ก่อทูเลยังเป็นแผ่นดินที่ผมรักเสมอ

ก่อทูเลยังเป็นแผ่นดินที่ผมรักเสมอ

” ก่อทูเลยังเป็นแผ่นดินที่ผมรักเสมอ”

Thomas Htoo

นี่คือเรื่องราวของ Thomas Htoo หรือ Saw Poe Thaw Thaw หนึ่งในเยาวชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่เกิดมาในค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศไทย ก่อนที่ชีวิตของเขานั้นจะได้รับอิสรภาพของการเริ่มต้นใหม่ในแผ่นดินอเมริกา หลังจาก องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ได้ช่วยเหลือครอบครัวของเขาและเหล่าคนกะเหรี่ยงอีกมากมายที่ได้รับอนุญาตเข้ามาลี้ภัยในแผ่นดินอเมริกาและเริ่มต้นชีวิตใหม่ในแผ่นดินที่ห่างไกลจากบ้านเกิดแท้ๆของเขา แผ่นดินที่ชื่อ ก่อทูเล หรือ รัฐกะเหรี่ยง

สำหรับ Thomas Htoo แล้ว ก่อทูเลยังเป็นบ้านเกิดของผมเสมอและผมไม่เคยลืมบ้านเกิดผม และนี้จะเป็นเรื่องเล่าของเขาทั้งหมดในบทความนี้

ผมเกิดในเดือนพฤศจิกายนปีค.ศ. 1999 ในค่ายผู้ลี้ภัยชั่วคราวที่ตั้งอยู่ระหว่างชายแดนประเทศไทยและชายแดนรัฐกะเหรี่ยง ประเทศเมียนมาร์ (ภาคใต้และตะวันออกของพม่า) พ่อและแม่ของผมกลายเป็นผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงที่หนีออกจากบ้านเกิด เนื่องจากความขัดแย้งของสงครามกลางเมือง แม้ว่าพ่อและแม่ของผมทั้งคู่เกิดในเมียนมาร์ แต่พวกเขาไม่ได้รับสิทธิการเป็นพลเมืองของที่นั่น เพราะชาวกะเหรี่ยงที่นั่นไม่ถูกจัดเป็นพลเมืองของชาวเมียนมาร์

แม้ว่าผมจะเกิดในประเทศไทยแต่ผมกลับไม่ได้รับสัญชาติไทยด้วย ดังนั้นครอบครัวของผมเป็นผู้ลี้ภัยและเป็นคนไร้สัญชาติ

สามปีหลังจากที่ผมเกิดมา ครอบครัวของผมและครอบครัวชาวกะเหรี่ยงอีกมากมายที่อาศัยอยู่ในค่ายถูกย้ายไปยังสถานที่ใหม่ที่เรียกว่าค่ายแม่ลาอูน ผมใช้เวลาแปดปีในวัยเด็กของผมเติบโตขึ้นมาในค่ายผู้ลี้ภัยแม่ลาอูนซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางประมาณสองชั่วโมง จากอำเภอแม่สะเรียง

พ่อของผมทำงานหนักมากในฐานะครูในโรงเรียน บางครั้งพ่อก็ไม่ได้อยู่กับเราที่บ้าน ส่วนแม่ก็ทำอาหารทอดและขายในร้านเล็ก ๆ (เป็นกระท่อมเล็ก ๆ ที่ทำจากไม้ไผ่และใบไม้) ที่ด้านข้างของถนนสายหลักและถนนที่ยานพาหนะใช้สัญจรสายเดียวในค่าย

ชีวิตในค่ายผู้ลี้ภัยในช่วงวัยเด็กของ THOMAS HTOO

พ่อและแม่ของผมทำงานหนักมากในการเลี้ยงดูพี่น้องและผม พวกท่านทำงานหนักเพื่อให้พี่น้องและผมได้มีโอกาสไปโรงเรียนและมีเวลาสนุกเหมือนเด็กอื่น ๆ ที่โรงเรียนเราเรียนวิชามากมาย ช่วงที่ผมกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 วิชาที่ผมได้เรียน คือ วิชาภาษาอังกฤษ วิชาภาษากะเหรี่ยง วิชาภาษาพม่า และวิชาคณิตศาสตร์

ผมต้องเรียนทั้งหมดเจ็ดวิชา ได้แก่ วิชาภาษาอังกฤษ วิชาภาษากะเหรี่ยงและวัฒนธรรมกะเหรี่ยง ภาษาพม่า วิชาสังคมศึกษา วิชาสุขศึกษา วิชาประวัติศาสตร์ และวิชาภาษาไทย นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่ผมได้เรียน 

ส่วนชีวิตนอกโรงเรียน ผมมีความทรงจำที่ดี และผมต้องการอยากแบ่งปันให้กับผู้อ่านที่กำลังอ่านเรื่องราวของผม  เมื่อพ่อของผมไม่ได้ไปสอนในโรงเรียนในช่วงวันหยุด งานหลักนอกบ้านของพ่อก็คือ การสร้างเรือหางยาว พ่อเป็นช่างที่ฝีมือดีและมักจะมีคนมาว่าจ้าง พ่อสร้างเรือให้เสมอและรายได้ที่พ่อได้รับนี้ พ่อจะเก็บไว้เป็นค่าอาหารให้แก่คนในครอบครัวของเรา ในช่วงฤดูร้อนปี 2010 ผมใช้เวลาหนึ่งเดือนในการช่วยพ่อสร้างเรือ ตอนนั้นผมอายุแค่เพียง 10 ขวบ งานหลักในการช่วยพ่อของผมก็คือ การทาสีเรือใหม่โดยใช้วัสดุคล้ายขี้ผึ้งลงในรูเล็บที่ถูกเจาะก่อนที่เรือจะทาสีด้วยสีเพื่อให้เรือสามารถต้านทานน้ำได้และมันสามารถลอยบนน้ำได้โดยที่เรือจมไม่ นี้นับว่าเป็นประสบการณ์ที่ดี และพ่อยังให้ค่าตอบแทนเป็นเงิน ในฐานะที่เป็นผู้ช่วยเหลือพ่อ และเงินที่พ่อให้ผม เป็นเงินที่ผมสามารถหาได้ด้วยตัวเองเป็นครั้งแรก และผมได้นำเงินส่วนนี้ มาซื้อร่มคู่แรกและรองเท้าคู่แรกด้วยเงินของผมเอง ต่อมาไม่กี่ปีครอบครัวของเราได้ถูก UN (United Nations) หรือองค์การสหประชาชาติ ช่วยเราไปตั้งรถร้างใหม่ที่อเมริกา

ครอบครัวของ Thomas Htoo หลังจากได้รับการช่วยเหลือจาก องค์การสหประชาชาติหรือ ยูเอ็น ให้ครอบครัวเขาเข้ามาลี้ภัยสงครามอยู่ในแผ่นดินอเมริกา หลังที่พวกเขาเข้ามาอยู่ในอเมริกาแล้ว Thomas Htoo และครอบครัวของเขาได้รับสิทธิ์เป็นพลเมืองอเมริกันโดยทันที

ในเดือนสิงหาคม 2011 ครอบครัวของเราได้มาถึง เมืองเซนต์พอลแห่งมินนิโซตา เป็นครั้งแรกที่เราโดยสารเครื่องบินเราต่างตื่นเต้นมาก และมันเป็นที่แปลกใหม่สำหรับเรา ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายอีกเรื่องหนึ่งที่เราจะต้องเริ่มต้นชีวิตใหม่ สถานที่ที่เราไม่เคยอยู่เลย อีกใจหนึ่งเราทุกคนก็เต็มไปด้วยความกังวล เพราะเราทุกคนไม่เคยอาศัยอยู่ในเมืองมาก่อนดังนั้นเราจึงต้องเริ่มต้นและสร้างชีวิตใหม่กับสิ่งที่ใหม่ และเราไม่เคยรู้ว่าชีวิตในเมืองเช่นไรความท้าทายแรกที่เราพบคือ คืนแรกที่มาถึงสหรัฐอเมริกาในขณะที่เรารอเที่ยวบินที่กำลังจะส่งเราไปยังจุดหมายปลายทางนั้น เราจำเป็นต้องนอนพักที่ในโรงแรมในนครนิวยอร์กซิตี้

คนที่พาเรามาส่งที่โรงแรมหาอาหารให้เราทาน และแนะนำการใช้ห้องในโรงแรมที่เรากำลังจะพักค้างคืน ต่อจากนั้นไม่นานคนที่ดูและเราก็ต้องไปทำธุระที่อื่นและทิ้งเราไว้ที่โรงแรมและจะมารับพวกเราในวันรุ่งขึ้น เมื่อเราเข้ามาในห้องพักที่จัดเตรียมไว้ให้กับเรา เราทุกคนต่างรู้สึกตื่นเต้นมากในตอนแรกเพราะเราได้อาศัยในห้องใหญ่ และเราสามารถมองเห็นวิวของนครนิวยอร์กได้ ห้องของเรานั้นช่างสะดวกสบายเลยเกิน เตียงที่เราจะก็นุ่มมาก ในห้องยังมีเก้าอี้หมุนและมีเครื่องทำน้ำอุ่นด้วย  แต่แล้วช่วงเวลาที่เราไม่คาดคิดก็มาเยือน ขณะที่เราสนุกกับช่วงเวลาที่ยอดเยี่ยมเหล่านี้น้องสาวตัวน้อยของผมอายุประมาณสองปี ปิดประตูห้องพักที่พี่ชายฝาแฝดของเธอนอนข้างในขณะที่สมาชิกครอบครัวคนอื่นอยู่ข้างนอก น้องตัวเล็กของผมกลับลืมกุญแจทั้งหมดในห้องและน้องตัวเล็ก ได้ล็อกประตูโดยไม่รู้ตัว

ณ ขณะนั้นเราต่างกังวลและร้องไห้และเศร้านั่งลงใกล้กำแพง ทันใดนั้นพ่อของผมก็ลุกขึ้นแล้วพูดว่า “อย่าร้องไห้ จำสิ่งที่พวกเขาสอนเราได้ไหม เมื่อเรามีปัญหาเราควรพยายามหาวิธีแก้ไข” พ่อพยายามเคาะประตูขอความช่วยเหลือจากผู้คนที่นอนพักในโรงแรม ต่อมาเราโชคดีที่มีคนออกมาช่วยเรา ชาวกะเหรี่ยงอื่น ๆ ที่เดินทางมาเหมือนเราตื่นขึ้นมาและก็ปลอบใจเรา แต่เนื่องจากห้องที่น้องชายตัวน้อยของผมยังล็อกอยู่ พ่อของผมจึงพยายามที่จะหาวิธีที่เข้าไปในห้องให้ได้ พ่อจึงตัดสินใจไปถามพนักงานแผนกต้อนรับลูกค้าที่เข้ามาเช่าโรงแรม โชคดีพนักงานสามารถหาคีย์การ์ดได้ และพ่อก็นำมาเปิดประตูที่ถูกล็อดโดยเร็วที่สุด เราต่างดีใจมากเมื่อเราเปิดประตูห้องได้และเราโชคดีที่น้องเราซึ่งถูกขังอยู่ในห้องปลอดภัย เช้าวันรุ่งขึ้นเราขึ้นเครื่องบินต่อและเดินทางไปยังสนามบินมินนิอาโปลิส ในมินนิโซตา

หนึ่งในช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุดสำหรับผม ในขณะที่ผมเริ่มต้นชีวิตใหม่กับครอบครัว ในเซนต์พอลมินนิโซตาคือวันที่ผม จบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมในเดือนมิถุนายนปี 2018 นักเรียนประมาณ 300 คนจากโรงเรียนมัธยมของผม วันนั้นที่ผู้ปกครองมาร่วมแสดงความยินดีกับพิธีจบการศึกษามัธยมตอนปลาย การสำเร็จการศึกษาครั้งนี้เป็นวันที่มีความสุขที่สุดในชีวิตเพราะพ่อแม่และญาติของผมมาครบทุกคนเลย และในวันนั้นมีการฉลองให้กับนักเรียนที่จบการศึกษาทุกคน ต่อไม่กี่ปี ผมได้เริ่มศึกษาตอนที่มหาวิทยาลัย St. Cloud State (SCSU) ในวิชาเอกวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ต้องขอบบุคลากรในมหาวิทยาลัยที่สนับสนุนผม และตอนนี้ผมกำลังเรียนอยู่ในช่วงชั้นปีที่สามในมหาวิทยาลัย ในช่วงเวลาที่ผมไม่ได้มีคาบเรียนในมหาวิทยาลัย ผมจะหาเวลาอ่านหนังสือเพิ่มและผมชอบการวาดภาพ และการถ่ายภาพ ผมยังเป็นคนที่ชอบการท่องเที่ยวอีกด้วย

ความปรารถนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของผม คือ การช่วยเหลือและรับใช้ผู้คนที่ต้องการความช่วยเหลือและโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนกะเหรี่ยงที่ยังคงถูกกดขี่และกำลังทุกข์ทรมาน เพราะสงครามกลางเมืองที่ยาวนานและต่อเนื่อง ด้านล่างนี้เป็นคือคำขวัญทั้งสี่ที่ผมตั้งไว้ว่าจะเป็นเครื่องหมายเตือนใจแก่ตัวผมเอง

1. คนที่เชื่อในการฟังและการสื่อสาร

2. คนที่ให้คุณค่ากับทุกชีวิตและปฏิบัติต่อเสียงทุกเสียงด้วยความเคารพ

3. ไปยังสถานที่ที่ต้องการความช่วยเหลือ

4. คนที่มีศรัทธาในทุกสิ่งย่อมทำให้เกิดความหวังและความรักอยู่เสมอ

ประการแรก ผมขอบคุณพระเป็นเจ้าสำหรับทุกสิ่ง (เปิดโอกาสให้ผมและทำให้ผมได้พบกับผู้คนมากมายในชีวิต) ประการที่สองผมขอบคุณครอบครัวญาติและเพื่อน ๆ ที่ให้การสนับสนุนผมและสวดภาวนาให้ผม และประการที่สามผมขอขอบคุณรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่อนุญาตให้ครอบครัวของผมและครอบครัวอื่น ๆ อีกมากมายเช่น การมาตั้งถิ่นฐานที่ในสหรัฐอเมริกาและสร้างชีวิตของเราในประเทศนี้ หากไม่มีการสนับสนุนและการอนุมัติจากพวกเขาเหล่านั้นผมจะยังคงสงสัยว่าผมจะทำอะไรและชีวิตของผมจะเป็นอย่างไรในชายแดนไทยและเป็นรัฐกะเหรี่ยง สุดท้ายนี้ฉผมขอขอบคุณ (ผู้อ่าน) ที่สละเวลาอันมีค่าของคุณเพื่ออ่านเรื่องราวของผม ขอขอบพระคุณและขอให้พระเป็นเจ้าคุ้มครองทุกท่าน

ทุกวันนี้ THOMAS HTOO ยังคงใช้ชีวิตกับครอบครัวเขาในอเมริกาและเขายังคงกลับมาช่วยเหลือพี่น้องชาวกะเหรี่ยงของเขา ที่ต้องยังหนีภัยสงครามในรัฐกะเหรี่ยง และนี้คือเรื่องราวของ THOMAS HTOO เด็กหนุ่มที่จากบ้านเกิดเพราะภัยสงคราม แต่เขาไม่เคยลืมบ้านเกิดที่ชื่อว่า ก่อทูเล

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ