มป์ช้างของตัวเองโดยมีแป้งซึ่งเป็นภรรยามาช่วยงานด้านการต้อนรับจัดการท่่องเที่ยว ทุกอย่างกำลังไปได้ด้วยดีรายได้มีเพียงพอจนสามารถซื้อบ้านซื้อรถได้ หลัก ๆ นักท่องเที่ยวจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ5-10ที่ผ่านมาจะเป็นชาวยุโรปและในช่วงหลัง ๆ มานี้จะเป็นชาวจีน แต่เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 ทุกอย่างหยุดโดยไม่ได้ตั้งหลักและมีแผนรองรับครับ
พาช้างกลับบ้าน
ครอบครัวแซมเป็นชาวปกาเกอะญอ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ช่วงสถาการณ์โควิดปีแรกยังคงให้ช้างปักหลักอยู่ที่แค้มป์ช้างใกล้ตัวเมือง โดยยังหวังว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย แต่เมื่อเวลาผ่านไปเงินทุนที่สะสมมาก็ร่อยหรอลงเพราะการดูแลช้าง1เชือกใช้เงินไม่น้อย เช่นค่าอาหารประมาณวันละ 200 บาทต่อเชือกแล้ว ไหนจะค่าควาญช้างอีก ทั้งหมดเป็นต้นทุนที่ต้องใช้ในการรอให้สถานการณ์ดีขึ้น เจ้าของช้างบางรายถึงขั้นประกาศขายช้างเลย ปกติช้าง 1 เชือก ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 3-5 ล้านบาทแต่ในสถานการณ์นี้ขาย 1 ล้านบาทยังหาคนซื้อยากเลย เมื่อแซมประเมินร่วมกับญาติพี่น้องแล้วว่าน่าจะอีกนานและเกินกำลังในการรอเลยตันสินใจนำช้างกลับบ้าน “บ้านบนดอย” โดยหวังว่าที่บ้านน่าจะมีอาหารและดูแลได้ง่ายกว่าที่ปางช้าง สำหรับช้างแล้วนี่เป็นการกลับบ้านในรอบ 14 ปีครับ
ครอบครัวปกาเกอะญอกับช้าง
การเดินทางบ้านของช้าง ใช้วิธีการเดินเท้าค่อย ๆ เดิน ใช้เวลา3-5 วันก็กลับมาถึงบ้าน บ้านห้วยบงเป็นชุมชนที่อยู่รอยต่อระหว่างเชียงใหม่กับแม่ฮ่อนสอน ถ้าเดินทางด้วยรถยนต์จากตัวเมืองเชียงใหม่ก็ประมาณ 3-4 ชั่วโมง เมื่อช้างกลับถึงบ้านสร้างความตื้นตัวให้ชุมชนไม่น้อย คนเฒ่าคนแก่อาจจะคุ้นชินกับการมีช้างในชุมชน แต่สำหรับเด็กรุ่นใหม่ที่อายุไม่ถึง 15 ถือเป็นสิ่งใหม่สร้างความตื่นเต้นให้ไม่น้อย บ้านแซมเป็นชุมชนเล็ก ๆ มีไม่กี่หลังคาเรือน ช้างกลับมา 11 เชือก มีทั้งช้างที่เดิมในชุมชนและช้างที่ไปคลอดระหว่างให้บริการท่องเที่ยว แซมเล่าว่าช้างกับชาวปกาเกอะญอมีความผูกพันกันมายาวนาน เดิมชุมชนแถบมีจะมีช้างใว้สำหรับใช้แรงงาน เราได้คุยกับลุงวิโรจน์เป็นคนที่อยู่ในยุคก่อนนำช้างออกไปบริการท่องเที่ยว ลุงเล่าว่าช้างกับชาวปกาเกอะญอที่นี่ผูกพันกันมาตังแต่บรรพบุรุษ โดยใช้ช้างในการประกอบอาชีพเช่นลากไม้ในยุคที่มีการสัมปทานป่า ข้ามไปฝั่งพม่าเพื่อรับจ้างลากไม้เป็นต้น พอมาถึงยุคท่องเที่ยวปรากฎว่าการบริการท่องเที่ยวทำรายได้ดีมาก อีกทั้งยุคนั้นงานลากไม้ไม่ค่อยมีแล้ว ช้างในชุมจึงลงไปบริการท่องเที่ยวเกือบทั้งหมด ลุงยังบอกอีกว่าที่มาผ่านมารายได้จากการท่องเที่ยวด้วยช้างสร้างรายหลัก ๆ เลยก็ว่าได้ แต่เมื่อช้างกลับมาแบบนี้ระยะแรกคือต้องจัดการเตรียมอาหารให้ช้างก่อน ที่นี่เริ่มปลูกกล้วยและหญ้าเพื่อเตรียมให้ช้างครับ
ชุมชนช้างกลับบ้าน
ซมเล่าว่าที่ชุมชนนี้ถือว่ามีช้างจำนวนน้อยถ้าเทียบทั้งตำบลที่มี่ช้างมากกว่า 100 เชือกในตำบลแม่ศึก ประกอบไปด้วยบ้านห้วยผักกูด บ้านนากลาง บ้านแม่หยอด บ้านแม่จุมสาม บ้านแม่สบ และบ้านแม่สต้อป โดยที่บ้านห้วยผักกูดมีช้างกลับมามากที่สุด เราได้คุยกับสาธิตซึ่งเป็นประธานมูลนิธิชุมชนเลี้ยงช้างห้วยผักกูด สาธิตเล่าว่าในชุมชนมีช้างกลับมาบริการท่องเที่ยวก่อนหน้านี้แล้ว 12 เชือกกลับมาใหม่ช่วงสถานการณ์โควิด-19 อีก 48 เชือก ทำให้ตอนนี้มีช้างอยู่ในชุมชนถึง 60 เชือก การจัดการที่อยู่ที่กินสำหรับช้างกลุ่มนี้ไม่ง่ายเลยครับ แต่สิ่งที่สังเกตุเห็นได้เกี่ยวกับพฤติกรรมช้างคือดูช้างมีความสุขมากขึ้น แต่เจ้าของช้างก็ต้องหาช่องทางการอยู่รอดในยามไม่มีรายได้จากช้าง พูดง่าย ๆ คือหารายได้เลี้ยงตัวเองและต้องมีเลี้ยงช้างด้วย ครอบครัวแซมต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตพอสมควร ตอนนี้กำลังทดลองค้าขายหลายรูปแบบโดยมองจากต้นทุนที่มีคือตอนนี้มีรถอยู่คันหนึ่งก็เลยเอาเงินทุนที่พอมีอยู่ลงทุนซื้อของสดจากในเมืองไปแร่ขายบนดอยครับ ช่วงแรก ๆ ก็เหมือนจะขายดีแต่พอลองหลายครั้งแล้วบวกลบดูขายอยู่กับบ้านดีกว่า ตอนนี้ก็เลยเปิดบ้านบนดอยเป็นร้านโชว์ห่วยขายทุกอย่างที่พอจะมีกำไรและทำทุกอย่างที่สร้างรายได้ครับ
อยากเป็นชุมชนท่องเที่ยวด้วยช้าง
บ้านห้วยผักกูดดูเหมือนจะมีการทดลองนำช้างกลับบ้านมาก่อนเลยพอทำให้เห็นช่องทางว่าหลังจากนี้จะเดินต่ออย่างไรครับ สาธิตเล่าว่าช้างที่กลับมาก่อน 12 เชือกก่อนการระบาดนั้น ได้ทดลองรับท่องเที่ยวที่เข้ามาพักในชุมชน และเห็นว่าพอเป็นไปได้ นักท่องเที่ยวก่อนหน้านี้ส่วนมากเป็นชาวต่างชาติจึงมีกำลังจ่ายพอสมควร แต่หลังจากนี้การท่องเที่ยวเปลี่ยนไปกลุ่มของสาธิตกำลังวางแผนครับ โดยจะวางแผนทั้งระบบคือจัดรูปแบบการท่องเที่ยวให้ช้างที่แตกต่างกันเช่นช้างอายุน้อย ช้างแก่ให้นักท่องเที่ยวมาใช้ชีวิตร่วมกับช้าง ส่วนช้างหนุ่มที่แข็งแรงอาจจะจัดเส้นทางเดินป่าร่วมกับนักท่องเที่ยว ในส่วนส่วนของการพักในชุมชนก็จะมีกลุ่มโฮมสเตย์มารับช่วงต่อ จากแผนการจัดการท่องเที่ยวด้วยช้างที่สาธิตเล่าให้ฟังน่าก็สนใจอยู่ครับ ในส่วนของบ้านห้วยบงหลังจากกลับมาอยู่บ้านได้ปีกว่า ๆ กลุ่มของแซมก็เริ่มวางแผนใหม่เช่นกันคืออยากเปิดบ้านรับนักท่องเที่ยวมากกว่านำช้างลงไปหานักท่องใกล้ตัวเมือง เพราะความผูกพันของคนในชุมชนกับช้างเริ่มกลับมาอีกครั้งเด็ก ๆ เริ่มรู้สึกเป็นเจ้าของช้าง ครอบครัวเจ้าของช้างได้กลับมาอยู่บ้านเริ่มรู้สึกอบอุ่น เบื้องต้นเริ่มจัดเตรียมความพร้อมด้านที่พักและรูปแบบการเที่ยวบ้างแล้ว แต่จนถึงตอนนี้ชุมชนก็ยังกังวลเรื่องโรคโควิด-19อยู่ไม่กล้าเปิดรับท่องเที่ยวครับ จากภาพรวมที่ได้พูดคุยกับสาธิตและแซมคือความสุขทั้งคนและช้างอยู่ที่บ้าน แต่ช้างอยู่บ้านจะมีแรงดึงดูดพอให้นักท่องเที่ยวตามตามมาหรือไม่ต้องลุ้นหลังสถานการณ์ผ่อนคลายครับ