สวัสดีครับ มิงกะลาบา ไม่ใช่เเรงงานในนี้นะ แต่อยู่นี่นานครับ …
ผมว่าเราโอเครนะ อยู่มาก็ สี่สิบกว่าวัน จนถึงวันนี้ เเม้ว่าจะมีอุปสรรคบางก็ตาม เราดูแลสาระทุกข์สุขดิบกันไป เราไม่ดูว่าคุณจะมาหรืออยู่อย่างถูกต้องหรือไม่ อันนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ว่าเรื่องการสาธารณสุข เรื่องการดูแล เราต้องดูเเลให้เขาอบอุ่น และมั่นใจ…
มานะ เปาทุย ข้าราชการสาธารณสุข แหน่งสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ อำเภอเมืองสมุทรสาคร กับภารกิจที่ไม่รู้วันจบ สำหรับการมาอยู่ที่ตลาดกลางกุ้ง ช่วยคุมการระบาดในกลุ่มแรงงานเพื่อนบ้าน ตั้งแต่วันแรกๆ ที่พบการระบาด
ตั้งแต่วันแรกที่ก้าวเท้าเข้ามาในพื้นที่เสี่ยงสีแดงและควบคุมพิเศษ “ตลาดกลางกุ้ง” ของเราในวันที่พี่ๆ เจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร สามารถควบคุมการระบาดทำให้พื้นที่นี้เกือบกลับมาเป็นปกติได้อีกครั้ง
เราเห็นเจ้าหน้าที่เดินไปเดินมาระหว่างโรงพยาบาลสนามหรือที่เรียกว่าโรงพยาบาลตลาดกลางกุ้ง หยิบข้าวของเดินเข้าออกตลอดเวลา ไม่ได้หยุดพักช่วงแรกไม่มีโอกาสไปพูดคุยได้แต่ถามหากมีความเคลื่อนไหวแบบผิดสังเกตเช่นมีการรายงานผลตรวจ มีผู้ติดเชื้อหรือกลุ่มเสี่ยงที่ต้องส่งตัวไปกักตัว เราถึงจะมีโอกาสได้พูดคุยและซักถาม
สังเกตอยู่หลายวันจนสถานการณ์เริ่มจะคลี่คลายทุกคนเริ่มคุยกันแบบผ่อนคลายมากขึ้นเดินน้อยลง กลุ่มรายงานที่อยู่ภายในนี้เริ่มมีกิจกรรม พี่ๆ เจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร ทักทายกลุ่มรายงานอย่างเป็นกันเองยิ้ม หยอกล้อกันเหมือนพี่น้อง วันนี้เราจึงได้มีโอกาสได้พูดคุยแต่บอกไว้ก่อนว่าเราขอใช้เวลาเพียงสั้นๆ ในการคุยเพื่อให้เขาได้มีเวลาพักและทำงานกันต่อ
คนแรกที่เราคุยคือพี่มานะ หรือที่กลุ่มแรงงานที่นี่เรียกว่าหัวหน้า หรือบางคนก็เรียกลูกพี่ …
พี่มานะบอกว่า ได้รับมอบหมายตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม เริ่มแรกจนถึงวันนี้ ก็เกิน 40 วันละ มันอัตโนมัติในฐานะ “นักสาธารณสุข” มันคือความรับผิดชอบแว้บแรกมันขึ้นมาเลย เพราะว่านี้มันซีเรียส แต่เพราะมันซีเรียส มันก็มองถึงเป้าหมายของพื้นที่ เนื่องจากว่าเราก็พอจะรู้พื้นที่ว่ามีสภาพชุมชนในนี้เป็นยังไง ก็เลยมองว่ามันหนักแน่ๆ แต่ว่าการที่เราทำงานควบคุมโรคติดต่อ มาหลายโรค ที่ผ่านมาจะเป็นพวก ไข้เลือก อหิวาห์ แต่มันก็อีกแบบนึง แต่ว่าพอโควิด-19 มันเป็นอีกแบบหนึ่งซึ่งมันมีความตระหนกของคนภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง ประกอบกับในนี้มันเหมือนระเบิดลง หลังจากที่มีการตรวจในวันที่ 18-19 ต่อเนื่องมาจนประกาศล็อกดาวน์ ในคืนวันที่ 19-20 ธันวาคม ถามว่ากังวลอะไรไหม โดยทั่วไปก็กังวลเรื่องระยะเวลาที่เราไม่สามารถจะคาดการณ์ระยะเวลา ว่ามันจะสิ้นสุดลงเมื่อไร ประกอบกับทรัพยากรบุคคลที่มีในมือเราอาจจะคาดเดาความพร้อมที่อาจจะไม่เพียงพอในช่วงแรก
เนื่องจากว่าการเตรียมตัว เรามีเวลาเตรียมระดับหนึ่งเท่านั้น สำหรับเจ้าหน้าที่จะมา เราเลือกอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีนี้ ประมวลประมวลภารกิจหลักที่เราทำอยู่ ปรับเป็นให้คนอื่นทำหน้าที่แทน แล้วเราก็รับผิดชอบตรงส่วนนี้ เป็นภารกิจหลักเลย
ทีมงานที่เป็นเป็นสต๊าฟ อันนี้ก็ถือว่าเราก็จัดการได้เร็วแล้วก็ จัดการคนจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ 23 แห่งในอำเภอเมือง จำนวนเจ้าหน้าที่ 180 คน ก็เซ็ตระบบงานใหม่ ว่าภารกิจที่ต้องอยู่ให้บริการก็ปรับ คนที่ต้องอยู่เวร อยู่นอกเวลา ปรับใหม่หมด และถามบอกว่าใครที่มีความพร้อมให้แสดงตนเลย ใครไม่พร้อมก็แสดงตนได้เลยเช่นกัน เพราะจะออกมาทำงานเรารู้ว่าเราต้องมาทำงานต้องเสี่ยงอะไร แล้วเราต้องปฏิบัติตัวยังไง เพราะคนที่มีปัญหา ไม่จะเป็นเรื่องของสุขภาพไม่ค่อยดี มีโรคประจำตัว บางคนก็มีคนในครอบครัวต้องดูแลมีลูกเล็กๆ หรือว่ามีพ่อแม่ปู่ย่าตายายที่ทุกวันต้องดูแลก่อนมาทำงาน แบบนี้เราก็บอกว่ายังไม่ต้องออกมา ที่เหลือเราก็จะได้คนที่มีความพร้อมเข้ามาทำงานแล้วเราก็วางระบบงานเลยว่าใครมีหน้าที่อะไรยังไง
แรกเริ่มจังหวัดกำหนดให้เราทำสนับสนุนภารกิจมีทีมค้นหา อันนี้ก็เข้าที่เข้าทางในช่วงแรก หลังจากนั้นก็ส่วนกลางก็ลงเข้ามาเข้ามาช่วยดำเนินการจัดการแล้วก็ทำให้เราทำงานง่ายขึ้น ที่หมออนามัยจากเดิมที่ไม่เคยทำการ swab การหาเชื้อเราเองก็ได้รับคำแนะนำฝึกปฏิบัติจากทีมหมอและพยาบาล จนเราสามารถทำได้ตามเทคนิคที่เขากำหนดจนปัจจุบันเราก็เป็นพี่เลี้ยงให้กับที่มันอื่นที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด เราก็ช่วยในส่วนที่เราจะช่วยได้ ยอมรับตอนแรกก็เครียดเพราะว่าแต่ละหน่วยงานที่เข้ามามีแนวทางไม่เหมือนกัน การรับรู้การเรียนรู้ไม่เท่ากัน เราก็เข้าใจลูกน้องก็ปรับตัวได้ ซึ่งทุกคนก็เก่งมาก
“สถานการณ์โควิด ทำให้บุคลากรทุกภาคส่วนมีการปรับตัวเรารวมใจเป็นหนึ่งที่จะสู้”
นอกจากนั้น ภารกิจหลักก็คือดูแลเรื่องของความเป็นอยู่ ของคนที่อยู่ภายในนี้ประสานกับเหล่ากาชาดในการจัดของเสบียงต่างๆ ให้กับกลุ่มรายงานที่อยู่ภายในนี้
ช่วงแรกอุปสรรของเราก็คือ เราไม่มีข้อมูลด้านไหนว่าใครเป็นใครมีจำนวนเท่าไหร่ที่แน่ชัดมีเด็กไหม มีคนแก่ไหม เพราะข้อมูลพวกนี้เป็นข้อมูลสำคัญในการควบคุมโรคด้วย
พอมีกฎหมายล็อกดาวน์ ทำให้เราควบคุมพื้นที่ที่นี่ง่ายขึ้นเพราะเราคุมคนเข้าออกก็เริ่มมีการหาอาสาสมัครที่อยู่ภายใน โดยความร่วมมือกับมูลนิธิรักษ์ไทยที่เขาดูแลเรื่องสุขภาพของแรงงาน ที่เขาเข้ามาช่วย อีกคนคือน้องกิตติ (จนท.สาธารณสุข)
การคิดและการหาอาสาสมัครคิดใหม่ตั้งแต่เรื่องของการแจกของเราไม่รู้จำนวนห้องไม่รู้จำนวนคนที่อยู่ภายในวันแรกที่ได้ถุงยังชีพมาจากเหล่ากาชาด 1,000 ชุด วิธีแจกคือใครเดินผ่านมาก็แจก พอได้ข้อมูลว่าจำนวนห้องที่อยู่ภายในมีมากกว่านั้นก็ต้องปรับวิธีใหม่ ต้องมีการทำบัตรคิวทำสัญลักษณ์สำหรับการแจก
อาสาสมัครในช่วงแรกมีมากถึง 50 ถึง 60 คนซึ่งก็เป็นคนจากข้างในนี้ช่วยกันคิดตั้งแต่วิธีการแจกของมันจะทำยังไงให้เข้าถึงทุกคน ได้เท่ากันทุกคน ใช้วิธีให้พวกเขาช่วยกันดูแลกัน
สำคัญด้านไหนเกิดเรื่องสุขาภิบาลไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเป็นอยู่ ใช้ชีวิตเรื่องความสะอาดต้องใช้อาสาสมัครในการช่วยกันประชาสัมพันธ์สื่อสารกับคนด้านในเนื่องจากพฤติกรรมของแรงงานส่วนใหญ่จะชอบบ้วนน้ำหมากน้ำลาย ก็ใช้วิธีการสื่อสารให้เขาบ้วนใส่ในขวด แล้วถือเดินตาม ห้ามบ้วนลงกับพื้นแล้วเอาไปทิ้ง เรื่องของความสะอาดๆ ในอาคารอาสาสมัครก็ช่วยกันทำความสะอาดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ และสุดท้ายเรื่องขยะก็ช่วยกันเก็บกวาดออกมาครั้งแรกที่เข้ามา กลิ่นเหม็นเน่ามาก เนื่องจากที่นี่เป็นทะเล แถมพวกเศษหัวกุ้งพวกนี้ส่งกินเหม็น กว่าเทศบาลจะหาบริษัทรับกำจัดขยะเฉพาะได้ใช้เวลาหลายวันกว่าจะเอาขยะออกไปทั้งหมดได้สะอาดจนทุกวันนี้ เพราะคนในนี้ร่วมมือกัน
ในตอนหลังพอเซ็ตระบบได้เรื่องความเป็นอยู่อาหารการกินของคนนั้นนายหลังจากเหล่ากาชาดเข้ามาหนุนเสริม ทางจังหวัดดูแล ก็ยังมีตัวแทนเอ็นจีโอนำของมามอบให้กับรายงานที่นี่ด้วย
ส่วนเรื่องของโรงพยาบาลก็มีโรงพยาบาลสนามจากสถาบันบำราศนราดูรมาคอยรักษาในเบื้องต้นให้กับคนที่นี่ ตอนนี้ป่วยหนักก็จะส่งไปที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร
ส่วนแรงงานที่อยู่ภายในนี้สิ่งที่เขาเป็นกังวลใจคือเขาต้องการที่จะทำงาน อยากรู้ว่าจะสามารถที่ทำงานได้อีกเมื่อไร และบางคนเวลาทำงานเขาก็ต้องส่งเงินกลับไปให้บ้านเขาที่พม่า เพราะที่บ้านเขาที่นู่นก็ลำบาก อันนี้ก็เป็นเรื่องที่เขาสะท้อนแล้วก็บอกเรามา
ส่วนความเป็นอยู่ที่นี่หากใครติดขัดอะไรเขาก็จะมาบอกเรา เช่น บางคนไม่มีนม ไม่มีผ้าอ้อมให้ลูก เราก็ไปหามาให้ สุภาพสตรีบางคนไม่มีผ้าอนามัยก็ต้องไปหาผ้าอนามัยมาให้เขา ซึ่งจริงๆ ผมก็มองว่าอยู่ไปอยู่มามันก็สนุกดี อยู่จนมันสนุก ผมว่านะชุมชนคนที่นี่เขาน่ารักดี ไม่ได้มีแต่คนพม่า มีคนมอญ คนกะเหรี่ยงอยู่ด้วยกัน แม้จะมีปัญหาอุปสรรคในเรื่องการสื่อสารแต่ก็ต้องพยายามสื่อสารกันให้เข้าใจมากที่สุด
ผมว่าโดยรวม สมุทรสาครเราโอเคนะ แม้จะมีปัญหาอุปสรรคเล็กๆน้อยๆ
นอกจากนักสาธารณสุข อย่างคุณมานะ แล้ว อีกคนนึงไม่พูดถึงไม่ได้คือพี่กิตติ เรืองวิไลพร พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ สำนักงานสาธารณสุขสมุทรสาคร พี่กิตติบอกว่า ก็เข้ามาช่วยงานนี้เพราะตัวเองรับผิดชอบงานเรื่องการดูแล ระบบสุขภาพสาธารณสุขแรงงานต่างด้าวมา 15 ปีแล้วตั้งแต่ที่มาอยู่จังหวัดสมุทรสาคร พี่กิตติมีเชื้อสายกะเหรี่ยง ทำให้การสื่อสารกับกลุ่มชาติพันธ์ุ และกลุ่มแรงงานเมียนมา ทำได้คล่อง
พี่กิตติบอกว่าอุปสรรคตลอดการทำงานกับกลุ่มแรงงานข้ามชาติก็คือ เรื่องการสื่อสารที่จะทำให้เขาเข้าใจแต่ถ้าเกิดเขา เข้าใจแล้วก็จะทำให้การเข้าถึงระบบสาธารณสุขและการป้องกันโรคทำได้ดีมากขึ้น
นอกจากพี่กิตติเรายังได้มีเวลาได้พูดคุยกับด่านหน้า ตัวแทนพยาบาลที่มาอยู่โรงพยาบาลสนามตลาดกลาง กุ้งพี่หมู จากสถาบันบำราศนราดูร พี่หมูบอกว่า ถามว่ากลัวไหมที่จะเข้ามาในพื้นที่นี้ตอบตามตรงว่าก็กลัว แต่ข้อดีของที่นี่เรารู้ว่าเป้าหมายของเราคือใคร ไม่เหมือนตอนอยู่ที่สถาบัน ซึ่งเราไม่รู้ว่าใครป่วยไม่ป่วย ประกอบกับก่อนหน้านี้ เราได้มีโอกาสทดลองกันมาแล้วรอบหนึ่งครั้งนี้ถือเป็นการใช้ประสบการณ์ตรงซึ่งเรารู้วิธีการป้องกันตัวเองอยู่แล้วการเข้ามาในพื้นที่เสี่ยง เป็นบททดสอบของเรา มาประจำที่โรงพยาบาลสนามตลาดกลางกุ้ง พวกเราจัดเวรแบ่งกันมา จัดสลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามา ภาพรวมถือว่าคนที่นี่น่ารักคุยง่ายเป็นกันเอง ทุกคนให้ความร่วมมือดีมาก
เราอยู่ที่บริเวณตลาดกลางกุ้งหลายวันจนสถานการณ์ผ่อนคลาย สิ่งที่คนทำงานเล่า เราได้สัมผัสถึงความเป็นกันเองความไว้เนื้อเชื่อใจ อยู่ด้วยกันเแบบพี่แบบน้องจริงๆ เหมือนคลิปที่จะแนบให้ดูด้านล่างนี้เลย