พอช.จัดเวทีการรับฟังความคิดเห็นพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551

พอช.จัดเวทีการรับฟังความคิดเห็นพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)หรือ พอช.  จัดเวทีการรับฟังความคิดเห็นพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551  เพื่อทบทวนแนวทางการดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชน ให้สามารถดำเนินภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมีผู้แทนสภาองค์กรชุมชนจากทั่วภูมิภาค นักวิชาการ ภาคประชาสังคม เข้าร่วม จำนวน 60 คน ณ ห้องประชุมไพบูลย์วัฒนศิริธรรม สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ

2 0
นายชูชาติ ผิวสว่าง เลขานุการที่ประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล

     นายชูชาติ ผิวสว่าง เลขานุการที่ประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล : กล่าวว่า  การแก้ไขพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน เป็นการปรับปรุงเครื่องมือของสภาองค์กรชุมชนตำบลเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน  ในประเด็นต่าง ๆ เพื่อสร้างความเป็นนิติบุคคลในพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมาผู้นำสภาองค์กรชุมชนได้มีการพบประธานรัฐสภา นายชวน หลีกภัย เพื่อให้คำแนะนำต่อการแก้ไข พรบ. โดยมีกระบวนการเสนอผ่านรัฐสภา ผ่านเวทีรับฟังความคิดเห็นทั่วประเทศจะทำให้ พรบ.สภาองค์กรชุมชน มีความสมบูรณ์ ทันสมัย สามารถเชื่อมต่อกับงบประมาณของหน่วยงานท้องถิ่นได้

3 0
นายสุวัฒน์ คงแป้น ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดพัทลุง

   นายสุวัฒน์ คงแป้น ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดพัทลุง  กล่าวถึง เจตนารมณ์ ของพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 ที่สำคัญ คือการสร้างให้ชุมชนเข้มแข็ง เพื่อทำให้ชุมชนได้มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมวางแผนพัฒนาประเทศ ให้มีความเข้มแข็ง สร้างความเข้มแข็งจากฐานราก ลดความอ่อนแอของประชาชนลงได้ เกิดการฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น สร้างโอกาสการพัฒนาชุมชนที่ประสบปัญหาองค์รวมเชิงพื้นที่ รวมถึงปัญหาเชิงโครงสร้าง และสามารถเชื่อมโยงประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ได้ แต่ที่ผ่านมากระบวนการการทำงานของสภาองค์กรชุมชน ยังไม่สามารถเชื่อมโยงการจัดทำแผนพัฒนากับหน่วยงานท้องถิ่น จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน สร้างการขับเคลื่อนประชาชนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลเชิงโครงสร้างใน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด และในระดับประเทศ ไปพร้อมกับพัฒนาคุณภาพของสภาองค์กรชุมชน ให้สามารถขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเชื่อมโยงกับหน่วยงานในพื้นที่ได้

4 0
นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)

นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) กล่าวว่า การแก้ไข พรบ.สภาองค์กรชุมชน ให้มีความสมบูรณ์ และเสนอกฎหมายตามขั้นตอนกระบวนการ เป็นการพัฒนาเครื่องมือของสภาองค์กรชุมชน ที่นำไปใช้ดำเนินการสอดคล้องตามสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมีประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาประเทศ เป็นการออกแบบการทำงาน โดยใช้พื้นที่กลางที่มีสภาองค์กรชุมชนเป็นกลไกสำคัญในการขบเคลื่อน ในการแก้ไขปัญหาชุมชนท้องถิ่น รวมถึงปัญหาต่าง ๆ พัฒนาส่งเสริมให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี  โดย พอช. จะช่วยสนับสนุนการทำงานของสภาองค์กรชุมชน ให้เกิดความเข้มแข็ง ทำงานอย่างมีคุณภาพ เป็นพื้นที่กลางในการแก้ไขปัญหาของประชาชน รวมถึง การส่งเสริมบทบาทของสภาองค์กรชุมชน เป็นกลไกในการเชื่อมโยง ประสานงาน สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานในท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นต่อไป

5 0

ประเด็นเนื้อหาการแก้ไขพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน ประกอบด้วย 8 ประเด็นสำคัญ ดังนี้

1)        การแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยมคำว่า “ตำบล” ให้มีความหมายชัดเจนขึ้นในกรณีที่เป็นสภาองค์กรชุมชนตำบลซึ่งจัดตั้งขึ้นในกรุงเทพมหานครโดยกำหนดให้ “ตำบล” หมายความว่า ชุมชนในเขตกรุงเทพมหานครตามที่สำนักงานสนับสนุนสภาองค์กรชุมชนแห่งชาติกำหนดโดยความเห็นชอบของสภาองค์กรชุมชนแห่งชาติ และเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “สมัชชาองค์กรชุมชน” “สำนักงาน” และ “ผู้อำนวยการ”

เพื่อรองรับหน้าที่ของสภาองค์กรชุมชนตำบลซึ่งเพิ่มขึ้นบางประการ รวมถึงรองรับการจัดตั้งสำนักงานสนับสนุนสภาองค์กรชุมชนแห่งชาติ

2)        กำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามกฎหมายฉบับนี้ จากเดิมที่ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นผู้รักษาการตามกฎหมาย เนื่องจากเห็นว่าบทบาทด้านการพัฒนาองค์กรชุมชนหรือภาคประชาชนควรเป็นบทบาทหรือภาระหน้าที่ประการที่สำคัญของรัฐบาล

จึงควรให้นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของประเทศในทางนโยบายได้เป็นผู้รักษาการตามกฎหมายโดยตรง

3)        แก้ไขเพิ่มเติมการจดแจ้งการจัดตั้งชุมชนหรือจดแจ้งการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล เพื่อรองรับกรณีที่มีเหตุขัดข้องทำให้การจดแจ้งการจัดตั้งชุมชนหรือจดแจ้งการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล ไว้กับกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถจดแจ้งการจัดตั้งชุมชนหรือจดแจ้งการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลไว้กับประธานสภาองค์กรชุมชนจังหวัดก็ได้

4)        กำหนดสภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นนิติบุคคลเพื่อให้สภาองค์กรชุมชนตำบลสามารถทรงสิทธิ และหน้าที่ต่าง ๆ ได้

5)        กำหนดให้สภาองค์กรชุมชนจังหวัดมีหน้าที่เพิ่มมากขึ้น เช่น จัดทำแผนแม่บทชุมชนระดับจังหวัด

เพื่อเสนอแนะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องไปเป็นแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นหรือแผนปฏิบัติการของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยว และติดตามการนำแผนแม่บทชุมชนไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานของรัฐ

6)        กำหนดให้มีสภาองค์กรชุมชนแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกผู้ซึ่งเป็นผู้แทนสภาองค์กรชุมชนจังหวัดและสมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งที่ประชุมผู้แทนสภาองค์กรชุมชนจังหวัดตามเห็นชอบคัดเลือกมา เพื่อให้ทำหน้าที่เพิ่มขึ้นจากหน้าที่เดิมของที่ประชุมระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล

7)        กำหนดให้มีสำนักงานสนับสนุนสภาองค์กรชุมชนแห่งชาติขึ้นเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น โดยให้สำนักงานมีฐานะเป็นนิติบุคคลและอยู่ในกำกับของนายกรัฐมนตรี

โดยดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชนแห่งชาติ สภาองค์กรชุมชนจังหวัด สภาองค์กรชุมชนตำบล และสำนักงาน ตลอดจนสนับสนุนงบประมาณและประสานการดำเนินงานกับสภาองค์กรชุมชนตำบล สภาองค์กรชุมชนจังหวัด  ศูนย์ประสานงานสภาองค์กรชุมชนตำบลและศูนย์ประสานงานสภาองค์กรชุมชนจังหวัด

8)        บทเฉพาะกาล กำหนดให้ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลที่ได้รับการเสนอชื่อเพื่อไปร่วมประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบลครั้งล่าสุด และผู้แทนระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบลที่ได้รับการเสนอชื่อเพื่อไปร่วมประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลครั้งล่าสุด เป็นสภาองค์กรชุมชนจังหวัดหรือสภาองค์กรชุมชนแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้แล้วแต่กรณี จนกว่าจะครบวาระของผู้นั้น และส่วนที่เกี่ยวข้องกับการโอนบรรดาทรัพย์สิน หนี้สิน หรือบุคลากรในส่วนของหน่วยที่ทำหน้าที่สนับสนุนสภาองค์กรชุมชนที่จัดตั้งขึ้นในสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ให้โอนไปเป็นของสำนักงานสนับสนุนสภาองค์กรชุมชนแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้ และในระยะเริ่มแรกให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ในส่วนของสำนักสนับสนุนสภาองค์กรชุมชนทำหน้าที่เป็นสำนักงานสนับสนุนสภาองค์กรชุมชนแห่งชาติจนกว่าจะมีการจัดตั้งสำนักงานสนับสนุนสภาองค์กรชุมชนแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ทำหน้าที่ผู้อำนวยการจนกว่าจะแต่งตั้งผู้อำนวยการตามพระราชบัญญัตินี้

6 0
7 0

8 0
9 0

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ