การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ภาคเหนือ

การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ภาคเหนือ

 

การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ภาคเหนือ

          ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา(CESD) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรม Cross Cultural Foundation จัดประชุมหารือ เรื่อง การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ภาคเหนือ ในวันที่ 3-4 เมษายน  พ.ศ.2557 ณ ห้องประชุม ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
            ในช่วงแรกของการประชุมได้นำเสนอโครงการการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองทางกฎหมายชองมูลนิธิผสานวัฒนธรรม โดยคุณพรเพ็ญ คงขจรเกียรติผู้อำนวยการมูลนิธิฯ ได้ให้ข้อมูลว่าปัจจุบันประเทศไทยมีอุปสรรคปัญหามากมายเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาคและการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มคนชายขอบ อย่างเช่น กลุ่มคนไร้รัฐไร้สัญชาติ กลุ่มชนเผ่า กลุ่มผู้ติดเชื้อ กลุ่มผู้ติดยาเสพติด ตลอดจนกลุ่มผู้ด้อยโอกาสอื่นๆ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคเหนือและจังหวัดชายแดนภาคใต้  ซึ่งในเขตพื้นที่ของภาคเหนือมีความแตกต่างกับพื้นที่ภาคใต้จึงมีการขอความร่วมมือจากหลายองค์กรในการช่วยเหลือให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง ส่วนในเขตชายแดนใต้มีการบังคับใช้กฎหมายพิเศษ ได้แก่ พระราชบัญญัติอัยการศึก พ.ศ. 2547 โดยกฎหมายเหล่านี้ได้เพิ่มอำนาจให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นอย่างมาก  ดังนั้นในการประชุมหารือครั้งนี้เพื่อต้องการช่วยเหลือสิทธิและสร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับกฎหมายเพื่อให้ชาวบ้านได้เข้าใจถึงสิทธิของตัวเอง  และผลักดันเพื่อแก้ไขปัญหาตั้งแต่ระดับนโยบายของรัฐลงมาถึงระดับปฏิบัติการในพื้นที่

            เนื่องจากปัญหาของกลุ่มคนชายขอบส่วนใหญ่เกี่ยวกับการไม่เข้าใจของสิทธิของตัวเอง  องค์กรเครือข่ายที่เกี่ยวข้องจึงมีการนำกฎหมายเข้าไปช่วยเหลือประชาชน โดยนายสมชาย หอมลออ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย Law Reform Commission of Thailand กล่าวว่า จากการทำงานร่วมกันกับชาวบ้านภาคใต้คิดว่ากฎหมายสามารถนำมาใช้ได้  เพราะภาคใต้มีจำนวนคนบังคับให้หายเป็นจำนวนมาก ส่วนภาคเหนือมีมากในช่วงปราบปรามยาเสพติดอย่างเข้มข้น ซึ่งบางรายเจ้าหน้าที่บอกว่าได้ปล่อยตัวไปแล้ว แต่ญาติยืนยันว่ายังไม่มีการติดต่อหรือกลับบ้านแต่อย่างใด ทำให้ศาลมีการป้องกันโดยหากจะมีการปล่อยตัวผู้ต้องหาให้มาปล่อยที่ศาลเป็นต้น  จากนั้นนายสมชายยังกล่าวต่ออีกว่าการส่งเสริมปกป้องสิทธิมนุษยชนเป็นหน้าที่ของรัฐไม่ใช่หน้าที่ขององค์กรอิสระ หรือ NGOs  ดังนั้นต้องบังคับให้รัฐทำหน้าที่ตรงไปตรงมา

            ปัจจุบันปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ภาคเหนือมีจำนวนมาก จากการให้ข้อมูลขององค์กรเครือข่ายภาคเหนือที่ทำงานช่วยเหลือในด้านสิทธิมนุษยชน อาทิเช่น คนภาคเหนือตอนบนจำนวนมากตกเป็นผู้ต้องหาและการเข้าใจผิดว่าหากยอมสารภาพจะทำให้คดีจบไว นอกจากนั้นเวลาโดนเจ้าที่หน้าที่จับกุมไม่สามารถอ่านบันทึกการจับกุมได้ เนื่องจากอ่านหนังสือไม่ออก, กลุ่มชาติพันธุ์ประสบปัญหาการเข้าถึงกฎหมาย ,แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ไม่สามารถสื่อสารกับหน่วยงานได้, ชนเผ่าในพื้นที่สูงไม่มีสิทธิ์เรียกร้องสิทธิของตัวเอง และการฆ่ากันเป็นเรื่องธรรมดาของคนชนเผ่า ,ปัญหาการขาดสถานะบุคคลที่ส่งผลทำให้ไม่ได้รับสิทธิการรักษาสุขภาพ การศึกษา ลิทธิอื่นๆที่พึงมี เป็นต้น

            ดังนั้น เมื่อทราบถึงปัญหาจากองค์กรที่ทำงานร่วมกับชุมชน จึงมีการกำหนดแนวทางแก้ไขเพื่อให้ความช่วยเหลือสำหรับชุมชนชายขอบในพื้นที่ชายแดนภาคเหนือและชายแดนภาคใต้ โดยในวันที่ 4 เมษายนนี้ จะมีการกำหนดแผนงาน “โครงการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมสำหรับชุมชนชายขอบในพื้นที่ชายแดนภาคเหนือ   ้

 

            

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ