จิตร ภูมิศักดิ์ l ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน

จิตร ภูมิศักดิ์ l ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน

“… มนุษย์ในสมัยโบราณเชื่อว่า การที่เขาฆ่าวัวในรูปย่อมมีผลสะท้อนถึงวัวจริงๆ  คือเท่ากับฆ่าวัวจริงๆ ด้วย ทั้งนี้เพราะเขาเชื่อว่าวัวในภาพกับวัวจริงๆ เกี่ยวข้องกันหรืออีกนัยหนึ่งเป็นตัวเดียวกัน  การเชื่อถือเช่นนี้เป็นการเชื่อถืออันเกิดจากความรู้สึกนึกคิดแบบลี้ลับอาถรรพ์  ซึ่งเกิดขึ้นก่อนสมัยที่จะมีศาสนา…”   

 

นี่คือคำอธิบายของจิตร  ภูมิศักดิ์ ตามแนวคิดแบบ ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน  

 

อุทยานแห่งชาติผาแต้ม

ผาแต้มเป็นหนึ่งในศิลปะของถ้ำผาขาม อำเภอโขงเจียม เป็นภูผาทรายส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน มีลักษณะเป็นผาสูงขึ้นขนานไปตามแนวแม่น้ำโขงยาวประมาณ ๓ กิโลเมตร ประกอบด้วยแหล่งศิลปะถ้ำ ๔ แห่ง คือ ผาขาม ผาแต้ม ผาหมอนและหมอนน้อย คนส่วนใหญ่เรียกรวมว่า ” ผาแต้ม ” เป็นภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญที่สุดในกลุ่มศิลปะถ้ำของจังหวัดอุบลราชธานี มีอายุ ๓,๐๐๐ – ๔,๐๐๐ ปีก่อนประวัติศาสตร์

20140912161741.jpg

( ยอดเขาภูจันทร์แดง )

 

เรื่องราวความเป็นมาในอดีตชาวบ้านที่อาศัยทำมาหากินในบริเวณใกล้เคียงภูผาอันเป็นที่ตั้งของผาแต้ม  เล่าว่า  น้อยคนนักที่จะได้เข้าไปในภูผาแห่งนี้  โดยมีความเชื่อว่า  ผาแต้มเป็นเขตต้องห้าม  มีความศักดิ์สิทธิ์  เป็นภูผาแห่งความตาย  ใครล่วงล่วงล้ำเข้าไปมักมีอันเป็นไปหรืออาจเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเป็นอันตรายต่อชีวิต  ต่อมาเมื่ออาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรได้เข้าไปสำรวจป่าแห่งนี้จึงถูกเปิดและทำหนังสือต่อกองอุทยานแห่งชาติให้เป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน 

ความน่าสนใจที่ผมอยากแนะนำให้ไปเที่ยวชมก็คือ  ภาพเขียนสีของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์  เรียงรายตามทางเดินเป็นระยะๆ ความยาวประมาณ ๒๐๐ เมตร  มีความจำนวนทั้งหมดไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ รูปภาพ แบ่งได้เป็น ๔ กลุ่ม คือ รูปคน รูปสัตว์ รูปสิ่งของเครื่องใช้ และรูปสัญลักษณ์  ซึ่งนับว่าเป็นภาพเขียนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ  ภาพเขียนต่างๆ แสดงให้เห็นถึงเรื่องราวการดำรงชีวิต  ความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมของผู้เขียนภาพขณะนั้น เช่น การล่าสัตว์ การจับปลา และรูปภาพการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ดังปรากฏการเขียนรูปคนที่อิริยาบถแปลก  อาจจะหมายถึงบุคคลที่มีความสำคัญ อาทิ พ่อหมอที่สามารถสื่อสารกับอำนาจเหนือธรรมชาติ และเป็นสิ่งที่น่าเคารพยำเกรง  และ        สันนิษฐานว่าบริเวณผาแต้มนี้เคยเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อศาสนา                                                                                                           

“…มนุษย์ยุคดึกดำบรรพ์ได้สะท้อนความจัดเจนในการต่อสู้ชีวิตโดยอาศัยธรรมชาติออกมา  โดยการขีดเขียนและการป้ายสีวาดภาพสัตว์ลงบนผนังถ้ำ  แต่ว่ายังแยกระหว่างโลกของความฝันกับภาพเขียนในโลกความจริงออกจากกันไม่ได้เด็ดขาด  เช่น  ภาพของวัว มีความหมายและคุณค่าเท่ากับวัวจริงๆ ที่วิ่งได้ ดังนั้น  ภาพวัวที่เขาเขียนลงไปก็คือวัวจริงๆ ที่เขามีนั่นเอง…” 

“… มนุษย์ในสมัยโบราณเชื่อว่า การที่เขาฆ่าวัวในรูปย่อมมีผลสะท้อนถึงวัวจริงๆ  คือเท่ากับฆ่าวัวจริงๆ ด้วย ทั้งนี้เพราะเขาเชื่อว่าวัวในภาพกับวัวจริงๆ เกี่ยวข้องกันหรืออีกนัยหนึ่งเป็นตัวเดียวกัน  การเชื่อถือเช่นนี้เป็นการเชื่อถืออันเกิดจากความรู้สึกนึกคิดแบบลี้ลับอาถรรพ์  ซึ่งเกิดขึ้นก่อนสมัยที่จะมีศาสนา…”   

นี่คือคำอธิบายของจิตร  ภูมิศักดิ์ ตามแนวคิดแบบ ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน 

20140912162104.jpg

>>>  ผาแต้ม   ปรากฏภาพสัตว์ เช่น ปลา เต่าหรือตะพาบน้ำ ช้าง เป็นต้น มักแสดงภาพขนาดใหญ่เท่าของจริง โดยเฉพาะช้างและปลาที่มีขนาดยาวถึง 4 เมตร สูงประมาณ 3 เมตร ภาพสัตว์นี้พบประมาณ 30 ภาพ ทั้งภาพคนและสัตว์ มักอยู่ในอาการเคลื่อนไหว ภาพวัตถุสิ่งของ อาจเป็นเครื่องมือจับปลาที่เรียกว่า “ตุ้ม” 

20140912162235.jpg

>>>   ผาหมอนน้อย  พบภาพคนสูงประมาณ 1.6 เมตร  กำลังเหนี่ยวคันธนูเล็งไปยังสัตว์สี่ ขาอาจเป็นวัวท้อง ลำตัวยาวประมาณ 6.4 เมตร รอบๆ ภาพกลุ่มนี้มีภาพมือทั้งซ้ายและขวาประมาณ 20 มือ ทำขึ้นโดยการทาสีบนฝ่ามือแล้วขูดสีบางส่วนที่นิ้วและฝ่ามือออกแล้วจึงทาบมือลงบนผนัง

20140912162426.jpg

>>>   ผาหมอน  พบภาพคนนุ่งกระโปรงยาวครึ่งน่อง ยืนท้าวสะเอว มีขนาดใหญ่กว่าภาพคนอื่นๆ ไม่รู้แน่ชัดว่าเป็นหญิงหรือชาย เขียนแบบระบายเงาทึบกับแบบกิ่งไม้ มีลักษณะค่อนข้างเหมือนจริง แสดงกล้ามเนื้อน่องโป่งพองด้วย 

 

การเดินทาง 

เส้นทางสายแรก – จากตัวเมืองอุบลฯ ใช้เส้นทางเมืองอุบลฯ – วารินชำราบ – พิบูลมังสาหาร เมื่อถึงสามแยกพิบูลฯ แล้ว สามารถเลือกเดินทางได้ ๒ เส้นทาง จะเลี้ยวซ้ายข้ามสะพานตรงแก่งสะพือ แล้วเลี้ยวขวามุ่งหน้า อ.โขงเจียม

เส้นทางสายที่สอง – จากสามแยกที่ อ.พิบูลมังสาหาร เลี้ยวขวาไปทาง อ.สิรินธร เส้นทางนี้ จะได้แวะเที่ยวชมเขื่อนสิรินธร เลยต่อไปเที่ยวช่องเม็ก ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ตรง อ.โขงเจียม เข้าไปวัดโขงเจียม จุดชมวิวแม่น้ำสองสี  ก่อนที่จะถึงผาแต้ม

อ้างอิง

หนังสือ  ทีปกร. “ศิลปะเพื่อชีวิต”. พิมพ์ครั้งที่ ๒ . กรุงเทพมหานคร : แม่คำฝาง, ๒๕๕๒

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (๒๕๕๗). ภาพเขียนสีและภาพสลัก ศิลปะสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศ

          ไทย (ออนไลน์). สืบค้นเมือวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๗ , จากเว็บไซต์ : http://www.era.su.ac.th/RockPainting/northeast/index.html

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (๒๕๕๗). อุทยานแห่งชาติผาแต้ม (ออนไลน์). สืบค้นเมือวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๗, จาก

           เว็บไซต์ :   http://thai.tourismthailand.org/

 

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ