เบื้องหลังการทำงาน”ฮีญาบไร้พรมแดน”

เบื้องหลังการทำงาน”ฮีญาบไร้พรมแดน”

เราในฐานะตัวเเทนจากภาคใต้ “แลต๊ะแลใต้” กับ ทีม On the REC. ผมตั้ม กีรติ โชติรัตน์ กับช่างภาพคู่ใจร่วมงานกันมานานแสนนาน โบ๊ต เชี่ยววิทย์ พัฒนสุขพันธุ์ มาเล่าเบื้องลึกเบื้องหลังการทำงานสารคดีรายการภูมิภาค 3.0 โฉมใหม่แกะกล่องกันครับ

เริ่มต้นร่วมประชุมกัน 3 ภาค แล้วรายการภูมิ 3.0 ต้องปรับโฉมใหม่ เปลี่ยนรูปแบบการเล่าเรื่อง แต่ละภาคแต่ละตอนต้องมีคนเล่าเรื่องในโฉมใหม่นี้ คือประมาณว่าเราต้องเป็นพิธีกรในตอนของเรา เปิดหน้าให้คนเห็น แล้วหาตัวทีมภาคของแต่ละภาค ภาคละ 1 ทีม ทำเดโม โฉมใหม่ เอิ่ม!!!

ทีมของผมคือผู้ถูกเลือกจากแดนใต้ ตื่นเต้นเหมือนจับใบแดงได้ ไม่ว่าคัดจากหน้าตารึเปล่า ทำไมต้องตื่นเต้นเพราะว่าโฉมใหมต้องเปิดหน้า นั้นไงเอาแล้วไง ผมอยู่หลังกล้องมาตลอดในการทำรายการ เวลา 24 เดือน 30 ตอนทีผ่านมา แต่รอบนี้ได้มาอยู่หน้ากล้อง มันก็ไม่ชินสิครับ กังวลสิครับ โดยปกติผมจะลงเสียงบรรยายในรายการเองไม่มีผมในวิดีโอ จากที่ไม่เคยลงเสียงมาก่อนฝึกฝนก็พอฟังได้ครับช่วงหลังๆ ผมก็คิดว่าสิ่งที่เราไม่เคยทำ แต่เราก็ทำทำได้ คือทีผมกลัวไปก่อนว่าจะทำได้เหรอ แต่ยังไม่ได้ลองทำเลย จะรู้ได้ไงว่าทำไม่ได้ แต่โอกาสมาแบบนี้แล้วมาถึงขั้นนี้แล้วก็ต้องลองทำ ท้าทายสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน รอที่เวลาที่จะเปิดหน้า

จากนั้น 3 ภาค ได้รับประเด็นร่วมเชื่อมโยง ” ชายแดน “ โจทย์นี้ถือว่าใหม่สำหรับทีมผม เราไม่เคยทำเรื่องประเด็นแบบนี้ อีกทั้งยังกังวลว่าพื้นที่ชายแดนจะถ่ายได้เหรอมันเป็นชายแดน 2 ประเทศเลยนะ คิดไปไกล กลัวว่าไม่มีข้อมูล ไม่มีเคส เพราะเราใหม่มาก กลัวโน่นนี่ แล้วยังต้องเชื่อมโยงอีก โจทย์เยอะน่ากังวล มันยังไม่เห็นปลายทาง แต่พอผมและทีม On the REC. ลองหาข้อมูล จากอินเตอร์เน็ตจากเครือข่าย ก็แคนดิเดท เลือกพื้นที่ชายแดนเป้าหมาย ที่จะทำ เราเลือกกันมา 3 พื้นที่ ด่านวังประจัน จ.สตูล ยังไม่เห็นภาพมิติการเล่าเรื่อง

ผมและทีมงานเดินทางไป อ.ตากใบเป็นครั้งแรก ถือว่าเป็นประสบการณ์ใหม่ ตั้งต้นจาก อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ไป อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ด้วยยานพาหนะ 4 ล้อคู่ใจลงพื้นที่ ระยะทาง 226 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง กว่าๆ ก็ถึงที่หมาย เราได้นัดหมายผู้ประสานงานในพื้นที่ไว้ ชื่อมาสือลัม สาแลแม เป็นโต๊ะอิหม่ามบ้านเกาะยาว อ.ตากใบ เป็นผู้ให้ข้อมูลเรื่องราวและวิถีชีวิตของพื้นที่ ทีแรกเราตั้งต้นจะเล่าประมงพื้นบ้านที่เกาะยาว แต่มิติการเล่าเรื่องยังไม่สุดไม่เห็นปลายทาง แต่เราก็ได้ข้อมูลมาใหม่ก็คือ ผ้าคลุมญีฮาบ เพราะ พื้นที่ในตากใบ ส่วนใหญ่ 80 % แม่บ้านส่วนทำอาชีพเย็บผ้าคลุม แล้วมีโรงงานในชุมชนรับซื้อ และส่งขายต่อไปยังรัฐกลันตันประเทศมาเลเซีย ได้ข้อมูล ตามโจทย์ ตามประเด็น
กลับมาที่หาดใหญ่ เราประชุม Video call 2-3 ครั้ง กับ 3 ภาค แต่ละทีมก็มีเส้นเรื่องกันชัด ก็หาจุดร่วมวางแผนให้ให้แต่ละเรื่องเชื่อมโยงกันยังไง การเปิดหน้าพิธีกรจะเป็นยังไงก็ยังกังวลภาพนั้นอยู่ นี่ถือว่าเป็นอีกโจทย์ที่ท้าทาย เราก็เสนอระดมความคิดกัน โดยมีพี่เลี่ยว และทีมจากสำนักมาช่วยให้คำปรึกษา ออกแบบรูปแบบการนำเสนอ ได้ประเด็น ได้โครงเรื่องที่ชัดเจนมากขึ้น พร้อมที่จะลงถ่ายทำ

ผมและทีมงานเดินทางสู่ตากใบ อีกครั้ง เดินทางถ่ายทำการทำผ้าคลุมฮีญาบของชาวบ้าน วันรุ่งขึ้นวางแผนต้องไปถ่ายทำที่มาเลเซีย เป็นประสบกาณ์ครั้งแรกของผมและทีมงาน ที่ท้าทายมากๆ กับการได้ถ่ายทำข้ามแดน ถึงรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย โดยการเช่ารถจากฝั้งมาเลเซีย พร้อมแลกงานริงกิต จากฝั่งไทย เข้าไป สำรวจตลาดและถ่ายทำผ้าคลุมที่ขายกันฝั่งโน้น กลับมาฝั่งไทย ก็มาเก็บภาพ วิถีชีวิต การข้ามแดน

วันสุดท้ายของคิวถ่ายทำ เป็นคิวสุดพิเศษ คือคิวเปิดหน้าพิธีกร กว่าจะได้เล่นเอาเหนื่อยโดนไปหลาย Take แต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี กลับมาตัดต่อ เขียนบทวางโครงตัดต่อให้เชื่อมโยง 3 ภาค ก็มันการปรับกันคุยกันทั้ง 3 ภาค และที่ปรึกษาแบบเมนเทอร์เลี่ยวช่วยดู ดราฟแรก ดราฟสอง จนสร็จสมบูรณ์…

ติดตามชมพร้อมกันทั่วโลก ในวันอาทิตย์นี้ 22 เมษายน 2561 บ่ายโมงเป็นต้นไป

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ