“ภายใต้วิกฤติย่อมมีโอกาส” ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในการช่วยเหลือแบ่งปัน เกิดขึ้นมากมายในสังคม ในสถานการณ์โควิด-19 ครั้งนี้ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ทุกคนต้องปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต เช่น ภาคธุรกิจที่ต้องหยุดชะงัก ส่วนพนักงานเองก็ต้องพักงาน ในทุก ๆ วันเช่นนี้ ทำให้ตลอดช่วงเวลาผ่านมา หลายคนต่างเจอความยากลำบากในการใช้ชีวิตในส่วนหนึ่งคือความมั่นคงทางอาหาร ภายใต้สถานการณ์แบบนี้ พื้นที่บนดอยมีความมั่นคงทางอาหารพอสมควร และในช่วงวิกฤติแบบนี้พื้นที่เหล่านั้นที่เป็น ที่ทำกินของพวกเขาก็ประกาศปิดตัวลงด้วยเช่นกันเนื่องจากมีความกังวลว่าผู้ที่เดินทางไปมาระหว่างเมืองจะทำให้ ไปแพร่กระจายเชื้อและอาจจะทำให้เกิดการระบาดขึ้นในชุมชน จึงมีการปิดชุมชน แต่ในตอนนี้สถานการณ์ที่เริ่มทรงตัว แต่พวกเขาก็ไม่ลืมที่จะห่วงคนที่อยู่ในเมืองคนพื้นราบ หลายคนที่ต้องเผชิญกับพิษเศรษฐกิจวิกฤติปากท้อง หลายคนต้องหยุดงานไม่ต่ำกว่า 10 วัน ในช่วงนี้ ซึ่งแน่นอนว่าตั้งแต่มีประกาศ พรก.ฉุกเฉินประกาศปิดสถานที่ต่าง ๆ กลุ่มคนเหล่านี้เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบ ในภาพของสถานการณ์แบบนี้เราจึงเห็นถึงความช่วยเหลือกันและกันที่กระจายอยู่ในจุดต่าง ๆ
Live องศาเหนือ Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ ! คุยกันเรื่อง สถานการณ์ที่โควิด Live องศาเหนือ Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ !คุยกันเรื่อง กลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง ที่ลงมาช่วยเหลือชาวเมืองเชียงใหม่ ทั้งการนำกะหล่ำปลีลงมาให้ หรือในตอนนี้กำลังระดมข้าว และอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องที่ได้รับผลกระทบจากโควิด
หยาง พงษ์ศักดิ์ หยางรุ่งรวิน เครือข่ายชาติพันธุ์ชนเผ่าม้ง : แจกผักที่จุดสนามยิงปืนลานนา วันนี้แจกเป็นวันที่ 2 นำลงมา 10,000 กิโลกรัม หมดไป 1 ลำรถ พี่น้องม้งรวบรวมมามีทั้งกะหล่ำปลี หัวไซเถ้า และนำไก่มาสมทบ การที่เราเอาผักมาแจก ตอนนี้ไม่ว่าทุกคนทุกพื้นที่ไม่ว่าบนดอยในเมือง ได้รับผลกระทบในการระบาดครั้งนี้ ในตอนนี้บนดอยเรื่องการขนส่ง ตรงนี้ไม่ค่อยมีอุปสรรคไม่มากเท่าไหร่ ในเรื่องของเคอฟิวยังเป็นเรื่องของการจัดการเวลาและระบบในการขนส่ง ตอนนี้มีปัญหาเรื่องของหลาย ๆ หน่วยงาน ภาคธุรกิจ โรงแรมปิดตัวลง การวางขายเลยขายไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ราคาจึงไม่ค่อยดี และเป็นช่วงฤดูร้อนด้วย ผลผลิตออกไม่ค่อยมาก
จุดเริ่มต้นในการแจกมาจากเพื่อนเราชาวม้ง มองเห็นว่าทุกคนคนข้างล่างในเมือง เจอสถานการณ์แบบนี้ เราจะมีส่วนช่วยอย่างไรได้บ้าง เราจึงประสานเรื่องการนำผักลงมา พี่น้องม้งจึงได้สมทบร่วมด้วยทั้งทุนด้านน้ำมัน เงินและผัก จึงมีผักมาร่วมสมทบจำนวน 12,0000 กิโลกรัม เราใช้เวลาเพียง 1-2 ชั่วโมงในการแจกจ่ายและ พี่น้องม้งก็กลับไปขนมาใหม่ในวันนี้เป็นวันที่ 2 มีจุดที่กระจายเพราะเราต้องเป็นห่วงเรื่องการเว้นระยะห่างทางสังคม ทางเราได้ประสานทำการกระจายให้ที่ต่าง ๆ อีกจำนวน 11 จุด คือ
1. อสม.หางดง จำนวน 2,000 กิโลกรัม
2. เทศบาลสารภี จำนวน 2,000 กิโลกรัม
3. เทศบาลสันทรายหลวง จำนวน 2,000 กิโลกรัม
4. เทศบาลแม่ริม จำนวน 2,000 กิโลกรัม
5. จุดท่าแพ จำนวน 1,000 กิโลกรัม
6. เรือนจำหญิง จำนวน 1,000 กิโลกรัม
7. บ้านพักคนชรา 300 กิโลกรัม
8. โรงพยาบาลสันกำแพง
9. โรงพยาบาลมหาราชเชียงใหม่
10. โรงพยาบาลนครพิงค์ รวมโรงพยาบาลทั้ง 3 ที่ 500 กิโลกรัม 11. หมู่บ้านแม่เหียะ 500 กิโลกรัม มีอีกหลาย ๆ ที่ทำนำไปแจกจ่ายให้กับโรงทานที่ทำอาหารต่าง ๆ เรามองว่า
เมื่อครั้งที่เกิดวิกฤติบนพื้นที่สูงหรือเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ ผู้คนในเมืองก็ส่งความช่วยเหลือมาให้เรา ในตอนนี้พวกเราไม่เคยลืม ณ วิกฤตินี้พวกเรารู้ว่าคนในเมืองได้รับผลกระทบ พวกเราจึงนำเท่าที่เรามีมาช่วยเหลือ เพื่อฝ่าวิกฤตินี้ไปด้วยกัน
IMN เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง / คุณ ศักดิ์ดา แสนหมี่ เลขาธิการ IMN เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย : มีเครือข่ายมีโอกาสไปพื้นที่ชุมชนชานเมือง ไปหาพี่น้องลาหู่ 2 ที่ ก่อนเที่ยงไป อ.เมือง ชุมชนครองเรือง มีพี่น้องหลากหลายกลุ่ม ผู้รับผลกระทบส่วนใหญ่ มีรายได้จากการรับจ้างรายวัน ช่วงนี้ปิดกิจการไป บางส่วนเองก็กลับขึ้นดอยเพื่อกลับไปอยู่กับธรรมชาตี่เขาเชื่อว่าเป็นสถานที่ปลอดภัย แต่ส่วนมากก็ไม่สามารถกลับเข้าไปได้ เพราะหลายชุมชนปิดตัวเพื่อป้องกันตัวเอง ส่วนใหญ่จึงต้องอยู่ที่ในเมืองก่อน
ของที่นำไปบริจาครวบรวมมามี ข้าวสาร ปลากระป๋อง อาหารแห้ง มันฝรั่งพี่น้องบนดอย บริจาคมากะหล่ำปลี พริก เป็นส่วนที่คิดว่าพี่น้องในเมืองต้องขอบคุณฝากไปถึงผู้ที่บริจาคพี่น้องที่อยู่บนดอย ทั้งสมาคมม้งที่อยู่ในเมือง และบนดอย ตอนนี้ยังอยู่ในการระดม สักพักก็จะเคลื่อนตัวไปยังหลายแห่ง ช่วยกับกลุ่มอื่น ๆ ในเขตชานเมือง
เป็นความจำเป็นของผู้ที่มีความจำเป็นทั้งด้านอาหาร ทรัพย์สิน พอจะช่วยกันได้นี่จะเป็นส่วนที่จำเป็นที่จะต้องช่วยกันในเฉพาะช่วงนี้เป็นช่วงวิกฤติสักระยะหนึ่งเราว่ามันอาจจะดีขึ้น แต่หลังจากนั้นการพื้นฟูเยียวยาเป็นอีกประเด็นหนึ่ง ในอนาคตจำเป็นต้องมีการออกแบบติดตามสถานการณ์เพื่อช่วยกันในตอนนี้ หลังวิกฤติก็จะเป็นอีกปัญหาหนึ่ง พี่น้องเราจะอยู่ลำบากมากขึ้น ถ้าเป็นในเมืองคนที่ต้องอาศัยการรับจ้างรายวัน โอกาสในการทำงานที่เดิมก็ค่อยข้างจะยากอาจจะต้องหางานใหม่ และถึงแม้จะกลับไปยังบ้านเกิดบนดอยกลุ่ม เหล่านี้ก็ยังคงมีปัญหา ซ้ำเข้ามาในภาวะวิกฤติโควิด-19 ถ้ากลับไปก็มีปัญหากับเขตป่าอนุรักษ์ในเรื่องของจะทำมาหากินบนดอยเป็นปัญหาในเชิงของการใช้ชีวิตประจำวันในการเพราะปลูกเลี้ยงชีพตนเอง กลุ่มเหล่านี้จำเป็นต้องมีมาตรการและทางออกในการใช้ชีวิตในระยะต่อไป ถ้าเป็นบนดอยในส่วนของรัฐเองต้องกลับมาทบทวนมาตรการในการจัดการเรื่องทรัพยากรทำอย่างไรถึงจะสร้างความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของชุมชนที่อยู่ในเขตป่า ที่จะช่วยกันดูแลจัดการทรัพยากร สามารถเป็นปอดของคนทั้งคนดอยและพี่น้องในเมืองและเป็นแหล่าที่พึ่งพาอาศัยของพี่น้องที่อยู่ในชุมชนที่อยู่ในป่าด้วยต่อไปในระยะยาว สิ่งนี้เป็นส่วนของมาตรการที่ทางรัฐจะต้องกลับมาทบทวนทั้งทางกฎหมายนโยบายและร่วมกันแสวงหาคำตอบและทางออก และที่สำคัญต้องไม่ลืมเรื่องการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างความใจและความยั่งยืน ที่จะทำให้ทรัพยากรอยู่ได้อย่างยาวนานผู้คนที่อาศัยอยู่ในเขตป่าสามารถอยู่ได้ตามวิถีเดิมของเขาแบบในอดีตที่ผ่านมา ต้องใช้การมีส่วนร่วมในการพัฒนา
มันเป็นโอกาสในช่วงวิกฤตเองเราได้เห็นสายสัมพันธ์และ ความเข้าใจของพี่น้องที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่ทั้งบนดอยและในเมือง สามารถที่จะเชื่อมโยงและหนุนเสริมซึ่งกันและกันได้ ส่วนนี้ก็จะเป็นส่วนที่เป็นตัวนี้จะเป็นตัวลดข้อจำกัด ช่องว่าง ในการใช้ชีวิตหรือดำเนินชีวิตของพี่น้องที่อยู่ในเมืองไปด้วยส่วนหนึ่ง ซึ่งมองไปถึงระยะยาวต้องหาความมั่นคงในการดำรงชีวิต ทั้งในเมืองและบนดอย ที่สามารถเชื่อมโยงในการใช้ชีวิตไปด้วยกันได้แลเราร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความเหมาะสมดุล ในการที่จะอยู่ร่วมกับมนุษย์ ทั้งบนดอยและในเมือง เป็นส่วนหนึ่งที่มันสะท้อนถึงการจัดชีวิตการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ พี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองอาจจะต้องกลับมาทบทวนตัวเองวิถีของเราในระยะยาวเช่นกัน ทำอย่างไรให้คุณค่า ระบบการผลิตแบบเดิมกลับมาปรับปรุงให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้นและระยะยาว และหวังว่ารัฐเองก็จะพยายามปรับเปลี่ยนนโยบาย ปรับเปลี่ยนมาตรการในการที่จะให้คนที่อยู่ในเขตป่าสามารถอยู่อย่างยั่งยืน