ช่วยเกษตรกรกระจายลิ้นจี่ อ.งาว จ.ลำปาง

ช่วยเกษตรกรกระจายลิ้นจี่ อ.งาว จ.ลำปาง

กรณีตัวอย่างการดิ้นรน และให้ความช่วยเหลือพี่น้องเกษตร คุยกับ : ณิชรัศม์ แลวงศ์นิล หัวหน้าส่วนยุทธศาสตร์การเกษตร สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง

ภายในพื้นที่จังหวัดลำปาง มีพื้นที่ปลูกอยู่ที่ อ.งาว จ.ลำปาง ซึ่งเป็นอำเภอที่มีศักยภาพในการปลูกผลผลิตลิ้นจี่ เนื่องจากเป็นพื้นที่สูง มีสภาพอากาศที่หนาวเย็น เหมาะสำหรับการปลูกลิ้นจี่ ถึงแม้ว่า ลิ้นจี่ไม่ใช่พืชเศรษฐกิจของลำปาง แต่เป็นพืชตัวหนึ่ง ที่พี่น้องเกษตรกรอำเภองาว จ.ลำปาง เลือกนำมาปลูกและผลผลิตที่ออกสู่ท้องตลาด และในปีนี้เป็นปีที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งจากการหารือสถานการณ์ปัญหาและความต้องการของกลุ่มเกษตรกรอำเภองาว ได้มีการหาแนวทางเพื่อกระจายสินค้าของเกษตรกรเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ที่ต้องการหาแนวทางแก้ไขปัญหาลิ้นจี่ ผลผลิตลิ้นจี่ที่พร้อมออกสู่ตลาดช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2563 คาดว่าจะเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 500 – 700 ตัน เขามีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร นี่จะเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างต้นแบบการดิ้นรนของเกษตรกรเพื่อหาแนวทางในการกระจายสินค้า

Live องศาเหนือ Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ ! คุยกันเรื่อง สถานการณ์ที่โควิด Live องศาเหนือ Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ ! วันนี้ ไปเรียนรู้บทเรียนการปรับตัว ของเกษตรกรที่ อ.งาว จ.ลำปาง ที่นั่นเขาปลูกลิ้นจี่ ปัญหาคือในสถานการณ์โควิดแบบนี้ ตลาดหลายที่ก็ปิดรับ ทำให้เกษตรที่นั่นเขาต้องหาวิธีกระจายผลผลิตออกให้เร็วที่สุด ก่อนที่จะเสียหายพูดคุยกับ : ณิชรัศม์ แลวงศ์นิล หัวหน้าส่วนยุทธศาสตร์การเกษตร สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง

ลิ้นจี่ อ.งาวมีผู้ปลูกลิ้นจี่อยู่ 3-4 ตำบล มีประมาณ 3,000 กว่าไร่ ผลผลิตลิ้นจี่ของเกษตรกร หลายรายที่รับผลกระทบจากการเกิดโรคระบาดโควิด​ ซึ่งผลผลิตลิ้นจี่ปีนี้เกษตรกรขายไม่ค่อยได้ เพราะไม่มีคนมารับซื้อ​ ผลผลิตลิ้นจี่ อำเภอ งาว จังหวัดลำปาง ที่พร้อมออกสู่ตลาดช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2563 คาดว่าจะเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 500 – 700 ตัน ล้นตลาดอยู่ในตัวจังหวัดเพราะผลกระทบจากการเกิดโรคระบาดโควิด​นั้น ในปีก่อน ๆ เกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้ทั้งหมด เพราะมีพ่อค้าแม่ค้าจากที่อื่นเข้ามารับซื้อผลผลิตถึงบ้าน พ่อค้าคนกลางจะมารับในหลาย ๆ ภาคจะมารับซื้อถึงสวน พี่น้องเกษตรกรนำมาขายเองวางจุดขาย หรือ ล้งที่รับซื้อ หรือชาวสวนลิ้นจี่นำเอาออกไปขายตลาดสดในเมืองช่วงเวลา​ 16.00-22.00 น.และเวลา​ 03.00-08.00 น. ที่ตลาดในเมืองลำปางไม่สามารถทำได้ ​แต่ปีนี้ผลผลิตที่กำลังเริ่มสุกวันละประมาณ 3-4 ตัน ตอนนี้ขายไม่ค่อยได้เพราะไม่มีคนมาซื้อ​ จะนำไปขายในเมืองก็ประสบกับปัญหาเคอร์ฟิว ในแต่ละปีราคาไม่เท่ากันอยู่ที่ว่าคุณภาพและผลผลิตออกมาได้มากน้อยแค่ไหน ในตอนนี้มีลิ้นจี่จักรพรรดิ และลิ้นจี่ฮงฮวย ซึ่งลิ้นจี่จักรพรรดิจะออกในปลาย ๆ เดือนนี้ถึงต้นเดือนมิถุนายน

ตอนนี้ในการที่คนมารับหรือส่งซื้อลิ้นจี่ถ้ามาจากต่างจังหวัด หรือออกไปต่างจังหวัดนั้นกลับมาเข้าหมู่บ้านก็ถูกกักตัว 14 วัน สิ่งนี้เป็นปัญหาที่พี่น้องเกษตรกรข้ามไปขายผลผลิตยังต่างจังหวัดหรือไปส่งได้หรือพ่อค้าที่ต่างจังหวัดจะเข้ามาซื้อก็ไม่สามารถเข้ามาได้ ทุกอย่างหยุดชะงักทั้งหมด ทำให้การกระจายสินค้าเป็นไปได้น้อยและยาก จึงทำให้ผลผลิตตกค้างอยู่ที่ต่างจังหวัด 600-800 ตัน ถือว่าเยอะมากในจังหวัดลำปาง

ตอนนี้ในการส่งออกไปยังจังหวัดต่าง ๆ ยังไม่มีส่งออกไปอยู่กระจายเฉพาะในจังหวัดประมาณ 200-300 ตันเท่านั้น เพราะตอนนี้ยังไม่มีโรงงานแปรรูปในจังหวัดลำปางลิ้นจี่ ที่ผ่านมาจะขายเป็นผลสดหรือส่งไปแปรรูปจังหวัด ตอนนี้ที่พอจะทำได้คือพี่น้องชาวลำปางมาซื้อ 5-10 โลบ้าง และทางสำนักงานจังหวัดลำปางศูนย์โควิด-19 ลำปางก็มารับซื้อเพื่อแจกเป็นของว่างทานเล่น

เรื่องการโพสขายบนออนไลน์ ก็เป็นการช่วยกันของหลาย ๆ คนรวมทั้งลูกหลานที่กลับมาใช้ไลน์ ทวีตเตอร์ เฟสบุ๊ค สื่อออนไลน์ต่าง ๆ ที่มาช่วยในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ใครมีความสามารถในการขายออนไลน์ มีความรู้เรื่องแบบนี้ก็ทำช่วยกันไป แต่การขายในออนไลน์ ก็ไม่สามารถขายได้เยอะส่งมากที่สุด 20 กิโลกรัมเพราะค่าขนส่งยังคงแพงอยู่ ซึ่งผู้ที่ซื้อไปพอไปถึงค่าขนส่งกับค่าลิ้นจี่เท่า ๆ กัน ทำให้ผู้บริโภคไม่อยากจะซื้อ และการขายออนไลน์บางคนในหมู่บ้านเข้าไม่ถึงสิ่งนี้ทั้งเรื่องของสัญญาณและการเข้าถึง เพราะฉะนั้นการขายออนไลน์ของพี่น้องบางพื้นที่บางชุมชนก็เป็นข้อจำกัด

สำหรับการช่วยเหลือจากส่วนต่าง ๆ ผลจากการลงพื้นที่ของสภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีแนวทางในการช่วยเหลือ คือ หาจุดในการขายลิ้นจี่ให้กับเกษตรกร เช่น ตลาดเกษตรกร อำเภอเมือง ศาลากลางจังหวัดลำปาง ปั๊ม ปตท. ในจังหวัดลำปาง เป็นต้น โดยจุดขายที่ศาลากลางจังหวัดลำปางแต่ในการขายก็ไม่สามารถบอกได้ว่าจะขายได้จำนวนมาน้อยเท่าไหร่เพราะเป็นทางสัญจรไปมาของผู้คน

ในเรื่องของลูกหลานที่กลับมาช่วยขายออนไลน์ก็ช่วยกันหาทางขาย แต่ในอีกทางการขายออนไลน์ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ช่วยเหลือเราได้ทั้งหมดทุกคน เพราะ บางคนที่ลูกหลานเขาไม่ได้กลับบ้านหรือบางคนที่ไม่มีลูกหลานเป็นผู้สูงอายุมันก็ยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด ถ้าในสิบคนของพี่น้องเกษตรกรก็จะมีเพียง 2 คนเท่านั้นที่จะรู้เรื่องการขายออนไลน์

หนึ่งในมาตรการของทางรัฐที่ยังคงเป็นความลำบากของพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ห่างไกล ในเรื่องของการขนส่งแม่แต่ พรก. ฉุกเฉินที่ออกมาที่บอกว่ารถขนส่งทางการเกษตรทางรัฐผ่อนปรนให้ แต่จริง ๆ แล้วในทางปฏิบัติการขนส่งในการเกษตรต้องมีใบรับรองก่อนในการขนส่งข้ามจังหวัด ซึ่งใบรับรองการขนส่งนี้จะต้องให้ตั้งแต่กำนัน ผู้ใหญ่บ้านจะให้เอกสารมา 1 ฉบับ เซ็น 1 แผ่น 1 ชุด ต่อ 1 ครั้ง ซึ่งถ้าเราขนส่งไปตอนเช้าวันนี้กลับมาถึงบ้านก็จบ พรุ่งนี้จะไปอีกก็ต้องเซ็นอีกครั้งและ การที่จะให้กำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้เซ็นมันเป็นความยากลำบากของพี่น้องเกษตรที่อยู่บนดอย หรือแม้แต่อยู่พื้นราบเพราะเขาเหล่านี้ไม่ได้อยู่หมู่บ้านเดียวกัน การเดินทางให้แต่ละคนแต่ละท่านที่ระบุว่าต้องเซ็น ต้องใช้เวลาเกือบทั้งวันหรือทั้งวันบางพื้นที่ 2 วัน ซึ่งทำให้ผลผลิตที่เก็บมาแล้วบ่งครั้งเกิดความเน่าเสียและเสียหายได้ สิ่งนี้เป็นความยากลำบากมา

จึงอยากมีข้อเสนอว่าและอยากจะสื่อสารถึงหน่วยงานรัฐ เรื่องของการผ่อนปรนสินค้าทางการเกษตรมันควรที่จะเอื้อจริง ๆ มันต้องไม้เอื้อแบบมีข้อจำกัดที่เป็นความยากลำบาก ถ้าจะส่งได้ไหมถ้าเป็น 1 ใบอาจจะส่งของได้ 5 รอบ อย่างน้อยให้แค่ผู้ใหญ่บ้านรับรองก็จบ ถ้าโชคร้ายนายอำเภอไม่อยู่จะทำอย่างไร ซึ่งทำให้ผลผลิตเสียหาย มันต้องคิดเรื่องของการขนส่งเป้นเร่องของอาหารสดผลไม้สดมันจะเกิดความเน่าเสียได้

ประชุมในวันก่อน สำนักงานเกษตรอำเภองาว ซึ่งจากการหารือสถานการณ์ปัญหา และความต้องการของกลุ่มเกษตรกรอำเภองาว ดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว จึงได้ข้อสรุปแนวทางแก้ไขปัญหาลิ้นจี่ คือ ผลผลิตลิ้นจี่ที่พร้อมออกสู่ตลาดช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2563 คาดว่าจะเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 500 – 700 ตัน นั้น สำนักงานพาณิชย์จังหวัดลำปาง ได้ประสานสถานที่เพื่อจำหน่ายผลผลิตลิ้นจี่ ดังนี้

– สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ปตท. ในจังหวัดลำปางจำนวน 5 แห่ง

– ตลาดเกษตรกรลำปาง (แยกหมู่บ้านเฮือนสายคำ)

– ตลาดนัดชุมชนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ (ตรงข้ามสหกรณ์ผู้ปฏิบัติงานการไฟฟ้าฯ)

– หน้าห้างเสรีสรรพสินค้าลำปาง

– เชื่อมโยงผ่านห้างบิ๊กซี​สาขาลำปาง และสาขาภาคเหนือ ทั้งนี้จะลงพื้นที่พบเกษตรกรและกำหนดแนวทางอีกครั้ง

–  เชื่อมโยงรับซื้อและกระจายผลผลิตให้แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในจังหวัดลำปาง

– ให้เกษตรกรเตรียมความพร้อมในการนำผลผลิตจำหน่ายในตลาดออนไลน์กับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

ซึ่งหากกลุ่มเกษตรกรอำเภอประสงค์เข้าร่วมมาตรฐานการช่วยเหลือดังกล่าวนั้น สามารถลงทะเบียนเพื่อขอจำหน่ายผลผลิตลิ้นจี่ได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภองาว

ในตอนนี้ก็มีเด็ก ๆ รุ่นใหม่ที่เข้ามาช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรที่เข้ามาจัดการเร่องนี้โดยการตั้งเป็นกลุ่มเป็นรัฐวิสาหกิจชุมชนหรือตั้งเป็นบริษัทสำหรับการขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่สภาเกษตรจังหวัดลำปางก็จะเข้าไปสนับสนุนเด็กรุ่นใหม่เหล่านี้ในเรื่องของการขายสินค้าทางออนไลน์ การจัดการผลผลิตทางการเกษตร ในพื้นที่ของเขาว่าแต่ละส่วนควรจะมีการจัดการอย่างไร

กลไกด้านการตลาดอื่น ๆ จะคิดถึงการแปรรูปมากขึ้นผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งเกษตรกรไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ผลิตผลทางการเกษตรเท่านั้นที่ขายสดอย่างเดียว แต่เป็นทั้งผู้แปรรูปด้วย สิ่งนี้เป็นสิ่งที่นำมาคุยกันถ้าสถานการณ์โควิดดีขึ้นทางสภาเกษตรก็จะได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปพูดคุยและลองไปชวนหาแนวทางในการที่จะแปรรูปผลผลิตจะจัดการอย่างไรเมื่อเกิดสถานการณ์แบบนี้แล้วสินค้าไม่อยู่กับที่แล้วล้นตลาด จะมีแนวทางอย่างไรได้บ้างเป็นสิ่งที่ต้องหารือกันต่อไป อาจจะเป็นการแปรรูปเป็นแยม เป็นผลไม้แช่เย็นผลไม้กระป๋อง ซึ่งแบบนี้น่าจะเป็นอีกทางที่ช่วยเหลือกันได้

สุดท้าย อยากจะฝากถึงพี่น้องเกษตรกรบทเรียนในครั้งนี้ ในสถานการณ์แบบนี้เราได้เรียนรู้ทั้งเราเป็นทั้งลูกเกษตรกร และเป็นทั้งหน่วยส่งเสริมด้วย และเป็นทั้งผู้ได้รับผลกระทบได้เห็นว่าการที่เราเป็นเกษตรกรและเราเจอสถานการณ์แบบนี้จริง ๆ เป็นวิกฤตที่มาแบบหลากหลายรูปแบบมาก และสถานการณ์วิกฤตที่เกษตรกรเจอทำให้คิดเรื่องของ

การทำการตลาดการผลิต การตลาด การแปรรูปว่าทั้งสามส่วนว่าเมื่อผลิตแล้วจะแปรรูปอย่างไรแล้วตลาดไปทางไหน บางอย่างหรือว่าจะทำอะไรคิดเรื่องของการตลาดเป็นหลัก ตลาดตอนนี้ต้องการอะไร มองเรื่องตลาดไม่ใช่การนำมาขายส่งอย่างเดียว เช่นตลาดออนไลน์ หรือเรามาเป็นตลาดขายส่งเองเลยดีไหม ต้องคิดถึงอนาคตแบบนี้ด้วย

Live องศาเหนือ Specia 290420

Live องศาเหนือ Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ !วันนี้ชวนคุณผู้ชม ไปเรียนรู้บทเรียนการปรับตัว ของเกษตรกรที่ อ.งาว จ.ลำปาง ที่นั่นเขาปลูกลิ้นจี่ ปัญหาคือในสถานการณ์โควิดแบบนี้ ตลาดหลายที่ก็ปิดรับ ทำให้เกษตรที่นั่นเขาต้องหาวิธีกระจายผลผลิตออกให้เร็วที่สุด ก่อนที่จะเสียหาย.ร่วมพูดคุยกับ : คุณณิชรัศม์ แลวงศ์นิล หัวหน้าส่วนยุทธศาสตร์การเกษตร สำนักงานสภาเกษตรกร จังหวัดลำปาง

โพสต์โดย The North องศาเหนือ เมื่อ วันพุธที่ 29 เมษายน 2020

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ