ร่วมปกป้องสิทธิการดำรงชีวิต-วฒน.ชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอยโดยด่วน

ร่วมปกป้องสิทธิการดำรงชีวิต-วฒน.ชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอยโดยด่วน

สืบเนื่องจากจากหลักคิดที่มอง “คนไม่เท่ากับคน”นำมาสู่ปัญหาและการละเมิดสิทธิชุมชม ก่อเกิดประเด็นการไล่รื้อ กรณีอุ้มหาย การพรากวิถีชุมชนคนอยู่กับป่าและวิถีวัฒนธรรมของพวกเขาที่หายไป พี่น้องจึงต้องเดินกลับไปในพื้นที่ทำกินของบรรพบุรุษ เพียงเพื่อต้องการทำกินในวิถีวัฒนธรรมเดิม ต้องการเพียงใช้ชีวิตอยู่กับป่า แต่ครั้งนี้ยังไม่แน่ใจว่าการกลับไปของพี่น้องจะต้องพบชะตากรรมอย่างไร

กป.อพช.และ 435 เครือข่ายและบุคคลตามรายชื่อแนบท้าย ร่วมกันลงนามในแถลงการณ์ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)

รัฐและสังคมต้องร่วมปกป้องสิทธิดำรงชีพและวัฒนธรรมชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอยโดยด่วน

วันที่ 17 มกราคม พ.ศ.2564

จากข่าวชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย (ล่าง) ราว 30-40 คน ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติกระจานได้พากันเดินเท้าเข้าไปในป่าลึกใจกลางอุทยานฯ กลับสู่บ้านบางกลอยบนและใจแผ่นดินเพื่อไปทำไร่หมุนเวียนเดิมของชุมชน แท้ที่จริงแล้วพื้นที่ดังกล่าวคือถิ่นฐานบรรพชนที่ชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอยอยู่มานับร้อยกว่าปี (มีหลักฐานยืนยันซึ่งศาลปกครองได้ตัดสินใจแล้วตั้งแต่ปี 2561) แต่ถูกเจ้าหน้าที่อุทยานฯ อพยพพวกเขามาตั้งแต่ปี 2539 โดยการอ้างว่าจะจัดสรรที่ทำกินให้ หากแต่ในความเป็นจริงกลับไม่มีที่ดิน และไปซ้อนทับกับพื้นที่บ้านโป่งลึก ทำให้ขาดที่ทำกิน ชาวบ้านดำรงชีพด้วยความเดือดร้อนตลอดมา

จากคำบอกเล่าของผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านบางกลอยว่า สาเหตุการอพยพเพราะชาวบ้านกำลังอดตาย ไม่มีที่ทำกิน ไม่มีอาหาร ยิ่งในสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจโควิดที่ลูกหลานที่ทำงานในเมืองตกงานกลับบ้าน ยิ่งทำให้ชุมชนเดือดร้อนจนถึงที่สุด แม้ชาวบ้านจะตระหนักดีว่า พื้นที่บางกลอยบนและใจแผ่นดินถูกควบคุมโดยอุทยานฯ อย่างเข้มงวด แต่ชาวบ้านไม่มีทางเลือกที่จะดำรงชีวิตต่อไป จึงต้องหนีตายคืนกลับสู่บางกลอยบน แม้อาจจะต้องถูกเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ซึ่งมีความขัดแย้งกับชาวบ้านมานาน (ประกาศเขตอุทยานฯ ทับพื้นที่ชุมชน อพยพชาวบ้าน ทอดทิ้งให้อยู่โดยทำกินไม่ได้ เผาบ้าน ดำเนินคดี เป็นเหตุให้บิลลี่ ผู้นำกะเหรี่ยงเสียชีวิต ฯลฯ) ดำเนินการตามกฎหมายก็ตาม

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) และภาคีประชาสังคมต่าง ๆ (ดังรายนามแนบท้าย) มีความเป็นห่วงในสถานการณ์ดังกล่าว และมีความคิดเห็นดังนี้

1. การที่ชาวบ้านกลุ่มดังกล่าวหวนคืนสู่บางกลอยบนเพื่อไปทำไร่หมุนเวียนเดิมของชุมชน เป็นการพยายามดิ้นรนเพื่อที่จะมีชีวิตรอดในสถานการณ์วิกฤติที่ถูกรัฐทอดทิ้ง และถูกปิดล้อมอยู่ในพื้นที่อุทยานฯ การกระทำดังกล่าวเป็นสิทธิมนุษยชนของชุมชนขั้นพื้นฐานในการดำรงชีพ และยังเป็นการยืนหยัดสิทธิทางวัฒนธรรมในถิ่นฐานมาตภูมิของชุมชนซึ่งถูกรัฐละเมิดมานาน

2. เหตุการณ์ครั้งนี้รวมทั้งการใช้ความรุนแรงของรัฐที่มีต่อชุมชนตลอดมา สะท้อนถึงความล้มเหลวของรัฐในการปกป้องคุ้มครองชีวิตของประชาชน แม้พวกเขาจะอยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่รัฐประกาศทับพวกเขา แต่รัฐก็ไม่สามารถละเลยการคุ้มครองสิทธิการดำรงชีพของชุมชนได้ และไม่สามารถอ้างเหตุเรื่องการอนุรักษ์ป่ามาลิดรอนสิทธิชุมชนซึ่งกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญได้ และจากการที่รัฐใช้ความรุนแรงกับชุมชนตลอดมา ได้ทำให้ความไว้วางใจของชุมชนต่อรัฐหมดสิ้นไป จึงเป็นเหตุให้ชุมชนต้องดิ้นรนดำรงชีพโดยไม่เชื่อใจรัฐ

3. จากข้อมูลเชิงประจักษ์ เห็นได้ชัดว่า วิถีวัฒนธรรมของชุมชนไม่ว่าจะเป็นการดำรงชีพ การทำไร่หมุนเวียน (ซึ่งได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญ และจากมติคณะรัฐมนตรีฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง 3 สิงหาคม 2553) สอดคล้องและสมดุลกับระบบนิเวศธรรมชาติ เห็นได้จากชุมชนอยู่ในพื้นที่ไม่ต่ำกว่าร้อยปี แต่สภาพป่าแก่งกระจานที่ยังสมบูรณ์จนกรมอุทยานแห่งชาติเสนอให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ย่อมพิสูจน์ว่า สิทธิในวิถีประเพณีของชุมชนไม่ได้ขัดแย้งกับเป้าหมายการอนุรักษ์ป่า แต่ยังช่วยทำให้ป่าสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนั้นการละเมิดชุมชนด้วยกฎหมายอนุรักษ์ไม่เพียงแต่จะทำลายวิถีประเพณีชุมชน แต่ยังทำลายการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการป่าด้วย

กป.อพช.และภาคีจึงมีข้อเรียกร้องต่อรัฐ และสาธารณะดังต่อไปนี้

1. รัฐต้องไม่ใช้ความรุนแรงใด ๆ กับชาวบ้านที่กลับไปบางกลอยบน ไม่อ้างข้อกฎหมายใด ๆ ไปดำเนินการกับชุมชน เพราะจะยิ่งปิดหนทางที่ชุมชนกับรัฐบาลจะกลับร่วมมือกันได้

2. รัฐต้องยินยอมให้ชาวบ้านที่ยืนยันจะกลับสู่บางกลอยบนได้กลับไปทำมาหากินตามวิถีประเพณี ทำไร่หมุนเวียนของชุมชน โดยนำหลักสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ มติคณะรัฐมนตรี 3 สค.2553 มาคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิชุมชนตามวิถีประเพณีให้มีความยั่งยืน สมดุลกับธรรมชาติ และดำรงชีพทางเศรษฐกิจได้อย่างมั่นคง

3. รัฐต้องเร่งเข้าไปช่วยเหลือชุมชนบางกลอยที่กำลังเดือดร้อนในการดำรงชีพจากวิกฤติเศรษฐกิจโดยด่วน โดยมุ่งฟื้นฟูความเข้มแข็งชุมชนในการดำรงชีพ สร้างความมั่นคงอาหาร ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ จัดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ไม่ควรดำเนินการช่วยเหลือสงเคราะห์แบบฉาบฉวย เพราะไม่สามารถทำให้ชุมชนดำรงชีพอย่างมั่นคง มีศักดิ์ศรีได้

4. สาธารณชนทุกภาคส่วนที่มุ่งมั่นขับเคลื่อนประเทศให้มีเป็นประชาธิปไตยและการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นธรรม ต้องช่วยกันเรียกร้อง ตรวจสอบ กดดันให้รัฐบาลคุ้มครองสิทธิชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอยอย่างแท้จริง และเร่งระดมสนับสนุนช่วยเหลือชุมชนโดยตรง เพราะหากปราศจากแรงผลักดันสาธารณะ มีแนวโน้มที่รัฐจะละเมิดสิทธิชุมชนเช่นที่ผ่านมา

กป.อพช.และภาคีจะร่วมยืนหยัดปกป้องสิทธิชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย และชุมชนท้องถิ่นต่าง ๆ ที่ถูกละเมิดสิทธิจนถึงที่สุด ด้วยความหวังว่า หากรัฐและสังคมร่วมกันฟื้นฟูความไว้วางใจ ความร่วมมือระหว่างรัฐกับชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย ด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญโดยเร่งด่วนและเป็นรูปธรรม จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการเปลี่ยนผ่านวิกฤติความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับรัฐที่มีมาช้านาน สู่ความร่วมมือในการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นธรรมได้

รายชื่อผู้ร่วมลงนามในแถลงการณ์

  1. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)
  2. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้
  3. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ
  4. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคอีสาน
  5. เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมเขตงานตะนาวศรี
  6. กลุ่มNon-binary Thailand
  7. กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน
  8. กลุ่มเพื่อนประชาชนบนพื้นที่สูง
  9. กลุ่มยกระดับสินค้าชุมชน
  10. กลุ่มยกระดับสินค้าชุมชน
  11. กลุ่มรวมมิตรบางปะกง
  12. กลุ่มรักษ์เขาชะเมา จ.ระยอง
  13. กลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดพัทลุง
  14. กลุ่มไร้เสียง จังหวัดอุบลราชธานี
  15. กลุ่มศึกษาการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC Watch)
  16. กลุ่มสันป่าตอง-แม่วางเสวนา
  17. กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอ่างลำพอกและโบราณสถาน สุรินทร์
  18. ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม
  19. ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย(WeMove)
  20. คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35
  21. คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)
  22. เครือข่าย 304 กินได้
  23. เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม จ . แม่ฮ่องสอน
  24. เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ภาคตะวันตก
  25. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกจังหวัดฉะเชิงเทรา
  26. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้
  27. เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี
  28. เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญ
  29. เครือข่ายคนไร้บ้าน (กลุ่มโฮมเเสนสุข) จ.ขอนเเก่น
  30. เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น
  31. เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
  32. เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง
  33. เครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดชลบุรี
  34. เครือข่ายนักกฏหมายสิทธิมนุษยชนภาคใต้
  35. เครือข่ายนักสื่อสารแรงงาน
  36. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด
  37. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน
  38. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.)
  39. เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล
  40. เครือข่ายประชาชนศึกษาและติดตามปัญหาขยะ
  41. เครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดชลบุรี
  42. เครือข่ายป่าชุมชนรอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก
  43. เครือข่ายผู้หญิงอีสาน
  44. เครือข่ายเพื่อนตะวันออก วาระเปลี่ยนตะวันออก
  45. เครือข่ายเยาวชนปราจีนรักษ์บ้านเกิด
  46. เครือข่ายรักจังสตูล
  47. เครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคอีสาน
  48. เครือข่ายลุ่มน้ำปราจีนบุรี
  49. เครือข่ายสภาพลเมืองจังหวัดชลบุรี
  50. เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดชลบุรี
  51. เครือข่ายสร้างบ้านแปงเมือง จังหวัดพะเยา
  52. เครือข่ายสลัมสี่ภาค
  53. เครือข่ายเสียงเยาวชน จ.ขอนเเก่น (ขอนเเก่นโวย)
  54. เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านจังหวัดจันทบุรี
  55. เครือข่ายฮักน้ำของ
  56. โครงการอาหารปันรัก จังหวัดสงขลา
  57. ไคลแมทวอทช์ไทยแลนด์
  58. ชมรมอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  59. ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย(สร.รฟท.)
  60. มหาวิทยาลัยชาวบ้านลานหอยเสียบ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
  61. มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย )
  62. มูลนิธิข้าวขวัญ
  63. มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม
  64. มูลนิธิชุมชนเกษตรนิเวศน์
  65. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
  66. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
  67. มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ
  68. มูลนิธิพัฒนาชนกลุ่มน้อยและชาติพันธุ์
  69. มูลนิธิพัฒนาที่ยั่งยืน
  70. มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย
  71. มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
  72. มูลนิธิพัฒนาอีสาน
  73. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ
  74. มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน
  75. มูลนิธิเพื่อนหญิง
  76. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
  77. มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.)
  78. มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ
  79. มูลนิธิภาคใต้สีเขียว
  80. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
  81. มูลนิธิศูนย์ประสานงานพัฒนาสังคมจังหวัดระยอง
  82. มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม
  83. มูลนิธิส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  84. มูลนิธิอันดามัน
  85. มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
  86. รวมมิตรบางปะกง
  87. ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสระแก้ว
  88. ศูนย์ประสานงานกลุ่มเพื่อนฅนไร้บ้าน จ.ขอนเเก่น
  89. ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตย (YPD.)
  90. ศูนย์ประสานงานองค์กรชุมชนจังหวัดระยอง
  91. ศูนย์เผยแพร่และส่งเสริมงานพัฒนา (ผสพ.)
  92. ศูนย์ศึกษาและพัฒนาวนเกษตร
  93. ศูนย์สร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา
  94. สถาบันชุมชนอีสาน
  95. สถาบันพัฒนาพลังสังคม(สพส.)
  96. สถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม
  97. สถาบันสังคมประชาธิปไตย
  98. สภาพลเมืองจังหวัดสุรินทร์
  99. สมัชชาแปดริ้วเมืองยั่งยืน
  100. สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (สคส.)
  101. สมาคมเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาเทือกเขาเพชรบูรณ์(สอพ.)
  102. สมาคมเกษตรกรรมทางเลือกฉะเชิงเทรา
  103. สมาคมความมั่นคงด้านอาหารอันดามัน
  104. สมาคมเครือข่ายแรงงานนอกระบบ(ประเทศไทย)
  105. สมาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
  106. สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและสาธารณะ(สปส.)
  107. สมาคมพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา
  108. สมาคมเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาเทือกเขาเพชรบูรณ์(สอพ.)
  109. สมาคมรักษ์ทะเลไทย
  110. สมาคมส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดลำพูน
  111. สมาคมสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค
  112. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
  113. สมาคมสื่อสร้างสรรค์เพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว ภาคตะวันออก
  114. สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.)
  115. สโมสรนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  116. สหกรณ์เกษตรอินทรีย์ จำกัด จ. อุบลราชธานี
  117. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนักพัฒนา จำกัด
  118. สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้
  119. สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ
  120. สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย
  121. สหภาพแรงงานกิจการปั่น-ทอแห่งประเทศไทย(พิพัฒนสัมพันธ์)
  122. สหภาพแรงงานผู้ผลิตยางรถยนต์แห่งประเทศไทย
  123. สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมกระจกแก้วและเคมีภัณฑ์แห่งประเทศไทย G-CUT
  124. สหภาพแรงงานกิจการปั่น-ทอแห่งประเทศไทย(พิพัฒนสัมพันธ์)
  125. สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร. รฟท.)
  126. Arinchai Kongapai
  127. Chokchai Jullumjiak
  128. kob ประยูร เกษระชัย
  129. Natpicha Pumporn
  130. กฤษฎา บุญชัย สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
  131. กนกอร เรืองเวช
  132. กมลชนก ขันแก้ว
  133. กาญจนา ปัญญาพรม
  134. กำพล อาทรสุพรกุล
  135. กิตติพร บุญอ่ำ
  136. เกสร อัสนีจันทรา
  137. ไกรศักดิ์ กรกัมพล
  138. ไข่มุก อินทรวิชัย
  139. คณัฐพล สิทธิหิรัญโภคิน
  140. คณัสนันท์ มุแฮ
  141. คำใส ปัญญามี
  142. คุณ เฉลิมเกียรติ ตะดวงดี วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  143. คุณจิราวุธ สุปัญญา วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  144. คุณปิยนาถ สรรพา วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  145. คุณสุนทรี กอนไธสง
  146. คุปตภัค พันธุ์สืบ
  147. จตุรงค์ ไพรสิงห์ ประธานสหพันธ์แรงงานปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์แห่งประเทศไทย PCFT
  148. จรัญยา แดงน้อย
  149. จรัสรวี ไชยธรรม
  150. จักรี พุธสวย
  151. จารุณีย์ รักษ์สองพลู
  152. จารุวรรณ ธรรมวิทย์
  153. จำลอง รองเดช
  154. จิตลดา อินทพรม
  155. จิรญา สุอุทัย
  156. จิราภา ชาติกุลวาณิช
  157. จีรวรรณ โสดาวัฒน์
  158. จุติ รองเดช
  159. จุฬาลักษณ์ นาควัฒนเศรษฐ์
  160. เจตนา รองเดช
  161. เจนบูรณ์ ปานมุข
  162. แจ่มจันทร์ เดชคุณมาก
  163. ชนาง อำภารักษ์
  164. ชัยธวัช จอมติ
  165. ชาญยุทธ เทพา
  166. ชาตรี วาจักดี
  167. ชีราพา ฉันท
  168. ชูเวช เดชดิษฐรักษ์
  169. โชติกา โคมิน
  170. ซูรัยยา วาหะ
  171. ฌานิกา เลิศชัยวรกุล
  172. ฐาปนันท์ สุวิทยาลังการ
  173. ณฐพรรณ ศรีสกุล
  174. ณภัทรา วงษ์สงวน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  175. ณัฏฐณิชาภัทร ธรรมดี
  176. ณัฐกรณ์ พันธุ์ฉลาด
  177. ณัฐกฤตา สินบัว
  178. ณัฐชานันท์. กล้าหาญ
  179. ณัฐรัตน์ เมืองแก้ว
  180. ณัฐรี สนั่นชาติวณิช
  181. ณัฑฐวรรณ อิสระทะ
  182. ด.ญ กานพลู รักษ์สองพลู
  183. ด.ญ.ธันยพร จีนตา
  184. ด.ญ.นาริน จีนตา
  185. ด.ญ.รุ่งธิวา อินตา
  186. ด.ญ.อนุสรา มะกันถา
  187. ดร.กฤษฎิ์ กาญจนกิตติ
  188. ดร.จตุพร เทียรมา
  189. ดร.ภัทรมน สุวพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  190. ดร.ศักดิ์ณรงค์ มงคล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  191. ดร.อลิสา หะสาเมาะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  192. ดร.อันธิฌา แสงชัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  193. ดร.อาภา หวังเกียรติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  194. ดาวพระศุกร์ หลักแหลม
  195. ทัทยา อนุสสรราชกิจ
  196. ทิพย์วิมล แสงสุวรรณ
  197. ธนากร อัฏฐ์ประดิษฐ์
  198. ธนาภรณ์ กูลรัตน์
  199. ธรรมศักดิ์ จันทร์กลาง
  200. ธัญญารัตน์ ฤทธิ์รุ่ง
  201. ธานี บุญรอดเจริญ
  202. ธารา บัวคำศรี
  203. ธิวัชร์ ดำแก้ว
  204. ธีรทัศน์ กิจพรยงพันธ์
  205. น.ส.หฤทัย บัวเขียว
  206. น.ส. นิศาชล เณรจิบ
  207. น.ส. ปาลมุก ศรีวิโรจน์
  208. น.ส. พิมพ์กุมภา หนุนพงษ์
  209. น.ส.กุลยาทิพย์ ปินตา
  210. น.ส.ขวัญฤดี จีนตา
  211. น.ส.คนึงนิจ พลขยัน
  212. น.ส.จรรยา หวังประเสริฐ
  213. น.ส.จีรนันท์ มะกันถา
  214. น.ส.พานิดา พุดสวย
  215. น.ส.พิณนภา พฤกษาพรรณ (รองประธานสภา-ภาคกลาง-ตะวันออกและตะวันตก) รองประธานคณะกรรมการ มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
  216. น.ส.ภัสสรี หลักแหลม
  217. น.ส.รุ่งตะวัน ตื้อใจมา (นักเรียน)
  218. น.ส.สุธาวัลย์ บัวพันธ์ นักพัฒนาเอกชน
  219. น.ส.อรุโณทัย ศรีอำไพ
  220. น.ส.อาอีฉ๊ะ แก้วนพรัตน์ นักศึกษาคณะสื่อสารมวลชน ม.รามคำแหง
  221. นนทศักดิ์ สีสุดชา
  222. นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ประธานชมรมแพทย์ชนบท
  223. นพรัตน์ พรมเลิศ
  224. นราธิป ใจเด็จ
  225. นวพล มะโน
  226. นส.ปารมิตา สรรเพชุดาญาณ
  227. นส.อุบลวรรณ ชัยมงคล
  228. นัจนันท์ เกตุสุวรรณ
  229. นันทพร เตชะประเสริฐสกุล
  230. นางแช่ม เพ็ชรจันร์ จังหวัดตรัง
  231. นางบุญธาริกา ปินตา
  232. นางปราณี มะกันถา
  233. นางสาว ชญานิษฐ์ ศรีวิโรจน์
  234. นางสาว เมสิตา มะโน
  235. นางสาวจตุพร สุสวดโม้
  236. นางสาวญาณิศา จักรกลม
  237. นางสาวณิชารีย์ มะโน
  238. นางสาวดาวนภา วรากุลธนธร
  239. นางสาวนัฏยา จีนตา
  240. นางสาวพชิรดา บุญช่วย
  241. นางสาวพัชรินทร์ พูลเกษม ประธานสหภาพแรงงานธนาคารไทยพาณิชย์
  242. นางสาวพันธรัตน์ สุขแสน
  243. นางสาวพิราภรณ์ วิทูรัตน์
  244. นางสาวเพ็ญพิศ ชงักรัมย์
  245. นางสาวศุภัทรสร สุพร
  246. นางสาวสุจินันท์ ไพจิตรวิจารณ์
  247. นางสาวหฤทัย บัวเขียว
  248. นางสาวอภิชญาภา สุวรรณตรี
  249. นางสาวอรอุมา การีรัตน์
  250. นางสาวอริศราภรณ์ พุดสวย
  251. นางสาวอังสนา ภิรมย์ศิริพรรณ ประธานสหภาพธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้
  252. นาย ทีรวิช นพคุณ
  253. นาย ธารภัทร คงแก้ว นักศึกษา นิติศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  254. นาย พุฒิเมธ เกียรติมณีศรี
  255. นาย ยอดภู กันทะจักร์
  256. วิชยุตม์ ผดุงถิ่นเกิด
  257. สหัชชัย พันธุ์กิ่งทิพย์
  258. สุชาติ สล่าแว
  259. นาย แสงพร ยาจิ
  260. นายกร กนกคีขรินทร์
  261. นายกรปณต เจริญธนะจินดา
  262. นายกฤษฎา ธีระโกศลพงศ์ นักวิชาการอิสระ
  263. นายกฤษดา ขุนณรงค์ ทนายความ
  264. นายจิตติวัฒน์ มณฑา
  265. นายชัยวัฒน์ ท่ากั่ว
  266. นายชาญณรงค์ บุญกาญจน์
  267. นายชาญณรงค์ ย้งมูลบ
  268. นายชาตรี ปินตา
  269. นายณภัทร เวชชศาสตร์
  270. นายถาวร หลักแหลม เครือข่ายชาติพันธุ์ลำปาง
  271. นายธนกร วิลาวรรณ
  272. นายธนวัฏ ปรีชาจารย์
  273. นายธนากร เรืองศรี
  274. นายนาวิน โสภาภูมิ
  275. นายบัญชา มุแฮ
  276. นายบุญตัน พุดสวย
  277. นายปรีชา บุญช่วยชูศักดิ์
  278. นายปวิตร สิริสุนทรกุล
  279. นายปิยะพงษ์ มะกันถา
  280. นายเปรมยุพล สิริไกรพัทธ์
  281. นายพิไชย หลักแหลม
  282. “นายภัทร์ไพบูลย์ เรือนสอน
  283. ประธานวิสาหกิจชุมชน
  284. กลุ่มกาแฟอราบิก้าและหัตถกรรมดอยป่าแป๋”
  285. นายภาสกร จินตา
  286. นายภูมิภัทร ชัยยะเลิศ
  287. นายวรัญญู ศรีพิเชียรกุล
  288. นายวรุตม์ หย่องประเสริฐ
  289. นายวสันต์ หลักแหลม
  290. นายวัฒนา มะโน
  291. นายวันชัย พุทธทอง
  292. นายวิโรจน์ เทือกชัยภูมิ
  293. นายวิสุทธิ์ ทองย้อย
  294. นายไวทิต ศิริสุวรรณ ประธานเครือข่ายสหภาพแรงงานธนาคารและสถาบันการเงิน BFUN
  295. นายเศรษฐภูมิ บัวทอง
  296. นายสมบูรณ์ คำแหง นักพัฒนาเอกชน
  297. นายสันติชัย ชายเกตุ
  298. นายอนุวัฒน์ สุขใหม่
  299. นายอภินันท์ ธรรมเสนา
  300. นายอาคิม หลักแหลม
  301. นิชาต์ มูลคำ
  302. นิวภรณ์ หัวนาวิลาส
  303. นุชวรี นรังศิยา แววเกกี
  304. เนตรา รองเดช
  305. แนโพ ทองจรรยาเลิศ
  306. บุญสุข จีรเดช
  307. เบญญารัศม์ นิธิพัฒนพรชัย
  308. ปณิธี นุ้ยคร้าม
  309. ปภัสสิริย์ แก้วละเอียด
  310. ประภัสราพรรณ ธงธัชชัย
  311. ปรัชญาพร โพธิ์แก้ว ศูนย์สร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่
  312. ปราณี ศรีกำเหนิด
  313. ปลินดา ระมิงค์วงศ์
  314. ปัญญวัฒน์ สมยง
  315. ปิยาพัชร บัวชุม สมาชิกกลุ่มอาสาสมัครพื่อการพัฒนาศักยภาพสังคม(moose) จ.พะเยา
  316. ปิโยรส ปานยงค์
  317. ผกามาส คำฉ่ำ เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน
  318. ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  319. ผศ.ดร.บัณฑิต ไกรวิจิตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี
  320. ผศ.ดร.วรวิทย์ นพแก้ว
  321. ผศ.พิมพ์ณัฐชยา สัจจาศิลป์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  322. พงศกร ไชยมุติ
  323. พงศ์สุดา กาศยปนันท์
  324. พงษ์สิทธิ์ กิจถาวรรัตน์
  325. พชร คำชำนาญ
  326. พชรวรรณ ทนงคงสวัสดิ์
  327. พรชิตา ฟ้าประทานไพร
  328. พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
  329. พรเพ็ญ เธียรไพศาล
  330. พรรษสิริ กุหลาบ
  331. พริม มณีโชติ
  332. พฤ โอ่โดเชา
  333. พสธร อรัญญพงษ์ไพศาล
  334. พัชราคำ นพเคราะห์
  335. พิกุล จีนตา
  336. พิเชษฐ์ ลำใยงาม
  337. พิมพ์ชนก ไชยพันธ์
  338. พิมลพรรณ อุปการัตน์
  339. พีรพัฒน์ ขุนคงเสถียร
  340. พุฒิพงศ์ รักมาก
  341. เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง มูลนิธิบูรณะนิเวศ
  342. เพียงฤทัย พรมสุทธิ์
  343. แพรวา สุขใหม่
  344. ภัควดี วีระภาสพงษ์
  345. ภานิดา หลักแหลม
  346. มะลิวรรณ นาควิโรจน์
  347. มานพ คีรีภูวดล ส.ส.พรรคก้าวไกล สัดส่วนชาติพันธุ์
  348. มารุวรรณ หะยีดอเล๊าะ สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย
  349. ยุทธพงศ์ ราตรีทิวาทัศน์
  350. ยุพิน พุดสวย
  351. ยุวดี พุธสวย
  352. ยุวพิชญา ปทุมสูติ
  353. เย็นใจ รองเดช
  354. รวีวัสสา รัตนายน
  355. รศ.ดร. นภาพร อติ วานิชยพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  356. รัญชิดา ศรีมันตะ
  357. รุ่งโรจน์ ศรีสวัสดิ์
  358. รุ่งฤดี ทองปรีชา
  359. ลาภิศ ศรีมานนท์
  360. ลิดาพรรณ จันทร์พิมานสุข
  361. วรภัทร วีรพัฒนคุปต์ กลุ่มNon-binary Thailand/FB page “นอกกล่องเพศ:Non-binary”
  362. วรรณวิภา ภูเลื่อนลม
  363. วรสิทธิ์ พุดสวย
  364. วรา จันทร์มณี
  365. วราภรณ์ แป้นทัพ
  366. วราลักษณ์ กาพา
  367. วริศร จรญพร
  368. วโรรส มะโน
  369. วลัยพร สายเสมา
  370. วศิน พงษ์เก่า
  371. วัชระ ทิพทอง
  372. วันชัย มะโน
  373. วารุณี หลักแหลม
  374. วิเชียร อันประเสริฐ อาจารย์คณะศิปลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  375. วิทยา จีนตา
  376. วิลาวัลย์ สุขพันธ์
  377. วิศรุต เหล็มหมาด
  378. วุฒิ บุญเลิศ
  379. ศรีจันทร์ จีนตา
  380. ศรีวรรณ สันต์สกุล
  381. ศศิ กาญจนะไพโรจน์
  382. ศศิลักษณ์ ศักดิ์พุทธสกุล
  383. ศักดา พรรณ์รังษี
  384. ศิรินทร์ทิพย์ ลิ้มสวัสดิ์
  385. ศิริลักษณ์ คำสงค์
  386. ศิววงศ์ สุขทวี
  387. ศิวาพร วิทยเขตปภา
  388. ศุภชัย เจริญศักดิ์วัฒนา
  389. ส.รัตนมณี พลกล้า
  390. สมชาย บำรุงวงศ์
  391. สมบัติ หลักแหลม
  392. สมภพ ยี่จอหอ (ดอยสเตอร์)
  393. สมศักดิ์ คุ้ยเขี่ย
  394. สรินยา คำเมือง
  395. สหชาติ วงษ์กะวัน ประชาชน
  396. สัจจพร ศิริพรหมวิหาร
  397. สายพร อัสนีจันทรา
  398. สาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.)
  399. สิรินทรา เหล็กกล้า
  400. สุจินันท์ ไพจิตรวิจารณ์
  401. สุดารัตน์ บุญประเสริฐ
  402. สุนี ไชยรส
  403. สุพัฒตรา ลิมปะพันธุ์
  404. สุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง
  405. สุภัค สิ้นโศรก
  406. สุรพล สงฆ์รักษ์
  407. เสกสรร เรืองสินศักดิ์
  408. โสภิดา อ่อนน้อมดี
  409. อ. เฉลิมเกียรติ ตะดวงดี วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  410. อ.เกื้อ ฤทธิบูรณ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  411. อ.ทรงศักดิ์. ปัญญา วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน
  412. อ.ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลายครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
  413. อ.ปิยนาถ สรรพา วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  414. อ.มณฑาวดี ครุธมีชัย วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  415. อ.สุนี ไชยรส วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
  416. อ.อนุสรณ์ ศรีแก้ว วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  417. อ.อานันท์ หาญพาณิชย์พันธ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
  418. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ/นายศราวุฒิ แซ่ตั๊น ผู้ช่วยนักสันทนาการ
  419. อภิรักษ์ นันทเสรี
  420. อภิรัฐ เจะเหล่า
  421. อรจิรา กิจพูนเจริญ
  422. อรช บุญ-หลง
  423. อรญา ชาวน่าน นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  424. อริสรา ดรมาน/นิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  425. อโรชา พิพัฒน์วัชรนนท์
  426. อสมา รัศมีภาณุมาศ
  427. อัชฌา ปรีชญาวิชัยกุล
  428. อัญชลี อิสมันยี ศิลปิน
  429. อารีวัณย์ สมบุญวัฒนกุล
  430. อิชย์อาณิคม์ ชิตวิเศษ
  431. อุทุมพร ยาวิชัย / ประชาชน จ.เชียงราย
  432. เอกชัย ปิ่นแก้ว
  433. เอกพัชร เสี่ยงเทียน
  434. เอกภพ กตัญญู

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ