แม่น้ำโขงผิดปกติจริงๆ

แม่น้ำโขงผิดปกติจริงๆ

“ตั้งแต่เกิดมาเพิ่งเคยเห็นแม่น้ำโขง แห้งขนาดนี้ซึ่งปีนี้ถือว่าวิกฤติสุด” นี่คือประโยคแรกที่ สมเกียรติ เขื่อนเชียงสา บอกกล่าวกับทีมกองบรรณาธิการTheNorthองศาเหนือ หลังสิ้นสุดคำถาม “แม่น้ำของเป็นอย่างไรบ้าง?”

ภาพด้านล่างเป็นภาพที่พระอภิชาติ พระนักสื่อสาร อำเภอเชียงแสน ในปักหมุดรายงานผ่านแอพพลิเคชัน C-Site เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 เป็นภาพนิ่งที่บริเวณบ้านแซว ตำบลสบกก ลำน้ำสาขาของแม่น้ำกก ก่อนที่จะไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีสภาพที่แห้ง ท่านได้บรรยายว่าปีนี้แล้งมาเร็วกว่าปกติ น้ำน้อยทำให้ลำน้ำสาขา ห้วย หนอง คลอง บึง แห้งบวกกับสถานการณ์ฝนปีนี้ที่ตกมาปริมาณน้อย และแม่น้ำโขง ที่ปีนี้ก็แห้งค่ำกว่าปีก่อนๆอย่างมาก และก่อนหน้านี้แม่น้ำโขงก็มีการขึ้นลงผิดปกติ

นี่เป็นที่มาให้ ทีมกองบรรณาธิการTheNorthองศาเหนือ สัมภาษณ์สมเกียรติ เขื่อนเชียงสา ผู้ประสานงานเครือข่ายแม่น้ำโขงภาคเหนือ และนายกสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต ที่ติดตามความเปลี่ยนแปลงหลังมีโครงการพัฒนาเข้ามาสู่แม่น้ำโขง สายน้ำที่มนุษย์ไม่สามารถควบคุมและจัดการได้

สมเกียรติกล่าวว่า แม่น้ำโขงปีนี้วิกฤตสุดจากที่เขาได้ศึกษาความผันผวนของแม่น้ำโขง หลังมีโครงการพัฒนาขนาดใหญ่อย่าง เช่น เขื่อนกั้นแม่น้ำโขงที่บริษัททุนในประเทศจีนได้ลงทุนเพื่อกั้นแม่น้ำโขงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเมื่อปี 2539แต่นั่นแม่น้ำโขงก็ไม่ได้ผิดปกติไปจากเดิมมากนักพัฒนา นักวิชาการ หลายคน จากกลุ่ม 6 ประเทศในลุ่มแม่น้ำออกมาเคลื่อนไหว เตือน เรียกร้องไม่ให้มีโครงการพัฒนาขนาดใหญ่อย่าง เช่น การสร้างเขื่อนหรือการระเบิดเกาะแก่งเกิดขึ้นในแม่น้ำโขง
แต่ก็ไม่เป็นผลจนภาพที่ปรากฏในสื่อออนไลน์ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายพื้นที่แม่น้ำโขงแห้งจนเห็นโขดหินและสันดอนทราย ทั้งที่ช่วงเดือนตุลาคม พฤศจิกายน เป็นช่วงเดือนที่น้ำหลากและจะส่งตัวไปจนถึงช่วงเดือนธันวาคม

แม่น้ำโขงที่แห้งผิดปกติและแห้งต่ำกว่าระดับน้ำในลำน้ำสาขาส่งผลทำให้เมื่อสิ้นสุดฤดูฝนในปีนี้ที่กรมอุตุนิยมวิทยาของประเทศไทย ได้ประกาศสิ้นสุดฤดูฝนและประกาศเข้าสู่ฤดูหนาว เมื่อวันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา แต่วันนี้ลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขงหลายสายแห้งเหือดเนื่องจาก ระดับแม่น้ำโขงแห้งจนต่ำกว่าลำน้ำสาขาทำให้ลำน้ำสาขาไหลลงระบายลงสู่แม่น้ำโขงจนหลายจุด ตื้นเขินและแห้งสนิด อย่างเช่นภาพสถานการณ์ จากที่ตำบลสบกก อำเภอเชียงแสน

ลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขงอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดทางภาคเหนือตอนบน ลำน้ำสาขาของลำกกที่ อำเภอท่าตอน และอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ลำน้ำรวก ลำน้ำคำ ลำน้ำกก ลำน้ำงาว จังหวัดเชียงราย ลำน้ำอิง จากจังหวัดพะเยา ซึ่งแน่นอนว่าการตื้นเขินของลำน้ำสาขาแบบนี้ทำให้น่าเป็นห่วงสำหรับพื้นที่การเกษตรของกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ลุ่มน้ำเหล่านี้ แน่นอนว่าในระยะยาวอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศโดยภาพรวม เมื่อระดับน้ำในคลองลำน้ำสาขาแห้งลงแบบนี้อาจส่งผลทำให้ระดับน้ำใต้ดินตื้นเขินลงไป

ส่วนสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงที่แห้งลงแบบนี้นอกจากจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศเช่นพื้นที่การวางไข่ของสายพันธุ์ปลาแต่ละชนิดแล้วยังส่งผลต่อพืชเช่นต้นไคร้ หรือพื้นที่แหล่งเพาะพันธุ์นกที่อาศัยเกาะเก่งแม่น้ำโขง

การแห้งของแม่น้ำโขงแบบนี้ปัจจัยสำคัญแน่นอนว่าสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปปริมาณฝนลดน้อยลงช่วงเวลาสั้นลง นี่คือปัจจัยทางธรรมชาติที่ทำให้ปริมาณแม่น้ำโขงลดลง แต่ปัจจัยที่สำคัญคือจากฝีมือของมนุษย์ที่จะควบคุมแม่น้ำโขงตลอดสายที่ไหลผ่านใน6ประเทศ

ความพยายามที่ตั้งเป้าพัฒนาแม่น้ำโขงให้เป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย ด้วยการสร้างเขื่อนเพื่อยกระดับน้ำและติดตั้งมอเตอร์สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า แน่นอนจำเป็นที่จะต้องมีการจัดการน้ำเพื่อปล่อยเข้าสู่ระบบผลิตการแสไฟฟ้าได้สม่ำเสมอทำให้ปริมาณการปล่อยแม่น้ำโขงผิดไปจากการไหลแบบธรรมชาติ ขณะนี้ในแม่น้ำโขงมีเขื่อนตั้งเรียงรายอยู่ไม่ต่ำกว่า 13 เขื่อน แล้ว แน่นอนว่านี่คือการพัฒนาแม่น้ำโขงด้วยเทคโนโลยี เพื่อผลิตกระเเสไฟฟ้าและการพัฒนานี้ส่งผลทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมของคนลุ่มน้ำโขง 6 ประเทศแน่ๆมนอนาคต ยกตัวอย่างง่ายเช่นตอนนี้วิถีประมงริมชายฝั่งแม่น้ำโขงทำได้ยากขึ้นชาวประมงเคยเล่าให้ฟังว่า ปกติการหาปลาจะมีภูมิปัญญาชุดความรู้ของชาวประมงในแต่ละช่วงฤดูกาล ที่หน้าฝนน้ำจะยกระดับขึ้นควรหาปาอีกประเภท น้ำลดลงควรเปลี่ยนอุปกรณ์ในการหาปลา ชุดความรู้แบบเดิมใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้วเนื่องจากปริมาณน้ำโขงที่จากที่เคยขึ้นลงตามฤดูกาลเปลี่ยนเป็นขึ้นลงรายวัน รายสัปดาห์ นั่นหมายถึงตอนนี้นอกจากจะหาปลาได้น้อยลงแล้วมันเป็นสัญญาณบอกว่าต่อไปคนหาปลาอาจจะหาปลาต่อไม่ได้ นี่คือความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากคนในพื้นที่เหล่านี้ไม่สามารถพึ่งพาทรัพยากรในท้องถิ่นของตัวเองได้ ซึ่งจะนำซึ่งความไม่สามารถพึ่งตนเองหาอยู่หากินได้ นี่คือความเจ็บปวดของคนในท้องถิ่นที่จะไม่สามารถหาอยู่หากินแบบเดิมได้อีกต่อไป

เรื่องนี้ไม่สามารถคุยได้ในระดับรัฐบาลหรือภายในประเทศเท่านั้น เรื่องนี้อาจใหญ่เกินกว่าที่6ประเทศในลุ่มน้ำโขงจะเป็นผู้พูดคุยปรึกษาทำข้อตกลงร่วมกันแล้ว มันเป็นเรื่องใหญ่ที่ส่งผลกระทบในระดับนานาชาติไปแล้ว

การที่จะประชุมสุดยอดผู้นำแต่ละประเทศที่จะถึงในต้นเดือนพฤศจิกายน มีพูดคุยถึงเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนในมิติเรื่องทรัพยากรทางธรรมชาติ นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ไม่ควรละเลยที่จะหยิบยกมาพูดคุยกัน

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ