สองแผ่นดินหัวใจเราเดียวกัน

สองแผ่นดินหัวใจเราเดียวกัน

ตรงเส้นขอบฟ้าสีคราม
ความหวังยังนำทางฉันใช่หรือไม่ (ให้อุปสรรคเปลี่ยนผันเป็นพลัง)
คำตอบอยู่กลางคลื่นลม
ชีวิตแม้ต้องล่มลงตรงไหน
แต่ฉันก็ยังยืนยันที่จะไป 

” เรือเล็กควรออกจากฝั่ง Bodyslam “

ที่นี้คือแม่น้ำสาละวิน คือจุดเริ่มต้นของเรื่องราวคนสองแผ่นดินที่ได้มาเจอกัน และได้เกิดเรื่อง

ราวของ มิตรภาพ การเดินทาง งานชายขอบ ความรัก ความผิดหวัง รอยยิ้ม ความเศร้า ความสุข

ชีวิตผู้พลัดถิ่น การจากลา คำสัญญาและการช่วยเหลือ

ปี 2017 ในวันที่ 8 เดือนภุมภาพันธ์ เป็นปีที่นักศึกษาหนุ่ม คนหนึ่งชื่อก๊ะเลอะ หนุ่มชาติพันธ์ุกะเหรี่ยงจากแม่ฮ่องสอน ถูกส่งไปยังค่ายผู้พลัดถิ่น โดยหน้าที่ของเขาที่ได้รับมอบหมายนั้น คือ การสอนภาษาไทยให้แก่เด็กในค่ายผู้พลัดถิ่นในรัฐกะเหรี่ยง ประเทศเมียนมาร์ และนี้แหละคือจุดเริ่มต้นของเรื่องราว

สองแผ่นดินหัวใจเดียวกัน

เมื่อมาถึงค่ายผู้พลัดถิ่น ต้องบอกว่าตกใจมากและอุทานขึ้นในใจว่า “โอ้พระเจ้านี้ฉันกำลังมาทำอะไรที่นี่ นี้เหรอบ้านที่ฉันต้องนอน และต้องอาศัยอยู่กับคนที่ฉันไม่รู้จักเนี้ยนะ โอ้ยให้ตายสิ “

พอมาถึงก็ได้บ้านหลังนี้เป็นที่พัก

นี้นะทุกคนที่นอนของเราสะบายไหมละ

เช้าวันใหม่ที่ไม่ได้กดโทรศัพท์ ไม่ได้นอนดู YouTube ไม่ได้เตะฟุตบอล ไม่ได้โทรหาแม่และพ่อ เหมือนกำลังฝันไปว่าตัวเองกำลังหลงทาง(หัวเราะ) ตื่นเช้าขึ้นมาในวันที่ 9 ภุมภาพันธ์ ในค่ายผู้พลัดถิ่นยังมีรู้สึกแปลกๆ กับตัวเอง และพูดกับตัวเอง”ตกลงมันเป็นความจริงใช่ไหมเนี้ย (หัวเราะ) ฉันต้องมาเป็นครูอาสาจริงๆเหรอ

1. ยินดีต้อนรับสู่โรงเรียนอิตุท่านะครับผม

ขอต้อนรับท่านผู้มีเกียรติทุกท่านเข้าสู่โรงเรียนอิตุท่านะครับ และผมต้องอุทานแก่ตัวเองว่า “โอ้ ฉันจะได้เป็นครูแล้วเหรอเนี้ย จะมีลูกศิษย์แล้วเหรอเนี้ย (หัวเราะ)” ณ โรงเรียนแห่งนี้ละที่ชื่อของคุณครู ก๊ะเลอะ ได้ดังกระฉ่อนทั่วล้าอาณาจักรในโรงเรียนและในค่ายผู้พลัดถิ่น

ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่ชีวิตการเป็นครูอาสาสมัครตลอดสองเดือน ผมขอนำเสนอบรรยากาศของโรงเรียนและการเรียนของนักเรียนที่นี้นะครับ พร้อมแล้วลุยกันเลย

2.สู่การเป็นครูอาสาเพื่อเด็กชายขอบ

ต้องบอกว่าวันแรกของการสอนของผม ค่อนข้างยากพอสมควรเพราะเด็กนักเรียนไม่สามารถพูดภาษาไทยได้เลย บางครั้งต้องใช้ภาษาอังกฤษและภาษากะเหรี่ยงในการแปลเพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าใจภาษาไทยมากขึ้น

วันหนึ่งสอนประมาณ 4 คาบเรียนตกเย็นมาต้องสอนพิเศษอีกรอบ เอ้ยเหนื่อยแท้เราชีวิตครูอาสา

แต่ชีวิตอาสาสมัครครูชายขอบของผมไม่ได้มีแค่สอนในโรงเรียนนะครับทุกคน

ผมใช้เวลากับการสอนเด็กนักเรียนประมาณ 1 เดือนในค่ายผู้พลัดถิ่นในช่วงเดือนภุมภาพันธ์ ปี 2017 หลังจากเข้าเดือนมีนาคม ปี 2017 ผมได้รับมอบหมายหน้าที่อีกอย่างหนึ่งให้สำรวจ ชีวิตของคนในรัฐกะเหรี่ยงที่ไม่ได้อยู่ได้ค่ายผู้พลัดถิ่น ปฐมบทของจากผจญภัยเริ่มต้นอีกแล้วเรา

ชาวบ้านที่นำทางผมไปยังนอกเขตพื้นที่ค่ายผู้พลัดถิ่นกล่าวกับผมว่า ณ ภูเขาที่เรามองนั้นเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในบริเวณนี้และมีน้ำตกด้วย แต่น่าเสียดายที่ไม่มีโอกาศไป

ชีวิตนอกค่ายผู้พลัดถิ่น หมู่บ้านที่ผมนอนพักค้างคืนชื่อว่า “พอนามูลู่

“เดียวๆนะครับทุกคนภาพที่ผมถ่ายกับคนเหล่านี้ไม่ใช่ชาวบ้านนะครับ แต่พวกเขาเป็นหน่วยแพทย์สนามที่เคยผ่านการทำงานในเขตสงครามมาก่อน เก่งไหมล่ะ

3.งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา

ตลอดเวลาระยะเวลา 2 เดือนในฐานะครูอาสาสมัครสำหรับเด็กชายขอบในค่ายผู้พลัดถิ่นของผมก็จบลง เวลาเหมือนลมที่พัดมาและไม่หวงกลับคืนมา ณ ที่แห่งนี้ที่ทำให้ผมได้รู้จักคำว่า คุณค่าของชีวิต มิตรภาพ ผมได้สัมผัสถึงเสียงแห่งความสุข เสียงหัวเราะทั่งกลางสงครามและทั่งกลางพี่น้องผู้พลัดถิ่น ก่อนที่ผมจะจากพวกเขาไปผมได้ให้คำมั่นสัญญากับพวกเขาว่า

ไม่ว่าวันใดก็ตามจงมองไปที่แม่น้ำสาละวินซึ่งเป็นเส้นแบ่งพรมแดนที่กั้นเราไว้ จงมองไปตรงนั้นแล้วสักวันหนึ่งครูจะกลับมาพร้อมกับคนที่พร้อมจะช่วยเหลือพวกหนู ตราบใดที่ครูยังมีชีวิตคำมั่นสัญญาที่ครูให้แก่พวกเธอนั้นจะคงอยู่ตลอดไป

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ