เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2559 เกิดเหตุรถจักรยานยนต์บอม ในช่วงเช้าของวันที่ 6 กันยายน 2559 ที่บริเวณหน้าโรงเรียนตาบา บ้านตาบา ม.1 ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส มีผู้เสียชีวิต 3 ราย เป็นเด็กนักเรียนหญิง กับบิดา และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 7 ราย ทราบชื่อ ด.ญ.มิตรา เวาะบะ นักเรียนโรงเรียนตาบา นายมะเย็ง เวาะบะ สองพ่อลูก ผู้ได้เสียชีวิต และอีกคนคือ นายตัลมีซี มะดาโอ๊ะ พ่อค้าขายขนมหน้าโรงเรียน ถูกสะเก็ดระเบิดที่ศีรษะอาการสาหัส เสียชีวิตแล้วที่โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 7 ราย ได้แก่ ร.ต.ต.ประพิศ บุญสร้าง, ด.ต.กิตติพงษ์ ศรีขำ, ส.ต.ต.วรรณุชิต แซ่ค้อ, ส.ต.ต.เตาฟิค อารง, น.ส.นูรไอนี ยูโซ๊ะ อายุ 25 ปี, นายรัสดี มะแอ อายุ 42 ปี และ นางกูสีหม๊ะ กูมะ อายุ 40 ปี
จากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นได้สร้างความสะเทือนใจต่อผู้พบรับรู้ข่าวสารเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกรณีการเสียชีวิตของเด็กนักเรียนหญิง กับบิดา ขณะที่กำลังส่งลูกสาวไปโรงเรียน ทำให้มีการแสดงออกมาผ่านแถลงการณ์ของกลุ่มต่างๆ กองบรรณาธิการนักข่าวพลเมือง ได้รวบรวมแถลงการณ์ที่เผยแพร่ระหว่างวันที่ 6-7 ก.ย. 2559 ต่อกรณีนี้ จำนวน 10 องค์กร ดังนี้
000000000000000000000000000
- แถลงการณ์สภานักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีเหตุการณ์ลอบวางระเบิดบริเวณหน้าโรงเรียนบ้านตาบา
แถลงการณ์ สภานักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีเหตุการณ์ลอบวางระเบิดบริเวณหน้าโรงเรียนบ้านตาบา จังหวัดนราธิวาส (พื้นที่สาธารณะ)
จากเหตุการณ์คนร้ายไม่ทราบจำนวนลอบวางระเบิดบริเวณหน้าโรงเรียนบ้านตาบา อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2559 เวลาประมาณ 08.30 น. ที่ผ่านมา ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ซึ่งมีทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฎิบัติหน้าที่ในอำนวยความสะดวกด้านการจราจร เด็กนักเรียนที่กำลังเดินทางไปโรงเรียน และราษฎรในเขตพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในเขตพื้นที่สาธารณะที่มีกลุ่มเด็กพลุกพล่าน ในนามสภานักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รู้สึกเสียใจ และขอประณามการกระทำของผู้ไม่หวังดีในครั้งนี้ และขอต่อต้านการใช้ความรุนแรงอันเป็นการกระทำที่โหดเหี้ยม ขาดเมตตาธรรม ไร้มนุษยธรรม ผิดต่อกฎหมายและเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ทางสภานักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อยากเรียกร้องให้กลุ่มและองค์กรร่วมกันรณรงค์ ต่อต้าน ไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ ด้วยอาวุธสงคราม และการกระทำที่ทารุณโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และป่าเถื่อน ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและร่างกายของประชาชนผู้บริสุทธิ์แล้ว ยังเกิดความเศร้าสลดใจแก่ผู้ที่พบเห็น และต่อสังคมโดยรวม ท้ายนี้ขอวิงวอนต่อผู้ที่ใช้ความรุนแรงต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ดังต่อไปนี้ 1. ขอให้ยุติการใช้ความรุนแรงต่อผู้บริสุทธิ์ที่ไม่มีทางสู้ 2. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาทางป้องกันปกป้องดูแลผู้บริสุทธิ์ 3. ขอให้เจ้าหน้าที่นำผู้กระทำผิดมารับโทษตามกระบวนการยุติธรรมให้โดยเร็ว 4. ขอให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัย ทุกฝ่ายควรเฝ้าระวังและห้ามละเมิดโดยเด็ดขาด 5. ขอให้ทุกฝ่ายเคารพพื้นที่ที่มีเด็กและเยาวชน ในทุกพื้นที่ไม่เพียงแค่พื้นที่สาธารณะเท่านั้น สภานักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอปฏิเสธความรุนแรงทุกรูปแบบยอมรับการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างสันติสุขและขอแสดงความเสียใจและความห่วงใยเป็นอย่างยิ่งต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบในเหตุการณ์ครั้งนี้และเชื่อมั่นว่าสันติภาพที่ยั่งยืนไม่อาจเกิดขึ้นได้หากผู้บริสุทธิ์ยังคงถูกคุกคามและสังคมอย่างไรซึ่งความมั่นคงปลอดภัย สภานักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 6 กันยายน 2559 |
- CrCF แถลงการณ์: การระเบิดหน้าโรงเรียนที่เป็นที่สาธารณะ เป้าหมายเป็นเด็กและประชาชนผู้บริสุทธิ์ละเมิดกฎหมายและศีลธรรม ผู้ก่อเหตุและผู้สั่งการอาจต้องรับผิดชอบฐานก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
แถลงการณ์ การระเบิดหน้าโรงเรียนที่เป็นที่สาธารณะ เป้าหมายเป็นเด็กและประชาชนผู้บริสุทธิ์ละเมิดกฎหมายและศีลธรรม ผู้ก่อเหตุและผู้สั่งการอาจต้องรับผิดชอบฐานก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
ตามการรายงานข่าวจากสื่อและสังคมออนไลน์ จากเหตุการณ์วางระเบิดเมื่อเวลาประมาณ 08.25 น. ของวันนี้ วันที่ 6 กันยายน 2559 บริเวณหน้าโรงเรียน บ้านตาบา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนต้น ในตัวอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จนเป็นเหตุทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากแรงระเบิด10 ราย เป็นครู ผู้ปกครอง และตำรวจที่อำนวยการจราจรอยู่ด้านหน้าโรงเรียนและมีผู้เสียชีวิต 2 ราย ซึ่งเป็นเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล อายุเพียง 4 ขวบ และบิดาที่เดินทางมาส่งลูกเข้าห้องเรียน (ขอสงวนชื่อผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บ) ช่วงเวลาการเกิดเหตุการณ์ระเบิดดังกล่าวฯ เป็นช่วงเช้าที่คาดได้ว่ามีเด็กและประชาชนผู้บริสุทธิ์สัญจรไปมา ผลขอแรงระเบิดมักก่อให้เกิดความเสียหายทั้งในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนผู้บริสุทธิ์โดยไม่เลือกเป้าหมาย ยิ่งเป็นในพื้นที่สาธารณะหน้าโรงเรียนย่อมคาดการณ์ได้ว่าจะมีเด็กอยู่รวมกันจำนวนมาก การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่โหดร้ายและเป็นการละเมิดกฎหมายและหลัก ศีลธรรม อีกทั้งโรงเรียนเป็นสถานที่คุ้มครองภายใต้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศที่ห้าไม่ให้มีการโจมตีไม่ว่ากรณีใด เหตุการณ์ยังสร้างความหวาดกลัวในชีวิตและความปลอดภัยของประชาชนเป็นการทั่วไปด้วย มูลนิธิผสานวัฒนธรรมขอประณามการกระทำด้วยความรุนแรงทุกรูปแบบ และแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งกับความสูญเสียในครั้งนี้ ขอเรียกร้องตามข้อเสนอแนะ ขอให้รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายใช้ความเป็นมืออาชีพสืบสวนสอบสวนสาเหตุการก่อเหตุระเบิดโดยมีเป้าหมายที่ต่อพื้นที่สาธารณะ ผู้บริสุทธิ์ โดยเฉพาะเด็กและบุคคลการด้านการศึกษา โดยดำเนินการเพื่อนำตัวผู้กระทำผิดที่แท้จริงมาลงโทษโดยเร็วและรายงานความคืบหน้าอย่างตรงไปตรงมาต่อประชาชนให้รับทราบข่าวสารเป็นระยะ เพื่อไม่ให้สังคมต้องถูกครอบงำด้วยกระแสข่าวเท็จ ไร้ความเป็นจริง หรือทำให้สังคม และผู้สูญเสีย ต้องบอบช้ำไปมากกว่านี้ ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายช่วยกันเป็นหูเป็นตาระแวดระวังและต่อต้านการก่อความรุนแรงทุกชนิด จากทุกฝ่าย ส่งผ่านข้อมูล ข้อเท็จจริง บนพื้นฐานของความเป็นจริง เคารพสิทธิมนุษยชนของผู้สูญเสีย ไม่ประเมินสถานการณ์จากข่าวลือที่ไร้ฐานความเป็นจริง หรือเป็นเหตุให้เกิดความเกลียดชังในหมู่ประชาชน โดยเฉพาะความเกลียดชังทางศาสนาและเชื้อชาติ ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยึดหลักสันติวิธีในการแสดงออก ไม่ว่าการก่อเหตุครั้งนี้จะกระทำโดยฝ่ายใดก็ตาม หรือเพื่อการเรียกร้องความสนใจ หรือสร้างสถานการณ์โดยใช้ชีวิตผู้บริสุทธิ์เป็นข้อแลกเปลี่ยน ถือเป็นการกระทำที่ขลาดเขลา ไม่กล้าเผชิญหน้า และเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนคนหมู่มากอย่างน่ารังเกียจ โดยผู้ที่ก่อเหตุความรุนแรงต่อประชาชนในลักษณะเช่นนื้ รวมทั้งผู้สั่งการอาจต้องรับผิดชอบฐานก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติด้วย ขอให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามระเบียบคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าให้การช่วยเหลือเยียวยากรณีดังกล่าวเป็นการเร่งด่วน
ความรุนแรงไม่เคยเป็นทางออกของมนุษยชาติ มีแต่จะนำไปสู่ความสูญเสียของทุกฝ่าย
วันที่ 6 กันยายน 2559 มูลนิธิผสานวัฒนธรรม |
- แถลงการณ์ชมรมพุทธรักษาจังหวัดชายแดนใต้ ประณามการก่อเหตุระเบิดหน้าโรงเรียนตาบา
- แถลงการณ์สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ประณามการใช้ความรุนแรงและเรียกร้องให้ยุติการใช้ความรุนแรงต่อพลเรือนในจังหวัดชายแดนใต้
แถลงการณ์ ประณามการใช้ความรุนแรง และเรียกร้องให้ยุติการใช้ความรุนแรงต่อพลเรือนในจังหวัดชายแดนใต้
จากเหตุระเบิดบริเวณหน้าโรงแรมเซาท์เทิร์นวิว จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2559 จนมีผู้เสียชีวิต 1 คน ผู้บาดเจ็บ 30 คน เหตุระเบิดรถไฟในพื้นที่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2559 มีผู้เสียชีวิต 1 คน ผู้บาดเจ็บ 3 คน รวมทั้งเหตุระเบิดหน้าโรงเรียนบ้านตาบา อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ในวันที่ 6 กันยายน 2559 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 3 คน และได้รับบาดเจ็บอีก 9 คน นั้น การใช้ความรุนแรงที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เป้าหมายพลเรือน (civilian target) และเป้าหมายที่เปราะบาง (soft target) ได้แก่ เด็ก สตรี และประชาชนทั่วไปที่ไม่มีส่วนได้เสียกับความขัดแย้ง ทั้งนี้การใช้ความรุนแรงกับกลุ่มเป้าหมายที่ไม่มีอาวุธในพื้นที่สาธารณะเป็นการกระทำที่ไม่อาจยอมรับได้ด้วยประการทั้งปวง สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ขอประณามการใช้ความรุนแรงต่อเป้าหมายพลเรือนและเป้าหมายที่เปราะบาง และขอเรียกร้องต่อทุกฝ่าย ดังนี้
1. ขอให้กลุ่มที่ขัดแย้งกันยุติการกระทำที่รุนแรงต่อกลุ่มพลเรือนและกลุ่มเปราะบางทุกกลุ่ม เพราะการใช้ความรุนแรงยิ่งจะทำให้ความขัดแย้งขยายตัวและไม่ใช่วิถีทางที่นำไปสู่ทางออก 2. ขอให้ตัวแทนรัฐบาลกับกลุ่มมารา ปาตานี (MARA Patani) พูดคุยเรื่องพื้นที่ปลอดภัยต่อไป ตามที่ได้มีข้อสรุปร่วมกันเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2559 เพื่อบรรลุข้อตกลงร่วมกันที่จะไม่ใช้ความรุนแรงกับกลุ่มพลเรือนและกลุ่มเปราะบางโดยเฉพาะในพื้นที่สาธารณะ
สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล 6 กันยายน 2559 |
- แถลงการณ์สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง) กรณีเหตุการณ์ลอบวางระเบิดบริเวณหน้าโรงเรียนบ้านตาบา
แถลงการณ์สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง) กรณีเหตุการณ์ลอบวางระเบิดบริเวณหน้าโรงเรียนบ้านตาบา จังหวัดนราธิวาส (พื้นที่สาธารณะ)
ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์คนร้ายลอบวางระเบิดบริเวณหน้าโรงเรียนบ้านตาบา อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2559 เวลาประมาณ 08.30 น. ที่ผ่านมา คนร้ายไม่ทราบจำนวนและไม่ทราบชื่อลอบวางระเบิดบริเวณหน้าโรงเรียนบ้านตาบา จากการกระทำของผู้สร้างสถานการณ์ดังกล่าว เบื้องต้นมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจขณะอำนวยความสะดวกด้านการจราจร เด็กนักเรียนขณะเดินทางไปโรงเรียน และราษฎรในเขตพื้นที่ใกล้เคียง โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในเขตพื้นที่สาธารณะที่มีกลุ่มเด็กพลุกพล่าน การกระทำในครั้งนี้ ในนามสมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง) รู้สึกเสียใจและเศร้าสลด และขอประณามการกระทำของผู้ไม่หวังดีในครั้งนี้ และขอต่อต้านการใช้ความรุนแรงอันเป็นการกระทำที่โหดเหี้ยมขาดเมตตาทำไรมนุษยธรรมที่ผิดต่อกฎหมายและละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ทางสมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง) อยากเรียกร้องให้กลุ่มและองค์กรร่วมกันรณรงค์ ต่อต้าน ไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ ด้วยอาวุธสงคราม และการกระทำที่ทารุณโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และป่าเถื่อน ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและร่างกายของประชาชนผู้บริสุทธิ์แล้ว ยังเกิดความเศร้าสลดใจแก่ผู้ที่พบเห็น และต่อสังคมโดยรวม ท้ายนี้ขอวิงวอนต่อผู้ที่ใช้ความรุนแรงต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ดังต่อไปนี้
1. ขอให้ยุติการใช้ความรุนแรงต่อผู้บริสุทธิ์ที่ไม่มีทางสู้ 2. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาทางป้องกันปกป้องดูแลผู้บริสุทธิ์ 3. ขอให้เจ้าหน้าที่นำผู้กระทำผิดมารับโทษตามกระบวนการยุติธรรมให้โดยเร็ว 4. ขอให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัย ทุกฝ่ายควรเฝ้าระวังและห้ามละเมิดโดยเด็ดขาด 5. ขอให้ทุกฝ่ายเคารพพื้นที่ที่มีเด็กและเยาวชน ในทุกพื้นที่ไม่เพียงแค่พื้นที่สาธารณะเท่านั้น
สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง) ขอปฏิเสธความรุนแรงทุกรูปแบบยอมรับการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างสันติสุข และขอแสดงความเสียใจและความห่วงใยเป็นอย่างยิ่งต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบในเหตุการณ์ครั้งนี้ และเชื่อมั่นว่าสันติภาพที่ยั่งยืนไม่อาจเกิดขึ้นได้หากผู้บริสุทธิ์ยังคงถูกคุกคามและสังคมอย่างไรซึ่งความมั่นคงปลอดภัย
สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง) 6 กันยายน 2559 |
- แถลงการณ์ กลุ่มด้วยใจ และ Children Voice for Peace เรื่อง การระเบิดในที่สาธารณะและสิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครองของเด็ก ชดต.
แถลงการณ์ กลุ่มด้วยใจ และ Children Voice for Peace Project เผยแพร่วันที่ 6 กันยายน 2559 เรื่อง การระเบิดในที่สาธารณะและสิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครองของเด็กในจังหวัดชายแดนใต้
เรียน ผู้ก่อเหตุความรุนแรง ,เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง และ ประชาชน
เด็กชายน้อยจะไม่ได้ใช้คำนี้อีกแล้ว คำว่า กะ (คำที่ใช้เรียกพี่สาว) กับคำว่า อาบะ(คำที่ใช้เรียกพ่อ) ในภาษามลายู เด็กชายน้อย จะไม่ได้กอดอาบะ อีกแล้ว เด็กชายน้อยจะไม่ได้เล่นกับ กะอีกแล้ว เพราะเหตุการณ์ลอบวางระเบิดหน้าโรงเรียนตาบา อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสเมื่อเวลา 8:00 นาฬิกาเศษ ของวันที่ 6 กันยายน 2559 ได้พรากอาบะ และ กะ ของเขาที่มีอายุเพียง 4 ปี ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความตระหนก ตกใจ หวาดกลัว แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วในสังคม
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้สะท้อนถึงปัญหาการละเมิด ในหลักสิทธิมนุษยชน ข้อ 3 บุคคลมีสิทธิในการดำรงชีวิตในเสรีธรรมและในความมั่นคงแห่งร่างกาย และ ที่สำคัญได้มีการละเมิดในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก คือ สิทธิที่จะมีชีวิตรอด (Right of Survival) สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา (Right of Development) สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง (Right of Protection)
การก่อเหตุระเบิดหน้าโรงเรียนที่มีเด็กอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุจำนวนมากไม่เพียงแต่ทำให้เด็กได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจเท่านั้น แต่ยังไปหยุดยั้งการศึกษาของพวกเขาด้วย จากการที่ต้องปิดโรงเรียน และ ความรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยในบริเวณใกล้โรงเรียน การก่อเกิดความรู้สึกไม่อยากไปโรงเรียน ทางกลุ่มด้วยใจและโครงการ Children voice for peace ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวผู้สูญเสียและผู้ที่ได้รับบาดเจ็บทั้งที่เป็นประชาชนทั่วไปและเจ้าหน้าที่และขอสื่อสารไปยังทุกฝ่ายดังนี้
1. เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่ามีการพูดถึงพื้นที่ปลอดภัยในกระบวนการพูดคุยของรัฐบาลไทยและ มาราปัตตานี โรงเรียนเป็นหนึ่งสถานที่ที่ทุกคนต้องการให้มีความปลอดภัย แต่การพูดคุยอาจมีทั้งฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยและเห็นด้วยจึงเป็นหน้าที่ที่เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายต้องเฝ้าระวังป้องกันไม่ให้เกิดการใช้ความรุนแรงในบริเวณโรงเรียนโดยอาศัยความร่วมมือจากประชาชน
2. การกระทำนี้เป็นการละเมิดหลักสิทธิมนุษยชน กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ และ ที่สำคัญ เป็นการกระทำที่ประชาชนทั่วไปไม่อาจรับได้ ผู้กระทำจึงควรพิจารณาการกระทำในครั้งนี้ว่าบรรลุเป้าหมายที่ต้องการหรือเกิดผลในทิศทางตรงกันข้าม
3. ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทั่วโลกเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าสามารถยุติได้ด้วยการเจรจาสันติภาพ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นก่อนหรือหลังการประชุมร่วมระหว่างรัฐบาลไทยและมาราปัตตานีไม่ควรเป็นเหตุผลในการยกเลิกกระบวนการสันติภาพ ดังนั้นทุกคน ทุกฝ่าย จึงควรอดทน อดกลั้น ต่อการใช้ความรุนแรง และควรใช้กระบวนการยุติธรรมในการป้องกันการกระทำผิดซ้ำ
กลุ่มด้วยใจและโครงการ Children voice for peace |
- Human Rights Watch (Thailand)
Thailand: Separatists Bomb School in South Father, Daughter Killed in Targeted Attack
จากถ้อยแถลงของ Human Rights Watch (Thailand) ในความคิดเห็นของ รอมฎอน ปันจอร์ บรรณาธิการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) ผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว (Romadon Panjor)
คำแถลงของ Human Rights Watch ถือว่าแรงและโดดเด่นมากครับ นอกจากจะเรียกร้องให้ขบวนการฯ เคารพ #กฏหมายสงคราม #LawsofWarหรืออันเดียวกันกับ่ #กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ#InternationalHumanitarianLaw
HRW ยังไปไกลถึงขั้นเรียกร้องให้เลขาธิการสหประชาชาติระบุชื่อ #BRNเอาไว้ในลิสต์ของ #ผู้ละเมิด #Abuser ซึ่งบรรจุอยู่ในรายงานประจำปีสถานการณ์เด็กในพื้นที่ขัดกันทางอาวุธอย่างเป็นทางการ
การระบุชื่อที่ว่านี้สำคัญเนื่องจากมันจะนำไปสู่ความจำเป็นในการแสดงความรับผิดชอบของยูเอ็นและบรรดาหน่วยงานของยูเอ็น ไม่ว่าจะเป็น #UNICEF#UNHRC #UNDP หรือ ฯลฯ ในการเข้ามาพัวพันเกี่ยวข้องกับปัญหาความขัดแย้งให้หนักหน่วงขึ้นกว่านี้ และยังเพิ่มความเป็นไปได้ที่คณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติจะ sanction!
ผู้ละเมิดนั้นอาจมีฐานะเป็น #ฝ่ายที่ขัดแย้ง #PartiestoConflict มีสภาพบุคคลในทางการเมืองระหว่างประเทศระดับหนึ่ง แต่เส้นทางในการบรรลุเป้าหมายของกลุ่มติดอาวุธกลุ่มนี้จะลำบากยากเย็นมากยิ่งขึ้นอย่างชนิดที่ไม่เคยเป็นมาก่อนแน่นอน!
แถลงการณ์
SEPTEMBER 7, 2016 12:00AM EDT Thailand: Separatists Bomb School in South Father, Daughter Killed in Targeted Attack
(New York) – Alleged separatist insurgents detonated a bomb in southern Thailand outside a school that killed a man and his daughter, Human Rights Watch said today. The deliberate attack on the school, a civilian structure, amounts to a war crime and denies children their right to education. On the morning of September 6, 2016, apparent insurgents detonated a 20-kilogram bomb hidden in a motorcycle in front of Taba School in Tak Bai district in Narathiwat province. The blast occurred as parents were dropping off their children. Mayeng Wobah and his 4-year-old daughter, Mitra Wobah, died instantly. The blast also wounded at least 10 civilians, including teachers, parents, and police officers directing traffic. Thai authorities alleged that insurgents under the command of Romli Jehyi were responsible for the attack. “Those responsible for bombing a school just as parents were dropping off their children showed incomprehensible brutality,” said Brad Adams, Asia director. “Calling this a war crime does not fully convey the harm done to the victims or the far-reaching impact such attacks have on children in the region.” A peace dialogue between the Thai government and separatist groups under the umbrella of Majlis Syura Patani (Mara Patani) resumed on September 2. However, insurgents affiliated with Barisan Revolusi Nasional-Coordinate (BRN-Coordinate) have not ceased attacks on civilians. Human Rights Watch’s research has found that since the escalation of armed insurgency in January 2004, the BRN-Coordinate has targeted schools, teachers and other education personnel, which they consider symbolic of the Thai Buddhist state’s control of ethnic Malay Muslim territory.
Calling this a war crime does not fully convey the harm done to the victims or the far-reaching impact such attacks have on children in the region.
Brad Adams Asia Director
More than 200 schools have been burned down or targeted in bomb attacks over the past twelve years of the armed conflict. At least 182 teachers have been killed, sometimes in their classrooms. Insurgents have also frequently ambushed Thai government security patrols trying to escort teachers and students safely to and from their schools. These attacks constitute serious violations of the laws of war, and may amount to war crimes. Human Rights Watch has repeatedlycondemned laws-of-war violations by the separatist insurgents in the southern border provinces. The laws of war, also known as international humanitarian law, prohibit attacks on civilians and civilian objects or attacks that fail to discriminate between combatants and civilians. Under the laws of war, police officers engaged in directing traffic and other ordinary policing functions are civilians. There is no justification under international law for claims by insurgents that attacks on civilians are lawful because they are part of the Thai Buddhist state or that Islamic law, as they interpret it, permits such attacks. Of the more than 6,000 people killed in the ongoing conflict since 2004, approximately 90 percent have been civilians in the predominantly Muslim provinces of Pattani, Yala, Narathiwat, and Songkhla. Human Rights Watch has urged the Thai government to join the 55 countries that have already endorsed the Safe Schools Declaration – a voluntary commitment to take concrete actions to better protect students, teachers, and schools during armed conflicts. This year’s United Nations secretary-general’sreport on children in armed conflict noted the unlawful attacks in Thailand’s southern border provinces, but did not specifically list the Barisan Revolusi Nasional-Coordinate as an abuser. Once a party to an armed conflict is placed on this list, it triggers increased response from the UN – including intensified engagement by UN agencies in the affected country and potential Security Council sanctions. To help protect children in Thailand’s armed conflict, the secretary-general should immediately put BRN-Coordinate on the list of abusers. Human Rights Watch also remains deeply concerned by violations of international human rights law and the laws of war by Thai government security forces and militias. Killings, enforced disappearances, and torture by officials cannot be justified as reprisals for insurgent attacks on the ethnic Thai Buddhist population and security personnel. This situation has been reinforced by an entrenched culture of impunity for human rights violations by officials in the southern border provinces. The government has yet to successfully prosecute any officials for human rights abuses against ethnic Malay Muslims alleged to be involved in the insurgency. “Unlawful attacks and lack of accountability have become a common justification by both insurgents and Thai security forces to carry out more abuses,” Adams said. “This vicious cycle of atrocity and retaliation should immediately be brought to an end.” |
- แถลงการณ์ของนายโธมัส ดาวิน ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ต่อเหตุรุนแรงในจังหวัดนราธิวาส
กรุงเทพฯ 6 กันยายน 2559
องค์การยูนิเซฟมีความเป็นห่วงอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย และผลกระทบของความรุนแรงที่มีต่อเด็กๆ รวมถึงเหตุระเบิดล่าสุดในจังหวัดนราธิวาสเมื่อเช้านี้ ซึ่งได้คร่าชีวิตเด็กหญิงวัย 4 ขวบพร้อมพ่อของเธอ
รายงานข่าวจากสื่อต่างๆ ระบุว่า เมื่อเช้านี้ได้เกิดเหตุระเบิดขึ้นที่หน้าโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนราธิวาส ส่งผลให้พ่อและลูกสาววัย 4 ขวบที่กำลังมาโรงเรียนเสียชีวิต แรงระเบิดยังทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 10 ราย ซึ่งเป็นครู ผู้ปกครอง และเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ยูนิเซฟรู้สึกเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะโรงเรียนควรเป็นสถานที่สำหรับการเรียนรู้ การค้นพบสิ่งใหม่ๆ ตลอดจนกิจกรรมสันทนาการสำหรับเด็ก
นอกจากนี้ โรงเรียนทุกแห่งควรเป็นสถานที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน โดยไม่ควรมีเด็ก ผู้ปกครอง หรือเจ้าหน้าที่การศึกษาคนใดต้องใช้ชีวิตและเรียนรู้ภายใต้ความหวาดกลัวต่อเหตุรุนแรง
ทั้งนี้ ยูนิเซฟขอเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้มั่นใจว่าเด็กๆ จะได้รับความคุ้มครอง และไม่มีเด็กคนใดต้องตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงอีกต่อไป
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ ณัฐฐา กีนะพันธ์ องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย 086 616 7555 หรือ nkeenapan@unicef.org |
- แถลงการณ์ เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพ(คปส.) กรณีพ่อลูกเสียชีวิตจากเหตุระเบิดหน้าโรงเรียนตาบา อำเภอตากใบ
แถลงการณ์ เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพ(คปส.) กรณีพ่อลูกเสียชีวิตจากเหตุระเบิดหน้าโรงเรียนตาบา อำเภอตากใบ
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2559 เวลาประมาณ 08.25 น. เกิดเหตุระเบิดขึ้นที่บริเวณหน้าโรงเรียนตาบา บ้านตาบา ม.1 ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส มีผู้เสียชีวิต 3 ราย เป็นเด็กนักเรียนหญิง กับบิดา และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 7 ราย ทราบชื่อ ด.ญ.มิตรา เวาะบะ นักเรียนโรงเรียนตาบา นายมะเย็ง เวาะบะ สองพ่อลูก ได้รับบาดเจ็บสาหัส ได้เสียชีวิตลงในเวลาต่อมาขณะถูกนำส่งไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลตากใบ อีกคนคือนายตัลมีซี มะดาโอ๊ะ พ่อค้าขายขนมหน้าโรงเรียน ถูกสะเก็ดระเบิดที่ศีรษะอาการสาหัส เสียชีวิตแล้วที่โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ รวมผู้เสียชีวิตทั้งหมด 3 คน ส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บ คือ 1.ร.ต.ต.ประพิศ บุญสร้าง 2.ด.ต.กิตติพงษ์ ศรีขำ 3.ส.ต.ต.วรรณุชิต แซ่ค้อ 4.ส.ต.ต.เตาฟิค อารง 5.น.ส.นูรไอนี ยูโซ๊ะ อายุ 25 ปี 6.นายรัสดี มะแอ อายุ 42 ปี 7.นางกูสีหม๊ะ กูมะ อายุ 40 ปี
เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพ(คปส.)ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งกับเหตุการณ์ความสูญเสียในครั้งนี้ และขอแสดงความไม่พอใจอย่างที่สุดกับการก่อเหตุในลักษณะดังกล่าว แม้ว่าจะไม่สามารถระบุได้ว่าใครคือผู้ก่อเหตุก็ตาม
ทั้งนี้เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพ(คปส.) จึงมีข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้
1.ขอเรียกร้องให้ยุทธวิธีการทหารของคู่ขัดแย้งหลักทั้งสองฝ่าย คือรัฐและขบวนการฯ ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของเป้าหมายอ่อนแออย่างเคร่งครัดด้วย
2.เรียกร้องให้คู่ขัดแย้งหลักทั้งสองฝ่าย คือรัฐและขบวนการฯ นำเสนอมาตรการการสร้างพื้นที่ปลอดภัยที่เป็นรูปธรรมแก่สาธารณะ และมีผลโดยตรงต่อการลดหรือยุติกิจกรรมทางอาวุธ โดยที่ภาคประชาชนสามารถตรวจสอบได้
3.ความล่าช้าและไม่ชัดเจนของกระบวนการพูดคุยสันติสุข ระหว่างรัฐไทยกับขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราช ที่ไม่สามารถกำหนดได้ว่าเมื่อไหร่จะมีข้อตกลงสันติภาพจากการเจรจาอย่างเป็นทางการ มีผลแปรผันโดยตรงต่อบรรยากาศความเข้มข้นของกิจกรรมทางอาวุธและความสูญเสียเฉกเช่นเหตุการณ์ระเบิดที่เกิดกับพ่อลูกที่ตากใบในครั้งนี้
เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพ(คปส.) จึงขอเสนอว่า เพื่อลดเงื่อนไขการใช้กิจกรรมทางอาวุธอย่างชอบธรรมของทั้งสองฝ่าย กระบวนการพูดคุยสันติสุขที่ดำเนินการอยู่นั้น จะต้องตอบโจทย์ให้มีข้อตกลงของการเจรจาสันติภาพ ซึ่งมีผลลัพธ์ที่ส่งผลต่อการขจัดเงื่อนไขความขัดแย้งด้วยอาวุธอย่างเฉพาะเจาะจง
4.ต้องยอมรับความจริงว่าความไม่สมดุลของอำนาจทางการเมือง คือเงื่อนไขที่ชอบธรรมในการใช้กิจกรรมทางอาวุธเพื่อเป้าหมายทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่ง ฉะนั้นความสมเหตุสมผลที่จะไม่ให้มีการสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอีกต่อไป ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมกันผลักดันให้เกิดสมดุลในโครงสร้างอำนาจทางการเมืองของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเร็ววัน
ด้วยจิตรักษ์สันติภาพและสิทธิมนุษยชน เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพ
|
- แถลงการณ์สมาคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (POSBO) ขอประณามการกระทำของผู้ก่อเหตุความรุนแรงโดยใช้วัตถุระเบิดในเขตพื้นที่สถานศึกษาฯ