MRC เรียกร้องจีน-เมียนมาร์ เปิดข้อมูลกิจกรรมบนลำน้ำโขง เพื่อการจัดการร่วม

MRC เรียกร้องจีน-เมียนมาร์ เปิดข้อมูลกิจกรรมบนลำน้ำโขง เพื่อการจัดการร่วม

“ความร่วมมือกันของประเทศที่อยู่ตอนบนของแม่น้ำโขง ได้แก่ ประเทศจีนและเมียนมาร์ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวิเคราะห์ผลอย่างสมบูรณ์ ถึงปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนบน หรือลุ่มน้ำล้านช้าง การแบ่งปันข้อมูลสารสนเทศระหว่างกันของทั้ง 6 ประเทศนี้ มีจำเป็นต่อคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง สำหรับการทำความเข้าใจกับสาเหตุของการลดลงของระดับน้ำและให้ประเทศต่าง ๆ ได้หาทางเลือกในการเผชิญหน้ากับผลกระทบและแสวงหาทางเลือก”

ถ้อยคำเรียกหาความร่วมมือนี้ เผยแพร่ในรายงานฉบับเดือนสิงหาคม 2563 ผ่านเว็บไซต์​ ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission – MRC) ซึ่งมีภารกิจส่งเสริม และประสานงานด้านการจัดการและการพัฒนาแหล่งน้ำ และทรัพยากรอันเกี่ยวเนื่องอื่น ๆ แบบยั่งยืน เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน

รายงานฉบับล่าสุดในเดือนสิงหาคม 2563 นี้ยังระบุการวิเคราะห์ระดับน้ำโขงในชั้นต้นโดยเปรียบเทียบระหว่างเดือนมกราคม – กรกฎาคม ปี 2563 กับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2562 และปี 2561 ซึ่งถือว่าเป็นปีที่แล้ง และถือว่าเป็นปีที่ระดับน้ำโขงปกติ ตามลำดับ รายงานระบุว่าจากการติดตามปริมาณฝนและสภาพภูมิอากาศพบว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2563 นี้เลวร้ายกว่าปี 2562 กล่าวคือ พื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่างประสบกับการลดลงของระดับน้ำทั้งที่อยู่ในช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นผลจากการลดลงของปริมาณฝนจากฤดูมรสุมที่ล่าช้า จากข้อมูลยังชี้ให้เห็นว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่าปกติส่งผลให้ผลมีปริมาณน้อยลงในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน ปริมาณน้ำที่ลดลงอาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกับทุกประเทศ ประเทศกัมพูชาอาจเจอกับสูญหายของพันธุ์ปลาและศักยภาพของการจัดการน้ำ ประเทศเวียดนามอาจประสบกับผลผลิตข้าวในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ผลิตผลทางการเกษตรในประเทศลาวและประเทศไทยต่างได้รับผลกระทบเช่นกัน

อ่านรายงานฉบับเต็ม (ภาษาอังกฤษ) Mekong countries urged to address low water flows: Mekong River Commission หรือติดตามระดับน้ำขึ้นลงได้ที่ Near Real-time Hydrometeorological Monitoring

รายงานฉบับดังกล่าวสอดคล้องกับการรายงานระดับน้ำของ C-site report ตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจะพบว่าระดับน้ำโขงขึ้น – ลงที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เครือข่ายภาคประชาชนมีการติดตาม เฝ้าระวังระดับน้ำโขงมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจาก จ.เชียงราย ปักหมุดรายงานจุดวัดสำคัญ 2 จุดคือ อ.เชียงแสน โดยพระอธิการอภิชาติ ศรีพุ่ม และ อ.เชียงของโดยคุณพิศณุกรณ์ ดีแก้ว ผู้ประสานงานกลุ่มรักษ์เชียงของ มองว่าระดับน้ำโขงมีผลกับระบบนิเวศ ยิ่งช่วงหน้าฝนแบบนี้ก็เป็นช่วงสำคัญของฤดูที่ปลาจะวางไข่ พอระดับน้ำต่ำกว่าปกติ ปลาที่เคยวางไข่ตามต้นไม้ใบหญ้าก็จะได้รับผลกระทบรวมถึงระบบนิเวศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

C-site report ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจะพบว่าระดับน้ำโขงขึ้น – ลงที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เครือข่ายภาคประชาชนมีการติดตาม…

โพสต์โดย นักข่าวพลเมือง (ThaiPBS) เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม 2020

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ