ตัวเลขปัจจุบันระบุบว่ามีจำนวนผู้ไร้สถานะอาศัยอยู่ในประเทศไทยราว 479,943 กว่าคนซึ่งจำนวนคนไร้สถานะเหล่านี้ต่างก็ล้วนแต่เป็นบุคคลที่ไม่ได้รับสิทธิเหมือนกับบุคคลที่มีสถานะตัวตนในสังคมไทย ซึ่งประเด็นนี้ยังเป็นสิ่งที่ภาครัฐต้องเร่งดำเนินการแก้ไข และปัญหานี้ยังได้สะท้อนถึงความเหลือมล้ำในสังคมไทย
แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ผลกระทบต่อผู้ที่มีสถานะไร้ตัวตนมากที่สุดในสังคมไทย วันนี้พวกเขาเหล่านี้จะบอกเล่าเรื่องราวถึงปัญหาที่พวกเขาต้องพบเจอในการเป็นบุคคลไร้สถานะในสังคมไทย
“ผมคิดว่าผมเสียโอกาสอย่างมากในการที่ไม่ได้รับสิทธิเหมือนคนที่มีสถานะทางสังคมและเป็นสิ่งสะท้อนถึงความไม่เป็นธรรมในสังคม ในฐานะที่เกิดมาเป็นคนที่ไร้สถานะนั้นเราต้องสู้มากกว่าคนอื่น นี่คือเสียงจากเยาวชนชาติพันธุ์ที่เกิดมาไร้สถานะในสังคมไทย หวังว่าเสียงของพวกเราจะสะท้อนถึงปัญหาสังคมไทยกับสิทธิทางสังคมที่ภาครัฐในสังคมไทยควรเร่งแก้ไข”
นายชัยชนะ เยาวชนชาติพันธุ์ปาเกอญอ
“ถึงเจ้าหน้าที่รัฐว่า ควรออกนโยบายใหม่แก่บุคคลที่ไร้สถานะ ให้พวกเขาได้มีโอกาส มีสิทธิเข้าถึงการได้รับบริการต่าง ๆ จากภาครัฐที่เท่าเทียมเหมือนบุคคลที่มีสถานะในสังคม”
ดิฉันก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่มีสัญชาติไทยและเป็นบุคคลที่ไร้สถานะ ซึ่งปัญหาที่ดิฉันได้พบเจอนั้นคือ เวลาที่ต้องการจะออกจากพื้นที่เขตจังหวัดที่อาศัยอยู่ ฉันต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ทางอำเภอและการเดินทางข้ามจังหวัดนั้นมีเวลาจำกัดในการค้างคืนนอกพื้นที่ หรือแม้กระทั่งการศึกษาจากรัฐบาลเราก็ไม่มีสิทธิรับในส่วนนี้เช่นกัน นางสาว หมีแชะต้องการส่งข้อมูลนี้ถึงเจ้าหน้าที่รัฐว่า ควรออกนโยบายใหม่แก่บุคคลที่ไร้สถานะ ให้พวกเขาและมีสิทธิ์ที่เข้าจะถึงการได้รับบริการต่าง ๆ จากภาครัฐเหมือนบุคคลที่มีสถานะในสังคม
นางสาวหมีแชะ หมื่นโป๊ะ เยาวชนชาติพันธ์ุอาข่า
ครอบครัวของดิฉันอพยพมาจากประเทศเมียนมาแต่ดิฉันเกิดที่ประเทศไทยตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ระดับอุดมศึกษา ในจังหวัดเชียงราย ดิฉันเป็นบุคคลที่เกิดมาไร้สถานะทางสังคมและไม่ถือสัญชาติไทย ดิฉันคิดว่าการที่เกิดมาไม่มีสัญชาติไทยนั้นทำให้ดิฉันมีข้อจำกัดในเรื่องการศึกษา ยกตัวอย่าง ดิฉันอยากเรียนในสาขาวิชาที่ฉันใฝ่ฝันอยากเรียน แต่ดิฉันไม่สามารถเลือกเรียนสาขาวิชานั้นได้ เพราะว่าดิฉันเป็นบุคคลที่ไม่มีสถานะบุคคลในสังคม
รู้สึกเสียใจคะ เพราะเป็นเหมือนกับว่า การเกิดไร้สถานะทางสังคมนั้นมีข้อจำกัดมากมาย ถึงแม้ว่าในกฎหมายระบุบว่า หากสามารถเรียนจบระดับอุดมศึกษาได้ เราสามารถขอสัญชาติได้ตามกฎหมาย แต่ในทางปฏิบัตินั้น สิ่งที่กฎหมายรับรองนั้นก็ไม่สามารถการันตีว่า ดิฉันจะได้รับสัญชาติ
นางสาวหมีตี๊ ( พิมพ์ ) เยาวชนชาติพันธ์ุอาข่า
ปัญหาที่ดิฉันพบเจอมากที่สุดคือ เวลาไปโรงพยาบาล ในฐานะที่ดิฉันเป็นบุคคลไร้สถานะ การได้รับการบริการจากโรงพยาบาลนั้น จะต่างออกไปจากบุคคลที่มีฐานะทางสังคม ดิฉันต้องเสียค่าบริการมากกว่าคนอื่น และไม่ได้รับสวัสดิการใดๆจากภาครัฐ ยกตัวอย่างเช่น สิทธิ์การได้รับบริการบัตรทอง ดิฉันจะไม่ได้รับในส่วนนี้และต้องเสียค่าใช้จ่ายเต็มอัตราส่วน
นางสาวบู๋เซอะ ( ฟ้า ) เยาวชนชาติพันธ์ุอาข่า
“นี่คือเสียงจากเยาวชนชาติพันธุ์ที่เกิดมาไร้สถานะในสังคมไทย หวังว่าเสียงของเขาเหล่านี้จะสะท้อนถึงปัญหาสังคมไทยกับสิทธิ์ทางสังคมที่ภาครัฐในสังคมไทยควรเร่งแก้ไข”