พอช.ลงพื้นที่ชุมชนรวมพลัง ฟื้นชุมชนรกร้าง-แหล่งทิ้งขยะเก่า-ถูกไล่รื้อ

พอช.ลงพื้นที่ชุมชนรวมพลัง ฟื้นชุมชนรกร้าง-แหล่งทิ้งขยะเก่า-ถูกไล่รื้อ

พอช.ลงชุมชนหมู่บ้านจัดสรรร้างแหล่งทิ้งขยะเก่า กำลังถูกไล่รื้อ วางแผนช่วยเหลือเร่งด่วนตามโครงการ1 กรม 1 พื้นที่พัฒนา

วันนี้ (10 กุมภาพันธ์ 2564 ) นายสมชาติ ภาระสุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) พร้อมด้วย นายสุพัฒน์ จันทนา ผู้อำนวยการภาคกรุงเทพปริมณฑลฯ และทีมเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ชุมชนหมู่บ้านนันทิศา (ชุมชนรวมพลัง) แขวงคู้บอน เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร เพื่อลงพื้นที่ช่วยประชาชนกลุ่มที่ประสบปัญหาทางสังคม ใน 49 ชุมชนนำร่องของ กรุงเทพมหานคร ตามแผนดำเนินโครงการ 1 กรม 1 พื้นที่พัฒนา โดยจากการสำรวจทั้ง 49 ชุมชน ซึ่งพบว่า ชาวบ้านที่นี่ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง มีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ขาดการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐ และเข้าไม่ถึงสิทธิด้านต่างๆ

เดิมชุมชนนันทิศา ที่เคยเป็นโครงการบ้านจัดสรรที่ดำเนินการภายใต้บริษัทเอกชน ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการก่อสร้างโครงการเสร็จบางส่วน และไม่ได้ดำเนินการต่อจึงถูกทิ้งร้างเป็นระยะเวลานาน โครงสร้างของอาคารบางส่วนรวมถึงพื้นที่ว่างเปล่ากลายเป็นสถานที่ทิ้งขยะที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ จน พ.ศ.2550 มีชาวบ้านที่ไร้ที่อยู่อาศัยบางส่วนเข้ามาจับจองก่อสร้างเพิ่มเติมเพื่ออยู่อาศัย ระยะเวลาทั้งสิ้น 14 ปี และมีจำนวนเพิ่มขึ้นรวม 165 ครัวเรือน ประชากรจำนวน 875 คน ส่วนใหญ่ผู้คนในชุมชนนี้ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปและรับซื้อของเก่า มีกลุ่มเปราะบางทางสังคม ประมาณ 39 คน แบ่งออกเป็นเด็กแรกเกิด-4 ขวบ ประมาณ 14 คน ผู้สูงอายุ (65 ปี ขึ้นไป) ประมาณ 23 คน ผู้พิการ 2 คน และในกลุ่มที่เข้ามาจับจองพื้นที่รกร้างว่างเปล่า มีการบริหารจัดการภายในกันเอง ทั้งเรื่องการใช้สาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ระบบน้ำประปา ไฟฟ้า ถนน เพราะเป็นชุมชนที่ไม่ได้อยู่ในความดูแลและจดทดทะเบียนกับกรุงเทพมหานคร จึงติดขัดในเรื่องเอกสารและด้านต่างๆ

พอช. ภายใต้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีภารกิจโดยตรงในการดำเนินการด้านที่อยู่อาศัยและความมั่นคงให้กับกลุ่มผู้มีความเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยและความม่ามั่นคงทางด้านที่ดินที่อยู่อาศัย  จึงได้มีการวางแผนงานในการลงสำรวจพื้นที่และจัดทำข้อมูลเพื่อเตรียมการแก้ปัญหาให้กับชุมชนโดยมีแนวทางในการดำเนินงาน คือ

  1. การสร้างความเข้าใจร่วมกันระดับกรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงชาวบ้านในชุมชน  
  2. การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดอันดับความสำคัญในเรื่องการช่วยเหลือเยียวยาเร่งด่วนและระดับความเดือดร้อนของตาละครอบครัวในชุมชน
  3. การจัดทำสมุดทะเบียครอบครัว
  4. การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตรายครัวเรือนเพื่อให้ทุกครอบครัวได้รับการแก้ปัญหาในเบื้องต้น 5) การบูรณาการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และการถอดบทเรียนการดำเนินงาน เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาในและยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวชุมชน และหลังจากนี้เจ้าหน้าที่ พอช.จะมีการลงไปสำรวจชุมชนในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ