เรื่องเล่าจากรัฐกะเหรี่ยงถึงไทย

เรื่องเล่าจากรัฐกะเหรี่ยงถึงไทย

“รัฐกะเหรี่ยง หรือ กะยีน (พม่า: ကရင်; กะเหรี่ยงสะกอ: ကညီကီၢ်ဆဲၣ်; กะเหรี่ยงโป: ဖၠုံခါန်ႋကၞင့်) เป็นรัฐหนึ่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศพม่า มีเมืองหลักคือพะอาน ทิศเหนือ ติดต่อกับดินแดนสหภาพเนปยีดอ รัฐชาน และรัฐกะยาทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดตาก (ประเทศไทย) ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดกาญจนบุรี (ประเทศไทย) และรัฐมอญ ทิศตะวันตก ติดต่อกับรัฐมอญและเขตพะโค” อ้างอิงข้อมูลจากวิกิพีเดีย

จากข้อมูลขั้นตอนผู้อ่านคงทราบประมาณหนึ่งว่า รัฐกะเหรี่ยงอยู่ที่ใด และมีอาณาบริเวณติดต่อกับแผ่นดินไทยเช่นไร แน่นอนว่ารัฐกะเหรี่ยง หรือ กะยีน ตามที่ชาวเมียนมาร์ได้เรียกกันนั้น สำหรับคนกะเหรี่ยง พวกเขาเชื่อว่ารัฐกะเหรี่ยงหรือ ก่อทูเลนั้นเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของพวกเขา เป็นประเทศสำหรับพวกเขา จึงไม่แปลกที่คนกะเหรี่ยงจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในเมียนมาร์ ได้เรียกร้องอิสรภาพจากรัฐบาลเมียนมาร์ ให้มีสิทธิ์ปกครองรัฐของตัวเอง และคนกะเหรี่ยงในเมียรมาร์ ไม่ต้องการอยู่ใต้การปกครองของรัฐบาลเมียนมาร์

ดังนั้น ทั้งสองฝ่ายจึงจำเป็นต้องสู้รบการเนื่องด้วยความคิดที่แตกต่าง และแนวทางการปกครองที่ไม่เหมือนกัน จึงทำให้เกิดสงครามกลางเมืองระหว่าง สองชาติพันธุ์นี้เป็นเวลาถึง 77 ปี สงคราม 77 ปี ได้ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างสองกลุ่มชาติพันธุ์ ทำให้ผู้เคราะห์ร้ายจำนวนมากกลับกลายเป็นผู้ลี้ภัยสงคราม บางก็กลับกลายเป็นผู้พลัดถิ่นในรัฐของตนเอง บางก็สูญเสียครอบครัว บางก็เสียชีวิตในสงคราม ยากที่จะปฏิเสธว่า การที่กลุ่มคนสองกลุ่มมีความคิดที่แตกต่างกัน คือหนทางที่นำมาซึ่งการสู้รบ ที่คร่าชีวิตคนเป็นจำนวนมาก และไม่มีใครล่วงรู้ว่า สงครามที่ทำให้เกิดการพลัดพลาดจากคนที่เรารักนั้นจะจบสิ้นเมื่อใด

นี้ยังคงเป็นคำถามของคนกะเหรี่ยงจำนวนมากในเมียนมาร์ที่ทุกวันนี้ยังต้องหนีสงคราม และที่สิ่เหล่านี้ยังคงตามหลอกหล่อพวกเขา

ตลอดระยะเวลาสามปี กับการเป็นครูอาสาสมัคร ในรัฐกะเหรี่ยงกับชาวกะเหรี่ยงที่กลายผู้พลัดถิ่นในรัฐของตนเอง ผมได้เข้าใจว่า พวกเขานั้นต้องการความสงบสุขในชีวิต แต่เพราะผู้มีอิทธิพลในสังคมของเขาทำให้เขาต้องหนีภัยจากสงคราม และเร่งร่อน ใช้ชีวิตตามป่าเขา บางกลุ่มที่โชคดีที่สามารถหลบหนีมายังชายแดนฝั่งไทยได้ก็ปลอดภัย หากแต่ชีวิตของคนบางกลุ่มไม่ได้เป็นเช่นนั้นพวกเขาต้องดิ้นร้น และต่อสู้กับการเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับชีวิตของพวกเขาเหล่านั้น ตลอดสามปีที่ผมและเพื่อนกลุ่มหนึ่งได้เข้าไปสอนเด็กๆในค่ายผู้พลัดถิ่นในรัฐของตนเอง เราต่างก็ได้เห็นรอยยิ้ม เสียงหัวเราะของเด็กๆที่ต่างวิ่งเข้ามาโอบกอดเรา และส่งเสียงดัง

“ว่าคุณครูกลับมาแล้ว” บ้างก็พูดว่า “คุณครูยังไม่ลืมพวกเรา”

ผมได้ยินคำพูดเหล่านี้ทีไร อดที่จะดีใจลึกๆข้างในใจผมไม่ได้สักครั้ง เพราะสิ่งที่ผมและเพื่อนต่างทำลงไปนั้น มันก็คุ้มที่จะเสี่ยงเข้าไปในพื้นที่ที่ยังต้องระหว่างเรื่องการสู้รบและกฎหมายการข้ามชายแดน แต่พวกผมยอมทำเพื่อให้สังคมที่ได้พัฒนายังก้าวกระโดดทุกวันนี้ได้หันกลับมาใส่ใจคนบางกลุ่มที่สังคมลืมไว้ข้างหลัง คนบางกลุ่มที่เราคิดว่า พวกเขาเหล่านั้นไม่มีตัวตน ชีวิตในรัฐกะเหรี่ยงของพวกคนส่วนใหญ่จะทำอาชีพเกษตร เพาะปลูกข้าวตามฤดูกาลและคนในรัฐกะเหรี่ยงยังให้ความใส่ใจกับวิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมของพวกเขาเหล่านั้นเป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าบางครั้งอาจจะต้องหนีภัยจากสงครามบางแต่พวกเขาก็ยังตระหนักว่า วิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมนั้นยังสำคัญต่อเขาเหล่านั้นมาก 

สำหรับผมแล้วทั่งกลางเสียงปืน และ สงคราม ภายใต้ สิ่งเหล่านั้นยังมี สิ่งดีๆมากมายที่ผมได้รับรู้ผ่านประสบการณ์การเป็นอาสาสมัครสอนภาษาไทยให้เด็กในค่ายผู้พลัดถิ่นในรัฐกะเหรี่ยง นี้เป็นเรื่องราวของพวกเราของคนหนุ่มสาวที่อยากคนช่วยเหลือคนกะเหรี่ยงในรัฐกะเหรี่ยงเพราะเราไม่ได้มองว่า พวกเขาและพวกเราเป็นชาติพันธุ์กลุ่มใด

สำหรับผมแล้ว ผมมองว่าทุกคนบนโลกใบนี้ เป็นมนุษย์ที่มีความเท่าเทียมกัน และสมควรได้รับเกียรติในฐานะเพื่อนมนุษย์ที่เกิดมาบนโลกนี้อย่างเท่าเทียมกันด้วยเช่นกัน

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ