นักวิชาการ ภาคประชาสังคม ประณามการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ในพม่า

นักวิชาการ ภาคประชาสังคม ประณามการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ในพม่า

ส.ศิวรักษ์ ชี้ พม่าก็คล้ายไทย ทหารเป็นใหญ่ในรัฐ ด้านนักวิชาการชาติพันธุ์ระบุ การเจรจาสันติภาพต้องใช้เวลาอีกนานจะรื้อฟื้น

10 ก.พ. 64 นักกิจกรรม นักพัฒนาสังคม สื่อมวลชน ทนายความ และนักวิชาการ รวมตัวกันในนาม กลุ่ม “เพื่อนต่อต้านเผด็จการ” (Friends Against Dictatorship: FAD) ออกแถลงการณ์ไม่ยอมรับการรัฐประหารและประณามการใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมในพม่า

แถลงการณ์ดังกล่าว ระบุว่า “กลุ่มเพื่อนต่อต้านเผด็จการ” (Friends Against Dictatorship: FAD) ขอประกาศไม่ยอมรับการรัฐประหารและผลพวงของการรัฐประหารโดยกองทัพเมียนมา ขอเรียกร้องให้กองทัพเมียนมาหยุดการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบต่อผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย และขอให้ปล่อยตัวทุกคนที่ถูกควบคุมตัวและถูกจับกุมทันที รวมทั้งกองทัพต้องเคารพเจตจำนงทางการเมืองของประชาชน เคารพหลักนิติธรรม ยอมรับผลการเลือกตั้งเดือนพฤศจิกายน 2563 ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกาศกฎอัยการศึก และการประกาศเคอร์ฟิว นำประเทศกลับเข้าสู่เส้นทางการพัฒนาประชาธิปไตย ใช้กระบวนการระบบรัฐสภาและกฎหมายปกติในการแก้ปัญหา”

นอกจากนี้ยังมีการเรียกร้องให้กลุ่มอาเซียนและประชาคมโลกร่วมประณามเผด็จการทหารโดยกองทัพเมียนมา ต้องไม่รับรองการรัฐประหารในครั้งนี้

ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ หนึ่งในคณะกรรมการกลุ่มฯ ระบุว่า  “การประท้วงตอนนี้กระจายไปทั่วประเทศ  เราคิดว่า ฝ่ายทหารจะเพิ่มมาตรการในการหยุดยั้งการประท้วง เพราะที่ผ่านมาแม้มีการประกาศเคอร์ฟิว การใช้รถฉีดน้ำ หรือแม้กระทั่งการใช้อาวุธไม่ได้เป็นผลเลย ประชาชนหลายภาคส่วนเข้าร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ  เราจึงคาดว่าฝ่ายทหารจะใช้ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นซึ่งเราไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น”

“นักวิเคราะห์ต่างชาติบางท่านใช้คำว่า นี่คือ การปฏิวัติ ไม่ใช่การประท้วง แต่เป็นการปฏิวัติอีกรูปแบบหนึ่ง ผู้ประท้วงมีทั้งชาวบ้านทุกรุ่นอายุตั้งแต่ 70-80 จนถึงรุ่นหนุ่มสาว ที่สำคัญคือ การมีข้าราชการ ครู อาจารย์มหาวิทยาลัย หมอ เจ้าหน้าที่ป่าไม้  เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ออกมาร่วมการประท้วงอย่างสันติอหิงสา ในขณะที่มีข้าราชการจำนวนมากประกาศลาออก นี่เป็นการประท้วงที่แตกต่างไปจากคราวก่อนๆ รวมถึงต่างไปจากในประเทศไทย ส่วนกลุ่มกองกำลังมีการออกมาประท้วงการยึดอำนาจเช่นกัน แต่ยังไม่มีการออกแถลงการณ์ร่วม คงต้องจับตามองกันต่อไป” ดร.ชยันต์ กล่าว

ด้าน อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ชี้ว่า พม่าก็คล้ายไทย ทหารเป็นใหญ่ เป็นรัฐภายในรัฐ เมื่อมีว่ามีแนวโน้มจะสูญเสียอำนาจ หรือควบคุมอำนาจรัฐไม่ได้ก็ทำรัฐประหาร พร้อมทั้งชี้ว่า ยังยากที่จะเชื่อว่าทหารจะจัดให้มีการเลือกตั้งในเร็ววันตามที่ประกาศ เพราะมีบทเรียนแล้วว่า พ่ายแพ้อย่างราบคาบ หากทหารยังไม่มั่นใจว่าจะชนะ การเลือกตั้งจะยังไม่เกิดขึ้น

“รัฐประหารไม่ว่าที่ไหนเป็นความเลวร้าย เพราะเขาเชื่อในความรุนแรง ในขณะที่ ฝ่ายประชาธิปไตยจะรักสันติ อหิงสา น่าเสียดายที่พม่ากลับมาเป็นเผด็จการอีกแล้ว” อ.สุลักษณ์ กล่าว

ก่อนหน้านี้ (9 กุมภาพันธ์) กลุ่มแรงงานเพื่อนบ้านชาวทวายในประเทศไทย ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์ ต่อต้านการรัฐประหาร และแสดงจุดยืนที่จะเข้าร่วม การชุมนุมอย่างสันติวิธี แสดงอารยะขัดขืน (Civil Disobedience Movement) เหมือนกับพี่น้องประชาชนในประเทศเมียนมา

นายมิน แลต ผู้ประสานงานกลุ่มกล่าวว่า เราจะแสดงออกถึงการไม่ยอมรับการกระทำนี้อย่างสงบ สันติ ที่ผ่านมาเรามีการรวมตัวกันจุดเทียน ร้องเพลง สวดมนต์ ภายใต้มาตรการป้องกันโควิด อย่างต่อเนื่อง โดยจะทำกันในช่วงเย็นถึงค่ำ หลังเลิกงาน

“ตอนนี้ความรู้สึกของเราดีขึ้นหน่อย แต่วันที่มีการตัดการสื่อสาร แรงงานไม่สามารถติดต่อที่บ้านได้ ก็เป็นห่วงอย่างมาก เรากำลังคุยกันว่านอกจากการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เราจะช่วยอะไรได้อีกบ้าง เช่น การระดมทุนช่วยเหลือ หรือการช่วยสื่อสารเอาความจริงจากบ้านออกมาให้มากที่สุด” นายมิน แลต กล่าว

แถลงการณ์ดังกล่าว ระบุว่า “กลุ่มเพื่อนต่อต้านเผด็จการ” (Friends Against Dictatorship: FAD) ขอประกาศไม่ยอมรับการรัฐประหารและผลพวงของการรัฐประหารโดยกองทัพเมียนมา ขอเรียกร้องให้กองทัพเมียนมาหยุดการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบต่อผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย และขอให้ปล่อยตัวทุกคนที่ถูกควบคุมตัวและถูกจับกุมทันที รวมทั้งกองทัพต้องเคารพเจตจำนงทางการเมืองของประชาชน เคารพหลักนิติธรรม ยอมรับผลการเลือกตั้งเดือนพฤศจิกายน 2563 ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกาศกฎอัยการศึก และการประกาศเคอร์ฟิว นำประเทศกลับเข้าสู่เส้นทางการพัฒนาประชาธิปไตย ใช้กระบวนการระบบรัฐสภาและกฎหมายปกติในการแก้ปัญหา”

นอกจากนี้ยังมีการเรียกร้องให้กลุ่มอาเซียนและประชาคมโลกร่วมประณามเผด็จการทหารโดยกองทัพเมียนมา ต้องไม่รับรองการรัฐประหารในครั้งนี้

แถลงการณ์
ไม่ยอมรับการรัฐประหาร และผลพวงของการรัฐประหารโดยกองทัพเมียนมา
ประณามการใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย


“กลุ่มเพื่อนต่อต้านเผด็จการ” (Friends Against Dictatorship: FAD) เป็นกลุ่มประชาสังคมที่เกิดจากการรวมตัวของนักกิจกรรม นักพัฒนาสังคม สื่อมวลชน ทนายความ และนักวิชาการ เพื่อสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย สนับสนุนประชาชนที่เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ต่อต้านการรัฐประหารเพราะเป็นวิธีการที่ล้าหลังและไม่สามารถยอมรับได้ เป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพและโอกาสในการกินดีอยู่ดีของประชาชน อีกทั้งเป็นการขโมย รวมถึงทำลายอนาคตของคนรุ่นใหม่

หนึ่งทศวรรษ (2553 – ปัจจุบัน) บนเส้นทางพัฒนาประชาธิปไตยของเมียนมา ประชาชนทั้งที่อยู่ในประเทศและที่ทำงานอยู่ต่างประเทศสามารถใช้สิทธิทางการเมืองในการเลือกตั้งรัฐบาล เริ่มสามารถใช้สิทธิในการมีส่วนร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาท้องถิ่นเสถียรภาพทางเมืองภายใต้การพัฒนาประชาธิปไตยมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและการบริโภค ทำให้คนหนุ่มสาวเริ่มมีโอกาสทางการศึกษา ประชาชนในประเทศเข้าถึงการจ้างงาน รวมทั้งประชาชนที่อยู่ต่างประเทศก็สามารถเข้าถึงการพิสูจน์สัญชาติและการจ้างงานอย่างถูกกฎหมาย ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินและบริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็น ทั้งระบบขนส่งมวลชน น้ำ ไฟฟ้า โทรศัพท์ และอินเทอร์เน็ต ฯลฯ

ที่ผ่านมาปัญหาการละเมิดสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์โรฮิงญาแทบไม่ได้รับการแก้ไขแล้ว กองทัพเมียนมายังกระทำการกดขี่และทำร้ายชนกลุ่มน้อย เช่น คะฉิ่น กะเหรี่ยง และชาติพันธ์อื่นๆอย่างต่อเนื่อง และกระบวนการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลกลางกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ แทบไม่มีความก้าวหน้า

การรัฐประหารวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 โดยกองทัพที่นำโดย พล.อ. มิน อ่อง หล่าย ที่อ้างเรื่อง “การทุจริตเลือกตั้ง” การประกาศภาวะฉุกเฉิน 1 ปี จับกุมและควบคุมตัวผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์และนักกิจกรรมทางการเมือง การจำกัดการสื่อสาร การประกาศกฎอัยการศึก การประกาศเคอร์ฟิวครอบคลุมหลายพื้นที่ของประเทศ และปฏิบัติการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่โดยใช้รถฉีดน้ำแรงดันสูงและอาวุธปืน อันเป็นการทำลายการพัฒนาประชาธิปไตย จำกัดสิทธิเสรีภาพ และละเมิดสิทธิมนุษยชนพื้นฐานอย่างร้ายแรง การรัฐประหารครั้งนี้ยังอาจนำเมียนมาถอยกลับสู่ยุคมืดที่ปิดกั้นโอกาสการมีชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน โดยเฉพาะเมื่อนานาชาติเริ่มประกาศจะตอบโต้กองทัพด้วยการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอีกครั้ง

“กลุ่มเพื่อนต่อต้านเผด็จการ” (Friends Against Dictatorship: FAD) ขอประกาศไม่ยอมรับการรัฐประหารและผลพวงของการรัฐประหารโดยกองทัพเมียนมา ขอเรียกร้องให้กองทัพเมียนมาหยุดการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบต่อผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย และขอให้ปล่อยตัวทุกคนที่ถูกควบคุมตัวและถูกจับกุมทันที รวมทั้งกองทัพต้องเคารพเจตจำนงทางการเมืองของประชาชน เคารพหลักนิติธรรม ยอมรับผลการเลือกตั้งเดือนพฤศจิกายน 2563 ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกาศกฎอัยการศึก และการประกาศเคอร์ฟิว นำประเทศกลับเข้าสู่เส้นทางการพัฒนาประชาธิปไตย ใช้กระบวนการระบบรัฐสภาและกฎหมายปกติในการแก้ปัญหา
และขอเรียกร้องให้กลุ่มอาเซียนและประชาคมโลกร่วมประณามเผด็จการทหารโดยกองทัพเมียนมา โดยต้องไม่รับรองและไม่ยอมรับการรัฐประหาร และการรัฐประหารไม่ใช่เรื่องภายในประเทศ แต่สั่นคลอนความมั่นคงตลอดจนเสถียรภาพของประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกด้วย

สู้ไปด้วยกัน #พอกันทีกับการรัฐประหาร #พอกันทีกับการใช้อำนาจนอกระบบ
สนับสนุนประชาชนเมียนมาบนเส้นทางประชาธิปไตย

รายชื่อคณะกรรมการและองค์กรแนวร่วม
1. อ.ชยันต์ วรรธนภูติ
2. อ.นฤมล ทับจุมพล
3. คุณอวยพร เขื่อนแก้ว
4. สุภาวดี เพชรรัตน์
5. คุณพิภพ อุดมอิทธิพงษ์
6. คุณอดิศร เกิดมงคล
7. คุณคอรีเยาะ มานุแช
8. คุณสมบูรณ์ จึงเปรมปรีดิ์
9. คุณเพียรพร ดีเทศน์
10. คุณธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร
11. คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า (กรพ.)
12. เสมสิกขาลัย-พม่า (SEM)
13. Mekong Peace Journey (MPJ)
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ วิชัย จันทวาโร 095 4948540 visitdawei@gmail.com
Public Statement

The Coup by Myanmar Army and Its Consequences are Unacceptable!!!
Condemn Violent Suppression against Pro-democracy Protesters must be condemned 
10 February 2021, Bangkok, Thailand
 
The Friends Against Dictatorship (FAD) is a group of civil society organizations composed of social and political activists, media, lawyers and academics. We support a democratic system and people who mobilize for democracy and are opposed to a military coup which is an outdated and unacceptable solution. It deprives human rights and freedoms and affects people’s livelihood. It also plunders the future of the young generation. 

During the past decade (2010 until now), Myanmar has been developing its democracy making it possible for its people inside and outside the country to exercise their political rights and choose their own government. They start to begin determine the future of local development and attain political stability. Democratization is key to economic development and stimulating of consumption. It gives young people educational opportunities. Local people have access to employment and gives its citizens who live overseas a chance to undergo nationality verification and legal employment. Now, people have access to financial services and other fundamental services including public transportation, water, electricity, phone and internet services, etc. 

Apart from leaving the violations of the rights of the ethnic Rohingya unaddressed, the Myanmar army continues to perpetuate the abuse against other ethnic minorities including the Kachin, the Karen and other ethnic groups. Meanwhile, the peace dialogue process between the union government and various ethnic groups has made no progress. 

The 1 February 2021 military coup was staged by Senior General Min Aung Hlaing citing “voting irregularities”. He has also declared the state of emergency for one year, has arrested and detained leaders of the National League for Democracy (NLD), leaders of ethnic groups and political activists. The telecommunication has been restricted while Martial Law has been imposed including the curfew ban in various areas of the country. The authorities cracked down on public assemblies using water cannons and firearms. All these are detrimental to the democratization process. It grossly restricts and violates fundamental human rights and freedom. This military coup has thrown Myanmar back into the dark age and stifled the chance to attain a better quality of life among the people amidst a growing call from the international community to reimpose economic sanction against the country. 

FAD cannot accept the military coup and its consequences as orchestrated by the Myanmar army. We call on the Myanmar army to stop using all forms of violence against the pro-democracy protesters and to immediately release all who have been put under arrest and in custody.  The army must respect the people’s political conviction, the rule of law and must accept the election results of November 2020. The State of Emergency must be lifted and Martial Law plus the curfew ban must be revoked. The country should be brought back to the path of democratization again by relying on the parliamentary system and the law to solve any problem. 

We call on ASEAN and the international community to condemn the military dictatorship imposed by the Myanmar army. They should not be recognized and support military coup. A military coup is not an internal matter. Rather, it can deteriorate security and stability of the whole ASEAN community and the global community as well. 

#FightTogether #EnoughIsEnoughWithMilitaryCoup #EnoughIsEnoughWithExtraconstitutionalPower
#SupportMyanmarOnItsWayToDemocracy

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ