เครือข่ายปกาเกอะญอในเขตเชียงใหม่และเครือข่ายปกาเกอะญอในรัฐกะเหรี่ยง KSNG คือใคร
เครือข่ายปกาเกอะญอเขตเชียงใหม่
Chiang Mai Dioceses Major seminary
เครือข่ายนี้จะรับผิดชอบเรื่องการช่วยเหลือพี่น้องกลุ่มปกาเกอะญอที่ลงมาทำงานในสังคมเมืองและกลุ่มเยาวชนปาเกอะญอที่ลงมาศึกษาต่อในเมือง โดยกลุ่มเครือข่ายนี้ จะเป็นกลุ่มบุคคลที่ค่อยเชื่อมให้พี่น้องปกาเกอะญอที่ลงมาทำงานหรือศึกษาต่อในเมืองได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ชีวิตในสังคมเมือง โดยผ่านกิจกรรมของกลุ่มเครือข่าย เช่น กีฬาชาติพันธุ์สัมพันธ์ การนมัสการพระเจ้าร่วมกัน การจัดค่ายจิตอาสา ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้กลุ่มเครือข่ายปกาเกอะญอเขตเชียงใหม่หรือ Chiang Mai Dioceses Major seminary จะเป็นกลุ่มบุคคลที่ดูแลเรื่องเหล่านี้ ในทำนองเดียวกันยังมีหน้าที่ส่งเสริมวัฒนธรรมปกาเกอะญอ ความเชื่อ และอัตลักษณให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอที่เข้ามาอาศัยอยู่ในสังคมเมืองด้วยเช่นกัน
Karen Student Network Group เครือข่ายส่งเสริมงานเยาวชนปกาเกอะญอในรัฐกะเหรี่ยงประเทศเมียนมากลุ่มเครือข่ายนี้พื้นที่หลักในการทำงานของพวกเขาอยู่ที่จังหวัดตากและรัฐกะเหรี่ยง ประเทศเมียนมา มีหน้าที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตเยาวชนปกาเกอะญอที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยใน 4 จังหวัดของประเทศไทย แม่ฮ่องสอน ตาก ราชบุรี และ กาญจนบุรี ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีค่ายผู้ลี้ภัยอยู่ 9 แห่ง 4 จังหวัดในประเทศไทย และอีกด้านหนึ่งคือการส่งเสริมงานให้กับเยาวชนในรัฐกะเหรี่ยงประเทศเมียนมา ซึ่งจะส่งเสริมในเรื่อง การศึกษา การฝึกฝนทักษะอาชีพ เช่น การทอผ้า จักสาน และอื่นๆ
การเสวนาครั้งนี้ได้มีการแลกเปลี่ยนหัวข้อการเสวนาอยู่ 2 ประเด็นคือ
1.ขอบข่ายการทำงานของ KSNG ในค่ายผู้ลี้ภัย ในประเทศไทย และ การทำงานในรัฐกะเหรี่ยง
2. ภาษาพูด ภาษาเขียน ชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ สำหรับเด็กชาติพันธุ์ปกาเกอะญอที่เกิดในประเทศไทยและอิทธิพลบริบทของสังคมไทยที่มีต่อเยาวชนปกาเกอะญอ
กล่าวว่าถึงหัวข้อ KSNG Karen student Network group ( ประเด็นการทำงานกับกลุ่มเยาวชนในค่ายผู้ลี้ภัยในเขตจังหวัดตาก และเขตพื้นที่การทำงานในรัฐกะเหรี่ยง ประเทศเมียนมา)
“KSNG Karen student Network group เราเป็นองค์กรที่สนับสนุมงานเยาวชนปกาเกอะญอในค่ายผู้ลี้ภัย 9 แห่งในประเทศไทยและในพื้นที่รัฐกะเหรี่ยง ซึ่งวัตถุประสงค์หลักขององค์กรเรานั้นคือช่วยเหลือเยาวชนเหล่านี้ให้กลายเป็นบุคคลที่มีคุณภาพมากขึ้นในอนาคต เราเชื่อว่างานของเราจะมีส่วนสำคัญในการพลัดดันให้เด็กปกาเกอะญอในค่ายผู้ลี้ภัยและในรัฐกะเหรี่ยง มีความกล้าหาญในการแสดงออกมากขึ้น ถึงแม้ว่าบางครั้งงานที่เรากำลังทำนั้นจะมีอุปสรรค์ แต่เราก็ไม่ยอมแพ้ที่จะช่วยเหลือเด็กเหล่านี้ เพราะพวกเขาคือ ความหวังของสังคมที่พวกเขาเติบโต”
Chiang Mai Dioceses Major seminary
ภาษาเขียน ภาษาพูด ปกาเกอะญอ สำหรับเด็กชาติพันธุ์ปกาเกอะญอที่เกิดในประเทศ ไทยและบริบทสังคมไทย
“ปัจจุบันมีเยาวชนปกาเกอะญอเข้ามาศึกษาในสังคมเมืองเป็นจำนวนมากเนื่องด้วยการศึกษานั้นเป็นส่วนหนึ่งที่จะพลัดดันให้เยาวชนมีเหล่านี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและการแสวงหาความรู้ความเข้าใจในบริบทสังคมที่มีอิทธิพลต่อพวกเขา ดังนั้นภาษาไทยจึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้พวกเขาสามารถสื่อสารและเข้าใจสังคมที่พวกเขาอาศัยอยู่แต่สิ่งเหล่านี้กลับทำให้เยาวชนเหล่านี้กลับไม่สามารถใช้ภาษาเขียนของตัวเองหรือภาษาพูดได้ เพราะอิทธิพลของภาษาที่ไม่ใช่ภาษาแม่ของพวกเขา เด็กปกาเกอะญอที่กำลังศึกษาต่อในเมือง อายที่จะพูดภาษาของตัวเองเพราะกลัวการถูกล้อเลียนว่าพูดไทยไม่ชัดและใช้ภาษาไทยไม่ถูกหลักการ ทำให้เกิดภาวะขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง ดังนั้นพวกเราที่ทำงานกับกลุ่มเยาวชนหรือปกาเกอะญอที่ลงมาเรียนต่อในเมืองใหญ่เรามีหน้าที่ช่วยเหลือพวกเขาส่วนหนึ่ง ให้รู้สึกภูมิใจในการเป็นชาติพันธุ์ “