ระหว่างวันที่ 1-2 ธ.ค. 2563 ชาวบ้านใน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขงและลำน้ำสาขาในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน จากจังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหารและอุบลราชธานี เดินทางมารวมตัวกันที่อ.เชียงของ จ.เชียงราย เพื่อแลกเปลี่ยนสถานการณ์ของแม่น้ำโขงในปัจจุบันและหารือจัดตั้ง “สภาประชาชนลุ่มน้ำโขง” เพื่อยกระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติแม่น้ำโขงทุกภาคส่วน นโยบายและกฎหมายในการปกป้องรักษาแม่น้ำโขงร่วมกันโดยเชื่อมโยงภาคีนักวิชาการ องค์กรเอกชนภาคประชาสังคม พร้อมทั้งภาครัฐและองค์การระหว่างประเทศ เพื่อยกระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติแม่น้ำโขงทุกภาคส่วน นโยบายและกฎหมายในการปกป้องรักษาแม่น้ำโขงร่วมกันกับภาคประชาชน
สำหรับการประชุมในภาคเช้าเครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขง 8 จังหวัดและองค์กรภาคีพูดคุยถึงสถานการณ์ การเคลื่อนไหวทางด้านกฎหมาย การรณรงค์ที่ผ่านมา ในลักษณะของการแลกเปลี่ยนกันภายในเครือข่าย สำหรับสถานการณ์ของแม่น้ำโขงสามารถ อ่านได้จากเอกสาร
ต่อมาในช่วงบ่ายที่ประชุมได้ระดมความเห็นของประชาชนคนลุ่มน้ำโขง เพื่อออกแบบสภาประชาชนลุ่มน้ำโขงด้วยกัน โดยในเบื้องต้นสามารถประมวลข้อเสนอของผู้เข้าร่วมประชุม ดังนี้ อยากเห็นแม่น้ำโขงหรือแม่น้ำสาขา คงสภาพความสมบูรณ์ รักษาระบบนิเวศน์ และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนมีการจัดการอย่างเป็นระบบ โดยภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีพื้นที่เจรจาสื่อสารการจัดการน้ำร่วมกัน เพื่อร่วมกันฟื้นฟูการจัดการน้ำตามวิถีวัฒนธรรม (เหมือง – ฝาย – ต้นน้ำ ผีขุนน้ำ)
ขณะที่สภาประชาชนลุ่มน้ำโขงต้องประกอบด้วยอำนาจ มีศักยภาพ และมีพลังในการเจรจา/ต่อรองมีส่วนร่วมในการคิด/จัดการน้ำโขงและลำน้ำสาขามีช่องทางการสื่อสาร ความมี/เป็นตัวตนของคนในแม่น้ำ โดยประชาชน (มีส่วนร่วม) เพื่อประชาชน (เพื่อประโยชน์/ตอบสนองกับชีวิตของประชาชน)
สำหรับเป้าหมายของสภาประชาชนลุ่มน้ำโขง เพื่อการต่อสู้ ปกป้องแม่น้ำและฐานชีวิตผู้คน สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ดูแลผลประโยชน์ของชุมชน และเป็นองค์กรที่พร้อมจะสนับสนุน ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา ด้านสิ่งแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องเครือข่าย เป็นองค์กรที่เชื่อมโยง ขยายเครือข่ายผู้มีส่วนร่วมในการดูแล จัดการ รับผิดชอบ ใช้ประโยชน์ “โดยประชาชน เพื่อประชาชน”
อนึ่ง ในวันที่สองของประชุม (2 ธ.ค.63) จะมีเวทีเสวนาที่น่าสนใจในสองหัวข้อ ได้แก่ เวทีเสียงของชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งเวทีช่วงสามารถติดตามรับชมการถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กจาก เพจนักข่าวพลเมือง เพจThe Northองศาเหนือ เพจอยู่ดีมีแฮง หรือติดตามอ่านสรุปสาระสำคัญและเนื้อหาต่าง ๆ ที่น่าสนใจได้ทางเว็บไซต์ thecitizen.plus