ข้าวคือผลผลิตส่งออกเป็นอันดับต้นของไทย แต่เหตุไฉนชาวนายังเป็นหนี้ ??
รายการพลเมืองข่าว ตอน คืนวิถีสู่ชีวิตชาวนา
หลายปัจจัยที่ทำให้ชาวนาพบเจอกับหนี้สินซ้ำๆ แม้หลายรัฐบาลที่ผ่านมาจะมีนโยบายแก้ไขปัญหานี้ แต่ดูเหมือนว่าชาวนายังไม่สามารถหลุดพ้นจากวงจรแบบเดิมๆ สาเหตุที่แท้จริงของหนี้สินชาวนาคืออะไร? ซึ่งตอนนี้มีการยกเลิกการจำนำข้าวไปแล้ว ชีวิตชาวนาต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง? พลเมืองข่าวก็ได้พูดคุยประเด็นนี้กับคุณวิรัตน์ พรมสอน ประธานสมาพันธ์เกษตรกรชาวนาจังหวัดเชียงราย
ชีวิตชาวนาหลังจำนำข้าว จากประสบการณ์ส่วนตัวและได้พบเห็นมารอบๆตัว เป็นยังไงบ้าง?
ชีวิตก่อนจำนำข้าวผมก็เป็นชาวนาเหมือนเดิม ชีวิตก็เหมือนเดิม แต่หลังจากจำนำข้าว ผมก็ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงนะ นอกจากสภาพของชาวไร่ชาวนาที่นอกจากจะโทรมแล้วก็รู้สึกว่าจะนักกว่าเดิม เพราะปัญหามันไม่ได้รับการแก้ไข หลายคนอาจมีชาวเชื่อว่า ความจนของชาวไร่ชาวนาอย่างพวกเรามันเกิดจากบุญนำกรรมแต่งแต่ชาติปางก่อน แต่มันไม่น่าจะใช่นะครับ เราคุยสรุปงานกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่า สาเหตุความยากจนของพวกเราเกิดจากความไม่เป็นธรรมตัวนโยบายมากกว่า
ให้พี่วิรัตน์ ฉายให้เห็นเลยค่ะ ว่าสาเหตุที่แท้จริงปัญหาหนี้สินชาวนา มันมาจากอะไรตรงไหนบ้าง?
หลักๆที่พยามยามสื่อให้เข้าใจง่าย คือ ชาวนาเองไม่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต หลายส่วนกลับบอกว่าต้องขึ้นราคาข้าวให้ชาวนา มันเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุมากกว่า ปัญหาที่แท้จริงของชาวนาคือ ไม่เป็นเจ้าของที่ดินเอง ที่เห็นชัดมาก คือ ที่ดินทั่วประเทศไทยเราไม่ได้อยู่ในกำมือของเกษตรกร มันอยู่ในกำมือของคนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นจำนวนน้อยมาก มีงานวิจัยให้เห็นชัดว่า สิ่งเหล่านี้มันสร้างความไม่เป็นธรรมกับพวกเราด้วย ชาวนาพี่น้องภาคกลางหลายจังหวัดจะเช่านาทั้งชาติครับ คือบ้านผม ผมก็พอมีที่นาอยู่บ้าง แต่คิดดูแล้วไม่ถึง 10 ครอบครัว ที่ลองเฉลี่ยในหมู่บ้านของตัวเองนะ แต่ทั่วประเทศยิ่งหนักกว่านี้อีก เพราะว่าที่ดินเหล่านั้นอยู่ในมือของกลุ่มทุนใหญ่ผู้มีฐานะทางการเมืองสูงกว่า
ก่อนหน้านี้พูดถึงเรื่องการจำนำข้าวกัน มีคนตั้งคำถามว่าทำไมชาวนาต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ก่อนหน้านี้ก็มีการให้กู้ยืมเงิน มันไม่แฟร์กับคนกลุ่มอื่นๆ กับการที่รัฐไปดูแลชาวนาเป็นพิเศษหรือเปล่า ? ?
อันนั้นคือความผิดพลาดของรัฐครับ ชาวนา รัฐต้องมาดูแลเพราะเขา มีองค์ความรู้เป็นของตัวเอง วิถีการผลิตพวกผมถูกบรรพบุรุษสั่งสอนมาจนเข้าในสายเลือด ว่าข้าวชนิดไหนเพาะกี่วัน ทำนาทำไถแบบไหนรู้จักหมด จัดความสัมพันธ์กับสัตว์มาใช้เป็นแรงงานขนาดไหน พวกเราทำเป็นหมด แต่ ณ วันนี้เราถูกจัดการทั้งหมด ภูมิปัญญาการผลิตเหล่านั้นรัฐเริ่มมาแทรกแซง ต้องทำแบบนั้น พันธ์ข้าวต้องเอาแบบนั้น ที่ดินก็ต้องเอาแบบนั้นด้วย ระบบน้ำถูกสั่งการจากส่วนกลางทั้งหมด ชาวนาไม่มีโอกาสออกแบบวิถีชีวิตตัวเองด้วยซ้ำไป เมล็ดพันธ์ข้าวก็ออกแบบไม่ได้ต้องสั่งจากส่วนกลาง เห็นชัดเจน ณ วันนี้ ปัจจัยการผลิตของพวกเราไม่สามารถควบคุมได้ด้วยตัวเอง มันจึงเป็นสาเหตุเป็นที่มาของปัญหาการยากจนชาวไร่ชาวนา สังเกตง่ายๆรัฐบาลทุกรัฐบาลนโยบายก็จะเปลี่ยนไป ชาวนาถูกสับขาหรอกตลอด ยังไงก็ตามไม่ทัน เพราะผู้มาใหม่เขาบอกให้ทำแบบใหม่นะครับ พันธ์ข้าวก็แบบใหม่ นโยบายก็แบบใหม่ รัฐบาลใหม่ที่มาอีก บอกนโยบายเก่ารัฐบาลเก่า ชาวนาบางส่วนว่าดีแล้วครับ แต่รัฐบาลชุดนี้ไม่เอา แล้วไงหละ มันไม่มีคำตอบจากชาวนา ชาวนาที่อยู่ได้ทุกวันนี้คือชาวนาที่มีองค์ความรู้และปัจจัยการผลิตเป็นของตนเอง
ปัญหาต้นทุนของชาวนา ทำไมไม่ลดต้นทุนการผลิต จริงๆมันสามารถทำได้ไหม ยังไง ?
วิธีลดต้นทุนการผลิตที่แท้จริง คือ ต้องให้ชาวนาเป็นเจ้าของที่ดิน ไม่ต้องเช่าไงครับ แล้วชาวนาทั้งประเทศของเราเช่าหมด พวกให้เช่าที่ดินก็ได้เต็มที่
ล่าสุดทางการมีการจัดให้ผู้ประกอบการขายปุ๋ยขายยามานั่งคุยกันแล้ว บอกว่าจะช่วยลดต้นทุนของชาวนาได้แล้วประมาณ 600 บาท คิดว่านั้นใช่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุไหมค่ะ?
ไม่ใช่แน่นอน เพราะตอนนี้ชาวนาทุกพื้นที่มันหมดโปรโมชั่นแล้วนะครับ ชาวนาทุกกลุ่มไม่ถูกพูดถึง แล้วการปฏิรูปประเทศในระยะสั้นๆ ผมไม่ทราบว่าชาวนามีกระบวนการมีส่วนร่วมขนาดไหน
พูดถึงวิธีการแก้ปัญหาอีก สองสามอย่างที่คนอาจจะคิดว่า สามารถแก้ไขปัญหาให้ชาวนาได้หรือเปล่า อันนี้ถามแทนคนที่สงสัยนะค่ะว่า เรื่องของเกษตรอินทรีย์ เรื่องการรวมกลุ่มสหกรณ์ มันช่วยแก้ปัญหาได้บ้างไหมค่ะ?
เกษตรอินทรีย์เป็นความพยายามหนึ่งของรัฐบาล เหมือนกับความพยายามของเกษตรกรด้วย เพราะทุกวันนี้เกษตรกรชาวนาทุกคน ผมคิดว่าเราตระหนักถึงโทษของสารพิษเคมี มันมหาศาลมาก พวกเราก็พยายามจะไม่ใช้ หน่วยงานที่บังคับให้เราใช้หรือไม่ใช่ ตอนนี้มันถูกกำจัดโดยกลไกตลาด กลไกการผลิต ซึ่งพวกเราแตะไม่ได้ บางทีเราต้องทำเป็นกลุ่มที่ผลิตข้าวต้องซื้อข้าวตัวเองกินด้วยซ้ำไป ถามว่าทั่วประเทศพวกเราตอนนี้มีใครบ้างที่ไม่ซื้อข้าวกิน ไม่มีครับ ซื้อข้าวตัวเองกินทั้งนั้น
แล้วการรวมกลุ่มกันเป็นสหกรณ์อย่างที่เราเห็นในชิ้นงานข่าวพลเมือง นั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ปัญหามันเบาบางลงได้ไหมค่ะ?
เห็นด้วยกับการรวมกลุ่มนะครับ แต่การรวมกลุ่มมันต้องมีพลังอีกส่วนหนึ่ง รวมกลุ่มแล้วต้องมีทุนเป็นของตัวเอง แล้วมีองค์ความรู้เป็นของตนเองด้วย มันถึงจะอยู่ได้ บางทีการรวมกลุ่มของเกษตรกรมันเป็นการรวมตัวกันเล็กๆเพื่อจะให้ตัวใหญ่ดูดกินแค่นั้นเอง สมมติง่ายๆสิ่งที่ผ่านมา มันเป็นความจริงที่เราเจ็บปวดมากว่า สหกรณ์ก็ไม่สามารถซื้อข้าวของตัวเองได้ ต้องให้โรงสีหรือให้หัวคะแนนซื้อเสียเอง สหกรณ์แทนที่จะเป็นเท้าเป็นมือของพี่น้องชาวนา กลับทำอะไรไม่ได้ ปล่อยให้ชาวนาถูกรุมทึ้ง! เวลาเราเรียกร้องผลผลิตมาปล่อยให้เราโดดเดี่ยวเดียวดาย สู้ตามยถากรรม แล้วเมื่อไหร่มันจะชนะครับ กลไกของเกษตรกรบางครั้งมันคอรัปชั่นเรื่องไม่โปร่งใส มันเป็นปัญหาขององค์กรด้วย ที่เห็นทั่วไปนะครับ แต่องค์กรอื่นหลายๆองค์กรที่สามารถทำกำไรได้ก็เยอะนะครับ มันแล้วแต่การบริหารจัดการครับ
ถ้าอธิบายให้เห็นเป็นรูปธรรมเรื่องข้อเรียกร้องต่างๆของชาวนา ถ้ามันถูกแปลงมาเป็นนโยบายของชาวนา พี่วิรัตน์คิดว่ามันเป็นแบบไหนยังไง ?
การเรียกร้องของชาวนามันจะถูกแปลงเป็นนโยบายทั้งหมด ผมยกตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุด เช่น นโยบายรัฐเมื่อ 10 ปีก่อน จำไม่ได้ว่ารัฐบาลของใคร พวกผมบอกว่า “ปลดเปรี้ยงหนี้สิน ที่ดินน้ำป่า พืชผลต้องมีราคา หยุดการค้าเสรี” ชัดมากนะครับ เป็นข้อเรียกร้องเดิมๆของบรรพบุรุษของพวกเรา 38 ท่านที่เสียชีวิตไปแล้วด้วย เรื่องค่าเช่านา ที่ต้องมีที่ดินอะไรพวกนี้นะครับ เป็นข้อเรียกร้องเดิมแต่นักการเมือง ไปแปลงเป็นนโยบาย แต่แปลงเป็นประชานิยมทันที สังเกตง่ายๆนะครับว่า ปลดหนี้เกษตรกร โอ้โห! ทะล่มทะลายกันเลยครับ เวลามาถึงการปฏิบัติ พักหนี้เกษตรกร 3 ปี ไม่เกินแสน
พักนี้คือไม่ได้หายไปใช่ไหมค่ะ?
ไม่หายไปก็เหมือนเดิม เฉลี่ยแล้วชาวนาก็ยังเป็นหนี้เหมือนเดิมนะ ไม่มีใครปลดหนี้ได้ สังเกตง่ายๆว่าชาวนาปลดหนี้ไม่ได้ สังเกตดัชนีตัวหนึ่ง จากความร่ำรวยของ ธกส. ไงครับ ธกส.จะทำรายได้มหาศาลมาก
เราพูดถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาของชาวนา มันชัดเจนว่ามันเกิดไรขึ้นบ้าง ทีนี้ เพื่อจะนำไปสู่ปัญหาอย่างแท้จริง นำไปสู่การปฏิบัติ มันทำอะไรได้บ้างค่ะ พี่วิรัตน์?
ถ้าเกิดจะเปลี่ยนแปลงชาวนา แค่ง่ายๆ ก็หันหลังกลับแค่นั้นเอง อะไรเป็นสิ่งที่รัฐบาลสนับสนุนก็ไม่ทำ พวกผมว่าข้าวพันธ์นี้พวกคุณปลูกพังทันทีแหละ พวกผมรู้พวกผมทำมาตลอดไง ทำทีไรเจ๊งทุกที ผมมาเปลี่ยนวิถีชีวิตของผมทุกวันนี้ ผมก็มีโรงงานปุ๋ยเอง เลี้ยงควายเอง สัก 5 ตัว มันก็เกินสำหรับนา 50 ไร่อย่างพวกผมแล้ว ได้ทุกวัน ไม่ต้องรอซื้อของใคร แต่ต้องปรับวิธีคิดใหม่
วิถีชีวิตชาวนาที่ควรจะเป็นแล้วมันจะรอด พี่วิรัตน์ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยว่ามันต้องทำอะไรยังไงบ้าง กับความเป็นอยู่ตอนนี้ปัจจุบันนี้ค่ะ?
อันดับแรกชาวนาต้องเป็นเจ้าของที่ดิน ถ้าพวกชาวนาเช่าก็รอวันตาย ชาวนาทุกวันนี้ อายุประมาณ 51 – 55 ปี ของไทยนะ จะทำงานได้อีกกี่วัน ไม่มีเยาวชนที่ไปช่วยพวกผม เยาวชนหลายคนพยายามจะทำนา แต่จะมีสักกี่ราย ที่มีฐานะเศรษฐกิจดี มีนาเป็นของตัวเอง การทำนาแบบนี้มันต้องใช้ความสามารถเยอะนะ ร่างกายที่แข็งแรงด้วย การบริหารจัดการที่แม่นด้วย ดีด้วย แล้วก็มีองค์กรที่เข้มแข็งด้วย แต่ ณ วันนี้เราไม่มี องค์กรเกษตรกรมันแตกกระสานหลายองค์กร อย่างองค์กรหลักๆที่พึ่งได้ตอนนี้จะมีองค์กรฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ก็สะดุดขาตัวเอง มันมีอาวุธไม่พร้อมด้วย สภาเกษตรกรแห่งชาติก็ไม่มีงบประมาณที่จะมาจัดการ เพราะว่า องค์กรเกษตรกรมันถูกทำให้อ่อนกระปวกกระเปียกตลอดเวลา ไม่มีสถาบันการเงินเป็นของตัวเองด้วย อันนี้ก็เห็นชัดว่าทำให้อ่อน
แล้วอย่างนี้ถ้าเรามองตอนนี้ ภายใต้การเมืองใหม่ของประเทศไทย การปฏิรูปที่คนกำลังพูดถึง ในโจทย์ของชาวนา คิดว่าต้องมีการปฏิรูปอะไร แล้วภายใต้การเมืองใหม่มันจะเป็นไปได้แค่ไหน ?
ปฏิรูปผมมองหลักๆคือ กระจายอำนาจ สร้างความเป็นธรรมโดยการกระจายอำนาจ การถือครองที่ดิน ในการจัดการทรัพยากร กระจายให้ได้นะครับ ถ้าเกิดรัฐบาลไหนที่เห็นพยายามจะรวมอำนาจ รวบอำนาจ กระจุกอำนาจไว้กับส่วนกลาง พังมานักต่อนัก แล้วพังมาทั้งหมดด้วย รัฐบาลไหนที่พยายามยุบท้องถิ่นไม่ให้เขามีส่วนร่วมกำหนดอนาคตตัวเอง อันนั้นแหละเตรียมตัวพัง เพราะฉะนั้นทางรอดของประเทศไทย ณ วันนี้นะครับ สำหรับชาวไร่ชาวนาต้องมีปัจจัยการผลิตเป็นของตัวเอง ตัวหลักหัวใจคือที่ดินครับ รองมาก็เป็นเรื่องน้ำ เรื่องการจัดการน้ำเหล่านี้ พูดแล้วก็น่าตกใจเพราะว่าสถานที่ที่เหมาะสำหรับการทำเกษตรทำนาทำไร่ มันถูกต่างชาติเอาไปหมด โดยผ่านนโยบายที่แปลกๆ ให้ต่างชาติเข้ามาถือครองที่ดินอะไรเหล่านี้ ข้างบนเท่านั้นที่ทำให้เกษตรกรอยู่ไม่ได้ อันนี้คือปัญหาหลักของพวกเราเลย
อนาคตข้างหน้าผมว่าเกษตรกร ทางรอดนี่หายาก แต่ทางรอดใต้พื้นอย่างเชียงใหม่ ลำปาง พอมีแหละ เชียงรายเริ่มมีอีกที่หนึ่งแล้ว ทางรอดอุโมงค์มีแต่ทางรอดเพื่อจะอยู่แบบมีชีวิตที่สุข ค่อนข้างจะห่างไกลไปนิดหนึ่ง
แต่เราก็ยังมีความหวังใช่ไหมค่ะ?
หวังครับ หวังเพราะเกษตรกรที่อยู่ได้เพราะเกษตรกรที่รู้ตัว เขาพยายามปรับวิถีการผลิตด้วยองค์กรของเขาเอง มีเยอะ ผมเห็นตัวอย่างตอนไปดูงานหลายที่ เห็นพี่น้องสามารถผลิตข้าวเป็นของตัวเอง มีตลาดเป็นของตัวเอง เขาไม่พึ่งรัฐนะครับ ส่วนที่รัฐสนับสนุนผมเห็นเจ๊งมานักต่อนักแล้วครับ ส่วนมากเจ๊งทั้งหมดด้วย อันนี้ไม่ใช่นินทานะ พูดกันตรงๆ ก็เห็นแบบนั้นจริงๆครับ ผมก็อยู่ได้ผมไม่เข้ากลุ่มกับรัฐ แต่รวมกลุ่มเฉพาะกลุ่มเล็กๆ กลุ่มในพื้นที่เพราะว่าผมยังจำคำของครูปราชญ์อีสานบอกว่า “รวมกลุ่ม สะสมทุน รู้เท่าทัน” เขาบอกท่องคาถา 3 ข้อนี้ คุณก็จะรวยเอง มีที่ดินเป็นของตนเอง รวมกลุ่มเป็นของตัวเอง ทุกวันนี้พวกผมมีเงินเป็นของตัวเองโดยที่ไม่พึ่ง ธกส. ด้วยซ้ำไป ต้องปรับแล้วครับ เพราะว่าทุกวันนี้ทุนใหญ่มันมาแล้ว ต่างชาติมาถือครองที่ดินเรา แล้วก็เรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆ คุณต้องหัดปรับตัวที่จะใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เราก็พยายามปรับตัวว่าเราจะทำยังไงทำเกษตรอินทรีย์ให้ลดสารพิษให้ได้ เพราะมันเกี่ยวกับความอยู่รอดจากโรคภัยไข้เจ็บของเราด้วย แล้วก็มีเมล็ดพันธ์ข้าวเป็นของตนเอง อันนี้สำคัญมากเพราะว่า ผมอยู่ทางเหนือเองยังต้องซื้อพันธ์ข้าวจากพิษณุโลก มาถามพิษณุโลกเขาก็บอกว่าซื้อมาจากสุพรรณ ศูนย์ข้าวต่างๆล้มละลายไปทั้งหมดเพราะว่ามันไม่สามารถผลิตข้าวเป็นของตัวเอง เพราะฉะนั้น เงินเหล่านี้ ปัจจัยการผลิตเหล่านี้ มันอยู่ในกำมือของคนอีกกลุ่มหนึ่ง เพราะฉะนั้นมันต้องทำเรื่องเมล็ดพันธ์ข้าวนี่นะ
สุดท้ายให้พี่วิรัตน์ให้กำลังใจชาวนา ที่กำลังดูอยู่ว่า เขาต้องเดินหน้าต่อไปยังไง?
พี่น้องชาวนาและพี่น้องผู้บริโภคข้าวของชาวนา ขอให้เชื่อมั่นเถอะว่า เกษตรกรรายย่อยของพวกเรา สามารถผลิตให้พี่น้อง มีกินทั้งชาติ กินอิ่มกินแบบปลอดภัยด้วย เราไม่สามารถฝากความหวังไว้กับบริษัทใหญ่ แล้วก็มาขายให้พี่น้องได้นะครับ เราไม่เชื่อมั่น เพราะบทเรียนมันมีแล้วว่า น้ำมันพืชเราก็เคยขาดตลาด ข้าวมันเป็นกลไกหนึ่งของตลาด เพราะฉะนั้นพวกเราจะช่วยกันผลิต เพื่อให้พี่น้องพอเพียงต่อการบริโภค ทั้งในประเทศเราและในตลาดต่างประเทศด้วย เราพยายามจะผลิตคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค เป็นสำคัญครับ
____________________________________________________________
ชาวนาไทยจะอยู่ตรงไหนของระบบการผลิตและระบบการค้าที่เป็นอยู่ หากชาวนาไม่สามารถกำหนดต้นทุนและราคาได้เองนั้น ชีวิตของพวกเขาจะเป็นเช่นไร…