พาเดินชม งานศิลปะปกาเกอะญอพื้นที่แห่งการสร้างสรรค์ ที่สื่อชีวิต สื่อวัฒนธรรม สื่อผลงานและจิตวิญญาณ ณ ดินแดนทางตอนเหนือของทวีปอเมริกัน

พาเดินชม งานศิลปะปกาเกอะญอพื้นที่แห่งการสร้างสรรค์ ที่สื่อชีวิต สื่อวัฒนธรรม สื่อผลงานและจิตวิญญาณ ณ ดินแดนทางตอนเหนือของทวีปอเมริกัน

The Urban Village of The Karen Art Gallery พื้นที่สังสรรค์งานศิลปะที่ สื่อชีวิต สื่อวัฒนธรรม สื่อผลงานและจิตวิญญาณ ของชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ แห่งมลรัฐมินนิโซต้า ดินแดนทางตอนเหนือของทวีปอเมริกัน

The urban village

“Come on in, Welcome to the Urban Village” เสียงของผู้หญิงคนหนึ่งที่เดินออกมาต้อนรับผู้เข้าชมผลงานศิลปะจากมุมตึกเล็กแห่งหนึ่งในย่านถนน Saint Paul ใจกลางเมืองมินนิโซต้า มองดูเผลอๆตึกเล็กๆที่ขึ้นป้ายว่า The urban Villageนั้น ภายนอกของตึกนั้นอาจไม่มีอะไรโดดเด่นเลย ตัวตึกก็เหมือนกับบ้านทั่วไปที่ก่อด้วยปูนอิฐสีแดง ไสต์โมเดล แต่ภายในนั้นใครจะไปรู้ว่า ณ ที่สถานแห่งนี้เป็นที่เก็บผลงานศิลปะของศิลปินชาติพันธุ์ปกาเกอะญอที่ถ่ายทอดชีวิตชาติพันธุ์ของตัวเองผ่านทางภาพวาดและ เป็นพื้นที่ที่ผู้คนจากหลายหลากพื้นที่ในอเมริกันจะมีโอกาสรู้จักชาติพันธุ์ปาเกอญอผ่านชิ้นงานขอจิตรกรปกาเกอะญอเหล่านี้

The Urban Village

ปกาเกอะญอ ณ Saint Paul

“เอ้ นี้อาจจะเป็นความสงสัยแรกที่พุดขึ้นมาจากความคิดของท่านผู้อ่านหลายๆคนว่า มีชาติพันธุ์ปกาเกอะญอไปอาศัยในแผ่นดินอเมริกันด้วยเหรอ” ต้องตอบว่า มีครับ ณ มลรัฐมินนิโซต้า ซึ่งเป็นเขตรัฐที่ตั้งอยู่ตอนเหนือของทวีปอเมริกัน ที่นั้นมีชาติพันธุ์ปกาเกอะญอที่อาศัย ในเมือง Saint Paul รัฐมินนิโซนิต้าอาศัยราว 20,000 คน ด้วยพี่น้องเหล่านี้ในอดีตเป็นเคยผู้ลี้ภัยจากสงครามในเมียนมาที่เคยอาศัยในค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศไทย และได้รับการช่วยเหลือจาก UN หรือองค์การสหประชาชาติให้พวกเขาเหล่านั้นได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ในประเทศที่สาม

การลี้ภัยสู่ประเทศที่สามนั้น พวกเขาต้องมีการปรับตัวในหลายด้าน ไม่ว่าเรื่องภาษา วัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ต่างจากพื้นที่สังคมที่พวกเขาเคยอาศัยอยู่มากมาย สภาพแวดล้อม อาหารการกิน และอีกหลายๆเรื่องที่พวกเขาต้องปรับตัวและเรียนรู้ในสังคมที่แตกต่างและหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ที่นั้น

The Urban village

สิ่งหนึ่งซึ่งพวกเขาไม่อยากให้ความเป็นปกาเกอะญอของตัวเองหายไปคือ อัฒลักษณ์ความเป็นชาติพันธุ์ของชาวปกาเกอะญอของตัวพวกเขาเอง ร่วมถึงวัฒนธรรมของพวกเขาเหล่านั้นที่ไม่อยากให้สาบสูญไปกับบริบทสังคมในอเมริกันที่พวกเขาได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ พวกเขาได้ร่วมแรงร่วมใจกันถ่ายทอด วิถีชีวิตของชาติพันธุ์ของตนเองและวัฒนธรรมของพวกเขา ผ่านทางผลงานศิลปะซึ่งผลงานเหล่านี้ล้วนมาจากศิลปินชาวปกาเกอะญอที่อาศัยใน มลรัฐมินนิโซต้า ที่ช่วยการออกแบบผลงาน Karen Art Gallery

ชิ้นงานที่ศิลปินช่วยการสร้างสรรค์ขึ้นนั้น พวกเขาเชื่อว่า คนอเมริกันและคนอื่นๆที่เข้ามาเยี่ยมชมผลงานภาพวาดของพวกเขา ผู้ชมเหล่านี้คงจะเข้าใจ เรื่องราวของชาติพันธุ์ปกาเกอะญอว่า ชาติพันธุ์นี้มีชีวิตและความเป็นมาอย่างไร อีกทั้งผลงานที่ออกมาจัดแสดงนั้น ผู้ชมสามารถเข้าใจความเป็นมาของชีวิตชาวปกาเกอะญอและจับต้องความเป็นปกาเกอะญอได้

พวกเขาเล่าให้ผมฟังว่า “การที่เราอพยพมายังประเทศนี้และเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่นี้ นับเป็นพระพรจากพระเป็นเจ้าที่ช่วยเหลือพวกเขา ถึงยังไรก็ตามการที่พวกเราเดินทางเข้ามาใช้ชีวิตในแผ่นดินอเมริกันแห่งนี้ พวกเราไม่อยากให้ลูกหลานปกาเกอะญอที่เกิดในแผ่นดินอเมริกัน หลงลืมความเป็นชาติพันธุ์ของตัวเอง พวกเราจึงหาทางให้ความเป็นชาติพันธุ์ของตนเองให้คงอยู่ทั่งกลางพหุวัฒนธรรมและอยากให้ความเป็นชาติพันธุ์ของพวกเรานั้นต้องจับต้องได้ เพื่อให้ลูกหลานของพวกเราที่เกิดมาในพหุวัฒนธรรมนั้นจะได้เข้าใจความเป็นมาของชาติพันธุ์ตัวเอง ร่วมถึงวัฒนธรรมความเป็นอยู่ต่างๆของชาติพันธุ์ปกาเกอะญอผ่านบริบทสังคมที่ลูกหลานของพวกเราได้เติบโตขึ้น  ความคิดเหล่านี้จึงเป็นที่มาของ The Urban Village of The Karen Art Gallery ’’

The Urban Village

The Urban village พื้นที่ของการสร้างสรรค์ และการพบปะกันระหว่างกลุ่มคน 2 Generations

ผมได้มีโอกาสคุยกับคุณ Jesse Phenow ผู้เป็นคนดูแล The Urban village แห่งนี้ คุณ Jesse ได้เล่าว่า ผมอยากให้สถานที่แห่งเป็นเหมือนกับครอบครัวที่พี่น้องชาวปกาเกอะญอที่อาศัยใน Saint Paul สามารถเข้ามาแบ่งปันประสบการณ์ชีวิตของตัวเองให้แก่พี่น้องชาติพันธุ์เดียวกันในยามที่พวกเขาเหล่านั้นมีเวลาว่าง ถึงแม้ว่าสถานที่แห่งนี้จะเป็นสถานที่ซึ่งจัดแสดงผลงานศิลปะของชาวปกาเกอะญอผู้อาศัยในมลรัฐมินนิโซต้า ผมสนับสนุมผลงานของพวกเขาและผมชื่นชอบวัฒนธรรมของพวกเขาเหล่านั้นเป็นอย่างมาก แน่นอน The Urban Village นอกจากผมอยากให้เป็นเหมือนกับครอบครัวแล้วผมอยากให้สถานที่แห่งนี้ เป็นพื้นที่ให้กับเยาวชนปกาเกอะญอที่เติบโต ณ  Saint Paul ให้ได้มีโอกาสเรียนรู้งานศิลปะและอยากให้พวกเขาซึ่มซาบความเป็นชาติพันธุ์ของพวกเขาให้มากที่สุด”

Jesse มองว่าการที่เด็ก ๆ ปกาเกอะญอที่อาศัยใน Saint Paul นั้นได้เข้ามาเรียนรู้งานศิลปะจากศิลปินนักวาดภาพชาวปกาเกอะญอที่ทำงานใน The Urban Village แห่งนี้ จะช่วยให้เด็กๆมีโอกาสเรียนรู้งานศิลปะในแบบฉบับของปกาเกอะญอ ช่วยให้พวกเขาเหล่านั้นมีโอกาสพูดคุยกับเหล่าศิลปินนักวาดภาพเหล่านั้น นี้อาจเป็นอีกหนึ่งหนทางที่ จะช่วยให้เกิดความตระหนักในความเป็นชาติพันธุ์ของตัวเอง เป็นการปลูกฝั่งให้เด็ก ๆ เกิดการยอมรับความเป็นชาติพันธุ์ของตัวเองท่ามกลางพหุวัฒนธรรม

The Urban Village

Karen Art Gallery เพื่อสังคม

นอกจากผลงานศิลปะที่ถูกนำมาจัดแสดงให้แก่ผู้สนใจในวิถีชีวิตชาวปกาเกอะญอแล้ว และยังเป็นผลงานที่สื่อออกมาให้ผู้เข้าชมได้ซึมซาบชีวิตชาวปกาเกอะญอผ่านทางภาพวาดแล้ว  ภาพเหล่านี้ที่ถูกนำมาจัดแสดงยังได้มีการออกมาประมูลขายให้กับผู้เข้ามาชมภาพวาด  ผู้ชมที่สนใจอยากเป็นเจ้าของผลงานศิลปะเหล่านี้สามารถประมูลราคาได้กับทาง The Urban Village รายได้จากการประมูลนั้นจะถูกมอบให้แก่องค์กรที่ทำงานช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในเมียนมาและตามที่ต่างๆ

ชาวปกาเกอะญอผู้หนึ่งที่ทำงานใน The Urban Village ได้เล่าความรู้สึกในใจให้แก่ผมว่า “ถึงแม้งานศิลปะเหล่านี้มันมีคุณค่ากับเรา เพราะพวกเราที่ทำงานอยู่ที่นี้พยายามที่จะได้ทอดวิถีชีวิต ความคิด ของเราลงไปในภาพวาดให้ผู้ชมจะได้รู้จักเรามากที่สุด อีกทางหนึ่งเราก็อยากให้ผลงานที่เราสร้างสรรค์เป็นประโยชน์ต่อสังคมด้วย เราจึงนำภาพบางส่วนออกมาประมูลขายเพื่อเราจะได้นำรายได้จากการประมูลมอบให้แก่บุคลากรที่ทำงานกับผู้ลี้ภัย วันนี้เรามีชีวิตที่ดีและมีโอกาศดีๆ มากมายในอเมริกันแต่เราก็ไม่เคยหลงลืมว่าเราเป็นใครและมาจากไหน”

สุดท้ายแล้วไม่ว่าเราจะอยู่ที่ใดในสังคมโลกใบนี้หากเราไม่หลงลืมว่าเรามาจากที่ไหน และมีความเป็นมาอย่างไร นั้นละคือความภูมิใจที่เราเกิดมาเป็นสิ่งนั้น

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ