เทใจให้สูงวัย ผ่านโควิดไปด้วยกัน

เทใจให้สูงวัย ผ่านโควิดไปด้วยกัน

: คุยกับ คุณ เจนวิทย์ สิโรจสงคราม เจ้าหน้าที่สื่อสารองค์กร และระดมทรัพยากรมลูนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ

ในช่วงนี้ดูเหมือนว่าสถานการณ์โรคระบาด Covid-19 ในประเทศไทย จะมีตัวเลขที่ลดลง สถานการณ์ดูจะดีขึ้น แต่ถึงอย่างไรเราทุกคนยังคงต้องระมัดระวัง และปฏิบัติตามคำแนะนำของบุคลากรทางการแพทย์อย่างเคร่งครัด ซึ่งกลุ่มบุคคลหนึ่งที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ คือกลุ่มผู้สูงอายุ เพราะมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะมีอาการหนักหากได้รับเชื้อ Covid-19 เพื่อเป็นการช่วยเหลือกลุ่มผู้สูงอายุ จึงมีโครงการ ถึงกายห่าง (เท)ใจยังห่วง ของทีมงานบั๊ดดี้โฮมแคร์ ร่วมกับอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เขตเมือง เชียงใหม่ (ช.อ.บ.) นำ “ถุงยังชีพสู้ภัยโควิด” ที่จัดอาหารแห้งเพียงพอสำหรับ 14 วัน ยาสามัญประจำบ้าน และหน้ากากผ้า ไปช่วยเหลือครอบครัวผู้สูงอายุที่ยากไร้ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ จำนวน 200 ครอบครัว ครั้งที่ 1 เมื่อ 8-10 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา เกิดขึ้นเพื่อช่วยสร้างสรรค์กิจกรรมดี ๆ ให้แก่สังคมไทย ในช่วงที่เกิดวิกฤติเช่นนี้ โดยจุดประสงค์ของโครงการนี้ เพื่อความปลอดภัยในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 สำคัญที่สุด โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ยังต้องคอยเฝ้าระวังเป็นพิเศษ


Live องศาเหนือ Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ ! วันนี้ เวลา 17.00 น. พูดคุยกับ เจนวิทย์ สิโรจสงคราม เจ้าหน้าที่สื่อสารองค์กร และระดมทรัพยากร มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ ผู้ที่ทำงานด้านองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อสาธารณประโยชน์ โดยไม่แสวงหาผลกำไร พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ยากไร้ด้อยโอกาส โดยให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุที่อ่อนแอ และสร้างเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุที่เข้มแข็ง ให้สามารถช่วยเหลือตนเอง และผู้อื่นได้อย่างยั่งยืน โดยความร่วมมือ และสนับสนนของชุมชน ส่งเสริมแนวคิดในการสร้าง “พลังผู้สูงวัย” ให้เกิดขึ้นในสังคม

จากประกาศทางรัฐออกมาตรการให้งดการรดน้ำดำหัวต่าง ๆ กิจกรรมที่ต้องสัมผัสตัวอยู่ใกล้ชิด ต้องปรับตัวทั้งหมด ในผู้สูงอายุใน 1 ปี ผู้สูงอายุหลาย ๆ คนเค้ารอคอยวันนี้ และลูกหลานก็เป็นวิถีของเค้าที่ต้องมารดน้ำดำหัว และกลับมาหาครอบครัว แต่เมื่อสถานการณ์ออกมาเป็นแบบนี้ถึงอย่างไรแล้วเราก็ต้องปรับตัว

โครงการ ถึงกายห่าง (เท)ใจยังห่วง เรามองประเด็นความเหลี่อมล้ำในสังคม การที่ต้องกักตัว คนชนชั้นกลางคนที่มีเงินเค้าจะหากิจกรรมทำได้ในบ้าน และมีพื้นที่ที่เว้นระยะห่างกับคนในบ้านได้ แต่ผู้คนในอีกชั้นของสังคมคือชนชั้นล่าง เค้าก็ยังไม่ได้มีอะไรทำเพราะปัจจัยด้านพื้นที่และอื่น ๆ ประกอบด้วย เปรียบเทียบการอยู่ในบ้านในห้องของคนไม่มีเงิน ฐานะยากจน ยังไงก็ต้องอยู่แบบรวมกันเพราะในสภาพแวดล้อม และบ้านที่ไม่เอื้ออำนวยของพวกเขา ยิ่งในภาวะของการงดเว้นงานบางอย่างในบางอาชีพ กลุ่มคนที่เค้าเป็นคนจนเค้าต้องได้รับผลกระทบมากมาย และมาตรการเยี่ยวยา 5,000 บาท ของทางรัฐก็มีช่องว่างในเรื่องของการเข้าไม่ถึงบ้าง หรือการที่เป็นกลุ่มอาชีพที่ไม่เข้าเกณฑ์จึงทำให้ผู้คนเหล่านี้ไม่ได้รับสิทธินั้น พอไม่มีรายได้การที่จะกักตัว 14 วัน เนื่องจากสภาพบ้านไม่เอื้อในการกักตัว พอสภาพทุกอย่างไม่เอื้อ มันจึงเกิดการที่เราได้คุยกับผู้สูงอายุผ่านอาสาสมัคร ผู้สูงอายุเหล่านี้พูดถึงความต้องการขึ้นมา เราเองในฐานะของคนที่ทำงานด้านผู้สูงอายุ ปกติของไปเยี่ยมคือของดำหัว ทีนี้เราเลยมองว่าในสถานการณ์นี้ เราทำแบบเป็นประเพณีเดิมไม่ได้ สิ่งที่เราทำได้ตอนนี้คือการรับบริจาคให้เค้าอยู่ได้โดยไม่อดตาย จึงเกิดดารระดมทุนให้คนในสังคมมาช่วยระดมกัน เป็นโครงการที่มีชื่อว่า ถึงกายห่าง (เท)ใจยังห่วง ทีมงานบั๊ดดี้โฮมแคร์ ร่วมกับ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เขตเมือง เชียงใหม่ (ช.อ.บ.) นำ “ถุงยังชีพสู้ภัยโควิด” ที่ประกอบไปด้วย อาหารแห้งเพียงพอสำหรับ 14 วัน ยาสามัญประจำบ้าน และหน้ากากผ้า ไปช่วยเหลือครอบครัวผู้สูงอายุที่ยากไร้ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ จำนวน 200 ครอบครัว ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 8-10 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา ก่อนดำเนินการ เพื่อความปลอดภัยในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 สำคัญที่สุด โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เป็น กลุ่มเสี่ยง บั๊ดดี้โฮมแคร์จึงดำเนินการตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม รวมทั้งป้องกันความเสี่ยงสัมผัสโรคดังนี้

1. ใช้การสั่งซื้อของด้วยระบบออนไลน์ และใช้บริการจัดส่งตรงไปยังชุมชน เพื่อลดการเดินทางที่ไม่จำเป็น และลดการสัมผัสระหว่างการส่งของ หลีกเลี่ยงการสัมผัสมือโดยตรงกับผู้ส่งของ โดยให้วางของในบริเวณที่จัดเตรียมไว้

2. เลือกอาสาสมัครในชุมชน ที่ไม่มีประวัติเสี่ยงสัมผัสโรค และไม่ได้เดินทางออกจากชุมชนในช่วงเฝ้าระวัง มาทำหน้าที่จัดเตรียมของลงถุง สวมหน้ากากอนามัย ทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ล้างมือที่มีปริมาณแอลกอฮอล์สูงกว่า 70% เพื่อให้ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อใน 30 วินาที จัดสถานที่เว้นระยะห่างของบุคคล กำหนดจุดเข้าคิว จุดคัดกรอง และจุดรับของ แต่ละจุดห่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร

3. เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อให้แก่กัน ผู้สูงอายุอาจจะนำเก้าอี้ หรือโต๊ะวางไว้หน้าบ้าน เพื่อเป็นจุดรับของ หรือให้อาสาสมัครแขวนไว้หน้ารั้ว งดเว้นการเข้าใกล้ชิดกัน

หลังจากการมอบสิ่งของจำเป็นครั้งแรก ก็จะเว้นระยะไป 14 วัน แล้วจึงดำเนินการอีกครั้งเพื่อให้มีอาหารแห้งเพียงพอไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายน

อีกสิ่งหนึ่งคือในเชียงใหม่มีสภาวะปัญหาซ้อนกันในเรื่องของฝุ่นควัน บ้านของพวกเขาเหล่านั้นไม่เหมาะในการป้องกันตนเอง เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องมีหน้ากากที่ช่วยป้องกันในการหายใจ หรือลดความเสี่ยงในการติดโควิด-19 นอกจากอาหารแห้งแล้วต้องมีหน้ากากอนามัย ตอนนี้จึงทำหน้ากากผ้าโดยให้เครือข่ายช่วยทำ แต่ถึงอย่างไรมันก็ยังไม่เพียงพอต่อในครอบครัวหนึ่ง อีกประการหนึ่งที่สำคัญคือเรื่องยาสามัญประจำบ้านถ้าเกิดมันมีเพียงพอ ก็จะช่วยไม่ให้พักเค้าออกไปไหน และกักตัวได้ เพราะฉะนั้นในถุงยังชีพจึงต้องมีสิ่งเหล่านี้

ครั้งแรกที่จ่ายถุงยังชีพออกไป เราต้องขอบคุณผู้ที่ร่วมบริจาคเข้าไปเยอะมาก เรื่องการเตรียมของไม่ยุ่งยากเราให้ผู้จำหน่ายไปส่งโดยตรงเลยเพื่อลดความเสี่ยงในการใกล้ชิด การบริจาคเราตั้งเป้าไว้ที่ 462,000 บาท พอถึงเป้าเราก็จะปิดรับบริจาค เพื่อให้ครอบครัวผู้สูงอายุเพื่อให้ครอบคลุมทั้งครอบครัวที่มีฐานะยากจน การที่บังคับให้คนเหล่านี้ไม่ออกจากบ้านต้องคำนึงถึงบ้านด้วย รวมถึงคนในครอบครัวอยู่ด้วยกันในบ้านแบบเป็นสังกะสีมันจึงเป็นความเสี่ยงที่สูงขึ้น รวมทั้งอากาศในตอนนี้ที่ร้อน บวกกับควันไฟป่า มันยากที่จะให้เค้าอยู่ในบ้านแบบคนชนชั้นกลาง

สิ่งที่เราช่วยในตอนนี้ อาจช่วยไม่ได้ทุกคนทุกอย่าง แต่เพียงหวังว่าจะ อุดช่องว่างบางช่อง ให้กับพวกเขาได้

ในเรื่องการทำงานลงพื้นที่ไปหาผู้สูงอายุ เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องนี้ โดยต้องทำความเข้าใจ 3 ส่วนคือส่วนแรก คือเราเองในฐานะคนทำงานเราเองต้องไม่นำโรคไปให้เขา ถึงแม่เราจะมีความเชี่ยวชาญแต่ในภาวการณ์อุบัติใหม่มันเป็นสิ่งใหม่ เราจึงต้องอาศัยบุคลากรทางการแพทย์และการเรียนรู้ ความเข้าใจเพื่อจะปฏิบัติตัวให้ถูก ส่วนที่ 2 คือทั้งผู้สูงอายุ และอาสาสมัครของคนในชุมชน เวลาไปหาพวกเขาคือเราสัมผัสจากความใกล้ชิดมีการกอดกันทักทายกัน แต่ตอนนี้เราต้องปรับตัวให้อยู่ห่างกันก่อน ส่วนที่ 3 คือส่วนของสังคม แน่นอนว่าการมีใครสักคนเข้าไปในพื้นที่ถ้าผู้สูงอายุติดโรคเสี่ยงที่สุด เวลาเราเข้าไปจะมีประเด็นเปราะบาง เข้ามาเราจึงต้องพยายามลดเว้นกิจกรรมในการเข้าไปปฏิบัติงานเราจึงต้องยังมองว่าในเมื่อเราขาด หรือเข้าไม่ถึงจริง ๆ เราต้องหากระบวนการในการส่งให้ถึงเขา เช่น สั่งสินค้าแล้วส่งตรงไปยังชุมชนเลย พยายามลดในเรื่องของการผ่านหลายคน หลายมือ

พอเข้าไปในชุมชนแล้ว เราอาสาสมัครต้องทำความเข้าใจผ่านสื่อก่อนเพื่อป้องกันในการเข้าไปทำงานกับผู้สูงอายุ อาสาสมัครเองเราต้องขอให้เค้าคัดกรองตัวเอง ไม่เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงในการเอาโรคไปให้ผู้สูงอายุ เราเลือกอาสาสมัครแล้วยังไงก็ต้องมีการป้องกันตัวเองตามที่กรมอนามัยให้ทำในการลงชุมชนเราต้องจัดพื้นที่ห่างกันอย่างน้อย 3 เมตร และจัดพื้นที่ในการรอคิวแบบทยอยกันมา 2- 3 คิว และเข้าไปรับในจุดที่เราเตรียมของไว้ให้แล้ว รับของเสร็จก็ขอให้กลับเลย ทั้งหมดก็ดำเนินการโดยอาสาสมัคร ในกรณีที่มีผู้สูงอายุที่ติดบ้าน ติดเตียงเราจึงขอให้คนที่มารับได้ หิ้วยังบ้านนั้นเพื่อลดความเสี่ยง การส่งต่อคือวางไว้หน้าบ้านบอกผู้ที่มารับว่าลดความใกล้ชิดให้วางถุงยังชีพไว้หน้าบ้าน

กลุ่มผู้สูงอายุในเครือข่ายที่ทำงาน มีตัวเลขประมาณ 200 กว่าคน ในชุมชนเมือง บางคนอาจไม่ถึงวัยผู้สูงอายุ แต่เราใช้เกณฑ์ในการมองเค้าด้วยความชราภาพ หมายถึงอาจมีความเจ็บป่วยทางร่างกายแก่ก่อนวัยสิ่งเหล่านี้เกิดจากอาสามสมัครช่วยกันสแกน เช่นผู้ที่พิการ ผู้ที่เหงาอยู่คนเดียว เราก็จะนำของมาช่วยเหลือผู้สูงอายุเหล่านั้น

วันนี้เป็น วันผู้สูงอายุ แนวทางที่จะปฏิบัติกับผู้สูงอายุ คือ พอเป็นทั้งมาผนวกกันสถานการณ์ 2 นี้ คือทั้งไฟป่าบวกกับโควิด-19 เรื่องเหล่านี้เราเริ่มรับรู้กันอย่างกว้างขวางในเดือนกุมภาพันธ์แล้ว ในกรณีฝุ่นควันเราอาจคุ้นชินมานาน แต่ในตอนนี้มันเริ่มรุนแรงขึ้นเห็นภาพได้ชัดเลยในปีนี้ และผู้สูงอายุบางคนก็ยังเข้าไปช่วยเหลือในการดับไฟป่า ตรงนี้เราต้องคุยกันในเชิงการจัดการที่ไม่ได้มองจากมุมรัฐอย่างเดียวแล้ว ไฟป่าปีนี้เห็นได้ชัดเลยว่าไม่ได้เกิดจากการเกษตรตรง นี่อาจต้องกลับมาทบทวนว่าเกิดจากอะไร ในบทบาทที่ผู้สูงอายุเข้าไปมีบทบาทกับเรื่องไฟป่าแล้ว ที่ผ่านมาเราจะใช้วิธีการตักเตือนเขา และใช้ความผูกพันกันในสังคมเป็นพลัง Soft Power ในส่วนของการดูแลเรื่องสุขภาพก็ยังคงมีปัญหาในเมืองเราอาจหายใจไม่ออกแต่ผู้ที่อยู่ใกล้ป่าจะเสี่ยง ทั้งไฟที่ป่าที่อาจลามมาอย่างบ้าน และตะกอนบางอย่างมากับเปลวไฟและสัมผัสกับตัวผู้สูงอายุ ในบางอำเภอติดต่อมาแล้วว่าผู้สูงอายุจะตายกับสิ่งเหล่านี้แล้ว ปีนี้ดีตรงที่มีผู้คนมองเห็นภาพนี้มาขึ้นในด้านการบริจาค เป็นปรากฏการณ์ใหม่ของสังคม ของเพื่อมนุษย์ที่ช่วยแหลือกันมันจะเป็นช่องทางในการสร้างความเข้าใจกันของคนในสังคม

จากข้อมูลวิจัยหลาย ๆ ที่ ปรากฏชัดเจนว่าผู้สูงอายุเสียชีวิตเพราะระบบทางเดินหายใจ สิ่งเหล่านี้คือวาระแห่งชาติ พอสิ่งนี้เป็นเรื่องของบนดอยทำให้งานในการจัดการไม่เป็นผล และไม่เป็นรูปธรรม ในเรื่องผู้สูงอายุเราให้ความรู้อย่างเดียวคงจะไม่พอ เขายังต้องการหน้ากากอนามัย พื้นที่ปลอดภัยเพื่อพักพิง เพราะอย่างที่พูดก่อนหน้านี้ว่าบ้านเค้าไม่เอื้ออำนวยในการอยู่รวมกันหรือเป็นพื้นที่ให้ความปลอดภัยผู้สูงอายุได้ ในเรื่องของการดำหัวผู้ใหญ่ปีนี้ ก็เปลี่ยนจากการดำหัวเป็นการบริจาคสิ่งเหล่านี้ที่ช่วยเหลือกันได้ ในเรื่องของการดับไฟ อุปกรณ์ดับไฟ การดูแลผู้สูงอายุของจำเป็นในแต่ละสถานการณ์ พื้นที่การกักตัวในเมืองก็อาจจะเป็นข้าวสารอาหารแห้ง ปัจจัยต่าง ๆ มันจะแตกต่างกันไปตามสถานการณ์ ตอนนี้สิ่งที่ปรับมาก คือการรดน้ำดำหัว ผู้สูงอายุก็เข้าใจสิ่งเหล่านี้ เราเห็นได้จากสื่อต่าง ๆ ที่ผู้สูงอายุอวยพรผ่านโซเชียล หรือว่าชูป้ายว่าไม่ต้องกลับมาทางนี้ดูแลตัวเองเองได้ให้คนทางนู้นดูแลตัวเองเช่นกัน เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เราได้ปรับตัว การใช้ออนไลน์อาจเป็นเรื่องหนึ่งที่ทำให้ทุกคนพร้อมปรับรูปแบบการสื่อสารในอนาคต

สุดท้าย วันนี้เป็นวันผู้สูงอายุ อยากอวยพรให้พ่ออุ้ยแม่อุ้ย ในส่วนตัวต้องขอขอบคุณพ่ออุ้ยแม่อุ้ยที่พยายามปรับตัวเอง ในสถานการณ์แบบนี้และเปลี่ยนตัวเองด้วย และเราก็เป็นห่วงลูกหลานเชื่อว่าลูกหลานทุกคนรักพ่ออุ้ยแม่อุ้ย แต่ด้วยสถานการณ์เช่นนี้ก็อาจจะกลับไปหาไม่ได้เพราะฉะนั้นก็ขอให้พ่ออุ้ยแม่อุ้ยอดทน และผ่านสถานการณ์นี้ไปด้วยกัน ไม่เครียดในหลาย ๆ เรื่องไม่ว่าจะเป็นการติดตามข่าวสารจากโทรทัศน์ ข่าวไม่ดีจะทำให้เกิดภาวะความเครียด ถ้าเครียดใช้ช่องทางอื่น ๆ ในการติดต่อสื่อสาร หรือพูดคุยกับอาสาสมัครเพื่อลดความเครียดในสถานการณ์นี้

https://web.facebook.com/thaithenorth/videos/600650370522129/

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ