ชวนปรับทิศ / คิดต่อ กับ องศาเหนือในปีถัดไป

ชวนปรับทิศ / คิดต่อ กับ องศาเหนือในปีถัดไป

ย้อนทวนกันหน่อย ปีที่ผ่านมา 2563  กับภาคเหนือ ที่คนเหนือให้ความสนใจ และในปี 2564 เรื่องราวเหล่านั้นคงอยู่กับเรา และเป็นโจทย์ชวนคนเหนือได้คิดกันต่อ

เรื่องแรกไม่พูดถึงไม่ได้ คือ เรื่องของหมอกควันหรือฝุ่นควัน ที่เป็นโจท์ยาวนานกว่า 14 ปีที่คนเหนือพยายามแก้โจทย์ไม่ได้หยุดหย่อน

1. ก้าวพ้นวังวนฝุ่นควันกับTheNorthองศาเหนือ

กับชีวิตวิถีใหม่ ที่เราต้องพกหน้ากากเพื่อป้องกันทั้งการระบาดของโควิด 19 และก็ใกล้เข้ามาทุกทีที่เราจะต้องมีหน้ากากอีกชนิดคือหน้ากากกันฝุ่นแบบ N95 เพราะใกล้เข้ามาทุกทีในช่วงเดือนต้นปีไปจนถึงช่วงเดือนเมษายนที่หลายพื้นที่จะมีค่าฝุ่น PM2.5 สะสมในปริมาณที่สูง

ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562 ตลอดทั้งปี 2563 ในพื้นที่ภาคเหนือทีมสื่อพลเมืองร่วมกับติดตาม และรายงานรายงานสถานการณฝุ่นควัน อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงแรกที่จะต้องเตรียมการเข้าสู่ฤดูการฝุ่นควัน มีการออกแบบกิจกรรม รณรงค์ให้ความรู้ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องสุขภาพ โดยคนในภาคเหนือ ร่วมกับภาควิชาการ เช่นในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ในการร่วมกันสื่อสารองค์ความรู้ในการป้องกันตนเองไม่ว่าจะเป็นการทำห้องปลอดฝุ่น การประยุกต์ทำหน้ากากผ้าป้องกันฝุ่น

นอกจากนั้นภาควิชาการ ยังมีการรวบรวมองค์ความรู้ในการรายงานค่าฝุ่นควัน ด้วยเครื่องวัดฝุ่นขนาดเล็ก ที่ทางหน่วยงานทางวิชาการในพื้นที่ภาคเหนือ หลายสถาบัน ได้คิดค้นนวัตกรรมเครื่องวัดและรายงานค่าฝุ่นในอากาศแบบเรียวไทม์ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้รู้ค่าคุณภาพอากาศในพื้นที่พร้อมทั้งลุกขึ้นมาป้องกันตนเองจากมลพิษฝุ่นควัน ซึ่งมีการทำความร่วมมือกับสถาบันวิชาการรวบรวมเอาค่าการรายงานฝุ่นควันเชื่อมมาอยากแอพพลิเคชั่น C-Site

พร้อมกับหนุนเสริมให้ประชาชนในแต่ละพื้นที่ในพื้นที่ 8จังหวัดภาคเหนือตอนบน สื่อสารภาพจริงของสภาพอากาศในพื้นที่ของตนเองเทียบไปเห็นระหว่างภาพจริงกับภาพอากาศและวันและเวลานั้น

playlist รวมสถานการณ์ฝุ่นควัน https://www.facebook.com/watch/1516851828642525/1046888609068318

2.โควิด-19… เราต้องรอดด้วยกัน 

หลังจากที่ทั่วโลกต้องประสบกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 มาตั้งแต่ช่วงปลายปี2562 ดูเหมือนคำว่า New Normal จะทวีความสำคัญ ชีวิตวิถีใหม่” ซึ่งเกิดจากผลกระทบของโรคระบาด ทำให้หลายฝ่ายคาดว่า หลังจากนี้ ไม่มีทางเลยที่ชีวิตของผู้คน จะกลับมาเป็นเหมือนเดิม

ในช่วงสถานการณ์การแพ้ระบาดของไวรัสโควิด19 ในภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่น่าจะเป็นจังหวัดจะแรกของที่มีผู้ป่วยด้วยเชื้อไวรัสชนิดนี้รายแรกซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน ในช่วงสถานการณ์ดังกล่าวประชาชนในพื้นที่ต่างตื่นตัวและตระนกตกใจกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ภารกิจที่คนในพื้นที่ร่วมถึงสื่อพลเมืองร่วมทำและสื่อสารในสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ คือภารกิจการสื่อสารเพื่อการป้องกันตนเอง โดยใช้พื้นที่การสื่อสารออนไลน์อย่างเป็นหลัง โดยในช่วงแรกให้ความรู้กับคนในเรื่องของการเตรียมตัวและการป้องกันเนื่องจากในสถานการณ์นั้น

ประสานนักระบาดวิทยามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สื่อสารด้านมาตรการควบคุมการระบาดในมหาวิทยาลัย  และแนวชายแดน 

ประสานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์ศึกษาชาติพันธ์เชียงใหม่ ม.แม่ฟ้าหลวง  เครือข่ายเยาวชนนักสื่อสารเพื่อชุมชน   สื่อสารมุมมองของนักศึกษาจีนในประเทศไทย เพื่อให้เห็นสถานการณ์ในต่างจังหวัด และมุมมองให้กำลังใจ  คลิป อู่ฮั่นสู้ๆ และคลิปเสียงภาษาจีนจากนักศึกษาจีนในประเทศไทย เพื่อให้กำลังใจคนจีนและให้กำลังใจเพื่อนนักศึกษาจีน  

และนอกจากสถานการณ์โควิด19 ที่ทำให้ผู้คนตื่นกลัว กังวนแล้ว ภาคเหนือเผชิญอยู่กับอีกเรื่อง นั้นก็คือเรื่องฝุ่นควันที่จนทำให้ขณะนั้น หน้ากากอนามัยขาดแคลน ประชาชนตระหนก ความรู้ในการประยุกต์ใช้วัสดุใกล้ตัวเพื่อนำป้องกันตนเองในขณะนั้นก็ยังแพร่หลาย และยังขาดการรับรองจากผู้รู้ เช่นการทำเจลล้างมือ การทำหน้ากากด้วยผ้า ในก็ป้องกันโควิด-19และฝุ่น ก็ยังมีชุดความรู้แต่ยังไม่แพร่หลายนัก

และนอกจากสถานการณ์โควิด19 ที่ทำให้ผู้คนตื่นกลัว กังวนแล้ว ภาคเหนือเผชิญอยู่กับอีกเรื่อง นั้นก็คือเรื่องฝุ่นควันที่จนทำให้ขณะนั้น หน้ากากอนามัยขาดแคลน ประชาชนตระหนก ความรู้ในการประยุกต์ใช้วัสดุใกล้ตัวเพื่อนำป้องกันตนเองในขณะนั้นก็ยังแพร่หลาย และยังขาดการรับรองจากผู้รู้ เช่นการทำเจลล้างมือ การทำหน้ากากด้วยผ้า ในก็ป้องกันโควิด-19และฝุ่น ก็ยังมีชุดความรู้แต่ยังไม่แพร่หลายนัก

ต่อมา ทั้งสถานบันการศึกษา นักวิชาการพยายามค้นหานวัตกรรมการปรับประยุควัสดุไกลตัว เช่นการทำหน้ากากผ้า การทำเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ และพยายามสื่อสารชุดความรู้ออกมา เพื่อส่งต่อถึงคนในพื้นที่

3. พลังในการป้องกันชุมชนผ่านกลไก อสม. หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ที่ลุกขึ้นมาทำหน้าที่ช่วยบุคลากรทางการแพทย์การสอดส่องเฝ้าดูแลในระดับชุมชนหมู่บ้าน สร้างความมั่นใจให้ชาวบ้านในช่วงเวลาที่ไม่มีอะไรแน่นอนและเต็มไปด้วยความวิตกกังวล ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความรู้สึกปลอดภัยและการดูแลตนเองของชาวชุมชน ซึ่งในช่วงนั้นทีมTheNorthองศาเหนือ  ร่วมกับคนในพื้นที่ใช้พื้นที่แพลตฟอร์มออนไลน์ หลังการทำคลิป การทำ facebook live รวมถึงเชื่อมในรายการสู้ไปด้วยกัน โควิด-19 ที่เป็นการเชื่อมทุกช่องทางในการรับและส่งต่อข้อมูลให้กับคนในพื้นที่ภาคเหนือเพื่อร่วมกันสื่อสารในการป้องกันและการดูแลตนเอง

ในระยะถัดมามีการปิดประเทศหรือล็อคดาวน์ ในช่วงนั้นมีการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ร่วมสื่อสารกับภาคพลเมืองในการให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพจิตการเตรียมตัวและการป้องกันตนเองโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางในสังคมเช่นผู้สูงอายุ โดยร่วมกับคณะแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในการสื่อสารชุดความรู้เรื่องสุขภาพจิตการดูแลสุขภาพผู้สูงวัยที่ต้องอยู่ในบ้าน

การสื่อสารเพื่อให้เกิดความรู้เข้าใจการปรับตัวของภาคการเกษตรในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงนั้นเป็นช่วงฤดูกาลที่ผลผลิตทยอยออกมา ใช้พื้นที่ออนไลน์เช่น TheNorth องศาเหนือ รายการสู้ไปด้วยกันโควิด19 สื่อสารวิธีการปรับตัวของเกษตรกร ในแต่ละพื้นที่เพื่อเป็นทางออกให้แก่กัน

4. ประเด็นด้านการศึกษา

นอกจาก ‘ดิสรัปชัน’ (Disruption) ทั้งเรื่องระบบเทคโนโลยีที่ทำให้การเรียนต้องปรับตัวแล้วในปี 2563 สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ทำให้ภาคการศึกษาต้องปรับตัวด้วยเช่นกันโดยเฉพาะหลักสูตรการเรียนการสอนในทุกระดับ

TheNorthองศาเหนือ และสื่อพลเมืองในพื้นที่ภาคเหนือได้ใช้ช่องทางการสื่อสารในการขับเคลื่อนประเทศเพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนความรู้การออกแบบหลักสูตรเพื่อรองรับการปรับตัวในรูปแบบใหม่ ที่ไม่ได้มีเเต่การเรียนในห้องเรียนเท่านั้น การเรียนรู้แบบไหนที่จะสอดคล้องกับบริบทสังคมแบบใหม่และตอบสนองการใช้ชีวิตของเยาวชนในพื้นที่

5. ผลกระทบจากนโยบายของรัฐ

แน่นอนและพื้นที่ภาคเหนือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีทรัพยากรโดยเฉพาะพื้นที่ป่าไม้อยู่มากมาย ภายใต้ทรัพยากรมากมาย ยังคงมีปัญหาที่ซ่อนอยู่โดยเฉพาะเรื่องคนอยู่กับป่า การรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยใช้ทุกช่องทางการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นช่องทางออนไลน์รายการในหน้าจอหลักของไทยพีบีเอส เพื่อที่จะสะท้อนแง่มุมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายขนาดใหญ่ที่จะเกิดขึ้น

  • เช่นการประกาศเขตวัฒนธรรมพิเศษของคนกะเหรี่ยง ในหลายพื้นที่ภาคเหนือเพื่อยืนยันสิทธิ์ชาติพันธ์กะเหรี่ยง กลับพื้นที่ป่าที่เขาใช้ประโยชน์และร่วมดูแล
  • การสื่อสารเพื่อยืนยันสิทธิ์และไม่อยากให้มีการพัฒนาในพื้นที่ด้วยโครงการขาดใหญ่ เช่นโครงการผันน้ำย้วมและ โครงการเมืองแร่ถ่านหินที่อำเภออมก๋อย โดยใช้เครื่องมือนักข่าวพลเมืองให้คนในพื้นที่รายงานและสื่อสารแง่มุมบวกเพื่อให้เห็นมูลละค่าและต้นทุนหากใช้พื้นที่นั้นในการทำโครงการขนาดใหญ่
  • เป็นพื้นที่ให้นักข่าวพลเมือง สื่อสารความต้องการและข้อเรียกร้องในการคัดค้านการขอประทานบัตรที่อำเภอแม่พริกจังหวัดลำปาง
playlist นโยบายรัฐที่ลงมา ผลกระทบนโยบายรัฐ https://www.facebook.com/watch/1516851828642525/1082278592220705

ประเด็นการพัฒนาเมือง …

โจทย์สำหรับจังหวัดในภูมิภาคคือประเด็นการพัฒนาเมือง ที่ตอนนี้กำลังเป็นกระแสกลุ่มคนพยายามลุกขึ้นมาออกแบบและร่วมกันจัดการเมือง ในมิติต่างๆไม่เพียงแต่การอนุรักษ์เมืองเก่าแต่เป็นการออกแบบพื้นที่ให้สอดคล้องและตอบสนองกับทั้งธุรกิจและผู้ที่อยู่อาศัยเดิมเช่น เครือข่ายอนุรักษ์เมืองแพร่ที่ลุกขึ้นมาออกแบบและสำรวจค้นหาต้นทุนเมืองของตัวเอง

การออกแบบย่านในชุมชนเมืองเชียงใหม่รวมถึงการออกแบบทางเดินเท้าให้สามารถเดินได้เดินดีโดยร่วมกับส่วนงานพัฒนาเมืองเทศบาลนครเชียงใหม่ เครือข่ายชุมชนเมือง ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง UDDC ใช้ช่องทางการสื่อสารของภาคพลเมือง ในการเป็นพื้นที่พูดคุยและนำเสนอข้อดีและความเป็นไปของการออกแบบเมืองให้เดินได้เดินดีว่าจะเกิดผลดีอะไรขึ้นกับคนในพื้นที่ โดยในกระบวนการสื่อสารเน้นการทำความเข้าใจและการที่ในการแบบต่อยอดเมืองของตัวเองเพื่อตอบสนองผู้ที่จะทำธุรกิจและคนที่อยู่อาศัย

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ