ชวนเด็กปลูกผักในช่วงปิดเทอมสร้างพื้นที่ทางอาหาร

ชวนเด็กปลูกผักในช่วงปิดเทอมสร้างพื้นที่ทางอาหาร

พูดคุยกับ : ทองเหรียญ วงค์จันตา คุณครูโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเจดีย์แม่ครัว ต.แม่แฝกใหม่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

https://www.csitereport.com/#!/newsfeed?id=0000012077

ไวรัสโควิดยังส่งกระทบผู้คนต่าง ๆ ในภูมิภาคในภาคเหนือ ปัจจุบันในตอนนี้หลายพื้นที่เริ่มที่จะให้เด็ก ๆ เยาวชนที่อยู่ที่บ้านเริ่มการเรียนแบบออนไลน์กันเเล้ว ผู้ปกครองหลายคนเริ่มมีการจัดเตรียมอุปกรณ์หลายอย่างให้ลูกหลานได้เข้าสู่ระบบการเรียนรู้ จึงเป็นเรื่องน่าสนใจถ้าได้ลงไปคุยกับในพื้นที่ที่อยู่ตามชนบทมีวิธีการจัดการแบบไหน เรียนออนไลน์ได้ประชุมเพื่อเตรียมการสอกันหรือยัง หรือกำลังทำการออกแบบทางการศึกษาแบบใดที่ตอบโจทย์กับสถานการณ์ และวิถีชีวิตของผู้คนอยู่

ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่าน คุณครูได้ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านเด็กนักเรียนหลายร้อยครอบครัว พร้อมแบ่งพื้นในโรงเรียน เพาะปลูกกล้าพันธฺุ์ผัก นำไปส่งแจกจ่ายให้ครอบครัวนักเรียน และถือโอกาสนี้ ในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านการปลูกผักในช่วงที่โรงเรียนปิด

องศาเหนือ Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ ! วันนี้ไปร่วมพูดคุยกับ : ครูทองเหรียญ วงค์จันตา คุณครูโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเจดีย์แม่ครัว ต.แม่แฝกใหม่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

ครูทองเหรียญ เล่าว่า จุดเริ่มต้นในการลงพื้นที่ไปสำรวจบ้านของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเจดีย์แม่ครัว ต.แม่แฝกใหม่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ไปในช่วงปิดเทอมของนักเรียนในช่วงเทอมที่ 2 เป็นช่วงปิดเทอมธรรมดาในช่วงวันที่ 16 มีนาคม – เมษายน ที่ผ่านมาทีนี้ การปิดเทอมปกติในช่วงสถานการณ์ที่ไม่ปกตินั้น เรามีโรคโควิด-19 เข้ามา จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่าแล้วเด็ก ๆ จะอยู่อย่างไร วิธีการป้องกันตัวอย่างไร ครอบครัวเขาจะป้องกันลูกหลานอย่างไร และมีข่าวมาว่าบางแห่งนั้นหยุดจ้างผู้ปกครองไปทำงานจนได้รับผลกระทบ ส่วนมากที่คำนึงถึงมากที่สุดคือเรื่องของอาหารการกินของเด็ก เพราะผู้ปกครองบางคนขาดรายได้ จึงจัดโครงการเยี่ยมบ้านผู้ปกครอง

เมื่อเราไปเยี่ยมบ้านมันเป็นการเยี่ยมบ้านธรรมดาทั่วไป ครอบครัวแต่ละครอบครัวอยู่ด้วยกันแบบทั่วไป แต่พิเศษตรงที่เจอครอบครัวหนึ่งที่ได้รับผลกระทบทั้งคุณพ่อคุณแม่คือไม่มีงานทำ จึงคิดว่าแล้วเด็กก็คงไม่มีอาหารกิน หลังจากนั้นครูในโรงเรียนจึงกลับมาประชุมกันว่า การออกเยี่ยมบ้านนักเรียน 198 ครอบครัวนั้น ครอบครัวได้รับผลกระทบอะไรบ้าง เราได้รับข้อมูลมาว่าได้รับผลกระทบทั้งหมด 98 ครอบครัว จึงกลับมาประชุมกันว่าถ้าเราลงไปช่วยซึ่งเราไม่ได้รับและจัดตั้งงบประมาณ เราจะลงไปช่วยอย่างไร เราจึงจัดโครงการหนึ่งขึ้นมาชื่อว่าโครงการปลูกผักเพาะเมล็ดพันธุ์ เพื่อไปให้ครอบครัวและเด็ก ๆ สร้างพื้นที่ความมั่นคงทางอาหาร เราตั้งชื่อโครงการว่า เพาะเมล็ดกินได้ ต้านภัยโควิด-19 เป็นโชคดีที่ว่าเราทำไประยะหนึ่งแล้วเรานำเสนอไปที่ เชฟ น้อย กินเปลี่ยนโลก ก็จัดการสนับสนุนเรื่องเมล็ดพันธุ์ และมีการขยายผลขอแหล่งทุนเพื่อสนับสนุนในเรื่องของข้าวสารอาหารแห้งมาเสริมให้ จึงเป็นโครงการที่ขยายใหญ่ขึ้นไปซึ่งในโครงการนี้มีครูทั้ง 15 คนเป็นแรงขับเคลื่อนในการลงพื้นที่

การลงพื้นบริบทของพื้นที่ตรงนี้เป็นแบบกึ่งเมือง ซึ่งเป็นพื้นที่ของอุตสาหกรรม ที่ในแต่ละครอบครัวซึ่งมีทั้งหมดอยู่ 11 แห่ง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ซึ่งตรงนี้เป็นผลกระทบเพราะอีกอาชีพที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ทำคือผู้รับเหมาก่อสร้าง อีกอาชีพคืออาชีพเกษตรกร อาชีพเหล่านี้เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งสิ้น เพราะในเร่องของรายได้ขาด ทำให้แรงในการซื้อสิ่งต่าง ๆ ขาดไป ซึ่งผลกระทบทางด้านก่อสร้างก็ไม่แพ้กันเพราะต้องหยุดงาน

ซึ่งเด็กที่หยุดอยู่บ้านล้วนเป็นเด็กเล็ก ซึ่งด้านการเรียนเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีหลักเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในโรงเรียนอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นพื้นฐานของเด็ก ๆ มีเรื่องปลูกผัก รดน้ำ พรวนดิน และเราส่งต่อสิ่งเหล่านี้ให้ทางผู้ปกครองเพราะฉะนั้นผู้ปกครองต้องให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือเด็กอีกกระบวนการหนึ่งซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดีที่ให้ครอบครัวได้ทดลองทำกิจกรรมร่วมกันนอกเหนือจากสิ่งอื่น ทำให้เกิดความเครียดสะสมน้อยลง ซึ่งผู้ปกครองเขาก็ดีใจที่เรานำเมล็ดพันธุ์เหล่านี้ไปให้เขา เป็นการเพิ่มผักพื้นบ้านที่เขามีอยู่ บางครอบครัวทำเป็นแปลงวางแผนต่อยอเพื่อทำไว้ขาย เพราะคิดเผื่อเรื่องอนาคตไปด้วย และเป็นเพราะทางโรงเรียนเน้นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอยู่แล้วจึงไปแนะนำให้ผู้ปกครองทำอย่างควบคู่กันไป

ขณะที่เราลงไปเราได้แจ้งทางผู้บริหาร ท้องถิ่น ปลัดเทศบาลตำบลเจดีย์เเม่ครัว อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ในฐานะรักษาการนายกเทศมนตรี ว่าเราจะลงไปเยี่ยมสำรวจพื้นที่นี้ ทางชุมชนก็ดูแลด้วย ซึ่งมีเด็กที่หลุดไปจากตรงนี้เป็นเด็กรอบนอกเราก็จะให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้สำรวจ และแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์เหล่านี้ออกไป และ ณ ปัจจุบันนี้โครงการนี้ได้ขยายออกไป ทางเทศบาลตำบลเจดีย์แม่ครัว ก็ได้ทำเป็นตู้ปันสุข ไว้ที่ตรงหน้าเทศบาลซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านชุมชนอย่างดี ซึ่งทุกคนก็สามารถช่วยกันนำสิ่งของมาเติมได้เสมอ นับว่าเป็นนวัตกรรมระดับชุมชนในการร่วมด้วยช่วยเหลือกัน

ซึ่งถ้าครูไม่ลงไปสำรวจพื้นที่ก็ยากที่หลาย ๆ คนจะรู้ว่ามีคนเหล่านี้มากมายที่กำลังประสบปัญหาต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิดอยู่ เป็นการกระตุ้นชุมชนและคนภายในชุมชนซึ่งสิ่งที่เราทำเราไม่ได้นึกถึงว่าเราจะช่วยเหลือกันอย่างไร เรานึกถึงเด็กเป็นตัวตั้งไว้ก่อน ซึ่งสิ่งนี้เป็นสัญชาติของความเป็นครู อาหารการกินเป็นอย่างไรสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรานึกถึงแล้วเราลงไปดูช่วยเหลือคนเหล่านี้

เรื่องการเปิดเรียนการเตรียมความพร้อม รูปแบบของทางโรงเรียนตอนนี้ทางโรงเรียนเราส่งเสริมการปลูกผักให้ทั้งผู้ปกครอง และนักเรียน และเราก็ทำในโรงเรียนอยู่แล้ว เมล็ดผักที่เราไปให้ครอบครัวเราก็จะไปสำรวจในเรื่องนี้ ว่าสิ่งที่ปลูกจะเจริญเติบโตมีประโยชน์ไหมและ เอาไปขยายผลต่อได้อย่างไร 1 คือเราจะมีแผน  2 เราจะกลับไปถามทางครอบครัวอีกครั้งหนึ่ง สิ่งนี้จะเป็นการขยายผล และติดตามผลไปในตัวด้วย

และเรื่องการเรียนออนไลน์สำหรับเด็กเล็กในความคิดของครู คือ 1. พื้นที่ของเราเป็นพื้นที่ชาติพันธุ์เป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมศึกษา เพราะฉะนั้นในเรื่องของการใช้สื่อและเทคโนโลยีนั้นเข้าไม่ถึงทุกคน 2. ตัวครูเองไม่อยากให้เด็ก ๆ จ้องและอุปกรณ์เหล่านี้นาน ๆ ตั้งแต่เด็กนานแบบนี้ไม่ดี 3. ผู้ปกครองบางท่านไม่มีเวลาเพราะผู้ปกครองจะต้องอยู่ด้วยตลอดเวลาคงจะไม่มีเวลาที่อยู่ข้างกับเด็กเขาต้องทำงานสำหรับเด็กปฐมวัยไม่ควรที่จะทำ อีกประเด็นหนึ่งคือการที่เราลงไปเยี่ยมบ้างเด็กเราควรจะมีใบงาน ซึ่งเด็กไม่ได้ทำ สิ่งนี้เราควรจะร่วมกับผู้ปกครองด้วยเพราะเราอยู่ในชุมชนเองและโรงเรียนก็ใกล้ ๆ กับชุมชนถ้าผู้ปกครองที่สะดวกในเรื่องของการใช้สื่อต่าง ๆ ก็จะส่งมาทางนี้ก็ได้ แต่ที่ไม่ได้จริง ๆ เราจะลงพื้นที่จริง ซึ่งปัจจุบันเรามีแผนที่จะทำงานแบบนี้อยู่แล้ว

กลไกที่เราจะออกแบบการช่วยเหลือกันเองในระดับพื้นที่เป็นสิ่งสำคัญและจะมีความยั่งยืนการที่คนในฟื้นที่ลงไปยังพื้นที่ของตนเอง แบบนี้จะทำให้ความช่วยเหลือเร็ว ที่ไม่ต้องรอส่วนกลางที่ต้องผ่านการตัดสินใจจำนวนมาก และสิ่งนี้เป็นโมเดลที่ขยายผลและต่อยอดต่อไป

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ