ผู้นำความคิดในโลกดิจิทัล

ผู้นำความคิดในโลกดิจิทัล

ในยุคดิจิทัลที่ทุกคนเข้าถึงสื่อ และสามารถเป็นผู้นำความคิด (Influencer) ได้ การเป็นผู้นำความคิดกลุ่มเล็กๆ และเชื่อมโยงสู่กลุ่มใหญ่เป็นหนึ่งวิธีที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคมได้

10 พ.ย. 2560 วงเสวนา “ผู้นำความคิดในโลกออนไลน์ (Influencer) แบบไหน…สังคมไทยต้องการ” ในสัปดาห์รู้เท่าทันสื่อ “MIDL Week 2017 : พลังพลเมืองดิจิทัล” จัดโดยสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส), ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย, Documentary Club และWarehouse 30 ระหว่างวันที่ 6-10 พ.ย. 2560 ที่ warehouse 30 กรุงเทพฯ

โดยวิทยากร
1.คันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง : นักเขียนและอาจารย์พิเศษ
2.โตมร ศุขปรีชา : นักเขียน
ดำเนินรายการโดย ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล

คันฉัตร รังสีกาญจน์ส่อง : นักเขียนและอาจารย์พิเศษ

ยุคก่อนจะมีอินเทอร์เน็ตคงเป็นยุค 90 ในตอนนั้น Influencer ส่วนใหญ่จะเป็นนักร้อง เพราะในยุคนั้นยังไม่มีอินเตอร์เน็ต เราเสพสื่อผ่านทางทีวี กับหนังสือ ในไทยก็คงจะเป็นพี่ป๊อดโมเดิลด๊อก น้อยวงพรู หรือถ้ามองง่าย ๆ ในยุคผมก็คงเป็นสังคมโรงเรียน มีรุ่นพี่ในโรงเรียนเป็น Influencer หรือเวลาที่เราเรียนกับติวเตอร์สมัยก่อน ติวเตอร์ก็จะไม่ได้สอนหนังสืออย่างเดียว จะแนะแนวทางชีวิตให้ด้วย Influencer ใกล้ตัวง่ายๆ ก็คงจะเป็นประมาณนั้น

เมื่อเริ่มเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่คิดอะไรไม่ออกก็ค้น google สังคมมันแคบมาก ในบางเรื่องเราก็ไม่กล้าคุยกับพ่อแม่ คุยกับอาจารย์ เราก็สามารถเข้าไปคุยในอินเทอร์เน็ตได้ ยกตัวอย่าง ถ้าเราไม่สบายก็แค่พิมพ์อาการกดค้นหาใน google ถามคนในอินเทอร์เน็ต หรือถ้าเรามีเรื่องไม่สบายใจก็สามารถโทรปรึกษากูรูแต่ละด้าน หรือเข้าไปคุยกับเขาได้ คนเหล่านั้นก็เป็น Influencer เหมือนกัน

จริง ๆ แล้วในยุคดิจิทัลอย่างทุกวันนี้ทุกคนเป็นดาวได้ เพราะทุกคนมีสื่อในมือ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะดัง และบางครั้งความดังก็ได้มาแบบไม่รู้ตัว เช่นไวรอลของครูอังคณา ซึ่งกรณีแบบนี้คือดังแบบพลุขึ้นมาแล้วหายไป แต่การจะเป็น Influencer คนเหล่านั้นก็ต้องสานต่อจากสิ่งที่เขาทำ มีเรื่องราวต่อจากกระแสด้วย

ในปัจจุบัน Influencer ผูกกับธุรกิจมากขึ้น ในเชิงการตลาดกับแบรนด์ต่าง ๆ ทั้งเรื่องการโฆษณา รีวิวสินค้า ความท้าทายคือเราจะรับสารจาก Influencer ยังไงมากกว่า ใช้โซเซียลอย่างมีสติ เรื่องของการนำเสมอข้อมูลชวนเชื่อจากแบรนด์ต่าง ๆ รู้เท่าทันสื่อก็ต้องดูให้ดี ๆ ก่อนที่จะเชื่อ

ญี่ปุ่น เกาหลีจะมีกระบวนการคัดกรอง Influencer แต่ญี่ปุ่จะหนักกว่าเกาหลี ทำให้ภาพที่เราเห็นออกมาจะดูใสซื่อ ในญี่ปุ่นและเกาหลี ไอดอลพวกนี้เป็น Influencer ทางความคิด เป็นแรงบันดาลใจให้วัยรุ่นด้วย ตัวอย่างในเกาหลี มีศิลปินปาร์คจินยองที่ชอบอ่านแล้วถ่ายรูปหนังสือที่อ่านลงอินเทอร์เน็ต แฟนคลับก็แห่กันไปซื้อหนังสือที่เขาอ่าน ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าเขาซื้อหนังสือไปเพราะเขาอยากมีหนังสือตามที่ปาร์คจินยองมี หรือซื้อไปเพราะอยากอ่านหนังสือที่ปาร์คจินยองอ่าน ซึ่งมันต่างกัน
ในทางกลับกันแฟนคลับเหล่านี้ สร้างไอดอลได้แต่สามารถทำลายไอดอลได้เช่นกัน

โตมร ศุขปรีชา : นักเขียน

ย้อนกลับไปในยุคหิน สมัยนั้นพบว่าสังคมของมนุษย์ที่ออกไปล่าหาของป่า ต้องล่าสัตว์เพื่อความอยู่รอดเป็นหลักมีความเท่าเทียมในกลุ่มมาก เพราะเป็นสังคมเร่ร่อนต้องเดินทางไม่มีเวลาหยุดกับที่ จนในยุคการเกษตร เริ่มมีการอยู่กับที่ สภาพสังคมเปลี่ยน ทำให้มีลำดับชั้นและอาจจะเกิด Influencer ในสมัยนั้น ซึ่งสามารถแบ่ง Influencer ได้ออกเป็น 4 กลุ่มคือ 1.นักรบ กษัตริย์ ราชา ที่คอยปกป้องคน 2.สวยหล่อ หน้าตาดี ทำให้คนเลือกที่จะปฏิสัมพันธ์ด้วย ถ้าในยุคนี้ก็คงเปรียบเสมือนดารา ที่เป็นที่สนใจมีคนอยากเข้าหา 3.คนรวย มีเงิน อาจเกิดจากการเพาะปลูก สะสมทรัพย์สมบัติ และ 4.นักคิด นักวิชาการทั้งหลาย ที่น่าสงสารที่สุด กว่าคนจะยอมรับ Influencer กลุ่มนี้ได้อาจจะเป็นตอนที่เขาตายไปแล้ว

ถัดมาในยุคที่ใกล้ตัวหน่อย สำหรับผมก็คงจะเป็นพี่เบิร์ด พี่ปุ๊ ที่ดังระเบิด ใคร ๆ ก็รู้จัก มีแฟนคลับเยอะมาก การเกิด Influencer ก็จะมาในรูปแบบของการตลาดจากค่ายเพลง มีนักร้อง ซึ่งสร้างขึ้นมาทั้งหมดตั้งแต่ การแต่งตัว เพลงในแต่อัลบั้ม แล้วคนก็จะตาม เป็น marketing influencer แต่ยังไม่ชัด เหมือนภาพในสมัยนี้ หลังจากนั้นจะเป็นยุคของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่างๆ

สมัยนี้ Influencer เกิดง่ายเพราะเจอสื่อออนไลน์ สมมติว่าเราเป็นคนที่ชอบแฟชั่น เราไม่มีตังไปซื้อเสื้อผ้า เราก็ไปเอากะละมังมาทำเป็นเสื้อผ้าได้ ใส่ความคิดสร้างสรรค์ เกิด Influencer มีคนติดตาม Influencer ก็ไม่ได้แปลว่าจะเป็นเรื่องหนักเสมอไป อาจจะกลายเป็นเรื่องบ้าๆ สร้างการจดจำให้ความบันเทิงซึ่ง Influencer เล็กๆ เหล่านี้โยงเข้าภาพ Influencer ใหญ่ได้

ในโลกทุกวันนนี้มันซับซ้อนมาก ยากที่ใครบางคนจะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ต่างกับในยุคก่อนอย่างมหาตมะ คานธี, เช เกวารา ที่คนศรัทธาและเชื่อ การจะเป็น Influencer ในยุคดิจิทัลที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่เหมือนแต่ก่อนยากมาก ถึงจะเกิดขึ้นแต่ก็ไม่ได้ถาวร ซึ่งมีทั้งข้อดีและไม่ดี ข้อไม่ดีก็คือไม่มีทางที่จะพลิกฟ้าเปลี่ยนแปลงสังคมทันทีได้ แต่จะเป็น Influencer ที่สร้างแรงกระเพื่อมเล็ก ๆ ที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงสังคมได้มากกว่า

คนตัวเล็กๆ อย่างเราก็สามารถเป็น Influencer ได้ ผมมีเพื่อนที่เขามีลูกเป็นเน็ตไอดอล เด็กขอเงินแม่ซื้อของอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้เราเห็นว่าทุกวันนี้ต่อให้เด็กประถมมัธยมก็สามารถขึ้นมาเป็นเน็ตไอดลได้ เพราะเรามีสื่อ ทำเพจ มีคนติดตาม มียอดไลท์เยอะก็จะเข้าสู่กระบวนการทางการตลาด รีวิวสินค้า โฆษาต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อคนกลุ่มมากอีก

………………………………………..

ดูคลิปเสวนา “ผู้นำความคิดในโลกออนไลน์ (Influencer) แบบไหน…สังคมไทยต้องการ” ย้อนหลังได้ที่

วงเสวนา "ผู้นำความคิดในโลกออนไลน์(Influencer) แบบไหน…สังคมไท…

[Live] สด เสวนา "ผู้นำความคิดในโลกออนไลน์(Influencer) แบบไหน…สังคมไทยต้องการ".สัปดาห์รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล MIDL Week 2017 : พลังพลเมืองดิจิทัล.โดยวิทยากร1.คันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง : นักเขียนและอาจารย์พิเศษ2.โตมร ศุขปรีชา : นักเขียนดำเนินรายการโดย ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล.นักข่าวพลเมือง (ThaiPBS) มาแจมไปด้วยกัน#Jamชวนแจม #รู้เท่าทันสื่อ

โพสต์โดย JAM เมื่อ วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2017

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ