ดอยสุเทพไม่ใช่แค่ภูเขา
พลิกประวัติศาสตร์คนเชียงใหม่ปกป้องจิตวิญญาณเมือง
“ดอยสุเทพ ไม่ใช่แค่ภูเขา” คนเชียงใหม่ยืนยันเช่นนี้หลายครั้งหลายครา รวมทั้งเหตุการณ์ล่าสุดที่อาจทำให้สังคมแปลกใจว่า ทำไปจึงเกิดปรากฏการณ์คนเชียงใหม่ลุกขึ้นมาปกป้องดอยสุเทพอย่างมากมายจากกรณีก่อสร้างบ้านพักข้าราชการตุลาการในแนวป่าดอยสุเทพเดิม
เพจ เชียงใหม่มรดกโลก สรุปได้ชัดเจนยิ่งแล้วว่า 5 เหตุผลที่คนเชียงใหม่หวงแหนดอยสุเทพเพราะอะไร
- เพราะดอยสุเทพทำให้มีเชียงใหม่ทุกวันนี้
- เพราะนี่คือป่าต้นน้ำและ ‘ปอด’ ของคนเชียงใหม่
- เพราะเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุดอยสุเทพ
- เพราะเป็นฐานเศรษฐกิจที่สำคัญของเมือง
- เพราะเป็นสัญลักษณ์ของความร่วมแรงร่วมใจของผู้คนตลอดมา
อ่านรายละเอียด http://www.chiangmaiworldheritage.net/detail_show.php?id=151&lang=th
และนี่เองเมื่อเราย้อนพลิกประวัติศาสตร์จึงพบว่ามีรากความคิด รากที่คนก่อนเก่าเชียงใหม่ลุกขึ้นมาปกป้องดอยสุเทพให้กับคนปัจจุบันหลายครั้งหลายคราอย่างไม่เคยย่อท้อ และนี่คือประมวลความเคลื่อนไหว-เหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับดอยสุเทพที่ผ่านมา ซึ่งพอจะทำให้เรามีคำตอบต่อสถานการณ์ปัจจุบันได้ว่า ทำไมริบบิ้นเขียวจึงปลิวไสวนัก
ปี พ.ศ. |
รายละเอียด |
ราว พุทธศตวรรษที่ 13 | ดอยสุเทพ คนท้องถิ่นเดิมเรียกว่า “ดอยอ้อยช้าง” และ “ดอยก๋าละ” ต่อมาเป็นสถานที่บำพัญตบะของพระสุเทวฤาษี หรือฤาษีวาสุเทพ จึงเรียกขานต่อมาว่า “ดอยสุเทพ” เชิงดอยสุเทพมีชุมชนพื้นเมืองชาวลัวะหลายชุมชน ที่นับถือผีปู่แสะ-ย่าแสะ |
พ.ศ. 1839 | พญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ ใช่ชื่อว่า “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” และสถาปนาให้เป็นเมืองศูนย์กลางของราชอาณาจักรล้านนา |
พ.ศ.1927 | พญากือนา กษัตริย์ราชอาณาจักรล้านนาลำดับที่ 6 อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุสู่ยอดดอยสุเทพจากการอธิฐานเสี่ยงทายด้วยช้างมงคล สร้างเจดีย์ครอบองค์พระบรมสารีริกธาตุ |
พ.ศ.2081 | พระยาเมืองเกศาเกล้า หรือพญาเกศเชษฐาราช เสริมองค์พระเจดีย์ให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม โดยเพิ่มขนาดความกว้างเป็น 6 วา สูง 11 วา และพระราชทานทองคำทำเป็นดอกบัวทองใส่ยอดพระเจดีย์ |
เจ้าท้าวทรายคำราช พระราชทานทองคำและทรัพย์สร้างพระวิหารพระธาตุดอยสุเทพ | |
พ.ศ.2477 | 9 พฤศจิกายน 2477 เจ้าแก้วนวรัฐลงจอบแรก ก่อนคณะศรัทธาร่วมกันสร้างถนนขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพ โดยมีครูบาเจ้าศรีวิจัยเป็นผู้นำ มีคณะศรัทธามาร่วมสร้างถนนวันละกว่า 5,000 คน สร้างถนนระยะทางยาว 11.53 กิโลเมตร สำเร็จได้เพียง 5 เดือนกับ 22 วัน |
พ.ศ.2478 | 30 เมษายน พ.ศ.2478 พิธีเปิดถนนอย่างเป็นทางการ |
ครูบาศรีวิชัย สร้างวัดขึ้นอีก 3 แห่งตามทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ ได้แก่ วัดศรีโสดา วัดสกิทาคามี และวัดอนาคามี การขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพจึงถือเป็นการบำเพ็ญบุญกิริยา | |
พ.ศ.2492 | ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 66 ตอนที่ 28 ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2492 ประกาศให้ป่าดอยสุเทพถูกเป็นป่าหวงห้าม |
พ.ศ.2507 | ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 81 ตอนที่ 127 วันที่ 31 ธันวาคม 2507 ประกาศให้ป่าดอยสุเทพเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 |
พ.ศ.2508 | มีการเสนอ “โครงการกระเช้าลอยฟ้าดอยสุเทพ” (ครั้ง 1) |
พ.ศ.2510 | มติคณะรัฐมนตรี 23 มกราคม 2510 ประกาศให้ป่าสงวนแห่งชาติดอยสุเทพเป็นป่าสงวนแห่งชาติพิเศษ |
พ.ศ.2511-12 | มีการเสนอ “โครงการกระเช้าลอยฟ้าดอยสุเทพ” (ครั้ง 2) |
พ.ศ.2524 | ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 ตอนที่ 57 วันที่ 14 เมษายน 2524 ประกาศให้ป่าสงวนแห่งชาติดอยสุเทพเป็นอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ตาม พ.ร,บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 161.06 ตารางกิโลเมตร |
พ.ศ.2525 | ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 99 ตอนที่ 137 วันที่ 26 กันยายน 2525 ประกาศขยายพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยเพิ่มเติมรวมเป็น 261.06 ตารางกิโลเมตร |
พ.ศ.2528 | มีการเสนอ “โครงการกระเช้าลอยฟ้าดอยสุเทพ” (ครั้ง 3) |
การร่วมตัวของอาจารย์ นักวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในชื่อว่า “ชมรมเพื่อเชียงใหม่” โดยมีอาจารย์ศิริชัย นฤมิตรเรขการ เป็นแกนนำ เพื่อเรียกร้องให้เกิดการทบทวนโครงการพัฒนาที่ส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรม ประเพณี และสิ่งแวดล้อม | |
พ.ศ.2544 | ยูเนสโกประกาศให้ พื้นที่ห้วยคอกม้า-แม่สา ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล |
พ.ศ.2545 | 25 มีนาคม 2545 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาการจัดตั้งสวนสัตว์กลางคืนจังหวัดเชียงใหม่และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว |
23 สิงหาคม 2545 อาจารย์ศิริชัย นฤมิตรเรขการ ตัวแทน 19 องค์กรภาคประชาชน ยื่นหนังสือถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เสนอขอให้มีการจัดเวทีสาธารณะว่าด้วยเรื่องของโครงการสวนสัตว์กลางคืน เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสที่จะร่วมรับรู้ข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้อง ร่วมแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจ | |
9 กันยายน 2545 องค์กรภาคประชาชน 25 องค์กร ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ในนามชมรมเพื่อเชียงใหม่ เรียกร้องให้มีการจัดเวทีสาธารณะโครงการสวนสัตว์กลางคืน และการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม ของโครงการสวนสัตว์กลางคืนและกิจกรรมต่อเนื่อง | |
พ.ศ.2547 | มีการเสนอ”โครงการอุทยานช้าง” และ “โครงการกระเช้าลอยฟ้าดอยสุเทพ” (ครั้ง 4) เพื่อเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว ประกอบด้วย 5 สถานี ได้แก่ เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ราชพฤกษ์ อุทยานช้าง จุดผ่านชมสัตว์ และสถานีชมวิวหมู่บ้านแม่เหียะ และมีแผนจะเพิ่มสถานีใกล้หอดูดาวสิรินธร และสถานีใกล้วัดพระธาตุดอยสุเทพ |
ภาคีคนฮักเชียงใหม่ คัดค้านการใช้พื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ดำเนินโครงการอุทยานช้าง | |
พ.ศ.2548 | 11 กันยายน 2548 การรวมตัวกันของประชาชนหลากหลายอาชีพในรูปพหุภาคี เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ด้านต่างๆ ตามกรอบแนวทางที่ยึดความถูกต้อง เป็นธรรม พอเพียง สมดุล และยั่งยืน ในชื่อ “ภาคีคนฮักเจียงใหม่” |
พ.ศ.2549 | มีความพยายามเสนอโครงการตัดถนนผ่าพื้นที่ป่าสมบูรณ์ดอยสุเทพด้านทิศเหนือ พื้นที่ทหารด้านหลังกองพันสัตว์ต่างและกรมรบพิเศษที่ 5 เพื่อไปบรรจบกับถนนสายแม่ริม-สะเมิง ช่วงก.ม.ที่ 1.8 รวมระยะทาง 10.5 กิโลเมตร |
พ.ศ.2550 | 12 พฤษภาคม 2550 รองนายกรัฐมนตรีสั่งยกเลิกอุทยานช้าและกระเช้าไฟฟ้าหลังรับหนังสือร้องเรียนจากประชาชน |
4 พฤศจิกายน 2550 ภาคีคนฮักเจียงใหม่ ทำกิจกรรมเดิน – วิ่ง – ปั่นจักรยานขึ้นดอยสุเทพ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชา “ตามรอยครูบา ร่วมรักษาเชียงใหม่” | |
พ.ศ.2550-2551 | ชมรมเพื่อดอยสุเทพ ถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นองค์กรประสานงานเพื่อดำเนินกิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟู ดูแล อุทยานดอยสุเทพ-ปุยอย่างยั่งยืน |
พ.ศ.2559 | 8-9 พฤษภาคม 2559 เกิดไฟป่าครั้งใหญ่ เชิงดอยสุเทพด้านทิศตะวันออก บริเวณขุนช่างเคี่ยน ใกล้กับศูนย์พุทธธรรมและค่ายลูกเสือ กินพื้นที่กว่า 70 ไร่ และเกิดความร่วมมือร่วมใจของคนเชียงใหม่ระดมความช่วยเหลือในภารกิจดับไฟป่า |
พ.ศ.2549 | สำนักงานศาลยุติธรรม ขอใช้ที่ราชพัสดุซึ่งอยู่ในความดูแลของมณฑลทหารบกที่ 33 จำนวน 147 ไร่ 3 งาน 30 ตารางวา เพื่อใช้ก่อสร้างอาคารศาลอุทธรณ์ภาค 5 บ้านพัก 47 หลัง และอาคารชุด 13 อาคาร |
พ.ศ.2556 | โครงการก่อสร้างอาคารศาลอุทธรณ์ภาค 5 และที่พักข้าราชการตุลาการ ในพื้นที่กรมธนารักษ์บริเวณป่าธรรมชาติเชิงดอยสุเทพติดกับเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ได้รับการอนุมัติงบประมาณดำเนินการ |
พ.ศ.2561 | ภาคประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ รวมตัวกันในนาม “เครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ” รณรงค์และเรียกร้องให้รื้ออาคารและที่พักที่สร้างรุกล้ำแนวป่าธรรมชาติดั้งเดิม |
ภาพประวัติศาสตร์ ยุคชาวเชียงใหม่คัดค้านโครงการขนาดใหญ่ที่ไม่เหมาะสมกับเมือง
เช่น การสร้างกระเช้าลอยฟ้าขึ้นดอยสุเทพ คอนโดบทบังภูมิทัศน์แม่น้ำปิง โครงการเม็กกะโปรเจ็กต์ ไนท์ซาฟารี ฯลฯ
รวบรวมภาพ และข้อมูล โดย ภาคีฮักเชียงใหม่ 2561