ผู้สูงอายุ จ.พิจิตร ทำแบบไหนให้ปลอดภัยจากโควิด-19

ผู้สูงอายุ จ.พิจิตร ทำแบบไหนให้ปลอดภัยจากโควิด-19

: คุยกับ นายสุรเดช เดชคุ้มวงศ์ หัวหน้าโครงการฯ และเลขาธิการมูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตร

 ในสภาพปัญหาวิกฤติ ซ้อนวิกฤติ ทั้งฝุ่น PM 2.5 ไฟป่า และโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย จากรายงานข้อมูลผู้ป่วยโรคโควิด-19 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นักวิจัยพบว่า อัตราการเสียชีวิตระหว่างกลุ่มอายุแตกต่างกันมาก ผู้ที่มีอายุมากกว่าจะมีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่า ในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ผู้เสียชีวิต 15% คือผู้ที่อายุมากกว่า 80 ปี ส่วนผู้ที่อายุน้อยกว่า 50 ปี อัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า 1% ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่แม้จะร่างกายแข็งแรงก็เสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้ หากได้รับเชื้อ ส่วนหนึ่งมาจากระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลงเนื่องจากอายุที่มากขึ้น ผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัวเรื้อรังอยู่ เช่น มะเร็ง หรือโรคเบาหวาน แล้วเราจะทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุในบ้านของเราปลอดภัยจากโควิด-19 จังหวัดพิจิตรเป็นจังหวัดที่ยังไม่มีการรายงานผู้ป่วยโรคโควิด-19 และเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีผู้สูงอายุเป็นอันดับ 3 ของประเทศ  มีจำนวนผู้สูงอายุประมาณ 95,000 คน และส่วนใหญ่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคม หลายคนยากจนต้องทำงานและเลี้ยงหลาน ลูกๆ เข้าเมืองไปทำงานกันหมด แต่ชมรมผู้สูงอายุที่นี่นำโดย คุณ สุรเดช อดีตข้าราชการบำนาญกระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกันคิดร่วมกันทำเพื่อแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุร่วมกัน การดูแลผู้สูงอายุที่จังหวัดพิจิตรเค้ามีมาตรการและการทำแบบไหน แล้วเราสามารถทำอย่างไรได้บ้างให้ปลอดภัยจากโควิด-19


Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ ! วันนี้คุยกับ สุรเดช เดชคุ้มวงศ์ มูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตร เรื่อง “ผู้สูงอายุที่จังหวัดพิจิตรทำอย่างไร ให้ปลอดภัยจากโควิด พื้นที่ที่ยังไม่มีผู้ติดเชื้อ” ทั้งจังหวัดพิจิตรเองก็มีโมเดลที่เข้มแข็ง ในมิติของสังคมดูแลกัน ทั้งเรื่องของสังคมผู้สูงอายุที่มีมากมาย เรื่องเศรษฐกิจและปากท้องเค้ามีการจัดการที่ดีและน่าสนใจอีกด้วย

จังหวัดพิจิตรในตอนนี้ถือว่าเป็นจังหวัดหนึ่งที่ยังไม่มีการรายงานผู้ป่วยสะสมโรคโควิด-19 ในช่วงสถานการณ์ของไวรัสโควิด-19 พิจิตรในตอนนี้มีมาตรการที่เข้มแข็งเพื่อสกัดกั้นไวรัสตัวนี้เป็นอย่างดี ทาง คุณหมอ สุรเดช กล่าวว่า  โดยสถานการณ์ในตอนนี้พิจิตร อย่าที่เห็นว่าวิสัยทัศน์ของผู้สูงอายุจังหวัดพิจิตรที่จะรองรับสังคมสูงวัยนั้น “สุขภาพดี เป็นหลักชัย ภาคีร่วมใจ สร้างสังคมไม่ทอดทิ้งกัน”  วิสัยทัศน์นี้ยังคงดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้สูงอายุที่นี่สุขภาพดี มีรายได้เลี้ยงตัวเองได้ ได้รับการดูแลทั่วถึง และทุกๆ ปี เป็นสังคมที่ผู้สูงอายุเข้มแข็ง และพึ่งพาตัวเองได้ ก่อนหน้านี้เราจะมีเวทีสัญจรบ้านข้าราชการร่วมมือกันในทุกเดือน ผู้สูงอายุได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกันทั้ง 12 อำเภอ ได้เห็นถึงนวัตกรรมต้นแบบด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ปีที่ 9 ปี 2018 พอสถานการณ์โควิดมาแบบไม่คาดคิดในเดือนมีนาคม งานที่จะจัดก็หยุดไปโดยปริยายพอเราไม่มีโอกาสได้มาพบปะกันครั้งสุดท้ายคือเดือนมีนาคม พอการระบาดของโควิด 19 หนักขึ้นทางมูลนิธิก็ลงมติกันว่า ให้หยุดการจัดการนี้ไปก่อน คำถามคือ หยุดงานนี้แล้วรู้สึกอย่างไร ผู้สูงอายุก็รู้สึกเหงาเพราะ ทุก ๆ เดือนเราได้มีโอกาสมาพบปะพูดคุยกัน มาเจอกัน ทั้งพระ ผู้สูงอายุ แกนนำ เพราะตอนนี้เราไม่ได้มีโอกาสมาเจอกันเพราะเราต้องห่างกันไว้เพื่อความปลอดภัย เว้นระยะห่างทางสังคม ผู้สูงอายุก็เหงาให้อยู่บ้านใครบ้านมัน ลูกหลานก็มาหาไม่ได้ สภาวะเช่นนี้จะต้องทำอย่างไร ประเด็นแรกคือผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้รับความรู้ แน่นอนว่ามีสื่อสังคมออนไลน์เข้ามาช่วย เช่น ไลน์ที่ทำให้เรายังสามารถใกล้ชิดพูดคุยกันได้ ทางมูลนิธิได้วางระบบไว้แล้วว่า ผู้สูงอายุ 12 อำเภอเรามีกลุ่มไลน์ 12 อำเภอและเรายังมีกลุ่มเกษตรกรที่อยู่ในนามของชมรมคนรักในหลวง ผู้นำตามรอยพ่อในแต่ละอำเภอ พูดง่าย ๆ คือ ทั้งผู้สูงอายุและเกษตรกรมีอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเราก็ใช้ช่องทางทางสื่อสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊คของผม และของพระ ทุก ๆ วันเราจะมีหน้าที่ติดตามสถานการณ์ทั้งโลกรายวัน ในประเทศ และมีหน้าที่ส่งต่อความรู้ ให้กับผู้สูงอายุ ที่ถูกต้องแชร์ส่งต่อความรู้เหล่านี้กันทางนี้ สื่อสารไปทางช่องทางผ่านไลน์ผ่านเฟสบุ๊ค เรื่องสำคัญคือในปรากฏการณ์ที่เกิดปัญหาเหล่านี้ ในวิกฤตนี้มันก็มีโอกาสที่พบว่า มีคนดี ๆ ที่เราบอกว่า ดอกไม้งามคนดีที่ทำความดีอยู่แล้วมันมีอยู่แล้วจริง ๆ แล้วในสถานการณ์ที่ผู้สูงอายุลูกหลานไม่สามารถกลับมาบ้านได้ บางบ้านก็อยู่คนเดียว บางบ้านก็ยากจนแล้วจะต้องทำอย่างไร  ผู้สูงอายุที่เราทำงานมีชมรมผู้สูงอายุบางพื้นที่ เช่น คุณป้าสำราญ ที่วังหลุม เมื่อเรามีเวทีสัญจรระดับอำเภอ เราได้ทำการทอดผ้าป่าข้าวสาร ไปรวดหน้าแล้ว ว่าเราจะไปเยี่ยมผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ก็เลยเป็นโอกาสที่ว่านำเอาข้าวสารตรงนั้น มาแบ่งเป็นถุง ๆ ละกิโล 2 กิโลกรัม เมื่อไม่สามารถไปขายผักที่ตลาดได้ ก็ต้องปรับมาขายเป็นก๋วยเตี๋ยวขายที่บ้าน และเรารู้ว่าผู้สูงอายุคนไหนที่อยู่บ้านคนเดียวแล้วลำบาก ไม่ค่อยมีอะไรกิน บางครั้งป้าสำราญก็เอาก๋วยเตี๋ยวไปให้กิน แต่ที่ผู้สูงอายุชอบมาก คือ การนำข้าวสารที่บิณฑบาตกับพระเอาข้าวสารไปให้ผู้สูงอายุ  ผู้สูงอายุเหล่านั้นดีใจและขอบคุณมาก ซึ่งสิ่งนี้เป็นตัวอย่างของการที่สังคมไม่ทอดทิ้งกัน เป็นการแบ่งปันต้องดูแลทั้งสภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ขณะนี้ก็มีหลายพื้นที่เรื่องหน้ากากอนามัยไม่พอ ซึ่งพบว่าผู้สูงอายุ คนพิการ เด็กเยาวชน คนสาววัย อสม. อนามัย อบต. ก็มาร่วมกันผลิตหน้ากากอนามัย ช่วยกันคนละไม้คนละมือรวมทั้งพระด้วย และนำหน้ากากอนามัยเหล่านี้ไปให้ตามบ้านให้ผู้สูงอายุ เด็กและเยาวนชน มาร่วมกันซึ่งทำให้เห็นได้ชัดในระดับตำบลเลยว่า หนึ่ง เรามาร่วมด้วยช่วยกันทำหน้ากากอนามัย สอง กระจายความรู้ สาม มาช่วยกันล้างโรงบาล วัดให้สะอาด เพื่อให้ไม่มีปัญหาการตกค้างของเชื้อโรคต่าง ๆ กลไกเหล่านี้ก็เกิดขึ้นมากมายหลายตำบล และมีภาคเอกชนหลายแห่งมาเข้าร่วมด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างแนวหน้าของเราเลยคือ อสม. ทำงานอยู่ที่อนามัยหลายพื้นที่ที่จะต้องลุกเข้าไปในพื้นที่ ว่ามีใครกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงบ้าง บ้านนี้ขาดเหลืออะไรบ้าง คนเหล่านี้ทำงานหนักมาก และมีพ่อค้าแม่ค้า มาทำอาหาร ทำผลไม้ ทำขนมมาแจกให้ที่อนามัย ให้ อสม.ได้มีอะไรกิน เพราะคนเหล่านี้ต้องปฏิบัติหน้าที่แทบจะไม่มีเวลาหยุดพักเลย หลายคนร่วมช่วยกันในทุกพื้นที่เพื่อให้บุคลากรชั้นแนวหน้าทำงานกันอย่างเต็มที่

สิ่งนี้แหละเป็นความงดงามที่เกิดขึ้นในช่วงภาวะวิกฤตของสังคมไทย เป็นโอกาสที่ดีที่ภาคประชาสังคม ผู้สูงอายุ ด้านเอกชน หลายภาคส่วน ออกมาช่วยกันทำความดี ”

ภาครัฐบทบาทหลัก ๆ คือการควบคุมโรค เพราะฉะนั้นการดูแลอาจจะไม่ทั่วถึง การดูแลสภาวะจิตใจ ของประชาชนอาจจะไม่ทั่วถึงถ้าแรงของภาคประชาสังคมเข้ามาช่วยขับเคลื่อน มีเครือข่ายกันมันจะช่วยได้ทั่วถึงมากขึ้น สิ่งนี้คือบทเรียนถ้าเรามองบทเรียนที่ผ่านมาไม่ว่าจะประเทศจีน ภาครัฐอย่างเดียวคงจะทำอะไรไม่ได้ ต้องมีอาสาสมัครในประเทศจีนออกมาช่วยกันส่งข้าวส่งน้ำ ช่วยพาผู้ป่วยไปหาหมอที่โรงพยาบาลสิ่งนี้คือ ตัวอย่างที่ดีที่ภาครัฐและประชาชน ในประเทศไทยก็เหมือนกันในตำบล เราไม่ได้พบปะพูดคุยกับลูกหลาน และใช้ไลน์คุยกัน กับนายก อบต.หลายพื้นที่ซึ่งชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง หลายพื้นที่ที่เราได้มีโอกาสคุยโดยตรงนายกก็เลยมีการประชุมกัน ทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. แล้วสกรีนเลยว่าในหมู่บ้านเราบ้านหลังไหนบ้างที่มาจากพื้นที่เสี่ยง เราจะต้องเข้าไปพบปะเขา แต่ไม่ใช่เป็นการไปจับผิดเขา ทุก ๆ มาให้การต้อนรับดูแล นี่คือมิติของสังคมมันไม่ทอดทิ้งกันในมิติโควิดมาก็มาชวนให้เราได้ทำงานร่วมกัน พระสงฆ์หลายแห่งในจังหวัดก็จัดตั้งโรงทานขึ้น เพราะฉะนั้นคนยากจน ก็สามารถมารับข้าวกล่อง ในเวลานี้ต้องมาร่วมกันสามัคคีกันแบ่งปันกันสร้างความเข้มแข็ง

               วิธีการคุยกับผู้สูงอายุ ในสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ที่จะทำให้เข้าใจคือ เรามีชมรมผู้สูงอายุเกือบทุกตำบล ดั้งนั้นผู้สูงอายุด้วยกันเองจะรู้ว่าบ้านหลังไหนเป็นอย่างไร ซึ่งตอนนี้เราดึง อสม. เข้าช่วยในการพูดคุยและให้ความรู้กับผู้สูงอายุ เพราะฉะนั้นเราจะรู้ว่าผู้สูงอายุบ้านหลังไหนที่เขาอยู่คนเดียว เราจะใช้แผ่นพับ อะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปให้กับผู้สูงอายุ ไปคุยกันแบบเข้าใจ และล่าสุดทางเรามีกรแชร์คลิปที่เป็นการ์ตูนของทางมหาวิทยาลัยจุฬาร่วมกับไทยพีบีเอส รู้สู้ภัย 13 นาที แชร์เข้าไปในกลุ่มไลน์ดังนั้นผู้สูงอายุนำคลิปไปเปิดในทีวี ให้ผู้สูงอายุดูจะได้มีความรู้ โรคนี้ระบาดอย่างไรและเราจะป้องกันตัวเองอย่างไร สิ่งเหล่านี้เป้นสิ่งที่ เราต้องปรับตัวต้องใช้เทคโนโลยีทางการสื่อสารเข้าไปช่วย ให้คนที่ใกล้ชิดผู้สูงอายุ อสม. เข้าไปคุยทำความเช้าใจ อีกวิธีหนึ่งคือ เราต้องเน้นไปที่กลุ่มแกนนำก่อน เขาจะสามารถช่วยเหลือโดยผ่านช้องทางการทำงานทางเทคโนโลยี ไลน์ เฟสบุ๊ค ต่าง ๆ ดังนั้นที่สำคัญผู้นำชุมชนหรือแกนนำผู้สูงอายุในหมู่บ้านต้องมีความรู้ก่อน สามารถจะนำความรู้ไปกระจายลงสู่ชุมชนผู้สูงอายุได้อย่างเข้าใจ

               ทีนี้กลับไปที่คำถามแรกว่าเราไม่ได้เจอกันแล้วเราจะทำอย่างไร เราลองคุยปรึกษากันในกลุ่มไลน์ของแกนนำผู้สูงอายุ อำเภอ ตะพัน ในทุกวันเสาร์เวลา 2 ทุ่ม ผ่านไลน์ อย่างที่ตอนนี้โควิด-19 มาแล้วเราจะทำยังไงดีกับชีวิตเราเราอยากรู้ว่าครอบครัวเราเป็นอย่างไร ป้า ลุงคนนี้เป็นอย่างไร เราสามารถออกไปช่วยเหลือสังคมได้หรือไม่ สิ่งนี้มันก็จะเป็นเรื่องเล่าในวงที่คุยกันซึ่งมันทำให้เรารู้สึกว่าไม่ได้ห่างไกลกันไปไหนเลย เรารู้ความเคลื่อนไหวของใครอีกคนตลอด เช่น สงกรานต์ที่จะถึงนี้ เราออกแบบให้ ปกติผู้สูงอายุของเรามีการเอาข้าวของไปเยี่ยมผู้สูงอายุ 80 ปีขึ้นไปทั้ง 7 หมู่บ้านมีประมาณ 120 หลังคาเรือน ทีนี้ปีนี้จะทำอย่างไรดี คือด้านหนึ่งเราจะต้องไปช่วยดูแลผู้สูงอายุ อีกด้านหนึ่งทั้งตัวเราและผู้สูงอายุปลอดภัยด้วย ต้องไม่เอาเชื้อไปแพร่ให้กัน เราจึงประสานคุยกับหมอนามัย ว่าปีนี้เราจะยังคงออกไปดูแลผู้สูงอายุได้หรือไม่ ดังนั้นวิธีการเราต้องปรับ ต้องปรับวิธีการทำงาน ต้องรักษาสมดุลด้านหนึ่งไม่ประมาท อีกด้านก็ต้องไม่ทอดทิ้งกัน เราจึงต้องใช้นวัตกรรมทางสังคมเข้ามา

               ด้านผลกระทบเราต้องยอมรับว่าปีนี้ภัยมันทั่วประเทศ และมีคำสั่งว่าตลาดนัดหลายแห่งที่เป็นช่องทางที่เกษตรกรเอาข้าว เอาผักมาขาย ผู้บริโภคในเมืองต้องหยุดกิจการกันไปบ้าง ในขณะที่คนในเมืองต้องกินไข่แพงขึ้น การไปหาข้าวหรืออาหารปลอดสารพิษ คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเกษตรกรจากที่ต่าง ๆ และได้เป็นลูกค้าประจำเพราะเขาขายข้าว ขายผักปลอดสารพิษ และไม่แพง เพราะเราชัดเจนว่าในกลุ่มชมรมเกษตรธรรมชาติ หรือกลุ่มที่งานกับผู้สูงอายุ เช่น ต.รังนก ผู้สูงอายุเลี้ยงเป็ดที่บ้าน ปลูกผักที่บ้านผู้สูงอายุไม่สามารถมาขายได้ แต่เราก็มีแกนนำผู้สูงอายุ อสม. ของเราสามารถนำข้าวผักของผู้สูงอายุเหล่านี้เอามาขายในเมือง มันก็ถือว่าเป็นมิติใหม่ในด้านความช่วยเหลือกัน ในวิกฤติย่อมมีโอกาสทางหน้ามูลนิธิก็เปิดให้ผู้คนเหล่านี้มาขายซึ่งเขากรซิบบอกมาด้วยซ้ำว่าขายดีกว่าเดิมอีก เพราะพื้นที่ตาม พรก. ฉุกเฉินประกาศปิดเราควรจะร่วมด้วยช่วยกัน วิกฤตจึงจะสามารถเป็นโอกาสได้ เป็นการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง วิถีพอเพียงเราไม่ควรทิ้งสิ่งนี้ไปเพราะยังไงแล้วสักวันหนึ่งเราต้องกลับมาทำแบบนี้ซ้ำ  และสามารถทำให้เรามีอยู่มีกินได้ และเราสามารถจะแบ่งปันกันข้าวปลาอาหารและเราก็ไม่ได้คิดราคาแพงด้วย

               การรักษาพื้นที่จังหวัดพิจิตรในตอนนี้เพื่อไม่ให้มีผู้ติดเชื้อ ทุกภาคส่วนภาคีต้องร่วมใจสร้างสุขภาวะ ตอนนี้ไม่มองแค่มิติด้านสุขภาพ เพราะทั้งสองอย่างต้องไปด้วยกัน และสุขภาพจิตใจด้วยที่สำคัญที่สุดคือถ้าเราวิตกกังวลเสพข่าวมากแล้วกังวลใจ กลายเป้นความกลัวของโควิดมันไปครอบงำจิตใจ และยิ่งถ้าไม่มีอยู่มีกินยิ่งส่งผลต่อความเครียดเข้าไปอีก และถ้าไม่มีมิติสังคมไม่มีเพื่อนลูกหลานมาไม่ได้ การเช่นนี้ต้องมองว่าการณ์เช่นนี้ต้องยอมรับว่า ถ้าเกิดความร่วมมือกันแล้วในทุกภาคส่วน ช่วยกันสื่อสารข่าวดีออกไปเราพยายามสร้างความสำนึกของผู้คนว่าในวิกฤตมันต้องมีโอกาสเสมอ

               หลังจากนี้ความมั่นคงทางอาหารคือเรื่องสำคัญ ง่าย ๆ เราชอบกินอะไรเราก็ปลูกไว้ในกระถาง สิ่งนี้เป็นเรื่องง่าย ๆ ที่เราพอจะทำช่วยเหลือตัวเองเหลือแบ่งช่วยเหลือผู้อื่นได้ ใช้วิกฤตนี้ปรับตัวใช้โอกาส ปลูกทุกอย่างที่กินกินทุกอย่างที่ปลูก เป็นความคิดของปราชญ์ชาวบ้าน และตอนนี้คนในเมืองก็อาจจะปลูกได้ไม่มากเพราะบางบ้านไม่มีพื้นที่สิ่งนี้ต้องอาศัย กลุ่มเกษตรกรเครือข่ายที่ทำเรื่องเกษตรธรรมชาติเอาผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมา จะสามารถเกื้อกูลช่วยเหลือกันได้ แต่เกษตรกรต้องยอมรับว่าในจังหวัดพิจิตรของเราที่เป็นปัญหามานานคือ หนึ่งคนป่วยด้วยสารเคมีเป็นมะเร็งอันดับ 1 ของประเทศ สองหนี้ครัวเรืองที่สูงมาก เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ทบทวนการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง เป้าหมายของเกษตรพิจิตร คือ ชมรมเกษตรธรรมชาติเราก็พูดกันชัดว่า มีเป้าหมายจะทำอย่างไรให้พี่น้องเกษตรกรชาวพิจิตรสุขภาพดี และปลอดหนี้ลดหนี้ มีความสุข ร่วมแบ่งปัน ลูกหลานกลับมามีอยู่มีกิน ตรงนี้ทำให้คิดว่าคงไม่ต้องรอแค่เรื่องของสวัสดิ์การของภาครัฐอย่างเดียว สิ่งนี้จะเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ในระยะยาวก็ต้องมาคุยกันอีกทีว่าจะทำอย่างไรให้พวกเราพึ่งพาตนเองได้และสามารถช่วยเหลือสังคมได้

“มองไปให้ไกลเลยว่าในวิกฤตที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เป็นโอกาสที่เราจะเชื่อมพลังของผู้คนคนดีคนเก่งใน ทั้งด้านเศรษฐกิจ มิติสังคม ให้มาร่วมมือกัน ในวิกฤตก็เป็นโอกาสที่ให้เราได้มาทำกิจกรรมบางอย่างร่วมมือช่วยเหลือกัน และสิ่งนี้จะทำให้เห็นใจกันจริง ๆ ว่ายามวิกฤตนี้ใครบ้างที่จริงใจ จะทำให้เรามีกำลังและเข้มแข็งขึ้นได้หลังสิ่งนี้ผ่านพ้นไป

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ