ผลสำรวจกรุงเทพโพลล์ระบุ ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ 61.7% หวังอยากได้ค่าแรง 400 บาท หากได้รัฐบาลใหม่ 85.9% กังวลว่าข้าวของราคาแพงขึ้น 79.0% ฝากความหวังให้รัฐบาลใหม่ควบคุมราคาสินค้า ไม่ให้กระทบค่าครองชีพ 62.0%สนใจอยากพัฒนาทักษะแรงงาน สำหรับงานและอาชีพแต่ละระดับให้เป็นมาตรฐาน เพื่อเข้าสู่การพิจารณาปรับค่าแรงมาตรฐานให้สูงขึ้น
30 เม.ย. 2562 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เผยแพร่การสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ปรับค่าแรงขั้นต่ำกับความหวังของแรงงานไทย” โดยเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้แรงงานในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,160 คน พบว่า ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 42.1 ระบุว่าปัจจุบันค่าแรงขั้นต่ำที่ได้รับในแต่ละวันพอดีกับค่าใช้จ่ายจึงไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม ขณะที่ร้อยละ 31.6 ระบุว่าไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ต้องหยิบยืม ส่วนร้อยละ 26.3 ระบุว่าเพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม
เมื่อถามว่านโยบายหาเสียงเลือกตั้งค่าแรงขั้นต่ำ 400-425 บาท จากพรรคการเมืองต่าง ๆ มีผลต่อการตัดสินใจเลือกมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.5 เห็นว่ามีผลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 49.5 เห็นว่า
มีผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าหากได้รัฐบาลใหม่แล้ว คาดหวังกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำหรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.7 ระบุว่าคาดหวัง โดยในจำนวนนี้ ร้อยละ 43.0 หวังว่าจะได้ค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทเลยในทันที รองลงมาร้อยละ15.3 หวังว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 400 บาทภายใน 1-2 ปี และร้อยละ 3.4 หวังว่าไม่เกิน 3 ปี จะได้ค่าแรงถึง 400 บาท ขณะที่ร้อยละ 38.3 ไม่ได้คาดหวัง
ส่วนเรื่องที่กังวลมากที่สุดหากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400-425 บาทคือ ข้าวของราคาแพงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 85.9 รองลงมาคือ ค่าแรงขั้นต่ำจะไม่ขึ้นอีกหลายปี คิดเป็นร้อยละ 21.6 และตกงาน โดนเลิกจ้าง คิดเป็นร้อยละ 21.0
เมื่อถามว่าหากภาครัฐมีการพัฒนาทักษะแรงงาน สำหรับงานและอาชีพแต่ละระดับให้เป็นมาตรฐานเพื่อเข้าสู่การพิจารณาปรับค่าแรงมาตรฐานให้สูงขึ้น ท่านสนใจจะเข้าร่วมมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 62.0 สนใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 38.0 สนใจค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
สุดท้ายในฐานะแรงงานไทย อยากฝากความหวังอะไรกับรัฐบาลใหม่ที่จะเกิดขึ้นพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 79.0 อยากให้ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภค พื้นฐานไม่ให้ขึ้นราคา กระทบค่าครองชีพ รองลงมาร้อยละ 53.6 อยากให้ดูแลสวัสดิการความปลอดภัย ค่ารักษาพยาบาลแก่แรงงาน และร้อยละ 37.7 อยากให้รัฐบาลเร่งรัดการสร้างงาน สร้างอาชีพ ลดภาวการณ์ว่างงาน
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้ | ||||||||||||||||||
1. ข้อคำถาม “ปัจจุบันค่าแรงขั้นต่ำที่ได้รับในแต่ละวันเพียงพอกับค่าใช้จ่ายหรือไม่”
|
||||||||||||||||||
2. นโยบายหาเสียงเลือกตั้งค่าแรงขั้นต่ำ 400-425 บาทจากพรรคการเมืองต่างๆ มีผลต่อการตัดสินใจ เลือกตั้งมากน้อยเพียงใด
|
||||||||||||||||||
3. ข้อคำถาม “หากได้รัฐบาลใหม่แล้ว ท่านคาดหวังกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอย่างไร”
|
||||||||||||||||||
4. เรื่องที่กังวลหากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400-425 บาท (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
|
||||||||||||||||||
5. ข้อคำถาม “หากภาครัฐมีการพัฒนาทักษะแรงงาน สำหรับงานและอาชีพแต่ละระดับให้เป็นมาตรฐาน เพื่อเข้าสู่การพิจารณาปรับค่าแรงมาตรฐานให้สูงขึ้น ท่านสนใจจะเข้าร่วมมากน้อยเพียงใด”
|
||||||||||||||||||
6. ข้อคำถาม “ในฐานะแรงงานไทย ท่านอยากฝากความหวังอะไรกับรัฐบาลใหม่ที่จะเกิดขึ้น” (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
|
||||||||||||||||||