ชีวิตนอกกรุง : เมื่อเมืองขนาดกลางคืออนาคตของโลก

ชีวิตนอกกรุง : เมื่อเมืองขนาดกลางคืออนาคตของโลก

“โลกใหม่ เมืองแบบใหม่ : ยกระดับชีวิตคนไทยในโลก 4.0” คือประเด็น ที่ ดร.ปัทมา เธียรวิศิษฎ์สกุล รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มาร่วมแลกเปลี่ยนที่เชียงใหม่ ในงาน Futurising Thailand สร้างอนาคตไทย ให้ทันโลก เมื่อ 5 กรกฎาคม 2562

เนื้อหา  น่าสนใจ เป็นประโยชน์ และที่สะท้อนให้เห็นทิศทางการเติบโตของเมืองและแนวทางการปรับตัวของเรา เราเลยเรียบเรียงมาไว้ เชิญติดตาม…

“ทุกท่านคะ   โลกเราเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก ด้วยปัจจัยที่เราเรียกว่า Disruptive หลายประการ
  1. เทคโนโลยี ที่อยู่รอบตัวเรา และเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก คนแต่ละรุ่นเข้าถึงได้ต่างกัน
  2. โลกแก่ตัวไปเร็วมาก ถ้าไม่มีเทคโนโลยี ไม่มีนวัตกรรมอะไรมาช่วยทุ่นแรง ก็จะทำให้เดินไปข้างหน้าได้ช้ามาก
  3. ทรัพยากรทางธรรมชาติ เสื่อมถอยไปมาก ต้นทุนการใช้ชีวิต ต้นทุนการธุรกิจสูงขึ้น
  4. ความเป็นเมือง คนเมืองขยายตัวรวดเร็วมาก โลกกำลังเข้าสู่ยุคของคนเมือง คือคนรุ่นใหม่ในอนาคต สัดส่วนของคนที่อยู่เมืองในไทยและอาเซียนมีประมาณ 50% หรือ 4.2 พันล้านคนอยู่ในเมือง 30ปีข้างหน้า ในปี 2050 คนในเมืองจะเพิ่มขึ้นอีกเป็น 68 % แบบนี้จะเกิดอะไรขึ้นบ้างในภูมิภาค

ในเอเชีย เราเรียกพวกเรากันเองว่าเป็นกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ โตทีหลัง ขยายตัวทีหลัง ซึ่งเราจะขยายตัวเร็ว มองใกล้ตัวลงมาอีกมาที่กลุ่มประเทศอาเซียนกระเเสความเป็นเมือง เร็วมากเช่นเดียวกัน ในอีก10ปีข้างหน้า คนเมืองในอาเซียน จะขยายตัวมากขึ้น มาถึงในประเทศ ณ ตอนนี้ คนเมืองมีประมาณ 35 ล้านคน 30ปีต่อจากนี้ คนไทยในเมืองจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ73 คือเพิ่มอีกประมาณ 10 ล้านคน เกินครึ่งประเทศกลายเป็นคนเมือง

คำถามคือโอกาสของความเป็นเมือง คืออะไร

เราจะเห็นรูปแบบการดำเนินชีวิต ระบบขนส่งบริการ ที่ทำให้ชีวิตดีขึ้น สิ่งเหล่านี้จะเพิ่มขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้รายได้ต่อหัวคนไทยเพิ่มสูงขึ้น

หากเรามองในภาพของธุรกิจเราเห็นอะไรปี 2010 เป็นต้นมา มีธุรกิจขนาดใหญ่ที่เราเรียกว่าเป็นบรรษัทข้ามชาติจำนวนทั้งหมดคือ 7,941 บรรษัท ซึ่ง 70% บริษัทเหล่านี้อยู่ในประเทศหรืออยู่ตามหัวเมืองใหญ่ที่มีการพัฒนาแล้ว ซึ่งจากการคาดการณ์อีก 5 ปีข้างหน้าจะมีบริษัทเหล่านี้เพิ่มขึ้นอีกประมาณไม่ต่ำกว่า 7,000 แห่ง ซึ่งแน่นอนว่า 7,000 แห่งเป็นเป้าหมายของประเทศอย่างเราที่กำลังพัฒนา

ทำอย่างไรที่เราจะสร้างเมืองของเราให้เป็นที่ดึงดูดเป็นฐานการผลิตฐานการบริการของบริษัทเหล่านั้น เหล่านี้เรามองในมุมของโอกาสที่จะเกิดขึ้น

เมืองกับขีดความสามารถในการแข่งขันมันเกี่ยวข้องกันอย่างไร ?

ในเมื่อสาธารณูปโภคพื้นฐานเกิดขึ้นโอกาสทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น ถ้าเราทำให้ดีผลผลิต (productivity) จะเกิด

“ณ วันนี้ เราไม่พูดว่าประเทศไทยแข่งกับประเทศนั้นประเทศนี้อีกแล้ว เช่น ประเทศไทยไม่ได้แข่งกับมาเลเซีย แต่เราจะบอกว่า กรุงเทพฯแข่งกับซูราบายา ภูเก็ตแข่งกับบาหลี เพราะขณะนี้ไม่ได้เป็นการแข่งขันในลักษณะประเทศ แต่แข่งกันเป็นลักษณะเมืองกับเมืองและหลายเมืองเลยทีเดียว”

หากเรามองว่าโลกกำลังเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมในรอบที่ 4  เทคโนโลยีต่างๆ มักจะเกิดขึ้นในเมือง กระจุกตัวอยู่ในเมือง ซึ่งนี่เป็นโจทย์

มุมบวกมันก็คือโอกาสที่เกิดขึ้นแล้วที่เป็นความท้าทายที่เราต้องจัดการกับการกระจุกตัวเหล่านั้น ความเป็นเมือง เมืองใหญ่ เมืองขนาดกลาง จะทำอย่างไรให้สร้างพลังให้เมืองที่อยู่รอบข้างโตขึ้น

หากเรามองไปข้างหน้าและใช้ข้อมูลที่เรามีอยู่ ถ้ามองว่าเมืองขนาดกลางเป็นอนาคตของโลก อนาคตของประเทศไทย ซึ่งพบว่าที่ผ่านมามีการขยายตัวของเมืองที่มีขนาดกลางเป็นจำนวนมากและคาดการณ์เอาไว้ว่าอีก 10 ปีข้างหน้า เมืองที่เป็นขนาดกลางทั่วโลก จะเติบโตสูงกว่าอัตราเฉลี่ยรวมของประเทศ และในปี 2025 เมืองขนาดกลางจะมีการเติบโตมากกว่าร้อยละ 50 ของเศรษฐกิจโลกเลยทีเดียว

ประเทศไทยมีเมืองที่มีขนาดกลางค่อนไปจนถึงขนาดจิ๋ว 34 เมือง มหานครของเรามีเพียงแค่กรุงเทพมหานครที่มีประชากรมากกว่า 5,000,000 คน ที่เหลือเป็นเมืองขนาดกลางค่อนไปทางจิ๋ว ประเด็นคือเมืองเหล่านี้แหละที่จะพยุงให้ประเทศไทยต่อๆไปข้างหน้า

“ อะไรที่สำคัญที่สุดในยุคนี้ นี่คือยุคสมัยของเมือง ยุคที่ประชากรเกินครึ่งโลกมาอาศัยอยู่ในเมือง ยุคที่เศรษฐกิจฐานความรู้เป็นเศรษฐกิจหลักที่ขับเคลื่อนโลกใบนี้ รวมถึงระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ที่กดดันให้เมืองต่างๆ ต้องแข่งขันกันมากขึ้น ในการดึงดูดเอาแรงงานและบริษัทที่อยู่ในเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เข้ามาอยู่ในเมืองมาทำงานอยู่ในเมือง”

ดังนั้น ในแผนยุทธศาสตร์และการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 12. ยุทธศาสตร์ที่ 9 จะพูดถึงการพัฒนาจังหวัดภาคและเมือง ในยุทธศาสตร์นี้เราแบ่งเมืองออกเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่ม 1 เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ เช่นกรุงเทพ เชียงใหม่ ขอนแก่น ภูเก็ต สงขลา รวมถึงชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา การพัฒนาเมืองกลุ่มนี้จะเน้นไปที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนเป็นเรื่องของขนาดใหญ่และส่งเสริมการพัฒนาเมืองสมาร์ทซิตี้ คือเมืองที่เราจะต้องอยู่แบบชาญฉลาด

กลุ่ม 2.เมืองขนาดกลาง 20 เมือง เมืองเหล่านี้เรื่องของสร้างพื้นฐานก็สำคัญเหมือนกันแต่ต้องทำให้ครอบคลุมและทั่วถึงและต้องทำให้มีคุณภาพเพื่อส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและบริการของพื้นที่โดยรอบ เป็นเมืองที่มีโอกาสมีศักยภาพที่จะนำแนวคิดการพัฒนาใหม่ๆ เข้ามาทั้งเรื่องการที่เราจะพูดถึงเมืองที่ออกแบบเพื่อการรองรับของคนทุกคน เมืองที่เติบโตแบบสีเขียวรวมถึงการมีแผนผังควบคุมนิเวศต่างๆซึ่งมีโอกาสอย่างยิ่งที่เมืองขนาดกลางจะสามารถดึงแนวคิดเหล่านี้ขึ้นมาเป็นแนวคิดการพัฒนา

กลุ่ม 3 เป็นเมืองเศรษฐกิจพิเศษเมืองเหล่านี้เน้นการที่จะดึงดูดการลงทุนเข้ามาเราให้เงื่อนไขพิเศษเราสนับสนุนเพื่อให้เกิดการลงทุนในบางสาขา ที่เราเห็นความสำคัญของการพัฒนาประเทศ ทุกมิติที่พูดถึง ไม่ได้มีเฉพาะมิติของทางเศรษฐกิจ แต่ทุกมิติไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิต การคมนาคมขนส่ง การใช้พลังงาน การรักษาสุขภาพหรือแม้การสร้างองค์ความรู้และภูมิปัญญาต่างๆเป็นทุกแง่มุมของการบริหารจัดการเมืองอย่างไรให้เมืองเป็นเมืองอัจฉริยะ Smart ยั่งยืนผู้คนอยู่แล้วมีความสุข ทุกคนมีที่ยืนในสังคม   เป็นเมืองที่มีสีเขียว โอกาสจากเทคโนโลยี และความท้าทายที่จะพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน”

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ