นักข่าวพลเมือง ตอน ขนข้าวดอย…ช่วยกระเหรี่ยงแก่งกระจาน ชินนี้เผยแพร่ไปเมื่อ 13 มกราคม พ.ศ. 2555
เป็นภาพเหตุการณ์ที่ กลุ่มกระเหรี่ยงภาคเหนือที่เดินทางม
ขนข้าวอีกครั้งช่วยกะเหรี่ยงบางกลอย
กระสอบข้าวจากสารทิศเพื่อเดินทางไปปลอบขวัญพี่น้องที่แก่งกระจาน ภาพโดย Oshi Jowalu
วันเสาร์ที่ 25 ม.ค. นี้ ที่จ.แม่ฮ่องสอน ตัวแทนเครือข่ายกะเหรี่ยงภาคเหนือ จะเดินทางไปรับข้าวดอยคนละกระสอบสองกระสอบ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องกะเหรี่ยงบางกลอย จ.เพชรบุรี พี่น้องร่วมชาติพันธุ์
ข้าวจากแม่ฮ่องสอน จะถูกขนมารวมกันที่เชียงใหม่กับข้าวดอยที่พี่น้องกะเหรี่ยงทั่วภาคเหนือช่วยกันปันมาคนละถังสองถัง รวมกันได้มากกว่า 12 ตันแล้ว เหลือเพียงแค่ค่าน้ำมันที่จะใช้ขนข้าวเหล่านี้ไปให้พี่น้องกะเหรี่ยงบางกลอยเท่านั้น ซึ่งพวกเขา เครือข่ายกะเหรี่ยงภาคเหนือกำลังคิดหาวิธีอยู่ว่าจะช่วยกันระดมความช่วยเหลือนี้อย่างไรบ้าง
ทำไมต้องช่วยเหลือกะเหรี่ยงบางกลอย ?
ชาวกะเหรี่ยงบ้านโป่งลึก-บางกลอย อาศัยอยู่บริเวณป่าแก่งกระจานบริเวณลำห้วยของลุ่มน้ำเพชรบุรี และลุ่มน้ำบางกลอย จนกระทั่งในปีพ.ศ.2524 กรมป่าไม้ได้ประกาศพื้นที่นี้เป็นอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานครอบคลุมเนื้อที่ 1,821,687.84 ไร่ ซึ่งเป็นอุทยานที่มีพื้นที่มากที่สุดของประเทศไทย ผลจากการประกาศดังกล่าวนี้ ทำให้ในปีพ.ศ.2539 ได้มีโครงการอพยพ ผลักดันให้ชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่บริเวณใจแผ่นดิน-พุระกำ มาอยู่อาศัยบริเวณบ้านบางกลอยหมู่ 1 และบ้านโป่งลึกหมู่ 2 จำนวน ๑๙๒ หลังคาเรือน ประชากร ๑,๐๔๘ คน โดยราชการระบุว่าได้จัดหาที่ดินทำกินพร้อมที่อยู่อาศัยให้แก่ชาวกะเหรี่ยง แต่ในสถานการณ์จริงพบว่า ที่ดินที่ราชการให้นั้นมีผู้อื่นทำกินอยู่แล้ว หรือไม่ก็ที่ดินเหล่านั้นไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก จึงเป็นเหตุให้ชาวกะเหรี่ยงเหล่านี้อพยพกลับไปอยู่ในบริเวณเดิมที่ตนเองเคยอาศัย
ต่อมาอีก 10 ปี รัฐบาลไทยมีโครงการลาดตระเวนเชิงรุก และขับไล่ชาวบ้านอีกครั้ง หากจะยังพอนึกถึงข่าวกลางเดือนกรกฎาคม 2554 เกิดอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกติดต่อกันถึง 3 ลำ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 17 ศพ ในระหว่างที่เจ้าหน้าที่จากกรมอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน สนธิกำลังร่วมกับหน่วยเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ กองกำลังสุรสีห์ จ.กาญจนบุรี เข้าผลักดันชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ที่บ้านบางกลอยบน บริเวณต้นน้ำห้วยใหญ่ ห่างจากบ้านบางกลอย-โป่งลึก ระยะทางเดินเท้าร่วม 2 วัน
การผลักดันชาวกะเหรี่ยงในครั้งนั้น มีการเผาทำลายยุ้งข้าวที่เก็บข้าวเปลือกร่วม 400 ถัง เผาข้าวฟ่าง ข้าวโพด ยาสูบ พริกและงา ซึ่งเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ชาวกะเหรี่ยงเก็บไว้ปลูกในฤดูฝน และยังผลักดันให้ชาวกะเหรี่ยงย้ายลงมาอยู่ที่บ้านบางกลอย อีกหลายคนก็ถูกจับกุมว่าเป็นพวกบุกรุก ทำไร่เลื่อนลอย ทำลายผืนป่าต้นน้ำ เป็นสาเหตุให้ป่าแห้งแล้งและเกิดไฟไหม้ป่า อีกหลายคนก็ถูกกล่าวหาว่าครอบครองอาวุธ ทั้งที่ชาวกะเหรี่ยงเหล่านี้ต่างอาศัยอยู่ในพื้นที่มานานนับร้อยปี มีทะเบียนราษฎรชาวเขาถูกต้อง และยังถูกกล่าวหาว่า ชาวกะเหรี่ยงเหล่านี้ว่าเป็นชนกลุ่มน้อยไม่ใช่คนไทย
ผลจากปฏิบัติการดังกล่าว ทำให้ชาวกะเหรี่ยงโป่งลึก-บางกลอยต้องประสบกับความยากลำบากในการดำเนินชีวิต ไม่มีข้าว และอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการ ด้วยเหตุนี้ทางกลุ่มกะเหรี่ยงภาคเหนือ ได้ระดมข้าวสาร อาหารแห้ง เสื้อผ้า เพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกในการดำรงชีพโดยการรับบริจาคข้าวเปลือกและข้าวสารจากชาวกะเหรี่ยงภาคเหนือได้จำนวนทั้งสิ้น 2,293 ถัง หรือ ประมาณ 30 ตัน และมีหน่วยงานที่เข้าไปทำงานช่วยเหลือด้านการทำกิน เช่นมูลนิธิปิดทองหลังพระ ที่เข้าไปพัฒนาเรื่องระบบน้ำ ให้เพียงพอต่อการทำการเกษตร และปรับที่ทำเป็นนา แต่ปัญหาคือ น้ำไม่เพียงพอ และพื้นที่ไมเพียงพอต่อการทำการเกษตร
ปีนี้ จึงเป็นอีกครั้ง ที่กลุ่มเพื่อนกะเหรี่ยงในภาคเหนือ ได้จัดการระดมข้าวจากพื้นที่ภาคเหนือ ช่วยเหลือพี่น้องที่บางกลอย โดยกำหนดจะลงพื้นที่ในวันที่ 7 ก.พ.2557 นี้ แต่ยังคงไม่มีค่าใช้จ่ายเรื่องน้ำมันในการขนข้าวจำนวนมากไป ซึ่งเครือข่ายกระเหรี่ยงภาคเหนืออยู่ระหว่างหาทางออกในการทำกิจกรรมครั้งนี้ให้บรรลุผลต่อไป จึงขอเชิญชวนกัลยาณมิตรทั้งหลาย