ถอดหลักคิดการสื่อสารเลือกตั้งอเมริกา สู่การจับตาเลือกตั้งท้องถิ่น ในจังหวัดเชียงราย

ถอดหลักคิดการสื่อสารเลือกตั้งอเมริกา สู่การจับตาเลือกตั้งท้องถิ่น ในจังหวัดเชียงราย

หลังจากได้อ่าน “นิเทศศาสตร์ นวัตกรรม ท้องถิ่น” ของ อ.อัศวิน จบลง ในช่วงเวลาที่สนามเลือกตั้งท้องถิ่น ก็ถือเป็นเรื่องสนุกที่ได้เอาเรื่องราวในหนังสือ มาจับตาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

ในหนังสืออ้างอิงคำพูด ของอาจารย์สุขุม เฉลยทรัพย์ ว่าสิ่งที่ประชาชนชอบ หรือ ไม่ชอบในตอนหาเสียงมีอะไรบ้าง สิ่งที่ประชาชนชอบ รับฟังตอนหาเสียง คือ ทำได้จริง ทำตามที่พูด ไม่สร้างภาพ มีนโยบายที่ทำเพื่อประชาชน  มีแนวทางการทำงานที่เป็นรูปธรรม 

โดยการที่ประชาชนจะได้รับรู้เรื่องราวเหล่านั้น ผู้สมัคร ก็มักจะเคาะหน้าประตูบ้าน แจกแผ่นพับ หรือการปราศัยในสถานที่ต่างๆ ซึ่งการออกแบบในการสื่อสารก็ขึ้นกับฐานเสียง ที่ผู้สมัครต้องการคะแนน และสิ่งที่ลืมไม่ได้ คืองานวีดิทัศน์ ซึ่งถือว่าเป็นสื่อที่มีความจำเป็นไม่น้อยกับการหาเสียง 

งานเขียนที่ชื่อ “5 Marketing Lessons Every Nonprofit Should Learn From Election Videos” ของ WILL SCHMIDT ได้ยกตัวอย่าง วีดิทัศน์ ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง ประธานาธิบดีสหรัฐที่น่าศึกษาและเทียบเคียงกับสังคมเรา

สั้นและคม

Barack Obama (ชนะเลือกตั้ง), “Fundamentals” (2008) 

ยิ่งเนื้อหาบน ทีวี หรือ Online มีจำนวนมหาศาล การเสพสื่อของผู้ชมก็สั้นลง ในงานวิจัยของ Google Think บอกว่าโฆษณาที่มีความยาว 15 วินาที มีประสิทธ์ภาพเท่ากับ 30 วินาที ซึ่งเวลาที่มีความน่าสนใจมากที่สุดคือ 20 วินาที

ความโปร่งใสเท่ากับความน่าเชื่อถือ

Bill Clinton (ชนะเลือกตั้ง) , “Journey” (1992)

ในหลายๆครั้งเราจะเห็นหนังโฆษณาที่ตัวนักการเมืองว่าเคยทำอะไรมา หรือมีผลงานอะไรบ้าง การเล่าเรื่องสิ่งที่ทำหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คือการโฆษณาให้เห็นว่า ผู้สมัครนั้นมีความโปร่งใส มักจะเอา Footeg ในอดีตจากงานที่เคยทำเพราะนั้นคือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในเบื้องหน้า (เบื้องหลังเป็นอย่างไรเป็นอีกเรื่องหนึ่ง) แน่นอนว่าการสร้างงานแบบนี้จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือไปในคราเดียวกัน

การสร้างความเชื่อมโยงในโลก

Online  Bernie Sanders (แพ้การเลือกตั้งการเป็นตัวแทนพรรค) , “America” (2015)

งานวีดิโอประเภทหนึ่งที่หลายคนเห็นในการเลือกตั้งคือ การเห็นจำนวนข้อความที่ถูกทวิตโดยเหล่าแฟนคลับพรรคการเมืองนั้นๆ ออกมาสนับสนุนความคิดความเชื่อของผู้สมัคร การใช้ตัวละครที่หลากหลายจากผู้สนับสนุนพรรคเหล่านั้น ไม่ใช่ทำให้เห็นความหลากหลายเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความเชื่อมโยง เหมือนงานชิ้นนี้เมื่อปล่อยออกไป ก็ถูกแชร์กันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งวิธีคิดนี้ ยังคงใช้งานได้จนถึงปัจจุบัน 

สร้างงานให้มีความงามแบบศิลปะ

Ronald Reagan (ชนะเลือกตั้ง), “Prouder, Stronger, Better (Morning in America)” (1984)

ใครกันที่ไม่ชอบงานภาพสวยตัดต่อเรียบเรียงอย่างละเอียดละออ และเมื่องานชิ้นนี้มาทำหน้าที่ หาเสียงของ Ronald Reagan  งานชิ้นนี้ทำหน้าที่ขับเน้นความรู้สึกที่จะลงคะแนนให้ชายคนนี้

ใช้ประโยชน์ ของ Online

Barack Obama (ชนะการเลือกตั้ง), “Yes We Can” (2008)

สิ่งหนึ่งที่พื้นที่ทาง Online ไม่ว่าจะเป็น แพลตฟอร์มใดๆ ต่างคาแร็คเตอร์เป็นของตัวเอง แต่ทั้งหมดทั้งมวลเวลาที่เห็นงาน Online คือแพลตฟอร์มมีความเป็นมนุษย์ แปลต่อคือ มีความไม่เป็นทางการ ทีเล่นทีจริง และสนุกสนาน แต่สร้างความใกล้ชิด งาน Music Video  ตัวนี้หากปล่อยผ่านสื่อหลักอันเป็นทางการคงมีความประหลาดไม่น้อย แต่เมื่ออยู่ในโลก Online กลับถูกที่ถูกทาง 

ทั้ง 5 ข้อที่เล่ามาเมื่อมองย้อนกลับไป สิ่งที่ประชาชนชอบของ อาจารย์สุขุม เฉลยทรัพย์ เปรียบเสมือนแก่นแกนของเนื้อเรื่อง โดยเคลือบรูปแบบทั้ง 5 เพื่อขับเน้นเรื่องงราวเหล่านั้น คราวนี้ผมอยากชวนมาดูสนามการเลือกตั้งเทศบาลเมืองเชียงราย ที่ผมอาศัยอยู่ เราก็ได้เห็นรูปแบบเหล่านั้นเช่นกัน 

ผมเริ่มสังเกตการณ์ที่ผู้สมัครเบอร์ 1 คุณวันชัย จงสุทธานามณี ได้ส่ง VDO “สู่จุดหมายเดียวกัน” ความยาว 2.40 นาที มีประชาชน 4 คนมาสื่อสารประโยชน์ส่วนร่วมความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ตอนสมัยผู้สมัครคนนี้เป็นนายกเทศมนตรี งานชิ้นนี้ ใช้ภาพที่มาดึง Slow เพื่อให้รู้สึกถึงความมั่นคง งดงาม การเลือกผู้คนมาพูดเป็นการแสดงความโปร่งใสและอีกทั้งยังพยายามสร้างความเชื่อมโยงกับประชาชน ซึ่งผู้ทำเลือกให้เห็นภาพผู้สมัครเพียงอย่างเดียว เหมือนเป็นการสื่อสารว่า “ทำมากกว่าพูด” 

Link : https://fb.watch/4bbHJZ_s-I/


จำนวนวีดิโอ 3 ตัว  ผู้ชม 19,219 ครั้ง (ค่าเฉลี่ย 6406 ครั้งต่อวีดิโอ) การเชื่อมโยง 563 ครั้ง  (ค่าเฉลี่ย 188 ครั้งต่อวีดิโอ)

ผู้สมัครเบอร์ 2 นายสมพงษ์ กูลวงค์   มี VDO ที่ใช้เทคนิคแบบ Online เต็มที่ไม่ว่าจะเป็นการเล่าเรื่องหรือ Sound Effece เราได้เห็นการทีเล่นทีจริงในการนำเสนอ อีกทั้งยังเสริมนโยบายที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม  

Link : https://fb.watch/4bcczcyDul/


จำนวนวีดิโอ 10 ตัว  ผู้ชม 29,019 ครั้ง  (ค่าเฉลี่ย 2901 ครั้งต่อวีดิโอ) การเชื่อมโยง 973 ครั้ง (ค่าเฉลี่ย 97 ครั้งต่อวีดิโอ)

ผู้สมัครเบอร์ 3 เราค้นหาไม่พบ (ในวันที่เขียน) 

ผู้สมัครเบอร์ 4 นางสาวสุธาสินี เหล่ารุ่งโรจน์ เลือกใช้วิธีการมีพิธีกรมีหน้าที่นำเรื่อง และพูดคุยกับพูดสมัคร ในประเด็นต่างๆ หากต้องการรู้นโยบายทั้งหมด คงต้องไล่เรียงดูทุก VDO ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนรุ่นใหม่  

Link : https://fb.watch/4bc_mNQV5G/


จำนวนวีดิโอ 7 ตัว  ผู้ชม 47,700 ครั้ง (ค่าเฉลี่ย 6814ครั้งต่อวีดิโอ) การเชื่อมโยง 1070 ครั้ง (ค่าเฉลี่ย 152 ครั้งต่อวีดิโอ)

นี่เป็นเพียง สถิติจากสื่อ Online ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการเลือกตั้งเท่านั้น อีกไม่กี่วันเราจะได้รู้ผลเลือกตั้ง ในตอนนั้นเราจะได้เห็นว่าการสื่อสารด้วย วีดิโอนั้น ส่งผลกับการลงคะแนนมากน้อยเพียงใด 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ