“นักการเมืองควรจะเข้าใจบริบทพื้นที่ ที่มีความหลากหลายเข้าใจสิทธิ์ของชาวบ้าน อยากเห็นนโยบายที่ให้สิทธิ์คนอยู่กับป่า อยากเห็นนโยบายที่ชัดเจนเรื่องกลไกพืชผลทางการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรลืมตา อ้าปาก ได้ และอยากให้พรรคการเมือง นักการเมือง ลงพื้นที่และเป็นที่พึ่งของชาวบ้าน ได้ตลอด ไม่ใช่หลังเลือกตั้งแล้วหาย”
นี่คือส่วนหนึ่งของเสียงชาวบ้านจากพื้นที่บนดอย ที่เรียกว่า อำเภอเเม่เเจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดที่ขึ้นชื่อว่าเป็นอันดับ ต้น ๆ ของประเทศไทย ที่มีภาวะเศรษฐกิจดี มีการพัฒนาที่เติบโตสูง แต่ในขณะเดียวกัน เชียงใหม่ ยังมีเรื่องที่ไม่ใหม่ที่ รอนโยบายที่ชัดเจนเข้าไปช่วยหนุนเสริม ให้เกิดเรื่องใหม่ๆ
เเม่เเจ่มเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ ก่อเกิดลำน้ำหลายสาย ก่อนที่จะ ไหลไปรวมกับแม่น้ำปิง แล้วไหลรวมกับสายน้ำอื่นจนเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ข้อมูลเมื่อปี 2559 เเม่เเจ่มมีพื้นที่ 1,692,698 ไร่ เป็นป่าสงวนเเห่งชาติ 1,351,110 ไร่ ป่าอนุรักษ์ 317,773 ไร่ พื้นที่มี เอกสารสิทธื์ทางราชการ 23,815 ไร่ แต่ว่าพื้นที่ในการใช้ ประโยชน์ของชาวบ้าน 43,7712 ไร่ แน่นอนว่าจำนวนตัวเลขที่ไม่เท่ากันและต่างกันเกือบครึ่งของพื้นที่ ที่ทำกินและที่อาศัยของชาวบ้าน และพื้นที่ที่มีเอกสาร สิทธ์ก็น่าตกใจไม่น้อย แต่นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ และไม่ใช่มีเเค่ อ .เเม่เเจ่ม แต่ยังมีเรื่องแบบนี้ที่เกิดขึ้นทั่วภาคเหนือที่มีคนไม่ต่ำ กว่าล้านครอบครัว ที่อยู่ในพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ที่เฝ้ารอนโยบายรอบใหม่ที่โดนใจเข้ามาช่วยจัดการ แต่ระหว่างนี้พวกเขา ไม่ได้นิ่งดู ความพยายามของคนเเม่เเจ่ม ที่ลุกขึ้นมาหา ทางออกให้กับตัวเอง ดึงความร่วมมือจากทุกที่ เริ่มแก้ปัญหา จากต้นเหตุ ในชื่อ “แม่แจ่มโมเดลพลัส” ขึ้นมา โดยมีเป้าหมายการขับเคลื่อนการทำงานอยู่ 6 เรื่องหลัก
1.สิทธิในการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่า ที่ดินทำกิน โดยการดำเนินการขอใช้ พื้นที่ตามสิทธิ ตามกฎหมายและนโยบาย
2.การผลิตสินค้า การตลาด การลงทุน
3. อาชีพ
4.การจัดการทรัพยากร อย่างมีส่วนร่วมของชาวบ้าน
5.การพัฒนากลไก กลุ่ม องค์กรเครือข่าย
6.การพัฒนาระบบฐานข้อมูล พื้นที่
เเม่เเจ่มโมเดลพลัส คือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนเเม่เเจ่มอย่างยั่งยืน จากฐานเดิมที่พื้นีที่มีศักยภาพอยู่เเล้วนั้นเองเเต่ภายใต้ความหวังใหม่เพื่อให้แม่เเจ่ม เเจ่มว้าว
ซึ่งช่วงนี้ก็จะ ใกล้เข้าสู่การเลือกตั้งคนเเม่เเจ่มก็มีเรื่องที่อยากจะฝากไปถึง พรรคการเมือง เพื่อจะได้มีนโยบายในการหนุนเสริมกับคน เเม่เเจ่ม และคนเหนือ
ทนงศักดิ์ ม่อนดอก ชาวแม่เเจ่ม “แม่เเจ่มเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำคนเเม่เเจ่มอยู่ในพื้นนี้มานาน นานก่อนกฎหมายประกาศเขต อุทยาน ก่อนกฎหมายป่าไม้ พอประกาศ พื้นที่ชาว บ้านอยู่ก็ผิดกฎหมาย แต่ในระดับนโยบายจะทำอย่างไรให้ชาวบ้านอยู่ร่วมกับป่าได้ และให้ชาวบ้านร่วมดูแลป่า ฟื้นฟูป่า และอีกอย่างหนึ่ง คือ ที่ผ่านมามักจะโทษชาวบ้านว่าบุกรุกป่า ปลูกข้าวโพด แต่อยากจะฝากไปถึงนโยบาย ที่จะช่วยชาวบ้านคิดหน่อยว่า ในพื้นที่่ป่าต้นน้ำที่ชาวบ้านอยู่ควรจะปลูกพืชอะไรดี เพราะชาวบ้านอยู่ตรงนั้นแล้ว ไม่สามารถออกมาได้ ต้องกิน ต้องใช้จ่าย”
อุทัย บุญเทียม ประธานเครือข่ายเกษตรกร อ.เเม่เเจ่ม“อยากจะฝากถึงผู้ที่จะมาบริหารประเทศ ที่จะต้องเข้าใจบริบทของพื้นที่ ซึ่งแต่ละที่ไม่เหมือนกัน อ.เเม่เเจ่ม ตอนนี้ชาวบ้านนอนตาไม่หลับ เพราะพื้นที่กวา 90% ยังไม่มีเอกสารสิทธิ์ และอีกเรื่องที่อยากจะฝากคือ ส่วนใหญ่คนในพื้นที่ภูมิภาคเเต่ละภาค มีอาชีพเกษตรกรรม แต่ละพื้นที่มีพืชเกษตรที่เเตกต่างกัน ตรงนี้ระดับนโยบายจะช่วยอย่างไรในเรื่องของกลไกการตลาด ชาวบ้านไม่ถนัดเรื่องการตลาดเลย”
สันติชาติ ยิ่งสินสุวัฒน์ ชาวแม่เเจ่ม “เรายืนยันมาโดยตลอดเรื่องของการอยู่ร่วมกับป่า ตามแบบวิถีของเรา พรรคไหนก็ได้ที่มีนโยบายเรื่องคนอยู่ร่วมกับป่าที่ชัดเจนให้เรา และอีกเรื่องคือ เรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เข้าถึงคนในแต่ละพื้นที่”
อุทิศ สมบัติ ชาวเเม่เเจ่ม “พี่น้องเราเป็นเกษตกร ทำอย่างไรที่จะทำให้เกษตรกรลืมตา อ้าปากได้ นั่นหมายถึงการที่ปลูกอะไรแล้วก็ขายได้ การที่จะส่งเสริมให้ชาวบ้าน ชาวไร่ชาวสวนชาวนาปลูกพืชอะไร ควรที่จะมีปลายทางการตลาดรองรับไว้ด้วย ซึ่งเรื่องการเสริมการตลาดให้เกษตรกรสำคัญเรื่องกฎหมายอะไรก็ตาม ที่จะเอื้อให้เกษตรกรได้ก็ควรทำควรปลดล็อค และที่สำคัญ นักการเมืองต้องเป็นที่พึ่งของประชาชน ไม่ใช่ลงพื้นที่เเค่ตอนหาเสียงแล้วหายไป”