“มองอนาคต” 10 ปีข้างหน้าของสื่อสาธารณะ

“มองอนาคต” 10 ปีข้างหน้าของสื่อสาธารณะ

10 ปี ขององค์กรกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท. หรือไทยพีบีเอส)ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2551 ซึ่งนับว่าเป็นก้าวย่างสำคัญที่จะเป็นบทเรียนในการผลัดดันความเป็นสื่อสาธารณะที่ทุกคนเป็นเจ้าของด้วยความสมดุลและเป็นธรรม

สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการซึ่งเป็นขาสำคัญที่จะช่วยสะท้อน ผลักดัน และสร้างส่วนร่วมความเป็นช่องทางสาธารณะของทุกคนได้จัดเวทีเพื่อชวนมาร่วมมองภาพอนาคตของสื่อสาธารณะใน 10 ปีข้างหน้า ณ อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ในวันที่ 20-21 พ.ย. 2560

ขอบคุณภาพ : Parinya Thanwong

นายสาคร สงมา : คำถามสำคัญ คือเราจะเอาตัวรอดในสถาการณ์ที่ถูกตรวจสอบยากโดยทุกด้านได้อย่างไร สองหากไม่สามารถสื่อได้อิสระจะทำอย่างไรให้คนเท่าทันสื่อ สามยุคที่พลเมืองสื่อสารได้เองจะเกิดอะไร และสื่อสาธารณะคืออะไร เราเป็นเจ้าของจริงหรือไม่ รวมถึงด้วยบริบทสื่อที่เปลี่ยนไปจะส่งผลอย่างไร  ซึ่งจำเป็นที่จะต้องหาทางในการก้าวไปข้างหน้าที่เหมาะสม

นายณัฐวุฒิ อุปปะ : สิ่งสำคัญคือการคงความเป็นสื่อสาธารณะ ในเชิงประวัติศาสตร์การสื่อสารเริ่มจากการสื่อสารชวนเชื่อ ซึ่งควบคุมโดยรัฐเป็นหลัก  ต่อมากลายเป็นยุคทุน และเรากำลังอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านสู่การสื่อสารของประชาชน ซึ่งสื่อสาธารณะก็ไม่ได้มีเพียงแค่ไทยพีบีเอส แต่ยังรวมถึงททบ.5 และสสท.11 ตรงนี้เราจะทำอย่างไรให้สื่อสาธารณะเป็นปากเสียงของประชาชน มีพื้นที่ของคนให้ที่ไม่สามารถนำเสนอในสื่ออื่น ต้องคงเจตนารมณ์ของความเป็นอิสระ จากการครอบงำใดๆ

เราจะเห็นว่าตอนนี้พื้นที่สื่อสาธารณะถูกบีบให้แคบลง แม้กระทั่งปัญหาในพื้นที่ก็ไม่สามารถสื่อสารได้ อย่างกรณีน้ำท่วมของปีนี้ แทบจะไม่มีพื้นที่ให้สื่อสารออกไป ไทยพีบีเอสจำเป็นต้องคงความอิสระที่จะสะท้อนความเดือนร้อนของประชาชนได้ และต้องเป็นของประชานอย่างเป็นรูปธรรม ไม่เพียงการกำหนดการสื่อสาร แต่ต้องสะท้อนความเดือดร้อน ฟังเสียงประชาชน และต้องเป็นรูปธรรมชัดเจน

ผมมองว่าตอนนี้ไทยพีบีเอส ติดหล่มกับเรตติ้งเชิงตัวเลข เราคงหลักการดั้งเดิมไว้ให้ได้ เน้นการสื่อสารเพื่อคงคุณค่า เช่น การสื่อสารของพี่น้องแม่สอด 6-5 คนที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อพิทักษ์สิทธิของตัวเอง อาจจะไม่เห็นผลเชิงตัวเลขผู้ชม แต่เราต้องประเมินว่าตรงนี้เป็นเสียงของคนเล็กคนน้อยมีคุณค่ามาก

ดร.ปิยะรัตน์ นิ่มพิทักษ์พิทักษ์พงศ์ : จากการที่ได้ทำวิจัยในส่วนของสภาผู้ชมเปรียบเทียบในหลายประเทศ ในเชิงความหมายสื่อสาธารณะมีมากมาย เช่น ทีวีของทุกคน ตอบโจทย์ทุกคน มีความเป็น Public  “สื่อที่ไม่ผูกขาดโดยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งผ่านกลไก รูปธรรมและไม่ใช่รูปธรรม” เราต้องปลดปล่อยการผูกขาดแบบเดิมด้วยงบประมาณ อำนาจ ซึ่งไทยพีบีเอส ต้องไม่ผูกขาดโดยคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง องค์กรใดองค์กรหนึ่ง ทั้งรัฐและทุน พื้นที่นี้เป็นของทุกๆคน

หากจะถามว่าไทยพีบีเอสเป็นสาธารณะจริงหรือไม่ ก็ต้องมองว่าเรตติ้งใช้กำหนดบทบาทเป็นส่วนของคนดู (viewer)หรือเป็นผู้ชมผู้ฟัง (Audient) และไทยพีบีเอสทำหน้าที่อย่างไร อย่างเช่น BBC Inform แจ้งข่าว Educateให้ความรู้ และEntertain บันเทิงมาทีหลัง หรืออย่างของอเมริกาทำหน้าที่ Educate Inform Inspire มีเรื่องการสร้างแรงบันดาลใจเข้ามาด้วย แล้วของเรามี Inform Educate Entertain ให้ความสำคัญของแต่ละอันขนาดไหนต้องชัดเจน เพื่อทิศทางในการนำเสนอที่ชัดเจนขึ้น

นายวิสุทธิ์ เหล็กสมบูรณ์ – ผมมองว่าความเป็นสาธารณะมีความเลื่อนไหล มักมีวาทกรรมที่ถูกสร้างหลายๆคน มีคำว่าสาธารณะเติมไปหมด อยู่ในหลายระดับ ตรงนี้เราสนใจเรื่องการใช้งาน และการกระทำมากกว่า การใช้ประโยชน์ต้องมาจากการปฏิบัติ คำว่าสาธารณะมีหลายระดับตั้งแต่ระดับส้วมถึงพระราชา อย่างพระราชา มีความทรงธรรมมันมากกว่าแค่สาธารณะ ผมคิดว่าอย่างศาสตร์พระราชาเป็นหลักการที่มีความเป็นสาธารณะมาก และด้วยเราอยู่ในโลกที่มีความหลากหลาย ดังนั้นสื่อสาธารณะต้องมีความยุติธรรมด้วย ตรงนี้เราต้องศึกษา เรียนรู้ต่อไป

ผมมีข้อเสนอ คือเราต้องพัฒนาสาธารณะแบบสังคมไทย เป็นความรู้จากท้องถิ่นโดยไม่ต้องนำเข้าความรู้จากภายนอกเป็นหลัก ช่วยกันออกแบบ โดยที่สื่อสาธารณะในแบบไทยต้องสร้างกระบวนการที่เราทำให้รู้เท่าทัน เรียนรู้ร่วมกันและยืดหยุ่นได้

คำถาม : จะพัฒนาสื่อสาธารณะให้เหมาะกับสังคมไทยได้อย่างไร

นายไพโรจน์ พลเพชร :  มันเป็นเรื่องความสัมพันธ์ทางอำนาจในการสื่อสารของสังคมไทย ว่าใครมีอำนาจในการสื่อสารเพื่อโน้มน้าว เปลี่ยนพฤติกรรม ทัศนคติหรือทำให้คนเชื่อได้มากที่สุด ซึ่งก่อนหน้าอยู่ในมือรัฐ ต่อมาก็เป็นทุน ซึ่งสื่อสาธารณะเป็นยุคของการเปลี่ยนผ่าน เปลี่ยนให้คนอื่น คนเล็กสื่อสารได้ด้วย ซึ่งเราให้ทั้งข้อมูล ความรู้ และสาระบันเทิง

ยุคแรกๆถูกกล่าวหาว่าเป็นทีวีเอ็นจีโอ ถูกเอ็นจีโอครอบงำ คือ NGO ทำงานเพื่อสาธารณะ แล้วใครที่ทำงานเพื่อสาธารณะสื่อสารก็สามารถสื่อสารได้ในช่องทางนี้ ตอนนี้เราอยู่ในยุคการเปลี่ยนผ่านมักจะ5^dถามเรื่องเรตติ้งตลอด ซึ่งก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าทำแล้วคนในสังคมไม่ดู ข้อมูลจะไม่ถูกส่งต่อไปสู่สังคม ที่จะสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในสังคมได้ ซึ่งตรงนี้จะเป็นเป็นพื้นที่สาธารณะให้คนสื่อเรื่องราว เราในฐานะพลเมืองสามารถสื่อสารได้ ในฐานะความเป็นมนุษย์ รวมถึง Voice of Voiceless ก็ต้องมีโอกาสได้สื่อสาร ส่วนจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง สื่อสาธารณะต้องสร้างสมดุลในสิทธิการสื่อสาร เพราะที่ผ่านมามันเสียดุล เสียงคนเล็กคนน้อยไม่มี

คำถาม : ทิศทางข้างหน้าของสื่อสาธารณะควรเป็นอย่างไร

นายวิสุทธิ์ เหล็กสมบูรณ์ – ผมคิดว่าการจัดกระบวนการพื้นที่เป็นตัวชี้วัดสำคัญ คือ พื้นที่ต้องออกแบบกระบวนการสื่อสารของสื่อสาธารณะที่มีอยู่หลายช่องทางที่ให้ใช้ได้และยุติธรรมเพื่อกำหนดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ตนเอง โดยมีสื่อสาธารระเป็นหุ้นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการกำหนดการสื่อสาร ผมได้รับชมรายการตลอดพบว่าข้อกำหนดหลายอย่างที่มีอยู่ ทำให้การสื่อสารของส.ส.ท. ดูไร้เสน่ห์ ขาดจินตนา ต้องผนวกเอาศิลปะ ความงามเข้าไปด้วย และก้าวข้ามกรอบแบบเดิม เราต้องช่วยกับมอง สะท้อนตรงนี้ และ ในพื้นที่เองต้องวางวาระให้ชัดว่าจะสื่ออย่างไร ต้องมีกระบวนการต่อยอดขึ้นมาจากพื้นที่ที่ออกแบบร่วมกัน

ส.ส.ท.และกระบวนการขับเคลื่อนทางสังคมกำลังอยู่ในยุคการเปลี่ยนผ่าน ในยุคที่มีการหลอมรวมสื่อทำให้ต้องมีการปรับรูปแบบ ตรงนี้อาจจะต้องอาศัยภาคส่วนอื่นๆมาช่วยเติมเติม เช่น นักวิชาการ เป็นต้น ส่วนจิตนาการ ความมีเสน่ห์ สามารถสร้างได้โดยต้องเข้าถึงรสนิยมผู้บริโภค สร้างความคุ้นเคย ความรู้สึกพึ่งพาได้ พูดภาษาเดียวกันไม่ยกตนเหนือเรา เป็นบุคลิกที่ทำให้คนไว้วางใจเพื่อเชื่อมคน สร้างกลไก การทำงานในระดับพื้นที่

นายณัฐวุฒิ อุปปะ : ทิศทางข้างหน้า ผมมองสองเรื่อง หนึ่งหลักการ สองปรากฏการณ์ ถ้ามองว่าส.ส.ท.เป็นของประชาชน ก็ต้องมองว่าการเรียกร้องเป็นเรื่องปกติเพราะคุณรับเงินจากภาษีก็ต้องตรวจสอบได้ สองปรากฏการณ์ เช่น การอบรมนักข่าวพลเมือง มีการทำงานกับชุมชน เปิดดูให้คนดูทั้งหมู่บ้าน ต้องนำเอาคุณค่าตรงนี้มาวัดด้วย  รวมถึงเอกลักษณ์ของภาษาถิ่น หรือการร่วมกำหนดประเด็นร่วมกันทำให้คนรู้สึกเป็นเจ้าของมากขึ้น ต้องทบทวนว่าส.ส.ท.เป็นอิสระจากการควบคุมจริงหรือไม่

ส่วนสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการต้องวางตัวเป็นเพื่อน ควรมีการกระจายอำนาจสูภูมิภาคต่างๆและเปิดช่องทางการับฟังที่หลากหลายมากขึ้น

ดร.ปิยะรัตน์ นิ่มพิทักษ์พิทักษ์พงศ์ : การเปิดพื้นที่ในการเข้าถึงสื่อของทุกคนเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะคนที่มีอำนาจในการเข้าถึงน้อย ทำอย่างไรให้เกิดการเข้าถึง Access ไม่ใช่เฉพาะการมีหน้าจอ และควรมีหลายช่องทาง  สิ่งสำคัญอีประการ คือ การวางแผนร่วมทำยุทธศาสตร์ร่วม เข้าไปช่วยชุมชนวางยุทธศาสตร์การสื่อสารที่ให้ชุมชนเข้าถึงสื่อที่ไม่ใช่เฉพาะพื้นที่ ต้องมีองค์ความรู้ วิธีคิดไปเติมเพื่อการขยับสังคมผ่าน ที่ผ่านมาส.ส.ท.เปิดโอกาสให้คนตัวเล็กเข้าถึงสื่อ ตามติดประเด้นอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน เช่นเหมืองแร่ เป็นต้น ซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ส่วนนักข่าวพลเมืองก็เป็นเหมือน พื้นที่ที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน พื้นที่สื่อสารของคนตัวเล็กตัวน้อย

ส่วนประเด็นเรตติ้งต้องมองว่า เราคำนึงถึงผู้ชม(Audient) หรือว่าคนดู(Viewer)คนดู และต้องมองการีปฎิสัมพันธ์หรือคุณภาพของผู้ชม ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรม วัดเชิงคุณคามากกว่าวัดจำนวนคนดู จะทำให้ส.ส.ท.ที่ทำให้ไม่ถูกครอบงำโดยกระบวนการเรตติ้งเชิงปริมาณ

นายไพโรจน์ พลเพชร :  จะสร้างการการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร มีความท้าทายว่าอนาคตใน 5 ปีห้าปีข้างหน้าที่เราจะเจอทั้งภูมิทัศน์สื่อเปลี่ยนไป ทุกคนสามารถสื่อสารได้เอง การดำรงอยู่ของส.ส.ท.เกี่ยวเนื่องกับโครงสร้างการเมือง ประชาธิปไตยและเสรีภาพของประชาชนในการสื่อสาด้วย ภายใต้สถานการณ์ที่มีอยู่เราจะกำหนดวาระ ประเด็นที่จะสื่อสารอย่างไร และอยากให้ผู้รับสารจดจำอะไรในส.ส.ท.

อนาคตเราต้องสร้างความน่าเชื่อถือ มีระบบฐานข้อมูลที่ตรวจสอบได้จากเครือข่าย และยุทธศาสตร์ที่เราอยากเห็นการเปลี่ยน เนื้อหาที่มาจากภูมิภาค นำเสนอประเด็นทางเลือกและทางรอดนำไปสู่การจดจำและเปลี่ยนแปลง

ส่วนการวัดเรตติ้ง วัดคุณค่า ต้องสร้างเครื่องมือวัดโดยเฉพาะการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้เท่าทัน และการมีส่วนร่วม ที่จะนำไปสู่คุณค่า รักษาคนที่เป็นแฟนพันธุ์แท้และสร้างActive Citizen ให้มากขึ้น ทั้งนี้ต้องกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ร่วมกัน ภายใต้ความท้าทาย ทั้ง การแก้ไขพ.ร.บ.สื่อสาธารณะ และความพยายามแทรกแซงหรือผูกขาดโดยกลุ่มใดกลุมหนึ่ง

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ