ไร่หมุนเวียน บทพิสูจน์ภูมิปัญญาการเผาชาวบ้าน

ไร่หมุนเวียน บทพิสูจน์ภูมิปัญญาการเผาชาวบ้าน

คุยกับ : รุจิพัฒน์ สุวรรณสัย นักวิจัยอิสระเกี่ยวกับเรื่องการทำไร่หมุนเวียน

 “การทำไร่คือชีวิต” ไร่หมุนเวียน คือระบบการผลิตพื้นบ้านของคนกะเหรี่ยงและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อยู่บนที่สูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และที่อื่นๆ ที่ทำการผลิตในระยะสั้นและปล่อยพักฟื้นระยะยาวจนผืนดินคืนความสมบูรณ์แล้วจึงวนกลับมาทำที่เดิมไร่หมุนเวียนไม่เพียงเป็นระบบการผลิตอาหารที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังเป็นอัตลักษณ์วัฒนธรรมของคนกะเหรี่ยงที่แฝงองค์ความรู้ชาติพันธุ์นิเวศ ระบบการจัดการทรัพยากรส่วนรวม และระบบการผลิตเชิงศีลธรรมเพื่อการยังชีพอย่างมั่นคง ไร่หมุนเวียนเริ่มประสบปัญหาไร่หมุนเวียนถูกมองว่าเป็นระบบการผลิตที่ล้าหลังไม่มีประสิทธิภาพ กระทบต่อป่าไม้ที่เป็นแหล่งทรัพยากรอันมีค่าของรัฐ ซึ่งขัดกับความเป็นจริงที่เป็นวิถีของกลุ่มชาติพันธุ์บนที่สูง และรัฐประกาศเขตป่าอนุรักษ์ครอบทับพื้นที่ทำกินของคนกะเหรี่ยง ไร่หมุนเวียนจึงเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ถูกห้ามทำไร่หมุนเวียน และจากสถานการณ์หมอกควันที่รุนแรงในพื้นที่ภาคเหนือ ทำให้ผู้คนเหล่านี้ที่มีวิถีการทำไร่หมุนเวียนในช่วงนี้ มีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการเผาหรือการใช้ไฟในช่วงดับเพลิง กำจัดวัชพืชที่อยู่ในพื้นที่ไร่ ก็ทำให้เกิดควันมีภาพที่ออกมาแล้วออกมาบอกว่าไม่เห็นด้วยกับการใช้วิธีการแบบนี้ แล้วชาวบ้านพื้นที่สูงจะมีการวิธีการอย่างไร เงื่อนไขข้อเสนอข้อจำกัดที่ผ่านมาเป็นอย่างไร เพื่อที่เราจะได้เห็นว่าจริง ๆ การทำไรหมุนเวียนนั้นมีความจำเป็นในพื้นที่การเพาะปลูกแบบนั้นที่อยู่ในพื้นที่สูงและ วิถีการใช้ไฟของคนเหล่านี้ไม่ได้น่ากลัวดังภาพที่เราเห็น

Live องศาเหนือ Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ ! คุยกันเรื่อง สถานการณ์ที่โควิด Live องศาเหนือ Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ ! ในสถานการณ์ฝุ่นควัน วันนี้ องศาเหนือ พูดคุยและทำความเข้าใจ ในเรื่อง “ไร่หมุนเวียน” กับภูมิปัญญาการเผา ของคนบนพื้นที่สูง กับ : รุจิพัฒน์ สุวรรณสัย

จากงานวิจัยงานวิจัยปี 2561-2562  ทีมตัวเองและทางทีมผู้วิจัย คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเครือข่ายชุมชนกระเหรี่ยง และคณะกรรมการวิทธิมนุษย์ชนในขณะนั้นมีความพยายามเข้าไปศึกษาอยากจะรู้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตอนนี้กับชุมชนกระเหรี่ยงภาคเหนือที่เกี่ยวข้องกับรวมตัวไร่หมุนเวียนเป็นอย่างไรจึงได้เข้าไปศึกษาในพื้นที่ในจังหวัดภาคเหนือตอนบนมีอุปสรรค์ต่าง ๆ เข้ามาพอสมควรในช่วงเวลานั้น แต่อย่างน้องเราได้รู้ว่ามีชุมชนมากมายที่ยังคงเกี่ยวข้องกับกรณีไร่หมุนเวียนประมาณ 130 ชุมชน ที่พบเป็นข้อมูลภาพรวม และดูในเชิงของลักษณะการเปลี่ยนแปลงข้างในประมาณ 50 % ไร่หมุนเวียนยังคงเป็นวิถีชีวิตที่สำคัญในการดำรงชีวิตของคนในชุมชนเหล่านั้นอยู่ ส่วนสัดส่วนที่เหลือพบว่ากำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวในกรณีไรหมุนเวียน ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะไปสู่ทิศทางที่ไม่ใช่ทิศทางที่พึงจำเป็นในสังคมปัจจุบัน

กรณีข่าวที่ปรากฏในช่วงนี้มันย้อนแย้งและเป็นปัญหาเรื่อง ความพยายามในการใช้อำนาจในเชิงวาทะกรรมในทางที่พยายามจะบอกสังคมว่าไร่หมุนเวียนเป็นส่วนหนึ่งของปัญหากระแสไฟป่าที่ เกิดขึ้นในฤดูกาลนี้ เป็นการสร้างมายาคติของสังคมครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ไร่หมุนเวียนถูกยกมาเป็นข้อถกเถียงที่น่าจะยุติไปนานแล้ว เนื่องจากว่าในเชิงวิชาการมีงานศึกษาวิจัยจำนวนมากที่ยืนยันได้ว่า ณ ขณะนี้กระทรวงวัฒนธรรมเอง มติครม.ฟื้นฟูวิถีชีวิตกะเหรี่ยง 3 สิงหาคม 2553 หรือแม้กระทั้งองค์กรระดับโลก มีการยืนยันกันหมดแล้วว่า ระบบวิถีชีวิตตรงนี้ควรได้รับการยอมรับและต้องรักษาให้ดำรงต่อไปสิ่งนี้เป็นข้อยุติในวงวิชาการไปเมื่อนานแล้ว แต่เหตุการณ์ที่เราเจอ ณ ขณะนี้เป็นวิกฤตเรื่องของอำนาจในการที่จะบอกว่าสิ่งใดเป็นสาเหตุของอะไร สิ่งนี้เป็นปัญหาที่เราเจอแล้วว่าฝ่ายที่มีอำนาจมากกว่าที่สร้างความเข้าใจผิดต่อสังคมอย่างหนัก เป็นการเหมารวมประเด็นเรื่องไร่หมุนเวียนต้นเหตุสาเหตุแฝงของปัญหาไฟป่าค่อนข้างที่จะเป็นปัญหาที่มักง่าย เพราะตอนนี้ไร่หมุนเวียนเราไม่สามารถมองให้มันเป็นทั่ว ๆ ไปได้ มันมีความเฉพาะเจาะจงในตัวพื้นที่อยู่ เป็นคำถามที่ต้องถามกันอย่างหนักเลยว่าเรื่องนี้ผู้ที่สร้างวาทะกรรมแบบนี้ขึ้นมาอีกมีเป้าหมายใด ๆ

ตอนนี้กำลังทำงานวิจัยเรื่องนี้อยู่ ซึ่งเป็นพื้นที่หนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการไฟของชุมชน และเป็นกรณีพื้นที่ของไร่หมุนเวียนอีกด้วย และเราประเมินน้ำหนักประเมินกระแสของนโยบายของฝั่งรัฐ จากกระทรวงหรือหน่วยงานจังหวัด หรือจากกระแสข่าวต่าง ๆ เราจึงคิดว่าหายนะที่เป็นแพะรับบาปในครั้งนี้ กำลังจะมุ่งตรงไปที่กรณีไร่หมุนเวียน เพราะยังเป็นชุมชนที่มีการจัดการไฟและใช้ไฟในฤดูเพาะปลูก ในขณะนี้อยู่ พอมายังจุดที่กระแสไฟป่าดอยสุเทพเริ่มจางลงทิศทางของนโยบายกำลังมุ่งไปสู่ทางพูดถึงกรณีไร่หมุนเวียนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไฟ จึงเกิดไอเดียชวนเพื่อน ๆ บนสื่อออนไลน์บนพื้นที่ Facebook ของตัวเองสื่อสารกันในเรื่องของการเข้าฤดูกาลเพาะปลูก ที่ยังไม่ได้เผาและใช้ไฟในพื้นที่ของตนเอง โดยมีการประกาศนโยบายต่าง ๆ เพื่อที่จะชักชวนให้ผู้คนได้มองเรื่องนี้กันสักนิด

อย่างที่กล่าวไปในตอนต้นว่า 50 % ไร่หมุนเวียนยังคงเป็นวิถีชีวิตของคนเหล่านั้นและเกี่ยวข้องกับการดำรงชัพอยู่ในภาคเหนือ ซึ่งมันเป็นระบบ กิจกรรมเพียงเสียวหนึ่งเท่านั้นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติตรงส่วนนั้นเนื่องจากนิเวศเกษตรในเชิงบังคับของพื้นที่ตรงนั้นมาเนิ่นนานแล้ว เช่น กรณีชุมชนนำร่องที่กระทรวงวัฒนธรรมประกาศให้เป็นชุมชนนำร่องเรื่องเขตวัฒนธรรมพิเศษ สิ่งที่ชัดเจนที่สุดว่าชุมชนเหล่านี้มีระบบการจัดการไฟมีระบบการใช้ไฟที่มีประสิทธิภาพมีประสบการณ์ และมีความรู้เพราะฉะนั้นในระดับภูมิปัญญาระดับขององค์ความรู้ที่เป็นเชิงวิชาการสากลการใช้ไฟของพื้นที่ไร่หมุนเวียนไม่ได้ต่างจาก ชนเผ่าพื้นเมืองทั่วโลกที่ยังเกี่ยวข้องกับระบบเพาะปลูก แต่สิ่งที่มันทำให้ระบบการจัดการไฟของชุมชนอาจจะไม่เฉพาะชุมชนไร่หมุนเวียนด้วยซ้ำเป็นชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ป่า อย่างที่เราทราบกันประมาณครึ่งหนึ่งในพื้นที่ผลัดใบ ป่าเต็งรัง ลักษณะเชิงนิเวศในทางวิชาการ อธิบายไว้อย่างชัดเจนแล้วว่าพื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่ ๆ มีไฟเป็นหนึ่งในการวิวัฒน์พื้นที่เหล่านี้ ไฟมีความจำเป็นต่อพื้นที่เหล่านี้ ไม่ใช่เฉพาะการจัดการเชื้อเพลิงเท่านั้นแต่เป็นนิเวศองค์รวมที่อยู่ตรงนี้ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่หน่วยงานที่ควรจะสร้างความเข้าใจเรื่องนี้ให้กับสังคมกลับไม่ทำแล้วปล่อยให้มันกลายเป็นส่วนหนึ่งของเชื้อเพลิงที่ไม่จำเป็น ภูมิปัญญาในการใช้ไฟของชุมชนถูกกดทับลงไป

ตัวอย่างกรณีชุมชนไร่หมุนเวียนเงื่อนไขประกาศห้ามเผาที่เหมารวมทั้งจังหวัดโดยที่ไม่แยกแยะ เป็นการสร้างความเสี่ยงในการใช้ไฟในพื้นที่ไร่หมุนเวียนอย่างมหาศาล ถ้าพูดในเชิงลึกคือรัฐทราบดีว่าชุมชนเหล่านี้ต้องการใช้ไฟ การจัดการอย่างไรทุกคนทราบดี แต่อยู่ที่การจัดการในลักษณะที่เรียกว่าพยายามจะหลับตาข้างเดียว ไม่อยากให้ผู้อื่นรับรู้ว่าชุมชนเหล่านี้จัดการไฟอย่างไร ในสมัยก่อนชุมชนเหล่านี้จัดการฟ้าฝนอากาศอุณหภูมิ แล้วจะมีการจัดสรรแรงงานในการควบคุมแนวขอบ ในวันนี้อาจจะเผาเตรียมไร่ได้ 2-3 แปลง กระจายแรงงานไป พรุ่งนี้กระจายไปอีกแปลงถ้าช่วยกันควบคุมแบบนี้ไปในช่วงเวลาที่อากาศเหมาะสมที่สุด ชาวบ้านเรียกว่าการเผาไหม้สมบูรณ์ คือการเผาที่ใช้เวลาสั้นที่สุด และความร้อนสูงสุดจะทำให้เกิดควันน้อย แต่เมื่อตอนนี้มันมาตราการณ์ออกมาทำให้ชุมชนต่าง ๆ ถูกบีบให้เผาพร้อมกันในวันเดียว และเลื่อนจุดฮอตสปอตทำให้เวลาที่เคยถูกเผา ในช่วงที่อุณหภูมิเกิดควันน้อยเป็นช่วงเวลาที่ไม่ได้ร้อนเต็มที่ พอตกเย็นมาเสี่ยงต่อการควันไฟจะเกิดขึ้นเยอะ แรงงานที่เคยกระจายกันควบคุมไฟต้องมารวมกันที่จุดเดียวให้เสร็จ

หลักในการใช้ไฟของภาครัฐ รัฐสามารถบูรณาการณ์ผนวกแนวทางเข้าด้วยกันได้ รัฐเองสามารถนำข้อมูลมาสร้าง เพราะจริง ๆ แล้วข้อมูลเชิงนิเวศวิทยาด้านงานป่าไม้หรือทรัพยากรทราบกันดีเพราะว่ามีการเรียนการสอนการศึกษาเป็นเรื่องพื้นฐาน แต่ต้องมานั่งตั้งคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นว่าการมองไปในลักษณะพื้นที่ ๆ นิเวศแตกต่างที่หลากหลายมันจึงถูกมองให้ไฟกลายเป็นปีศาจเหมือนกันไปทั้งหมด คือคนไม่ต้องการให้เกิดไฟเลย เพราะฉะนั้นพื้นที่เหล่านี้ต่างเป็นพื้นที่ ๆ มีไฟเกี่ยวข้องตั้งแต่ประวัติศาสตร์แล้ว พอเรามามองว่าใช้วิธีคิดแบบนี้กับมาตราการณ์ที่ผ่านมา ในปีที่ผ่านมาชัดเจนแล้วว่ามันไม่ได้ผลในการแก้ปัญหา ซ้ำยังสร้างปัญหาและความขัดแย้งให้เกิดขึ้นมากมาย สังคมจึงจำเป็นต้องตั้งคำถามมาตรการที่ล้อมเหลวที่ผ่านมาไปต่ออย่างไร

 ในแต่ละอำเภอมีความพยายามจัดการสร้างความเข้าใจและต่อรองกันในระดับพื้นที่ว่าชาวบ้านจะใช้ไฟในช่วงไหน อย่างไร ทางหน่วยงานของจังหวัดต้องทราบอยู่แล้วและเรื่องนี้เป็นเรื่องที่จัดการในระดับของภาคราชการกับชุมชนร่วมกันอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ออกไปสู่สาธารณะชนคือการพยายามเลี่ยงในการอธิบายเรื่องนี้ แต่กรณีในการที่รู้ว่าดาวเทียวฮอตสปอตผ่านตรงไหนมีความเป็นอยู่แล้วในการเลี่ยงดาวเทียม ในการที่มีกรณีแบบนี้จะจัดการอย่างไรเมื่อไม่เห็นจุดเฮอตสปอต ก็มีข้อเสนอจากหลายฝ่ายว่าการใช้ตัวชี้วัดอย่างฮอตสปอตอย่างเดียวก็ยังไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในพื้นที่ ซึ่งเป็นปัญหาเลยว่าจะดูจากฮอตสปอตอย่างเดียวไม่ได้ ข้อเท็จจริงคือไม่สามารุแสดงข้อเท็จจริงได้ทั้งหมดด้วยซ้ำ หรือถ้าเราไปดูข้อมูลเราจะพบว่ามันมีการกระโดดจำนวนฮอตสปอตจากปี 2561-2562 เพิ่มขึ้นอย่างที่หลายเท่าตัว 2-3 เท่าตัว นี่ก็เป็นคำถามว่าแนวโน้มที่ฮอตสปอตเคยลดลงทำไมถึงกระโดดขึ้นใน 2 ปีนี้ พอเข้าไปดูรายละเอียดในเชิงเทคนิคก็พบว่าการอ่านค่าฮอตสปอตมีการเปลี่ยนแปลง ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

ระหว่างชาวบ้านด้วยกันเองที่ยังคงวิถีเดิมของตัวเองเอาไว้กับชาวบ้านที่อยู่ในเมืองที่จะต้องจัดการตัวเองทั้งเรื่องเครื่องฟอกอากาศเอง จะทำอย่างไรให้สมดุลกัน ปัญหาตอนนี้คือเรามองปัญหาเรื่องไฟป่า หรือไฟในพื้นที่ป่าเราเหมารวมให้มันเป็นเรื่องเดียวกันเราแยกมองว่า ไฟในพื้นที่ป่าเราเหมารวมว่าเป็น PM 2.5 ทั้งหมดทั้ง ๆ ที่สาเหตุมาจากมีหลายสาเหตุมาก แต่สิ่งที่ยังไม่เคยคุยและเปิดเผยกันเลยว่าเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ เพื่ออะไรเพื่อที่ให้สังคมรู้ว่าเราจะออกมาตรการสาเหตุจากแหล่งที่เป็นธรรมได้อย่างไร คือถ้าลองไปถามชุมชนพื้นที่สูงที่อยู่ไกลออกไป 20 นาทีควันหายฟ้ากลับมาใสเหมือนเดิม ช่วงหลัง ๆ มีคนตั้งข้อสังเกตว่าควันจะหายไปช้ากว่าปกติพอช่วงที่เชิงใหม่เผชิญภาวะวิกฤตฝุ่นควันต่าง ๆ ยังไม่มีกิจกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวกับการใช้ไฟ ไร่หมุนเวียนจะใช้ไฟเต็มที่ในเดือนเมษายน แต่วิกฤตที่มันเกิดมาก่อนหน้านั้นฝุ่นมาจากไหน แบบนี้จากฝุ่นควันที่เกิดจากภาคตัวเมืองยังไม่เคยมีความพูดคุยกันเลยว่าจะมีมาตรการอะไรที่จัดการในช่วงที่มีความกดอากาศสูง เช่น ในช่วงเวลา 1 สัปดาห์เรารู้แน่ชัดแล้วว่าจะมีความกดอากาศสูงในจังหวัดเชียงใหม่ เราสามารถบอกให้ทุกคนหยุดการใช้รถได้หรือไม่ ถ้าเราใช้วิธีคิดเดียวกันว่าถ้าคนบนพื้นที่สูงงดใช้ไฟได้หรือไม่ เราจะบอกว่า

อย่างนั้น ในช่วงความกดอากาศแบบนี้คนเชียงใหม่ลดการใช้รถลงได้ไหม ลดการก่อสร้างลงได้หรือไม่

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ยังไม่เคยคุยกันสักครั้ง แต่มุ่งไปที่พื้นที่ป่าอย่างเดียว เราต้องกาวิธีการสร้างข้อเท็จจริงเหล่านี้บนฐานความเป็นธรรมด้วย ป่าคือพื้นที่หลายแห่งครอบคลุมหลากหลาย เราพยายามจะบอกว่าพื้นที่บนนั้นคือป่าทั้งหมดซึ่งสิ่งนี้ไม่ใช่ข้อเท็จจริง ซึ่งสิ่งนี้เป็นปัญหา ซึ่งเราพยายามใช้คำว่าไฟในพื้นที่ป่าเพื่อไม่เหมารวมว่าเป็นป่าทั้งหมด จะได้แยกว่าเป็นไฟในพื้นที่ป่าแบบไหน เพราะหลายที่ประกาศเขตป่าไปหมดแล้วแต่ว่าตรงนั้นมันมีชุมชนเป็นหลักพันในที่นั้น

ในกรณีของไร่หมุนเวียนข้อจำกัดเยอะมากเพราะเผาเตรียมแปลงทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับฤดูกาลและฝนฟ้า ยกตัวอย่างว่าถ้าเผาไม่ทันเตรียมแปลงคนเหล่านี้ไม่สามารถเพาะปลูกได้ไปอีกยาวนานสิ่งใดได้แล้ว ไม่สามารถหยอดเมล็ดพันธุ์กัน ซึ่งถ้าจะเอาความเป็นธรรมเรื่องของควันเองมีงานศึกษาทางวิชาการจำนวนหนึ่งบอกว่าต่อให้เขาเผาเตรียมไร่ปี 1 ประมาณ 10 % ของพื้นที่ไร่หมุนเวียนทั้งหมด แต่คุณภาพในการกักเก็บคาร์บอนของไร่เราที่ถูกพักฟื้นตัวอยู่รอบ ๆ  บริเวณนั้นต้องสูงมาก เพราะฉะนั้นควันที่เกิดจากการเตรียมเผาไร่หมุนเวียนนั้นไม่ใช่ปัญหาเลย ในทางมลพิษทางอากาศ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราต้องพยายามเรียนรู้ไม่งั้นเราจะไม่เข้าใจและเหมารวม

ปีนี้ล่าสุดเปลี่ยนเป็น 80 วันห้ามเผา จริง ๆ แล้วในระดับพื้นที่มีการผ่อนปลนการห้ามเผาอยู่แล้ว แต่สิ่งนี้มันยังไม่ถูกบอกออกไป และข้อเสนอในตอนนี้เราเพียงต้องการรู้ว่าในพื้นที่ไหนมีความจำเป็นในการใช้ไฟในลักษณะไหนบ้าง เพื่อที่จะมีกลไกในการจัดการควบคุมให้การใช้ไฟได้ เราต้องการข้อมูลเพื่อมาดูว่าเราจะจัดการกับสิ่งเหล่านี้เช่นไร อย่างน้องเพื่อที่จะพิสูจน์ว่าเราสามารถควบคุมมันได้และใช้ให้เกิดความจำเป็นมากที่สุด แต่ปัจจุบันมีการสร้างข้อจำกัดสร้างเงื่อนไขแล้วกดทับมันลงไปและจะกลายเรื่องที่ควบคุมไม่ได้ ในตอนนี้สังคมต้องการเพียงแค่ข้อเท็จจริงตรงนี้ สถานการณ์ล่าสุดผู้คนที่ต้องใช้วิถีแบบนี้ยืนยันว่าถึงอย่างไรก็จะต้องทำแบบนี้แม้จะติดคุกก็ยอม ซึ่งการพูดอย่างนี้ไม่ใช่เรื่องแปลของพวกเขาเพราะเดิมพันธ์สูงมาก มันไม่ได้ปลูกแค่เฉพาะข้าว หรือพืชพรรณอาหารในปีนั้นแต่ในคือการดำรงชีวิตทั้งปีและเป็นการเดิมพันธ์สิทธิและศักศรีของชุมชนเหล่านี้อยู่ภายใต้การใช้บังคับกฎหมายป่าไม้ทั้งสิ้น  1 ปีคนเหล่านี้ถูกกฎหมายทับอยู่ในการดำรงชีวิต การทำถนนหนทางที่ปลอดภัยได้ ไม่สามารถมีไฟฟ้าเหมือนปกติได้ ไม่มีน้ำประปาได้

กรณีไร่หมุนเวียนเป็นการสร้างแหล่งอาหารที่มีความมั่นคงได้ที่สุด และเป็นสิ่งมหัศจรรย์ และเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ทั่วโลกจะกลับมามองหามัน แต่กระแสบ้านเราพยายามที่จะกำจัดมันออกไปซึ่งอาจจะได้อะไรมาทดแทนไม่รู้ แต่เราจะสูญเสียแน่นอนเพราะดูจากวิกฤตตรงนี้หลายกลุ่มชนแสดงให้เห็นแล้วว่าความมั่นคงทางอาหารเป็นพื้นที่ทรัพยากรในพื้นที่ของเขาให้สามารถรอดอยู่ได้

https://web.facebook.com/thaithenorth/videos/2698265440396743/

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ