กุโบร์ (สุสาน) ชาวจีนมุสลิม ป้ายบนหลุมกับสายสัมพันธ์สกุล

กุโบร์ (สุสาน) ชาวจีนมุสลิม ป้ายบนหลุมกับสายสัมพันธ์สกุล

ป้ายหน้าหลุมฝังศพมุสลิมจีน สลักข้อความภาษาอาหรั

คนมุสลิมที่นับถือศาสนาอิสลามจะสำคัญในเรื่องราวชีวิตหลังการตายเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเป้าหมายของชีวิตหาได้หยุดเพียงโลกนี้ไม่ แต่ชีวิตในโลกนี้จะส่งผลต่อชีวิตบนโลกในหลุมฝั่งศพ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความเชื่อของชาวมุสลิมกันว่า มีการตอบแทนและการลงโทษ เริ่มตั้งแต่การหย่อนศพลงสู่หลุ่ม เมื่อผู้คนเดินจากไปจากทำศาสนพิธิการส่งศพ ก็จะเริ่มสอบถามผู้อยู่ในหลุมถึงการงานความดีความชั่วที่ได้ทำผ่านมาในโลกดุนยา (โลกปัจจุบันที่พวกเราอยู่)

มีโอกาสเดินทางมายังชุมชนมุสลิมเชื้อสายจีนในพื้นที่อำเภอฝาง ที่หมู่บ้านหัวฝาย ต.โป่งน้ำร้อน มัสยิดหลังใหญ่โตและงดงามตั้งตระหง่านอยู่กลางหมู่บ้าน รูปทรงของมัสยิดดูออกแนวของชาวจีนมุสลิม ด้วยพื้นที่มีชุมชนชาวจีนอพยพที่ลี้ภัยมาเมื่อครั่งยุคสงครามคอมมิวนิสต์กับทหารจีนคณะชาติ ที่ทางรัฐไทยในยุคนั้นจัดเป็นแหล่งพักพิงศูนย์อพยพของคนจีนกลุ่มนี้ ทั้งชาวจีนที่นับถือพุทธและมุสลิม

สุสานจะติดกับเชิงเขา

ด้านหลังมัสยิดแห่งนี้ติดภูเขาถูกจัด ให้เป็นที่ฝั่งมัยยิด (ศพ) ตามวิถีการฝั่งศพของชาวจีนทั่วไปมักจะเลือกทำเลที่อยู่ตั้งอยู่บนเนินเขา เชื่อได้เลยว่าชาวจีนมุสลิมในพื้นที่อำภอฝางส่วนใหญ่หรือแม้กระทั้งชาวจีนมุสลิมในแผ่นดินใหญ่ก็ตามได้รับอิทธิพลในการหาทำเลที่ฝั่งไม่ต่างกันมากนัก จะต่างก็แต่หลุมศพของชาวจีนมุสลิมไม่มีการเส้นไหว้และป้ายหน้าหลุมที่มีทั้งภาษาอาหรับ-จีนสลับกันไป เป็นอัตลักษณ์หนึ่งที่มองเห็นความต่าง

มุสลิมเชื้อสายจีนแห่งนี้ป้ายหน้ากุโบร์หรือป้ายบนหลุมฝั่ง ที่สะท้อนถึงสายสัมพันธ์ของตระกูลนั้น ๆ มีบันทึกชื่อของผู้ตายบิดามารดา และลูกหลานในสายตระกูล ลงบนป้าย

เมื่อครั้งได้มีโอกาสเยือนครานั้น ผู้อาวุโสในชุมชน เล่าให้ฟังว่านอกจากบนแผ่นป้ายจะมีชื่อผู้เสียชีวิต ยังมีชื่อพ่อแม่ และยังมีชื่อลูกหลานของผู้เสียชีวิต ประมาณว่ามีลูกกี่คนชื่ออะไรบ้าง ลูกแต่ละคนมีหลานกี่คนชื่ออะไรบ้าง ถูกบันทึกลงบนบนแผ่นป้ายด้วย ยามเมื่อลูกหลานมาเยี่ยมที่สุสาน มาขอพรให้ จะได้รำลึกนึกถึงพี่น้อง ก่อให้เกิดการระลึกหา นำสู่การเยี่ยมเยือนและสร้างสัมพันธ์ทางเครือญาติอย่างเหนียวแน่น

ด้านหลังของสุสานชาวจีนมุสลิม

ในส่วนของสายสกุลของตัวผู้เขียนเอง ซึ่งถือว่าเป็นรุ่นหลาน น้องชายเคยไปเยือนเมืองสิบสองปันนา ประเทศจีนมีโอกาสไปเยี่ยมหลุมศพของคุณย่า เล่าให้ฟังว่า ชื่อแซ่ของรุ่นเราถูกบันทึก ณ แผ่นป้ายบนหลุมของคุณย่า ซึ่งเป็นสิ่งบ่งบอกกับลูกหลานรุ่นหลังว่า สายสัมพันธ์แห่งเครือญาติมิอาจล่มสลายตราบใดแผ่นป้ายจารึกแห่งนี้ยังคงอยู่ จะอยู่ในจีนหรือเมืองไทยใจถึงใจสายเลือดแห่งความเป็นพี่น้องยังคงนิรันดร์ ดั่งเล่าปี่ ได้กล่าวไว้ในนิยายสามก๊กว่า”พี่น้องเหมือนแขนขา ลูกเมียเหมือนเสื้อผ้า เสื้อผ้าขาดยังพอเย็บได้ แขนขาขาดไม่อาจต่อได้” ว่ากันไป

สอบถาม ดร.สุชาติ เศรษฐมาลินี กูรูเรื่องของชาวจีนมุสลิม ในเรื่องราวของป้ายบนหลุมศพ ท่านพอจะชี้แนะให้กับข้าน้อยได้เพิ่มพูนสักนิดหน่อยจะได้ใหม

ท่านตอบว่า “ขออภัยครับ บ่ฮู้ครับ บ่เกยถามเรื่องนี้ เพียงพบข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ ป้ายหลุมศพแต่ละที่ แต่ละสังคมมุสลิมจะมีความโดดเด่นแตกต่างกันไป สำหรับชาวจีนมุสลิม (ทั้งในจีน และในไทยยุคชาวจีนมุสลิมยุคแรก ๆ จะเขียนอายะฮ์อัล-กรอาน(3: 185) كُلُّ نَفْسٍ ذَائِقَةُ الْمَوْتِ (ทุก ๆ ชีวิต จะได้ลิ้มรสความตาย) ติดบนหลุมพร้อมชื่อผู้ตาย

ผมตีความเอาเองว่าคงเป็นกุศโลบายในการตักเตือนผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ให้ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ระมัดระวัง และหมั่นประกอบคุณธรรมความดีและเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอที่จะกลับคืนสู่พระผู้เป็นเจ้า เคยเข้าไปในกุโบร์ที่มาเลเซีย จะนิยมเขียน อัชฮะดุฯ (ชะฮาดะฮ์) คำปฏิญานตนของการเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม ติดบนหลุม ครับทางใต้บ้านเรา…จำไม่ได้ครับ”

ได้รับคำตอบจากอาจารย์สั้น ๆ ครับ เซี่ย ๆ ขอบคุณครับ แต่สั้น ๆ ที่ว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ที่ท่านได้ชี้แนะ มาเป็นแนวในการดำเนินชีวิตตามครรลองอิสลาม ให้ได้รำลึกนึกถึงเสมอว่า โลกดุนยา หรือโลกนี้หายั่งยืนไม่ หากไม่สะสมกระทำความดีงามตามครรลองของอิสลาม พอร่างกายถูกฝั่งลงดินก็จะเข้าสู่การชำระบุญชำระบาป

ปัจจุบันก็มีการปักไม้หรือหิน วางไว้เป็นสัญญาลักษณ์ให้รู้ว่า เป็นที่ฝั่งศพ

ปัจจุบันการฝั่งมัสยิดในพื้นที่นี้ก็เปลี่ยนไปหากมีผู้เสียชีวิตก็จะฝั่งแบบทั่วไปคือมีไม้ปักหัวท้ายเพื่อแสดงให้รู้ว่ามีมัสยิดหรือศพฝั่งอยู่เท่านั่น ชีวิตเปลี่ยนสังคมเปลี่ยน สิ่งที่เคยมีสูญหาย สิ่งใหม่เข้าแทนที่ กดทับสนิทกับวิถีดั่งเดิม ด้วยกับวาทะที่ว่าการเปลี่ยนไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่า

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ