7 ประเด็นที่รัฐบาลต้องลงมือทำเลยเพื่อแก้วิกฤติอากาศภาคเหนือ

7 ประเด็นที่รัฐบาลต้องลงมือทำเลยเพื่อแก้วิกฤติอากาศภาคเหนือ

บัณรส บัวคลี่ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งสภาลมหายใจเชียงใหม่ โพสต์สเตตัสส่วนตัวในช่วงสายของกลางฤดูฝุ่นควันในภาคเหนือ มี 7 ประเด็นที่รัฐบาลต้องลงมือทำเลยเพื่อแก้วิกฤติอากาศภาคเหนือ (และสังคมต้องร่วมส่งเสียง) ตั้งแต่บัดนี้ ยิ่งเร็วยิ่งดี

ภาพจากหมุด C-Site สถานการณ์หมอกควัน (10 มี.ค.64) ของคุณผ่องพรรณ บรรยายว่า หมู่บ้านห้วยสะแพดประสบปัญหาหมอกควันตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2564 จึงทำให้เกิดปัญหารื่องสุขภาพของคนในชุมชน : ร่วมปักหมุดจุดรายงานสถานการณ์หรือเสนอข้อแนะเพิ่มเติมได้ที่ https://www.csitereport.com/

🔥หนึ่ง / ฝุ่นควันข้ามแดนจากพื้นที่เกษตรอุตสาหกรรมทำลายล้าง ต้องไม่หลอกตัวเองแค่เจรจาติ๊ดชึ่งบนเวทีอาเซียน ต้องมีมาตรการกดดันลดฝุ่นข้ามพรมแดนจริงจังแบบสิงคโปร์ใช้ เช่น คำนวณปริมาณมลพิษ/พื้นที่ผลผลิตปล่อยมลพิษ เพื่อย้อนเป็นโควต้านำเข้าลดลง

  • กำแพงภาษีสูงขึ้น ลงโทษทุนก่อมลพิษ ฯลฯ เป็นต้น

🔥สอง/ แสดงเจตจำนงเชิงนโยบาย โซนนิ่ง เปลี่ยนเกษตรที่สูงที่ใช้ไฟสูงไม่ยั่งยืน เป็นนิเวศเกษตรยั่งยืน ยกระดับอาชีพรายได้คุณภาพชีวิตคนในเขตป่า ปลดพันธะปัญหาที่ฉุดรั้งอยู่เช่น สิทธิชุมชนในป่าให้เสร็จโดยเร็ว มีพื้นที่รูปธรรมโครงการตัวอย่างยกระดับการผลิตใช้ไฟสูงสู่การผลิตยั่งยืน โดยเฉพาะในเขตแม่ฮ่องสอน ตาก เชียงใหม่ ที่มีสถิติไฟสูงมากการยกระดับมาตรฐานการผลิต รายได้ คุณภาพชีวิต เป็นคำตอบที่หลายสังคมในโลกหลุดพ้นจากสังคมมลพิษมาแล้ว

🔥สาม/ เร่งรัดกลไกกระทรวงทบวงกรมทำได้ทันที ทำทั้งปี มีเป้า kpi ลดแหล่งกำเนิดฝุ่นไฟรัศมีใกล้ในพื้นที่กลไกที่สั่งได้เลย ห้ามเผาในไร่นาเด็ดขาด ไร่อ้อย 5-10% และตัองซอยแปลงย่อย ห้ามเผาข้ามคืน โรงงานใหญ่แหล่งมลพิษซ้ำซาก ปรับและเปลี่ยนเวลา คลุมลงไปถึงนครสวรรค์

  • พิษณุโลก ตั้งเป้า kpi การลดที่เป็นรูปธรรม รวมถึง กลไกจัดการกรณีละเมิด ไฟกลางคืนห้ามเด็ดขาด
  • ที่ผ่านมามีแต่โครงการเล็กๆ ไม่เอาจริง

🔥สี่/ข้อมูลความรู้วิชาการข้อมูลว่า p.m.2.5คืออะไร กระทบอย่างไร ปฏิบัติตัวเช่นไร ยังไม่เพียงพอ ประชาชนต้องได้รู้ถึงนิเวศแวดล้อมแอ่งภูเขา พฤติกรรมฝุ่นและมลพิษ ลมฟ้าอากาศ คำอธิบายสาเหตุของปัญหา เพื่อความรู้ความเข้าใจ ยกระดับสู่พฤติกรรมใหม่

  • รัฐบาลต้องติดตั้งเครื่องวัดอากาศในทุกตำบล โดยเฉพาะชุมชนมลพิษสูง นโยบายห้ามถอดปลั๊ก
  • เปิดเวทีวิชาการว่าด้วยการจัดการไฟ ให้ได้แบบแผนที่ชัดเจน อะไรทำได้ ไม่ได้อะไรไม่ถูกต้องตามหลัก ภายในปี 64 เพราะบุคลากรรัฐเองก็ไม่เข้าใจทั่วถึง
  • ยกระดับการสื่อสารสาเหตุปัจจัยลมและพฤติกรรมฝุ่น
  • เปิดเผยงบประมาณ เกี่ยวกับไฟป่าและการจัดการเชื้อเพลิง
  • แก้ conflict of interest และ conflict of thoughts ปี 2565 รัฐต้องสามารถทำให้ข้อมูลไฟและการทำงานเปิดโปร่งตลอดเวลา อธิบายฝุ่นไฟเหมือนอธิบายน้ำท่วม

🔥ห้า/ โมเดลการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับชุมชนใน นิเวศแอ่งป่าผลัดใบ ภาคเหนือ ภาคเหนือตอนบนมีป่ามากกว่าที่ราบ แม่ฮ่องสอน 85% เชียงใหม่ 70 % ลำปาง70% ••ลำพัง single command เฉพาะกิจรับพิบัติภัยไม่พอ และไม่ทันการ

  • ให้อำนาจชุมชนทัองถิ่นจริง บนฐานกฎหมาย วางแผนจัดการตลอดปีพร้อมงบประมาณ และ บูรณาการแผนข้อมูลท้องถิ่นนั้นๆ กับมาตรการเผชิญเหตุแบบรวมศูนย์ ระหว่าง มกราคม-เมษายน
  • ผู้ว่าราชการ อำนวยการทรัพยากรและกำลังพล เชิงรุก เป็นการบริหารไฮบริดบูรณาการทั้งช่วงปกติและช่วงเผชิญเหตุแผนที่ไฟ จุดเสี่ยง การเข้าถึง แนวบล็อก แนวกัน อุปกรณ์ ฯลฯ ต้องมีเตรียมจากระดับพื้นที่ก่อนมกราคม และมีงบฯ เพียงพอ นี่ก็ต้องทำทันที รอฤดูฝุ่นปีหน้าไม่ทัน

🔥หก/พื้นที่เร่งด่วนเฉพาะพื้นที่ไฟใหญ่ แม่ฮ่องสอน พิจารณาความคิดใหม่ๆ นอกกรอบ เพื่อเร่งรัดการเปลี่ยนแปลง และติดกับดักปัญหาเชิงโครงสร้างกฎหมายรัฐ เพิ่มมิติเศรษฐกิจ ปลดล็อกปัญหาสิทธิทำกิน ทำให้การเผาถูกยกขึ้นมาร่วมจัดการกับประชาชนอย่างจริงจัง

  • งบประมาณพิเศษพื้นที่ไฟใหญ่ต้นลม เช่น พิจารณารายได้พิเศษให้ปชช.ร่วมแผนจัดการระยะ 3เดือนฤดูไฟ

🔥เจ็ด/ มีเจ้าภาพที่มีอำนาจสั่งการ อำนวยการให้ทุกกลไกขยับเคลื่อนตลอดทั้งปี นับแต่พฤษภาคม 2563 มี เป้าหมาย KPI ประกาศล่วงหน้าถึง ภารกิจเอาชนะฝุ่นไฟภาคเหนือ มีความมุ่งมั่นระดับเดียวกับโควิด-19

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ