บทเรียนเกษตรกรมะม่วงเนินมะปราง ในวิกฤตโควิด

บทเรียนเกษตรกรมะม่วงเนินมะปราง ในวิกฤตโควิด

คุยกับ : ชลธิชา ช่างประดิษฐ์ ประธานกลุ่มมะม่วงคุณภาพบ้านวังน้ำบ่อ ต.ไทรย้อย อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก

พิษณุโลก เกษตรกรแปลงใหญ่ ที่ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองส่งออกในจังหวัดพิษณุโลก มากกว่า 50,000 ไร่ เป็นอีกหนึ่งผลผลิตในตอนนี้ที่กำลังออกผลอย่างมากมายในช่วงฤดูนี้ พิษจากสถานการณ์เชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงส่งผลกับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ทำให้ชาวสวนมะม่วงใน จ.พิษณุโลก ได้รับผลกระทบกันหนักมาก โดยเฉพาะที่ อ.เนินมะปราง ที่นิยมปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง เป็นพันธุ์ที่ขึ้นชื่อ และมีการส่งออกไปขายทั้งทั่วประเทศและต่างประเทศ บทเรียนจากวิกฤตโควิด-19 ในครั้งนี้ทำให้คนที่อยู่ในแวดวงการเกษตรหาวิธีการแก้ไขปัญหา และหาทางออกร่วมกันอย่างไร เมื่อวันก่อนเราจะเห็นจากกลุ่มมะม่วงเกษตรกรจังหวัดพิจิตร เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียเพื่อโพสขายระบายสินค้าเพื่อแก้ปัญหาสินค้าตกค้าง และยังมีอีกหลายจังหวัดมากมายที่ใช้วิธีขายออนไลน์เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ แต่บทเรียนจากการขายครั้งนี้เราจำเป็นที่จะต้องให้เกษตรกรลุกขึ้นมาเรียนรู้เพื่อขายในช่องทางออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดียมากขึ้น เพื่อในอนาคตหากเกิดวิกฤตแบบนี้ขึ้นมาอีกจะได้นำไปใช้เพื่อปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์นั้น ๆ

Live องศาเหนือ Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ ! คุยกันเรื่อง สถานการณ์ที่โควิด Live องศาเหนือ Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ ! วันนี้ พูดเรื่องมะปราง จ.พิษณุโลก ที่นั่นเขาปลูกมะม่วงเป็นอาชีพ แต่ในสถานการณ์แบบนี้ มะม่วงขายไม่ได้ นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดการเรียนรู้ปรับตัวของเกษตรกรพูดคุยกับ : ชลธิชา ช่างประดิษฐ์ ประธานกลุ่มมะม่วงคุณภาพบ้านวังน้ำบ่อ ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก

ปีนี้เกษตรกรชาวสวนมะม่วงเนินมะปรางเจอวิกฤตครั้งนี้เป็นครั้งแรก และวิกฤตภัยแล้งที่เข้ามาพร้อม ๆ กันกับไวรัสโควิด -19 เพราะฤดูของมะม่วงส่วนมากจะออกผลผลิตตั้งแต่เดือนธันวาคม มกราคม กุมภาพันธ์ เป็นเดือนที่ผลผลิตออกมาแล้ว แต่ในปีนี้นั้นเจอทั้งภาวะภัยแล้งด้วยแล้ว และเพลี้ยไฟทำให้มะม่วงที่ออกช่อมาทั้งสวนไม่ติดลูก ทางพี่น้องเกษตรกรมีความคาดหวังว่ามะม่วงในฤดูที่ออกมาช่วงเดือนมีนาคม เมษายน จะขายได้ แต่แล้วก็มาเจอวิกฤตซ้อนวิกฤตคือโรคระบาดโควิด-19 ซึ่งเข้าใจว่าไม่ได้เจอวิกฤตนี้แค่เฉพาะในพื้นที่ของ อำเภอเนินมะปราง เจอทั้งประเทศและทั่วโลกมีวิกฤตนี้ พอมะม่วงออกมาแล้วเจอวิกฤตนี้ในช่วงแรก ๆ มะม่วงยังขายได้ ยังมีบริษัทที่รับซื้อที่จะเก็บมะม่วงเพื่อทำการส่งออก ไปยังต่างประเทศแต่พองดกิจกรรมต่าง ๆ งดการซื้อการขาย การขนส่ง ชายแดนต่าง ๆ ปิดทำให้มะม่วงเราหลาย ๆ สวน หลาย 10 ตันไม่สามารถส่งออกได้

ทางออกเดียวในตอนนี้คือ การขายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ บางสวนเป็นปกติอยู่แล้วที่ผ่านมาที่ขายบนโซเชียลมีเดียไปด้วย สมาชิกเมื่อก่อนให้ขายบนสื่อโซเชียลได้จำนวนทีละน้อย ๆ ก็ยังไม่ค่อยมีผู้คนสนใจที่จะซื้อมากนัก แต่พอเจอช่วงวิกฤตโควิด-19 หลายคนหลายสวนก็มาขายบนสื่อออนไลน์เพิ่มมากขึ้น

การเข้ามาขายบนออนไลน์แบบนี้ สำหรับเกษตรกรบางคนถือว่าเป็นมือใหม่ ทำให้ได้เรียนรู้วิธีการใหม่ ๆ นี้จากภาวะวิกฤตที่ทุกคนอยู่บ้าน หยุดเชื้อเพื่อชาติ ช่วยหมอ เกษตรกรเราเห็นช่องทางการขายออนไลน์ขายผ่านสื่อโซเชียลมีเดียชัดขึ้น เพราะเป็นทางเดียวที่เราสามารถทำได้ในตอนนี้ เป็นหน้าที่ของพวกเราชาวเกษตรกรชาวสวนที่ต้องส่งของที่ดีมีคุณภาพ มี GAP รับรองให้ผู้บริโภคได้ถึงบ้าน ในวิกฤตนี้จึงทำให้พี่น้องเกษตรกรได้เรียนรู้ทั้งเรื่องการขาย แพคเกจจิ้ง การขนส่ง เรียนรู้เรื่องการขนส่งการบ่มผลไม้ ระยะเวลาการรับประทาน ทุกอย่างต้องประสานพอเหมาะกัน ถ้าผลผลิตดีบรรจุภัณฑ์ดี การขนส่งดีผู้บริโภคก็จะได้รับสินค้าเกษตรที่คุ้มค่าผู้ผลิตก็ดีใจและภูมิใจในคุณภาพของผลผลิตที่เราต้องใจผลิตออกมา แต่ถ้าหากสิ่งหนึ่งสิ่งใดบกพร่องไปแล้วผู้บริโภคก็ไม่ประทับใจก็จะเกิดความเสียหาย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่พวกเราชาวเกษตรกรต้องนำมาวิเคราะห์ต่อไปในอนาคต ที่ผ่านมาสนใจเรื่องนี้น้อยแต่ในปีนี้ แม้กระทั้งที่ตัวเราเองบรรจุเองก็มีหลาย ๆ คนเข้ามาเรียนรู้เรื่องของการแพคเกจ การบรรจุ ในขั้นตอนที่เราจะส่งทำอย่างไร ในวิกฤตินี้จะทำให้มีอาชีพใหม่ ๆ ของคนรุ่นใหม่ที่อยากจะช่วยพ่อแม่ที่เป็นเกษตรกรขายสินค้าเกษตรมากขึ้น

แต่สำหรับสวนแล้วมะม่วงที่ส่งตรงจากสวนของเรานั้นจะติด QR Code ทุกลูกเพราะเมื่อลูกค้าได้รับมะม่วงจากเราแล้วหรือลูกค้าซื้อมะม่วงจากเราจะนำไปฝากผู้อื่นอีกต่อหนึ่ง จะใช้โทรศัพท์มือถือส่งไปที่ลูกมะม่วงได้เลยที่ QR Code จะเห็นข้อมูลของสวนบนหน้าจอมือถือเห็นทั้งหมดทั้งด้าน Story ของสวนเรื่องราวต่าง ๆ ผลผลิต เบอร์โทรสวน สิ่งนี้เหมือนเป็นอีกไอเดียหนึ่งในการสั่งมะม่วงผ่านทางออนไลน์ เป็นรูปแบบที่เกษตรกรลุกขึ้นมาจัดการและ ออกแบบกับผลิตผลของตัวเอง  

พื้นที่ในในอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลกที่ปลูกมะม่วงมีพื้นที่มีประมาณ 80,000 กว่าไร  ผลผลิตจะตกแล้ว 1 ไร่ 1 ตัน ถ้าประมาณ 8 หมื่นไร่ในพื้นที่เนินมะปรางผลผลิตจะออกมาประมาณ 5 หมื่นตัน พันธุ์ที่ปลูกมากที่สุดคือมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ปลูกเพื่อการส่งออก รองลงมาเป็นมะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์ 4 พันธุ์ฟ้าลั่น โชคอนันท์ แม้กระทั่งสายพันธุ์ต่างประเทศที่นี้ก็มีปลูกบ้าง

ตอนนี้มะม่วงผลผลิตที่ออกมาได้หมดแล้ว หมดจากการร่วงด้วยมะม่วงสีเขียวที่รับประทานดิบเราต้องปล่อยให้มันร่วงไปเพราะเอาไม่ทันและ เพราะเป็นช่วงที่เรากำลังขายพอดีเราหวังว่าจะเก็บขาย เป็นช่วงโควิดพอดี เพราะฉะนั้นเราเก็บไม่ทันในการเราต้องเอามาทำแปรรูปในตอนนี้ไม่ว่าจะเดินไปบ้านไหนก็จะมีมะม่วงกวน

การแปรรูปข้อดีและข้อเสียของมันคือ ตอนนี้เราแปรรูปในเชิงภูมิปัญญาไม่ได้ทำเป็นเพื่ออุตสาหกรรม ดังนั้นในวิกฤตนี้ เรามองว่าถ้าในอนาคตเรามีผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปด้วยเป็นเชิงอุตสาหกรรมให้มีมาตรฐานก็จะสามารถนำส่งออกได้ด้วย จริง ๆ ไม่ใช่แค่เฉพาะช่วงโควิดเพียงอย่างเดียว ช่วงโควิดจะล้นตลาดเยอะหน่อยไม่สามารถระบายสินค้าส่งกระจายออกไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ได้ แต่เป็นช่วงในฤดูการผลิตปกติแล้ว ประมาณช่วงเดือนมีนาคมเมษายนเป็นช่วงที่มะม่วงเนินมะปรางออกผลผลิตเยอะมากที่สุด ในอนาคตก็จะต้องปรึกษาทางหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ นำมาทำเป็นมะม่วงที่แปรรูปสำหรับอุตสาหกรรมส่งออกได้ด้วย เช่นมะม่วงอบแห้ง

ในการปรับตัวครั้งนี้เราได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาคส่วนหลายส่วน ในเรื่องของการขายการช่วยประชาสัมพันธ์ ให้หลายที่ได้รู้จักมะม่วงเนินมะปรางและรับประทานมะม่วงซึ่งมีวิดตามินซีสูง ภูมิต้านทานไวรัสต่าง ๆ ก็จะขายได้เยอะกว่าปกติในทางออนไลน์ แต่สิ่งที่เราปรับตัวกะทันหันเลยคือ ในเรื่องแพคเกจจิ้ง เราอาจจะต้องมีความเตรียมพร้อมมากกว่านี้ แพคเกจจิ้งของมะม่วงตอนนี้กล่องยังไม่ค่อยแข็งแรง เพราะฉะนั้นแล้วกล่องจะต้องแข็งแรงมากขึ้น ปกติแล้วที่ทางสวนส่งจะขายแต่เป็นแพคเกจจิ้งแบบพรีเมียม ตกกล่องละ 5 กิโลกรัม คือ 9-12 ลูกพอเกิดภาวะวิกฤติขึ้นมาแล้ว มะม่วงขายออกไม่ได้เพิ่มมาขึ้นก็จะเพิ่มมาเป็นแพคเกจจิ้งแบบครอบครัว เป็นชุดครอบครัว 9 กิโลกรัม ครั้งแรกเราส่งให้ลูกค้า 2 วันกะจะให้ลูกค้ารับประทานเลย แต่ในช่วงวิกฤตนี้ไม่ว่าจะทางของส่งของวิสาหกิจหรือเอกชนของเยอะมาก ไม่เหมาะสมที่จะส่งมะม่วงบ่มให้ลูกค้า ต้องปรับเป็นมะม่วงดิบส่งไปให้กับลูกค้าแต่ด้วยความแออัดยัดเยียดของพัสดุต่าง ๆ ก็จะทำให้มะม่วงนั้นเสียหายได้

ในโอกาสต่อไปในปีหน้าทีหมดโควิดไป ในปีหน้าเราจะต้องวางใหม่ในเรื่องของแพคเกจจิ้ง เรื่องระบบการขนส่งนำมาคิดวิเคราะห์ เพื่อให้เหมาะสมกับตัวผลไม้ให้เหมาะสมกับมะม่วงที่จะส่งไปให้กับลูกค้า เพราะว่าในการส่งของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ค่อนข้างจะบอบบางเพราะเป็นของสด ถ้าผลผลิตดีบรรจุภัณฑ์ดี แพคเกจจิ้งดี การขนส่งดี กำหนดวันส่งที่แน่นอนผลผลิตของเราก็จะส่งถึงมือลูกค้าลูกค้าของเราก็จะประทับใจ

บทเรียนต่าง ๆ ในปีนี้รวมทั้งเรื่องของ GAP ถือเป็นเรื่องใหญ่ของผู้ผลิตสินค้าทางการเกษตรเลย เราทำผลผลิตมาดีแค่ไหน ปลอดภัยแค่ไหนแล้วเราไม่สามารถรับรองตัวเราเองได้ ก็จำเป็นที่จะต้องมีหน่วยงานเข้ามารับรองว่าผลผลิตของทางเกษตรกรดีจริง ปลอดภัย มีทางหน่วยงานกรมวิชาการการเกษตรเข้ามาดูแลเรื่องนี้ แต่เนินมะปรางเป็นพื้นที่ ที่ไม่มีเอกสารสิทธิเป็นพื้นที่ ที่อยู่ในการดูแลของนิคมสหกรณ์ในการรวมกลุ่มแรก ๆ ของบ้านวังน้ำบ่อ เกษตรกรที่ทำ GAP แบ่งเกษตรกรสมาชิกได้เป็น 3 แบบแบบที่ 1 คือแบบมีพื้นที่ดินมีเอกสารสิทธิที่นิคมสหกรณ์ มาวัดให้ ตรงนี้ทำ GAP ได้เลยอีกกลุ่มหนึ่งคือไม่ทำอะไรมาก่อนเลยเป็นพื้นที่ว่างเปล่า แต่ทำกินมาหลายสิบปีแล้วตรงนี้ทางเกษตรกรเองได้ประสานทางนิคมสหกรณ์มาช่วยกันวัดที่ดินให้กับเกษตรกรและสมาชิกกลุ่มได้ไหม เพราะเมื่อมาวัดแล้ว เทียบทางนิคมสหกรณ์ให้สมาชิกกลุ่มหรือเกษตรกรจะได้ประโยชน์มากเพราะว่าผลผลิตของทางพี่น้องเกษตรกรขายได้ราคามากกว่าเดิมถึง 100 เปอร์เซ็นต์ และได้การส่งออกแต่คุณภาพจะต้องดีจริง ๆ ด้วย

ทางนิคมสหกรณ์เป็นทางหน่วยงานกรมส่งเสริมร่วมมือร่วมใจกันในการนำวัดให้พอได้นำวัดแล้วทางกรมวิชาการเกษตรก็เข้ามาต่อเพื่อทำ GAP ให้ โดยกลุ่มบ้านวังน้ำบ่อเป็นคุณภาพ GAP แบบกลุ่ม หมายถึงว่า หลาย ๆ คนมี GAP แค่ 1 ใบ GAP 1 ใบถ้าสมาชิกคนใดคนหนึ่งไม่ปฏิบัติตาม GAP ทำตามข้อมูลของ GAP นั่นหมายถึงว่าทั้งกลุ่มจะโดนยกเลิก GAP ทันที เราจะต้องร่วมมือร่วมใจกันทำมะม่วงผลผลิตของเรา ให้ได้มาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดให้ มาตรฐาน GAP นี้มีอายุ 3 ปี ทางกลุ่มวังน้ำบ่อได้ GAP ประมาณปี 61 ประมาณปีหน้าก็จะครบอายุจะต้องทำการต่ออายุ GAP ใหม่

ในระหว่างการที่เราต่ออายุ GAP ทางกรมวิชาการเกษตรก็จะเข้ามาดูว่าเราได้ปฏิบัติตามหรือไม่ เราสามารถที่จะพาดูได้เลยหรือตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน ว่าเราปฏิบัติติตาม GAP

เพื่อประโยชน์ของตัวผู้ผลิตเอง ตัวเราเอง ต้องปลอดภัยก่อนอันดับแรกก่อนที่จะทำให้ผู้อื่นปลอดภัย ตัวผู้ผลิตต้องปลอดภัย สิ่งแวดล้อมต้องปลอดภัยด้วย ผู้บริโภคปลอดภัยแน่นอนรับประทานมะม่วงเป็นผลผลิตจากสวนของเราจากกลุ่มเกษตรของเรา

สุดท้ายอยากจะฝากถึงพี่น้องเกษตรกรคนอื่น ๆ ว่าเราต้องพึ่งตัวเองให้ได้มากที่สุด เราต้องหาชิ่งทางการตลาดของเราเองด้วย ถ้าเรารอคนอื่นอย่างเดียว ถ้าผู้อื่นอยู่ในวิกฤตแบบนี้เราจะไม่สามารถทำไรได้เลย ไม่ว่าจะมีวิกฤตหรือไม่มีวิกฤต ก็ตามยังไงเราก็คงต้องพึ่งตัวเองก่อนอันดับแรก พยายามค้นหาช่องทางทางการตลาดไว้ ต้องทำสำรองไว้ว่าถ้าช่องทาง ๆ การตลาดนี้ไม่ได้เราควรจะทำอย่างไร

ซึ่งในปัจจุบันนี้เห็นได้ชัดเจนอยู่แนวทางเดียวคือ ลูกหลานกลับมาช่วยพ่อแม่ ช่วยครอบครัวขาย เช่นตอนนี้ลูกสาวอยู่ที่อเมริกาก็ได้มาการโพสขายที่อเมริกาด้วย โพสขายแต่ไม่ได้ส่งไปยังอเมริกาโพสขายชุดครอบครัวคิดถึงครอบครัวที่อยู่บ้านช่วยคุณหมออยู่บ้านช่วยชาติ เรามีมะม่วงก็สามารถสั่งได้ขายเพื่อให้เรานำไปส่งให้ครอบครัวเขาที่อยู่ในประเทศไทย จะเห็นได้ว่าทุกคนไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในโลกก็สามารถขายผลผลิตที่เป็นผลผลิตทางการเกษตรของครับครัวของตัวเองได้

เมื่อก่อนนี้เกษตรกรสนใจเรื่องการขายตรงและขายออนไลน์น้อยมาก เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนขางยุ่งยาก และลูกหลานทุกคนมีการงานหน้าที่ต้องทำ ก็อาจจะไม่ได้ย้อนกลับมาตรงที่ที่สวนมากเท่าไหร่ ก็รับผิชอบหน้าที่ แบบของตัวเองไปแต่วิกฤตนี้ทำให้เห็นโอกาสหลายอย่าง ทุกคนหันกลับมามองครอบครัวมากขึ้น ได้อยู่ร่วมกันได้มาช่วยกันกวนมะม่วง ได้โพสขายมะม่วงซึ่งเป็นในที่ดินของตัวเองของพ่อแม่พี่น้องตัวเองซึ่งเชื่อว่าในปีต่อไปผลผลิตทางการเกษตรจะมีออนไลน์ขึ้นอีกหลายเท่า

แนวคิดของเราคิดว่าถ้าหมดวิกฤตโควิด-19 นี้แล้วเชื่อว่าหลาย ๆ คนบนโลกใบนี้ยังคงต้องการอาหาร ยังต้องการผลไม้เมืองไทยถือได้ว่าเป็นครัวโลกอยากให้เราเตรียมทำด้านนี้ไว้ เช่นในภาวะวิกฤตนี้การส่งออกสิ่งเหล่านี้ไปต่างประเทศไม่มีเครื่องบิน หรือผลผลิตของเกษตรเลยอยากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหันมามองเกษตรกรสักหน่อย ถ้าเรามีเครื่องมือสำหรับขนส่งผลผลิตทางด้านการเกษตรออกขาย เชื่อว่าพี่น้องเกษตรจะไม่ลำบากและขายได้ดีกว่านี้ และเรื่องเกษตรกรในการเตรียมตัวรับมือไม่ว่าจะสถานการณ์ไหน ทางกลุ่มของเราเป็นกลุ่มรายย่อยเรื่องของการรวบรวมการผลิตอยากให้ทางภาครัฐ ส่งเริม การรวบรวมผลผลิต เพื่อว่าเราจะได้รวมกันขายด้วยตัวของเราเองหรือบริษัทต่าง ๆ จะมาซื้อก็สามารถมาซื้อได้ก็จะสะดวกมากขึ้น ฝากในเรื่องของการส่งเสริมผลผลิตทางด้านการเกษตรด้วย

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ