การสร้างพื้นที่ทางอาหารเพื่อรับมือโควิด-19

การสร้างพื้นที่ทางอาหารเพื่อรับมือโควิด-19

: คุณชมชวน บุญระหงษ์ อดีตผู้อำนวย สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน

ในสถานการณ์ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับพิษทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และความมั่นคงทางอาหารจากพิษโควิด-19 จนบอบช้ำ แม้ยอดผู้ติดเชื้อจะลดลงแต่ก็ยังคงนิ่งนอนใจไม่ได้ สิ่งที่ทั้งประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาต่างเจอศึกหนักด้วยก็คือ ผลกระทบต่อการใช้ชีวิต และความเป็นอยู่ของประชาชน เพราะปัจจัยพื้นฐานด้านความต้องการอย่างอาหาร ยารักษาโรค และเครื่องมือเวชภัณฑ์ที่ต้องการกันมากขึ้น จนเป็นเหตุให้สินค้าขาดตลาดและมีราคาสูงขึ้นเท่าตัว เปรียบเหมือนกลับเข้าสู่ยุค “เงินทองคือมายา ข้าวปลา คือของจริง” เพื่อรับมือกับสภาวการณ์เช่นนี้ทั้งในปัจจุบัน และอนาคตที่ไม่รู้ว่าจะจบลงเมื่อไหร่ เราควรต้องทำอย่างไรบ้างเพื่อรับมือ


Live องศาเหนือ Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ ! วันนี้ เวลา 17.00 น. เปิดพื้นที่พูดคุยกันเรื่อง “การสร้างพื้นที่อาหาร และระบบเศรษฐกิจชุมชนเพื่อรับมือโควิด-19 และอนาคต” ร่วมพูดคุยกับ : คุณชมชวน บุญระหงษ์ อดีตผู้อำนวย สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน จังหวัดเชียงใหม่

ภายใต้สถานการณ์ในขณะนี้การที่ชุมชนจะลุกขึ้นมาสร้างความมั่นคงทางอาหาร ของชุมชนตัวเองทั้งชุมชนเมืองและชุมชนเกษตร ในส่วนที่เกี่ยวข้องมีอยู่ประมาณ 2-3 ส่วน เช่น ในทางช่วงเช้าของวันนี้กลุ่มคนที่เรียกว่า สวนผักคนเมืองเชียงใหม่ มีทางกลุ่มใจบ้าน เขียวสวยหอม เทศบาล ส่วนของวิทยาลัยนานาชาติ และภาคส่วนอื่น ๆ มาระดมความคิดกัน ผู้ประสานหลักคือกลุ่มใจบ้าน ประสานกับพี่น้องในชุมชน พี่น้องที่ตกงาน ประสานเทศบาลเพื่อหาที่ดินและได้ที่ดิน ก่อนหน้านี้เริ่มมีการปรับแล้วคือ ตำบลช้างคลานจำนวน 3 ไร่ที่นั้นเขาก็ได้มีการวางแผนกันสนับสนุกการปลูกผัก เลี้ยงไก่ ทำการเกษตรให้คนที่ตกงาน หรือผู้ที่สนใจมาทำ และมีพี่น้องประธานชุมชนเข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน และได้ถามไถ่พวกเขาถึงสถานการณ์ว่าในขณะนี้เป็นอย่างไรบ้าง สถานการณ์ตอนนี้แย่พอตัว เพราะปกติแล้ว แรงงานรับจ้างในเมืองต้องทำงานตลอดถึงจะมีอาหารสำหรับการบริโภค แต่ตอนี้แรงงานเหล่านั้นถูกหยุดจ้างหมด เมื่อพวกเขาไม่มีรายได้ ก็มีปัญหาเรื่องอาหารเข้ามา ขณะเดียวกันทางเชียงใหม่เอง ทางกลุ่มกดบัตรเชียงใหม่ด้านอาหารปลอดภัย ประสานกับทางจังหวัดและเทศบาลได้ที่ดินอีกแปลงหนึ่ง ที่สวนหลวง ร.9 ร่วมกับทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และภาคส่วนต่าง ๆ เริ่มออกแบบกันและมีการเปิดฝึกอบรมให้ผู้ที่สนใจ ปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือคนบนพื้นที่สูงเมื่อหน้าแล้งน้ำข้างบนไม่มีพอเพื่อปลูกอาหารหรือต้นไม้ ส่วนใหญ่มุ่งไปสู่เรื่องการหาที่ดินที่มีอยู่ในชุมชนของตนเอง เริ่มวางแผนการผลิตส่วนใหญ่จะคิดเรื่องเกษตรอินทรีย์ มีทั้งพืชทั้งสัตย์

ภาพ : เพจ JaiBaan Studio

ชุมชนเมืองที่ไม่มีทั้งความรู้ เวลา และสถานที่ในการปลูกการเกษตร เริ่มต้นโดยการถ้าเราพูดถึงเรื่องความมั่นคงทางอาหาร มีหลายวิธีการอาจมั่นคงโดยการทำการผลิต หรือมั่นคงทางการเป็นผู้จัดการเรื่องการทำตลาดให้คนมาขาย หรือ อาจจะมีการสร้างงานเพื่อให้มีเงินขึ้นมา แต่อย่างที่เห็นกันในปัจจุบัน และมีการประชุมกันว่าในตอนนี้จะให้พี่น้องลุกขึ้นมาปลูกกันคงลำบากถ้าไม่มีค่าตอบแทน ดั้งนั้นเหมือนกับว่าการทำควรจะต้องมีเงินกองทุนสักหนึ่งก้อนและมีค่าใช้จ่ายในการตอบแทน เพราะฉะนั้นบทบาทของหน่วยงานต่าง ๆ ต้องมาร่วมกันในการทำสิ่งเหล่านี้ ที่จะสนับสนุนให้มีกองทุนที่จะสร้างแรงงานกลุ่มที่ตกงานมาทำงานในพื้นที่แปลงเกษตร อาจดึงพื้นที่รกร้างว่างเปล่าในเมืองที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งใด เราจะขอความร่วมมือจากการใช้ประโยชน์จากพื้นที่นี้ได้อย่างไร ขณะเดียวกันถ้าคนในเมืองเองไม่มีพื้นที่ก็มีรูปแบบต่าง ๆ ในการผลิตการทำการเกษตรแบบแนวดิ่ง มีพื้นซีเมนต์เราก็สามารถปลูกได้ ปลูกผักตามรั้วเรามีวิธการที่สามารถทำ แม้แต่การปลูกข้าวในกระถาง บ่อ ท่อซีเมนต์ก็สามารถทำได้ ดั้งนั้นมันจึงมีหลายวิธีทั้งด้านการผลิต การตลาด หรือการแปรรูปเอง บางที่มีผลผลิตเยอะและไม่ได้ประโยชน์จนต้องทิ้ง แต่บางแห่งต้องการผลผลิต ดังนั้นจะมีระบบขนจากแหล่งผลิตมายังแหล่าที่ต้องการโดยต้องคิดค้นเรื่องการช่วยเหลือกันเหล่านี้เรื่องการขนย้ายในช่วงสถานการณ์วิกฤติแบบนี้ซึ่งเป็นความท้าทายและเป็นเรื่องยากหน่อยสำหรับในช่วงนี้

หรือแม้แต่การทำการตลาดแบบออนไลน์ หลายคนในตอนนี้เริ่มปรับตัวเริ่มทำการตลาดในแบบต่าง ๆ รวมกลุ่มกันพัฒนาในแบบออนไลน์ก็ได้กำไรกันเยอะมาก และการพูดถึงความมั่นคงทางอาหารบทบาทของภาคส่วนต่าง ๆ ทำหน้าที่ในการทำตลาดออนไลน์ได้อย่างไร หรือแม้แต่ถ้าเป็นไปได้ก็ต้องมีหน่วยงานในการรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ รวมทั้งแนวทางในการแก้ไข เราอาจะพบว่าแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมแนวทางความมั่นคงทางอาหาร เราจะทำให้คนในเมืองเข้าถึงอาหาร แต่เขาจะเข้าถึงอาหารอย่างนี้ที่ดีได้อย่างไร ดั้งนั้นจริง ๆ ต้องมีภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามาจัดการเรื่องนี้มากขึ้นในทักษะด้านการตลาด

การไม่มีทักษะในการทำการตลาดการจัดการร่วมกันคือ ที่ผ่านมาเราพยายามคิดเรื่องหน่วยจัดการกลาง แล้วเราได้เริ่มมีการทำหน่วยจัดการกลางกันอย่างเช่น ในเขตสันทราย ทางเกษตรสถาบันทำหน้าที่เป็นตัวกลางการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค และเรามองเห็นว่าบทบาทนี้หากเทศบาลทุกเทศบาลทำหน้าที่ในบทบาทนี้ มาเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคถ้าทำสิ่งนี้ได้ หลายที่ก็มีนักวิชาการเกษตร นักวิชาการสาธารณสุข นักวอชาการชุมชนถ้าหากคนเหล่านี้รวมตัวกันแล้วเปลี่ยนบทบาทมาเป็นตัวเชื่อมในการพัฒนาตลาดออนไลน์ให้กับคนในชุมชนก็จำทำให้มีความเป็นไปได้ ที่จะเชื่อมโยงคนในชุมชนเอง ผลิตให้กับคนในชุมชนเหลือแบ่งขายให้กับคนในเมืองได้ บทบาทของ อปท. อาจต้องทำหน้าที่เหล่านี้ร่วมด้วย ทุกส่วนเราคุยกับกลุ่มต่าง ๆ คุยกับสวนผักคนเมืองเชียงใหม่เอง ที่จริงแล้วมีบางพื้นที่เราพร้อมที่จะพื้นที่ให้เกิดประโยชน์เช่นหน้าสถานีรถไฟเชียงใหม่ ประเด็นเราต้องมีคนช่วยว่าใครจะมาช่วยในเรื่องการจัดจำหน่ายบ้างกระบวนการควบคุมคุณภาพอย่างไร การจัดการ การประชาวสัมพันธ์ ตอนนี้เองมองดูในเรื่องความมั่นคงทางอาหาร มองเห็นว่าเราต้องมีการพัฒนาระบบการผลิต และการประกาศของชุมชนในตั้งแต่ระบบของหมู่บ้าน ให้พื้นที่เหล่านั้นมีความมั่นคงทางอาหาร ต้องมีผู้ประสานงานกลาง บทบาทของเทศบาลมีความสำคัญทางด้านนี้

อปท. หลายแห่งตอนนี้คือการแจกเมล็ดพันธุ์แต่มันคงไม่เพียงพอแต่อาจจะต้องลุกขึ้นมาทำในส่วนมิติด้านการตลาด หมายถึงจัดอบรมการทำตลาดออนไลน์ การขายในพื้นแต่และจัดการระบบในตอนนี้คือการเว้นระยะห่างทางสังคม และเรื่องการผลิตมีการจัดอบรมให้ความรู้คือมันสามารถทำให้ห่างกันประมาณ 2-3 เมตร มันสามารถจัดการระบบได้ อบรมว่ามีวิธีการทำแบบไหนอย่างไร ระดมทุนกันเพื่อซื้อปัจจัยและสิ่งไหนที่จะเป็น วัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำเกษตรกรรมขาดสิ่งในก็มาระดมทุนกัน สร้างคณะทำงานขึ้นมาปฏิบัติงานในพื้นที่ของตัวเอง แนวคิดที่พูดถึงเรื่องชุมชนจัดการตนเอง เป็นเรื่องสำคัญมาที่ต้องมาทำสิ่งเหล่านี้

การจัดการตลาดในพื้นที่ตอนนี้ ส่วนใหญ่ยังมีน้อย ของเดิมบางแห่งที่ยังไม่เปิดก็เช่น ข่วงเกษตรอินทรีย์หลังจากที่มีการหยุดพักเพื่อพ้นฆ่าเชื้อโควิด-19 ประมาณ 10 กว่าวันแล้ว เริ่มมีการเปิดจำหน่ายเมื่อวันที่ 2 ที่ผ่านมาก็มีระบบการคัดกรอง ตามที่สาธารณะสุขได้ให้คำแนะนำไว้ในการใส่หน้ากาก ถุงมือยาง และเว้นระยะห่างทางสังคม ทั้งผู้มาซื้อและผู้ขาย หลายแห่งเริ่มเปิดมากขึ้นแต่เว้นระยะห่างในการขายที่ห่างกัน สิ่งนี้เป็นพื้นที่ของเดิม พื้นที่ใหม่เองเช่นของเทศบาลนครเชียงใหม่ คิดถึงเรื่องการจ้างแรงงาน ปลูกผักและนำผักนั้นไปแจก แต่ปัญหาเรื่องการจัดจ้าง แต่เขาก็มีวิธีการเพื่อความยั่งยืน พื้นที่ดังกล่าวก็สร้างตลาดไปในตัว ถ้าเรามีเครือข่าย เราก็ชวนน้อง ๆ มาหรือพี่น้องชาวเกษตรมาจำหน่าย ขณะเดียวกันก็จัดการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการผลิตให้ได้ อาจมีการจ้างแรงงาน เพื่อเอาไปแจกหลังจากนั้นชวนผู้คนในชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่เป็นตัวแทนแต่ละชุมชนมาปลูก ควบคู่กันไปจนสุดท้ายเขามีการผลิตดูแลช่วยกันและเป็นแหล่งผลิตอาหารของชุมชนนั้นต่อไป

ถ้าคนที่ตกงานจากในเมืองอยากจะเริ่มต้นการทำเกษตร จริง ๆ แล้วขึ้นอยู่กับคนว่าคน ๆ นั้นอยู่ในชุมชนแบบไหน ปกติหลายพื้นที่จะมีตลาดสีเขียว ถ้าเราไปประสานกับเขาและในแต่ละตลาดมีทีมฝึกอบรมให้ความรู้ ทีมในการจัดการตลาด ตอนนี้ ถ้าทางเหนือเองคือเชียงใหม่มีหลายตลาดมาก จึงเป็นเรื่องไม่ยากถ้าคนที่ตกงานคิดจะลุกขึ้นมาทำสิ่งเหล่านี้เพียงแค่ลองไปเรียนรู้ แต่ก็อย่าลืมเรื่องการเว้นระยะห่างมีอีกช่องทางคือเราดูตามสื่อออนไลน์เรื่องเหล่านี้ทางการเกษตรไม่ได้เป็นสิ่งที่ยาก อีกด้านหนึ่งเราต้องคุยกับประธานชุมชนว่าจัดตั้งโครงการนี้ไหม หรือมีโครงการแบบนี้ไหม การทำเกษตรไม่ใช่เรื่องยาก

ข้อเสนอแนะในการจัดการในชุมชนทำได้ตามความสามารถของคนในชุมชนที่มีแนวโน้มว่าจะกลับบ้านมามากขึ้น 1. คือการอยู่ได้สภาวะเศรษฐกิจแบบนี้บางคนอาจจะไม่ ถนันเรื่องการเกษตรเป้าหมายทุกคนคือจำเป็นต้องมีปัจจัย 4 ไม่จำเป็นต้องต้องทำเองทั้งหมดดังนั้นการจะรู้เรื่องการทำอะไร ระกับชุมชนหรือ อปท. ต้องมีการรวบรวมในระดับอำเภอเองต้องมีการจัดการให้ผู้ใหญ่บ้านเองตอนนี้เขาจะขึ้นทะเบียนผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 นอกจากนี้แล้วถ้ามีการตั้งศูนย์รวบรวมข้อมูลและมาจำแนกแจกแจงมาวิเคราะห์ว่าความต้องการของผู้ที่ตกงานคืออะไร สิ่งที่ถ้าเราได้ข้อมูลนี้ที่ตรงกับการทำงานของเราและความต้องการมากขึ้น ถ้าเรารับรู้ทางเลือกและทางออกที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ตกงานแล้วกลับบ้านมานั้นในสถานการณ์อย่างนี้ได้ก็จะเกิดโปรเจคและงานที่ตรงกับความต้องการได้ การตั้งหน่วยรับเรื่องหรือหน่วยให้คำปรึกษาอาจจะเป็นสื่อทางตรง หรือไลน์ต่าง ๆ เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ในการจัดการข้อมูลควรให้หน่วยงานต่าง ๆ มองระดับท้องถิ่นมาช่วยดูแลในเรื่องของข้อมูล

ตอนนี้ในเมืองเชียงใหม่มีพื้นที่ที่เรามาทำงานร่วมกันมีอยู่ประมาณ 2-3 พื้นที่ ที่ 1 คือที่ป่าช้าที่ช้างคลาน หลังป่าช้าจำนวน 3 ไร่ ถ้าผู้ใดสนใจอยากจะเข้าร่วมเราจะมีกระบวนการฝึกอบรมครบขั้นตอนที่สามารถผลิตแปลงเกษตรได้เอง สามารถสมัครได้ที่ กลุ่มสวนผักคนเมืองเชียงใหม่ หรือไปที่อบจ. เทศบาลนครเชียงใหม่ กลุ่มกดบัตรเชียงใหม่ พื้นที่ที่ 2 คือสวนหลวง ร.9 เป็นอีกพื้นที่หนึ่งถ้าผู้ใดสนใจก็สามารถติดต่อไปได้เลยครับ  

ภาพ : เพจ JaiBaan Studio

การจัดการและการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ในข้อเสนอของอาจารย์เป็นสิ่งที่น่าสนใจว่า ชุมชนและท้องถิ่นอาจจะตั้งจัดตั้งระบบการจัดการที่มีระบบและเก็บข้อมูลว่ามีผู้ใดที่กลับเช่ามาในชุมชนบ้าง มีทักษะอะไรบ้าง และเชื่อมโยงคนที่เหมาะสมกับทักษะโดยที่ให้ท้องถิ่นต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ อีกข้อเสนอที่น่าสนใจคือ สิ่งต่าง ๆ ต้องเริ่มจากตัวเราเองก่อน ถ้าเกิดว่าเราสนใจที่จะปลูกผักก็สามารถเข้าไปประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้ ซึ่งตอนนี้ในจังหวัดเชียงใหม่หรือจังหวัดอื่น ๆ ก็มีพื้นที่ที่ความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชน ตำบล และจังหวัด เช่นตอนนี้มรกลุ่มไลน์ที่ชื่อว่า แบ่งพันธุ์ปันกัน เป็นการรวมตัวกันของคนรุ่นใหม่คนเชียงใหม่ได้เปิดกลุ่มไลน์ขึ้นมาเพื่อ ให้คนที่สนใจปลูกผักสามารถเข้าไปแลกเปลี่ยนสอบถามข้อมูล หรือแบ่งปันแลกเปลี่ยนกันได้แลอีกส่วนคือเรื่องการการจัดการทางการตลาดเป็นเรื่องสำคัญซึ่งตอนนี้หลายคนเริ่มมีการจัดการตลาดที่เป็นตลาดออนไลน์ หรือการส่งเสริมตลาดท้องถิ่นที่ใกล้กับบ้านเรือนเรามากขึ้นในระดับตำบลที่เราจะเห็นว่ามีผู้ผลิตในตบลก็อาจจะทำให้เห็นว่าความมั่นคงทางอาหารมากยิ่งขึ้น หลังจากที่ อปท.มีความเข้มแข็งมากพอที่จะมาช่วยหนุนเสริมชุมชนให้มีความมั่นคงทางอาหารแล้วอาจจะขยายองค์ความรู้ส่วนนี้กลับไปสู่พื้นที่อื่น ๆ ให้เป็นวงกว้างมากขึ้นเพราะเห็นได้จากสถานการณ์ปัจจุบันการขนส่งก็ทำได้ยากขึ้นมีการปิดจังหวัด การปิดพื้นที่ เพราะฉะนั้นการพึ่งกันเองการดูแลกันในชุมชนในสังคมก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เราก้าวผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันได้

Live องศาเหนือ Specia 14 เม.ย.63

Live องศาเหนือ Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ !เย็นนี้ คุยกันเรื่อง "การสร้างพื้นที่อาหาร และระบบเศรษฐกิจชุมชนเพื่อรับมือโควิด-19 และอนาคต" กับ ดร. ชมชวน บุญระหงษ์ อดีตผู้อำนวย สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน

โพสต์โดย The North องศาเหนือ เมื่อ วันอังคารที่ 14 เมษายน 2020

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ