“เขียวสู้ฝุ่น” จินตนาการใหม่ภาคประชาสังคมเชียงใหม่สร้างองค์ความรู้และลงมือทำร่วมมือกันเพิ่มพื้นที่สีเขียวรับมือฝุ่นควันระยะยาวเตรียมตัวเตรียมบ้านเตรียมเมืองเตรียมดอยปักธงKick off 16 มิ.ย.62 ทีมใจบ้านวิเคราะห์ข้อมูลเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ระบุอีก3 ปีถ้าเพิ่มพื้นที่สีเขียวจาก18 % เป็น30 % ต้องการต้นไม้300,000 ต้น
ต่อเนื่องจากวงพูดคุยเชียงใหม่จะไม่ทนที่ภาคประชาสังคมในเชียงใหม่ซึ่งประสบกับปัญหาฝุ่นควันได้รวมกลุ่มกันหาทางออกระยะยาวในการรับมือฝุ่นควันทั้งในระดับพื้นที่ระดับจังหวัดและระดับนโยบายโดยแนวทางที่สรุปในการประชุมครั้งที่2 จะมีกิจกรรมร่วมกันคือสร้างพื้นที่สีเขียวให้เกิดขึ้นในเมืองและจังหวัด. ดังนั้นเมื่อวันที่19 พ.ค.62 มีวงประชุมย่อยเพื่อวางแผนทิศทางอีกครั้งโดยทีมสภาพลเมืองและตัวแทนภาคประชาชนในเชียงใหม่
วงประชุมแลกเปลี่ยนกันถึงแนวทางเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยระบุว่าแม้กิจกรรมเริ่มต้นจะคือการปลูกต้นไม้ซึ่งหลายหน่วยงานกำลังรณรงค์ปลูกันอยู่แต่เชียงใหม่อยากจะวางทิศทางไปในระยะยาวคือการรับมือกับฝุ่นควันและพื้นที่สีเขียวเป็นได้มากกว่าต้นไม้เป็นต้นๆแต่อาจหมายถึงไม้เลื้อยไม้กระถางที่ชุมชนร่วมสร้างหรือคนในคอนโดมิเนียมร่วมปลูกได้ตลอจนสร้างผืนป่าที่สำคัญร่วมกันมองไปถึงแผนแม่บทพื้นที่สีเขียวในเมืองซึ่งเป็นการออกแบบเมืองการสร้างนิเวศน์เมืองด้วยตลอดจนเชื่อมโยงความเข้าใจกับภาคป่าที่อยู่ร่วมกัน
วงประชุมให้ความสำคัญกับความรู้ที่จะรับมือกับฝุ่นควันอย่างเข้าใจผ่านความรู้ด้านต่างๆที่จะร่วมสร้างเพื่อให้เกิดการเตรียมตัวเตรียมบ้านเตรียมเมืองเตรียมดอยอย่างเหมาะสมกับช่วงเวลาโดย
เตรียมตัวคือความรู้ความเข้าใจเรื่องภัยจากPM2.5 การปฏิบัติตัวการเลือกใช้หน้ากากที่ความรู้ด้านสุขภาพด้านนี้จะจัดทำและเชื่อมลงไปกับชาวบ้านให้เข้าใจเพิ่มขึ้น
เตรียมบ้านคือเข้าใจที่อยู่อาศัยของตนเองหากจะปรับบ้านหรืออาคารให้รับมือกับฝุ่นควันทั้งการเริ่มปลูกต้นไม้ซับหรือกรองฝุ่นอย่างเหมาะสมและการทำห้องในบ้านให้ปลอดฝุ่นอย่างถูกวิธีแบบง่ายและการทำเครื่องกรองฝุ่นDIY
เตรียมเมืองคือชุมชนแต่ละชุมชนเริ่มร่วมกันมองและหาแนวทางเพิ่มพื้นที่สีเขียวทั้งระดับเมืองและตำบลผ่านความร่วมมือกับสภาองค์กรชุมชนแต่ละพื้นที่ จังหวัดและการเตรียมเมืองอีกระดับคือการดูแลต้นไม้ใหญ่ที่มีอยู่และวางแผนพัฒนาผังแม่บทพื้นที่ยุทธศาสตร์ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่มีคุณภาพให้กับเมืองที่จะต้องทำงานระยะยาวร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นและราชการ
เตรียมดอยคือการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในพื้นที่สูงเช่นอ.แม่แจ่มเริ่มร่วมกันปลูกไผ่1 แสนต้นในฝนนี้โดยมีกิจกรรมย่อยรับการสนับสนุนปรับเปลี่ยนวิถีพื้นที่สูงเป็นวนเกษตรในพื้นที่นำร่องระดมทุนและสนับสนุนทีมชาวบ้านที่อยู่พื้นที่ใกล้เขตป่าหรือในพื้นที่ป่าและเป็นแนวหน้าในการเตรียมป้องกันการเกิดไฟทั้งด้านอุปกรณ์และอื่นๆเป็นต้น
โดยขณะนี้ได้เริ่มประสานเชื่อมโยงและจัดทำคู่มือการปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียวกำหนดรายชื่อพืชพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมข้อมูลรายละเอียดและประโยชน์ของต้นไม้รวมถึงTree for life (กรองฝุ่นอย่างไรเก็บความชื้นเท่าไหร่) แนวการออกแบบและจัดการอาคารหรือบ้านเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวคู่มือการดูแลสุขภาพและเชื่อมกับไทยพีบีเอสนำระบบแอพพลิเคชั่นCSite มาเริ่มจัดทำฐานข้อมูลและสร้างการมีส่วนร่วมจากประชาชนที่ร่วมกันปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยสามารถโหลดแอพพลิเคชั่นและใช้สมาร์ทโฟนร่วมถ่ายภาพและปักหมุดพิกัดในแผนที่เพื่อร่วมกันแสดงผลเชิงประจักษ์ให้เห็นความพยายามสร้างพื้นที่สีเขียวของทุกคนร่วมกันด้วย
ทั้งนี้เครือข่ายฯกำหนดจะใช้ชื่อกิจกรรมร่วมกันครั้งนี้ว่า“เขียวสู้ฝุ่น” เริ่มต้นกิจกรรมด้วยการปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียวและแสดงแผนแม่บทเพิ่มพื้นที่สีเขียวในวันที่16 มิถุนายน2562 และผลักดันการเกิด”กองทุนเขียวสู้ฝุ่น”เพื่อการทำงานระยะยาวต่อไป
สำหรับผังแม่บทพื้นที่ยุทธศาสตร์ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่มีคุณภาพให้กับเมืองนั้นขณะนี้ทีมใจบ้านสตูดิโอ กลุ่มสถาปนิคอาสาในเชียงใหม่ได้เริ่มพัฒนาขึ้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลระดับพื้นที่และมองภาพอนาคตข้างหน้า
“จะเป็นอย่างไรถ้าอีก10 ปีข้างหน้าเมืองเชียงใหม่ที่เราอยู่อาศัยจะมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น?
หากเป็นเช่นนั้นได้ปัญหาฝุ่นควันที่ทุกคนกำลังเผชิญน่าจะดีขึ้นแน่นอนอุณหภูมิโดยรวมของเมืองเราน่าจะลดลงได้มากกว่า2-4 องศาเซลเซียสเราน่าจะมีคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตที่ดีขึ้นการทำงานที่มีประสิทธิภาพในเมืองที่บรรยากาศดีเศรษฐกิจแบบใหม่ที่เราไม่อาจคาดคิดที่จะเข้ามาแทนที่การท่องเที่ยวที่เน้นปริมาณระบบการสัญจรที่เป็นมิตรกับโลกพื้นที่ผลิตอาหารที่ปลอดภัยใกล้เมืองและลูกหลานของเราคงเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับต้นไม้กับสัตว์นกนานาและแมลงได้ดีกว่าคนรุ่นเรา”
นั่นคือจินตนาการของ“ใจบ้านสตูดิโอ” และนำมาสู่การreview นโยบายการพัฒนาพื้นที่สีเขียวของประเทศออสเตรเลียด้วยเคมเปญ202020 Vision ที่มุ่งหวังว่าภายในปี2020 ทั้งประเทศจะมีพื้นที่สีเขียวที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น20% โดยริเริ่มตั้งแต่ปี2014 และสร้างภาคีความร่วมมือขนาดใหญ่. ทั้งจากรัฐชุมชนนักวิชาการเกษตรกรในเมืองภาคธุรกิจและคนทั้งเมืองร่วมมือกันบนวิสัยทัศน์ที่ท้าทายโดยมีขั้นตอนและวิธีการที่เป็นระบบ
จึงนำมาสู่การมองกลับมาที่เชียงใหม่ซึ่งเป็นเมืองที่พิเศษมีภาคีและพลเมืองทีทำงานกันอย่างแข็งขันและเสียสละมีคนเล็กคนน้อยผู้คนในชุมชนโรงเรียนวัดอยากมีส่วนกับการเปลี่ยนแปลงหากแต่รัฐของเราขาดประสิทธิภาพในการเชื่อมร้อยตาน้ำเล็กๆเหล่านี้ให้เป็นแม่น้ำสายใหญ่ ดังนั้นคำถามที่ตามมาคือ
เป็นไปได้ไหมที่ชาวเชียงใหม่จะร่วมกันสร้างพื้นที่สีเขียวที่มีคุณภาพให้เกิดขึ้น?
เพื่อเปลี่ยนเมืองคอนกรีตที่ร้อนระอุให้เป็นเมืองที่ร่มเย็นเปลี่ยนวิกฤตหมอกควันให้เป็นโอกาสในการใช้จินตนาการถึงอนาคตที่ดีกว่าด้วยวิธีการที่เรียบง่ายและทรงพลังคือการสร้างพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง
ศุภวุฒิ บุญมหาธนากร. กลุ่มใจบ้านสตูดิโอเล่าว่าได้ร่วมกับ mor & farmer พัฒนาผังแม่บทพื้นที่ยุทธศาสตร์ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่มีคุณภาพให้กับเมืองและพบว่าเมืองเชียงใหม่มีต้นไม้ใหญ่ที่มีศักยภาพในการลดอุณหภูมิของเมืองและดักจับฝุ่นควันและก๊าสพิษเพียง18% ในขณะที่เมืองอื่นๆของโลกอย่างลอนดอนสิงค์โปร์มีพื้นที่ต้นไม้ใหญ่ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า30%
อย่างไรก็ตามหากคำนวนเป้าหมายและความเป็นไปได้ภายในปี2021 หรืออีก3 ปีข้างหน้าหากคนเมืองเชียงใหม่จะเพิ่มพื้นที่ต้นไม้ใหญ่ในเมืองของตนเองจาก18% ให้กลายเป็น30% เพื่อจะทำสิ่งนั้นคนในเมืองเชียงใหม่ต้องการปลูกต้นไม้อีก300,000 ต้นในเขตเทศบาลเมืองเชียงใหม่ ซึ่งจะเริ่มต้นที่ฤดูฝนนี้
“และถ้าเรามีเป้าหมายในการเพิ่มพื้นที่ต้นไม้โดยเริ่มต้นจากพื้นที่เมืองชั้นในของเชียงใหม่จากปัจจุบันที่18% เป็น30-40-50% จะมีหน้าตาเป็นอย่างไรและจะช่วยลดปัญหามลพิษทางอากาศของเชียงใหม่ได้เท่าไร. ภาคีเครืแข่ายที่ร่วมกันทำงานได้ทดลองประเมินสถานการณ์ต้นไม้ในพื้นที่‘ชุมชน‘ เทศบาลเมืองเชียงใหม่เป็นอันดับแรกเพื่อเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการพูดคุยหาแนวทางและพื้นที่ในการขับเคลื่อนรวมถึงชุมชนเป็นเครือข่ายสำคัญที่จะร่วมกันปลูกและดูแลต้นไม้ในพื้นที่ของตนเองได้”
“ทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างจุด..เส้น…ระนาบเพื่อให้ความพยายามของเราทุกคนทุกๆระเบียงขอบหน้าต่างในหอพักทุกบ้านทุกโรงเรียนทุกวัดทุกชุมชนทุกสถานที่ราชการทุกลานหน้าห้างสรรพสินค้าทุกที่รกร้างว่างเปล่าทุกผืนกำแพงทุกพื้นที่ริมคลองริมถนนริมแม่น้ำให้กลายเป็นโครงข่ายนิเวศขนาดใหญ่ด้วยจุดเส้นระนาบสีเขียวของต้นไม้ที่เราช่วยกันสร้างให้เมืองสีเขียวของเราเชื่อมกับป่าบนดอยสุเทพ”
ขอบคุณภาพกราฟฟิคจาก ใจบ้านสตูดิโอและ mor&farmer